ระดับของพระรัตนตรัยภายใน

วันที่ 30 สค. พ.ศ.2559

ระดับของพระรัตนตรัยภายใน

    หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญแสดงพระธรรมเทศนาไว้ในกัณฑ์ที่ 31, กัณฑ์ที่ 33, กัณฑ์ที่ 36 และกัณฑ์ที่ 66 เป็นต้น ว่าพระรัตนตรัยภายในนั้นมีหลายระดับหรือหลายชั้นด้วยกันดังนี้

ชั้นที่ 1 พุทธรัตนะ คือธรรมกายโคตรภูหยาบ
           ธรรมรัตนะ คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายโคตรภู
           สังฆรัตนะ คือธรรมกายโคตรภูละเอียดซึ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น

ชั้นที่ 2 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระโสดาบันหยาบ
           ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระโสดาบันหยาบนั้น
           สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระสดาบันละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น

ชั้นที่ 3 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระสกทาคามีหยาบ
           ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระ กทาคามีหยาบนั้น
           สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระ กทาคามีละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น

ชั้นที่ 4 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระอนาคามีหยาบ
           ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระอนาคามีหยาบนั้น
           สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระอนาคามีละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น

ชั้นที่ 5 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระอรหัตหยาบ
           ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระอรหัตหยาบนั้น
           สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระอรหัตละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น

   นอกจากนี้หลวงปู่วัดปากน้ำยังกล่าวไว้ว่า ในธรรมกายพระอรหัตละเอียดยังมีพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ อีกมากมายจนนับอสงไขยชั้นไปไม่ถ้วน

 

1. ลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัยภายใน
   หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญได้แสดงพระธรรมเทศนาในกัณฑ์ที่ 1 ว่าด้วยการเจริญภาวนา สมถวิปัสนากรรมฐาน โดยได้กล่าวถึงลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัยภายในแต่ละระดับไว้ดังนี้

     ธรรมกายแต่ละระดับนั้นมีรูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องดูเงาหน้า ได้ลักษณะมหาบุรุษครบทั้ง 32 ประการ งดงามไม่มีที่ติ

    ธรรมกายโคตรภูหยาบอันเป็นพุทธรัตนะนั้นมีขนาดของหน้าตักหย่อนกว่า 5 วา และสูงหย่อนกว่า 5 วา ขนาดของหน้าตัก หมายถึง ระยะห่างจากเข่าด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่งของธรรมกายซึ่งอยู่ในท่าขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย

   ธรรมรัตนะของธรรมกายโคตรภูมีลักษณะกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ มีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกายโคตรภูคือ หย่อนกว่า 5 วาเหมือนกันส่วนสังฆรัตนะคือธรรมกายโคตรภูละเอียดนั้นโตกว่าธรรมกายโคตรภูหยาบ 5 เท่า

      ธรรมกายพระโสดาบันหยาบมีขนาดหน้าตัก 5 วา และสูง 5 วา ธรรมรัตนะของธรรมกาย พระโสดาบันหยาบก็มีขนาด 5 วาเท่ากันส่วนสังฆรัตนะคือธรรมกายพระโสดาบันละเอียดมีหน้าตัก 10 วาและสูง 10 วา

     ธรรมกายพระสกทาคามีหยาบมีขนาดหน้าตัก 10 วา และสูง 10 วา ธรรมรัตนะก็มีขนาด 10 วาเท่ากันส่วนสังฆรัตนะคือธรรมกายสกทาคามีละเอียดมีหน้าตัก 15 วา และสูง 15 วา

     ธรรมกายพระอนาคามีหยาบมีขนาดหน้าตัก 15 วา และสูง 15 วา ธรรมรัตนะก็มีขนาด 15 วาเท่ากันส่วนสังฆรัตนะคือธรรมกายพระอนาคามีละเอียดมีหน้าตัก 20 วา และสูง 20 วา

       ธรรมกายพระอรหัตหยาบมีขนาดหน้าตัก 20 วา และสูง 20 วา ธรรมรัตนะของธรรมกาย พระอรหัตหยาบก็มีขนาด 20 วาเท่ากันส่วนขนาดของสังฆรัตนะคือธรรมกายพระอรหัตละเอียดนั้นหลวงปู่วัดปากน้ำไม่ได้ระบุ ท่านกล่าวเพียงแต่ว่ามีขนาดโตใหญ่ขึ้นไปตามลำดับ


2. ถานที่ตั้งของพระรัตนตรัยภายใน
      พระรัตนตรัยภายในมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน โดยอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ1 เนื่องจากพระรัตนตรัยเป็นขันธ์ส่วนละเอียด ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ แม้ผ่าตัดก็มองไม่เห็น ถ่ายเอกซเรย์ก็จับภาพไม่ติดเช่นกัน คนส่วนใหญ่ในโลกจึงไม่ค่อยเข้าใจเรื่องพระรัตนตรัยภายในนี้ บ้างก็ว่าไม่มีเพราะตนเองมองไม่เห็น แต่ทั้งนี้สิ่งไม่เห็นใช่ว่าจะไม่มี พระรัตนตรัยนี้เราจะเห็นได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น

       ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือนี้ก็คือ มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง

       มัชฌิมาปฏิปทา มาจากคำว่า มัชฌิมา + ปฏิปทา

       มัชฌิมา แปลว่า กลาง , ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน และ ความประพฤติ

     ดังนั้น มัชฌิมาปฏิปทา จึงมีความหมาย 2 นัยคือ ทางสายกลาง และ ความประพฤติอันเป็นกลางหรือ ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

       ทางสายกลาง หมายถึง ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ

    ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง หมายถึง มรรคมีองค์ 8 ได้แก่สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ,สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ,สัมมาวาจา คือ กล่าววาจาชอบ,สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ,สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ,สัมมา ติ คือ ระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจไว้ชอบ

    ใครก็ตามที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน ภาษาไหน นับถือศาสนาอะไร ฐานะทางสังคมเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งหลาย พุทธบริษัท 4 ทั้งปวง ตลอดจนยาจก วณิพก พ่อค้า แม่ค้า มนุษย์ชายหญิงทุกคนต่างก็มีพระรัตนตรัยอยู่ในตัว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือทั้งสิ้น ต่างเพียงแต่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น คือผู้ที่สามารถตรัสรู้คือเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวได้ด้วยพระองค์เอง เมื่อตรัสรู้แล้วก็ได้ตรัสสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้คือเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวของเขาด้วยส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น คือ ผู้ที่ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ไม่สอนใคร เหล่าพระอริยสาวกคือ ผู้ฟังคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาปฏิบัติตามจนได้ตรัสรู้ธรรมเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ พระอริยสาวกทั้งหลายจึงได้ชื่อว่าพระอนุพุทธะคือผู้ตรัสรู้ตาม

      ในหนังสือสมถวิปัสสนาชื่อพุทธรังษีธฤษฎีญาณ กล่าวถึงพระรัตนตรัยได้แก่ธรรมกายว่า สถิตอยู่ในรูปกายหรือกายเนื้อของมนุษย์ดังนี้ "...เมื่อกายเป็นสุข จิตต์เป็นสุขแล้ว... จึงตั้งจิตต์พิจารณาดูธรรมกายในรูปกายด้วยการดำเนินโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้วจักมีตนเป็นที่พึ่งจักมีธรรมเป็นที่พึ่ง..."

    หนังสือพุทธรังษีธฤษฎีญาณนี้ว่าด้วยวิธีปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานแบบโบราณ 4 ยุค คือ กรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทน์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ในเนื้อหามีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า "แบบขึ้นกัมมัฏฐานห้องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ" ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรมกรุงศรีอยุธยา โดยมีบันทึกไว้ว่า เป็นแบบที่ สืบเนื่องมาจากท่านทิสาปาโมกขาจารย์ 56 องค์ แต่ครั้งโบราณได้ประชุมจารึกไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 572 จึงถือเป็นแบบที่เก่าแก่และสำคัญมากสำหรับใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องธรรมกาย

 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026733183860779 Mins