ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณปาฐะ

วันที่ 25 กค. พ.ศ.2559

ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณปาฐะ
(บทสำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เตือนตนเอง)


 

หันทะ มะยัง ปัพพะชิตะอภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส     

     ทะสะอิเม ภิกขะเว ธัมมา, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพา, กะตะเม ทะสะ 

     เววัณณิยัมหิ อัชฌูปะคะโตติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, ปะระปะฏิพัทธา เม ชีวิกาติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหังปัจจะเวกขิตัพพัง, 

     อัญโญ เม อากัปโป กะระณีโยติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหังปัจจะเวกขิตัพพัง, 

     กัจจิ นุ โข เม อัตตา สีละโต นะ อุปะวะทะตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, 

     กัจจิ นุ โข มัง อะนุวิจจะ วิญญู, สะพรัหมะจารี สีละโตนะ อุปะวะทันตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ, ยัง กัมมัง กะริสสามิ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกังวา, ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา วีติปะตันตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     กัจจิ นุ โขหัง สุญญาคาเร อะภิระมามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     อัตถิ นุ โข เม อุตตะริมะนุสสะธัมมา, อะละมะริยะ ญาณะทัสสะนะวิเสโส อะธิคะโต, โสหัง ปัจฉิเม กาเล สะพรัหมะจารีหิ, ปุฏโฐ นะ มังกุ ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,

     อิเม โข ภิกขะเว ทะสะ ธัมมา, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพา, อิติ.

 

 

ทะสะอิเม ภิกขะเว ธัมมา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมทั้งหลายสิบประการเหล่านี้, มีอยู่,

ปัพพะชิเตนะ อะภิณฺหัง ปัจจะเวกขิตัพพา,
เป็นธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจ,

กะตะเม ทะสะ
ธรรมทั้งหลายสิบประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า?,

เววัณณิยัมหิ อัชฌูปะคะโตติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
คือ บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, เราเป็นผู้เข้าถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งวรรณะอันต่างอันพิเศษ, ดังนี้,

ปะระปะฏิพัทธา เม ชีวิกาติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องเฉพาะแล้วด้วยผู้อื่น, ดังนี้,

อัญโญ เม อากัปโป กะระณีโยติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, ระเบียบการปฏิบัติอย่างอื่นที่เราจะต้องทำมีอยู่, ดังนี้,

กัจจิ นุ โข เม อัตตา สีละโต นะ อุปะวะทะตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, เมื่อกล่าวโดยศีล, เราย่อมตำหนิติเตียนตนเองไม่ได้, มิใช่หรือ, ดังนี้,

กัจจิ นุ โข มัง อะนุวิจจะ วิญญู, สะพรัหมะจารี สีละโตนะ อุปะวะทันตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, เมื่อกล่าวโดยศีล, เพื่อนสหพรหมจารีที่เป็นวิญญูชน, ใคร่ครวญแล้ว, ย่อมตำหนิติเตียนเราไม่ได้ มิใช่หรือ, ดังนี้,

สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, ความพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น, จักมีแก่เรา, ดังนี้,

กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ, ยัง กัมมัง กะริสสามิ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกังวา, ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน, มีกรรมที่ต้องรับผลเป็นมรดกตกทอด, มีกรรมเป็นที่กำเนิด, มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, เราทำกรรมใดไว้, ดีก็ตาม, ชั่วก็ตาม, เราจักเป็นผู้รับผลตกทอดแห่งกรรมนั้น, ดังนี้,

กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา วีติปะตันตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, วันคืนล่วงไปล่วงไป, ในเมื่อเรากำลังเป็นอยู่ในสภาพเช่นไร, ดังนี้,

กัจจิ นุ โขหัง สุญญาคาเร อะภิระมามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตพึ่งพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, เราย่อมยินดีในโรงเรือนอันสงัดอยู่หรือหนอ, ดังนี้,

อัตถิ นุ โข เม อุตตะริมะนุสสะธัมมา, อะละมะริยะ ญาณะทัสสะนะวิเสโส อะธิคะโต, โสหัง ปัจฉิเม กาเล สะพรัหมะจารีหิ, ปุฏโฐ นะ มังกุ ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจว่า, ญาณทรรศนะอันวิเศษ, ควรแก่พระอริยเจ้า, อันยิ่งกว่าวิสัยธรรมดาของมุนษย์, ที่เราได้บรรลุแล้ว, เพื่อเราจะไม่เป็นผู้เก้อเขิน, เมื่อถูกเพื่อ สหพรหมจารีด้วยกันถามในภายหลังมีอยู่แก่เราหรือไม่, ดังนี้,

อิเม โข ภิกขะเว ทะสะ ธัมมา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมทั้งหลาย สิบประการ เหล่านี้แล,

ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพา,
เป็นธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด, อยู่เนืองนิจ,

อิติ.
ด้วยอาการ อย่างนี้แล.

 


อ้างอิงจากหนังสือคู่มือทำวัตร-สวดมนต์แปล พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021958768367767 Mins