พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันที่ 22 กค. พ.ศ.2559

พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 

พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาปัญจมหาวิโลกนะ

   ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์บังเกิดเป็นท้าวสันตดุสิตเทวราช เสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเฝ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมดั่งที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยปรารถนาไว้แต่แรก

   พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึง ทรงพิจารณาตรวจสอบก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และมารดา

 

เจ้าชายสิทธัตถะทรงพระประสูติกาล

     ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่ามีช้างเผือกจากยอดเขาสูงนำดอกบัวมาให้ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วิสาขะปุณณมี ปีจอ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช 

    ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิตธัตถะทรงพระดำเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นรองรับพระบาทพร้อมเปล่งอาสภิวาจาว่า "เราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"  หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสู่สวรรคาลัย เข้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางมหาประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

 

พราหมณ์ทั้ง ๘ ทำนายลักษณะพระราชกุมาร

   ครั้นครบกำหนด ๕ วัน แห่งการประสูติ พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาจึงสั่งให้ประชุมเหล่านักปราชญ์ราชบัญฑิต และเชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญไตรเพท ๑๐๘ คนมาถวายภัตตาหารในพระราชวังและทรงให้คัดเลือกพราหมณาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งปวงจำนวน ๘ คน เพื่อถวายคำทำนายลักษณะของพระราชกุมาร ตามพระราชประเพณีในสมัยนั้น

   พราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ทำนายง่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

 

เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรส

   เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง ๑๘ ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตรและเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท ๓ ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมควมพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

   เมื่อมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ทรงอภิเษกสมรมกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา

 

เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔

   วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดความเบื่อหน่ายในปราสาท ๓ ฤดู จึงทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอกพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต(ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนจะต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องออกบวชเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชาในขณะที่มีพระชนม์ ๒๙ พรรษา

 

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช

     ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากประพาสอุทยาน ได้ทรงสดับข่าวการประสูติพระโอรส ทรงเปล่งอุทานว่า ราหุล ซึ่งแปลว่า ห่วง ขณะนั้นเจ้าชายสิทธัตถะมีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชาปราศจากอาลัยในเบญจกามคุณ ในคืนนั้น เจ้าชายตื่นบรรทมแล้วก็ทรงเห็นอาการวิปลาศของนางบำเรอที่นอนหลับไม่สำรวม เจ้าชายเสด็จจากพระแท่นที่บรรทม ไม่ยังห้องบรรทมของพระนางพิมพายโสธราทรงทอดพระเนตรพระชายากำลังหลับสนิทเคียงข้างพระกุมาร และทรงลาออกผนวช

    เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดู์ เพื่อทรงบรรพชาในราตรีกาลวันเพ็ยแห่งอาสาฬมาส ก่อนพุทธศก ๕๑ ปี และในขณะที่จะพ้นพระราชวังออกไปมีพระยามารวัสวตีผู้ห้ามไว้มิให้ไป

 

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

    เจ้าชายสิทธัตถะประทับนั่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมามหานที ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ ท้านสักกะเทวราชนำผอบรัตนมารองรับพระเมาลี และนำไปประดิษฐานที่จุฬามณีดาวดึงส์เทวภูมิฆฏิการมหาพรหมนำอัฐบริขารมาทูลถวาย ทรงครองผ้าแล้วอฐิษฐานครองเพศบรรพชิต

   หลังจากที่ทรงผนวชแล้ว ทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์มุ่งไปที่แม่น้ำคยานที แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกาาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง ๒ สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

 

พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

     พระมหาบุรุษได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมพร้อมด้วยปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมดตามเสด็จพระมหาบุรุษเพื่อเฝ้าอุปัฏฐากพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการขบพระทนต์ด้วยพระทนต์ กลั้นหายใจและอดภัตตาหร จนพระสรีระซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ ๖ ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ยทุกรกิริยา และหันมาฉันภัตตาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย ๓ วาระ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่าทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อยเกินไป นั้นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

 

พระมหาบุรุษทรงอฐิษฐานถาดทอง

   หลังจากพระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์เกิดเสื่อมศรัทธาจึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาท เมื่อพาราณสี ส่วนพระมหาบุรุษเริ่มเสวยภัตตาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางสุชาดาธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมได้ถวายข้าวมธุปายาส เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงอฐิษฐานถาดทองลอยสู่แม่น้ำเนรัญชราเปล่งพระบารมีว่า

    "หากข้าพเจ้าจักได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป" ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสูร้ เป็นพระสัพพันญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้

 

ทรงชนะพญามารด้วยบารมี ๑๐ ทัศ

    ก่อนที่พระมหาบุรุษจะตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โสตถิยะพราหมณ์ได้ถวายหญ้าคา ๘ กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ พระองค์ทรงประทับนั่งคู้บัลลังก์อยู่ที่โดนต้นอัสสัตถพฤกษ์หรือต้นโพธิ์ตรัสรู้ ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า "แม้เลือดและเนื้อในสรีระเรา จะแห้งเหือดไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที หากเรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จักไม่ลุกจากบัลลังก์นี้"

    พญามารล่วงรู้ถึงความคิดนั้น คิดทำลายความปรารถนาของพระมหาบุรุษ จึงรวบรวมเสนามาร เทพบุตรมารขี่ช้างคีรีเมขล์ กรีฑาทัพมาผจญพระมหาบุรุษ พระองค์จึงทรงระลึกถึงบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ เป็นโล่แก้วแล้วประหารด้วยศัสตราวุธ คือ บารมี ๑๐ ทัศ กำจัดหมู่เสนามารจนสิ้น และตรัสรู้ในกาลต่อมา

 

ทรงโปรดเหล่าปัญจวัคคีย์ที่ง ๕

    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาบุคคลในโลกนี้ดั่งบัว ๔ เหล่า พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 

   พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ" ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาโดยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

 

ทรงปฏิบัติพุทธกิจ ๕ ประการ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติพุทธกิจที่เรียกว่า "พุทธกิจ ๕ ประการ" ในแต่ละวันเพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ 
พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาตร เพื่อเป็นการโปรดสัตว์ผู้ต้องการบุญ
พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็น  ทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
พุทธกิจประการที่ ๓  ในเวลาค่ำ  ทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
พุทธกิจประการที่ ๔  ในเวลาเที่ยงคืน  ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งพระองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

 

ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

     เมื่อถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๓ พระองค์ได้เสด็จไปประทับ ณ เวฬุวนาราม เมื่อราชคฤห์ แคว้นมคธ ครั้งนั้นได้มี พระอรหันต์ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งได้รับการบวชจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ออกจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ ได้กลับมาประชุมรวมกันโดยมิได้นัดหมายเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเรียกเหตุการณ์ในคราวนั้นว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญกลางเดือน ๓ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ "โอวาทปาฏิโมกข์"

 

เสด็จโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติ

   พระพุทธองค์ได้ทรงส่งพระอริยสาวกออกไปประกาศพระพุทธศาสนา พระเจ้าสุทโธนะพระพุทธบิดา ทรงทราบว่าพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วเสด็จจาริกโปรดเวไนยชน จึงส่งทูตมาทูลอาราธนา ในครานั้นกาฬุทายีอำมาจย์และคณะก็ได้ออกบวช และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งคณะ ครั้นย่างเข้าสู่ฤดูร้อนพระกาฬุทายีจึงทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดู์ตามคำอาราธนาของพระพุทธบิดา

      เมื่อประทับอยู่ที่นิโรธราม กรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงแสดงพระเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติ ในกาลต่อมาพุทธบิดาสำเร็จเป็นพระสกิทาคามี พระนางปชาบดีโคตมีและพระนางพิมพาสำเร็จเป็นพระโสดาบัน และโปรดให้พระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์

 

ทรงปลงอายุสังขาร

    การปลงอายุสังขารมีขึ้น ณ ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ แขวงเมืองสาลี หลังจากที่ทรงทำนิมิตรโอภาสแก่พระอานนท์ถึงามครั้ง ว่า "อานนท์ ถ้าบุคคลใดเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ปรารถนาจะดำรงอยู่ประมาณกัปป์หนึ่ง หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะอยู่ได้" โอภาสนิมิตรนี้ หมายถึงบอกใบ้ว่าพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในปีที่กล่าวนี้ หากพระอานนท์กราบทูลขอให้อยู่ต่อ และทรงรับก็ทรงสามารถดำรงพระชนม์ชีพต่อไปได้อีก แต่พระอานนท์ไม่รู้เท่าทัน มารจึงมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วกราบทูลขอให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน จึงทรงรับ หลังจากที่ทรงปลงอายุสังขารแล้ว เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ พระอานนท์จึงทราบว่าทรงปลงอายุสังขารแล้ว จึงมาทูลอ้อนวอนให้กำรงอยู่ต่ออีก พระพุทธองค์จึงทรงห้ามเสีย

 

เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑ วัน พระองค์ได้เสวยสุกรวัททวะที่นายจุนทะทำถวาย เกิดอาพาธลงพระโลหิต พระพุทธองค์เกรงว่านายจุนทพถูกกล่าวโทษจึงตรัสว่า "บิณฑบาตรที่มีอานิสงส์ที่สุดมี ๒ อย่าง คือ เมื่อตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้และเมื่อเสวยแล้วปรินิพพาน" พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อปรินิพพาน พระองค์ได้อุปสมบทแก่สุภัททะปริพาชก ถือได้ว่า "พระสุภัททะ" คือ ปัจฉิมสาวกที่พระองค์ทรงบวชให้ พระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" และมีพระพุทธดำรัสว่า "ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว" จากนั้น ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน เมื่อกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวมพระชนม์ ๘๐ พรรษา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016906340916951 Mins