อุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล
1. ภาพรวมอุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล
อุบาสก อุบาสิกาในสมัยพุทธกาลมาจากชนทุกชั้นวรรณะของสังคมคือ วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร แม้วรรณะทางสังคมจะต่างกัน แต่เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัทแล้วมีความเสมอภาคในการสร้างบุญบารมีเหมือนกัน
1) วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงมีหน้าที่ในการปกครองบ้านเมือง ปราบปรามโจรผู้ร้ายและทำการรบพุ่งกับข้าศึกภายนอก ประกอบด้วยพระราชามหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ รวมถึงพวกที่รับราชการในระดับสูง เช่น ปุโรหิต เสนาบดี เป็นต้น
กษัตริย์ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก อุบาสิกามีจำนวนมาก ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลแบ่งออกเป็นแคว้นที่มีกษัตริย์ปกครองได้ 21 แคว้น ในแคว้นเหล่านี้มีแคว้นที่จัดเป็นมหาอำนาจอยู่ 5 แคว้นคือ แคว้นมคธ โกศล อวันตี วัชชี และแคว้นวังสะ กษัตริย์ในแคว้นทั้ง 5 นี้ต่างก็เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนาทั้งหมดคือ พระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าจันทปัชโชติแห่งแคว้นอวันตี เจ้าลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี และพระเจ้าอุเทนแห่งแคว้นวังสะ
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์แคว้นอื่น ๆ ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีก เช่น พระเจ้าสุทโธทนะแห่งแคว้นสักกะซึ่งเป็นพุทธบิดา กษัตริย์โกลิยะแห่งแคว้นโกลิยะ เจ้ามัลละแห่งแคว้นมัลละ พระเจ้าโกรัพยะแห่งแคว้นกุรุ และสุชาตราชกุมารแห่งแคว้นอัสสกะ เป็นต้น
เมื่อกษัตริย์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วก็เป็นเหตุให้การเผยแผ่พระธรรมไปสู่ประชาชนวรรณะอื่น ๆ ในแต่ละแคว้นง่ายขึ้น เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปพระนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธครั้งแรกเพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารและพลเมืองคือพราหมณ์กับคหบดีถึง 11 นหุต คือ 110,000 คนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน อีก 1 นหุตคือ 10,000 คนแสดงตนเป็นอุบาสก อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารเรียกประชุมราษฎรทั้ง 80,000 ตำบลซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ จากนั้นก็ให้ราษฎรทั้งหมดนั้นไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นมีผู้ได้ตรัสรู้ธรรมเป็นจำนวนมาก
2) วรรณะพราหมณ์ เป็นผู้ที่มีอาชีพสั่งสอนคนในสังคมและทำพิธีตามลัทธิศาสนา บางพวกก็มีหน้าปกครองบ้านเมืองในระดับนคร หมู่บ้าน และตำบล วรรณะพราหมณ์จึงมีทั้งที่เป็นนักบวชและคฤหัสถ์
ภาพสังคมอินเดียก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ตกอยู่ในอิทธิพลทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้ว เหล่าพราหมณ์ผู้นำลัทธิและผู้ปกครองหันมาปฏิญาณตนเป็นอุบาสก อุบาสิกากันจำนวนมากได้แก่ โปกขรสาติพราหมณ์ผู้ปกครองนครอุกกัฏฐะ โสณทัณฑะผู้ปกครองนครจำปา กูฏทันตพราหมณ์ผู้ปกครองบ้านขานุมัตตะ จังกีพราหมณ์ผู้ปกครองบ้านโอปาสาทะ โลหิจจะผู้ปกครองบ้านสาลวติกา พราหมณ์พาวรีและลูกศิษย์ผู้เป็นเจ้าลัทธิ 16 ท่านแห่งเมืองอัสสกะ นอกจากนี้ยังมีพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น ชาณุโสนี พรหมายุสุภมาณพ กาปทิกมาณพ อุคคตสรีระ เป็นต้น หลายคนเป็นนักบวชผู้ทรงภูมิรู้ ต้องการมาต่อกรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วก็หันมาเลื่อมใสเช่นสัจจกนิครนถ์ เป็นต้น
3) วรรณะแพศย์ เป็นพลเมืองทั่วไป มีอาชีพทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ช่างฝีมือ ค้าขาย ซึ่งจัดเป็นชนชั้นสามัญ เศรษฐีสำคัญ ๆ ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกาในพระพุทธศาสนาก็จัดอยู่ในวรรณะนี้ ได้แก่ โชติกเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น เศรษฐี 3 ท่านแรกร่ำรวยมากถึงระดับที่มีสมบัติตักไม่พร่องสามารถเลี้ยงคนได้ทั้งโลก คนในวรรณะแพศย์โดยเฉพาะมหาเศรษฐีทั้งหลายจึงเป็นกองเสบียงสำคัญที่ช่วยสนับสนุนปัจจัย 4 แก่พระภิกษุสามเณร
4) วรรณะศูทร เป็นพวกกรรมกรหรือคนใช้ซึ่งทำงานหนัก ได้แก่พวกทา 4 จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายในเรือน, ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์, ผู้ที่สมัครเข้ามาเป็นทา , เชลยที่เข้าถึงความเป็นทาส พวกนี้จัดเป็นชนชั้นต่ำคนในวรรณะศูทรเหล่านี้จะทำงานให้แก่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง เศรษฐีบ้าง เมื่อเจ้านายเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็เป็นเหตุให้ตนศรัทธาไปด้วย เช่น นายปุณณะทา ของเมณฑกเศรษฐี และนายปุณณะ ทาสของราชคหเศรษฐี คนหลังนี้ชาวพุทธรู้จักกันในนามชายผู้ไถนาเป็นทองคำ เพราะบุญที่ตนและภรรยาได้ถวายน้ำและภัตตาหารแก่พระสารีบุตรเถระซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ
2. อุบาสก อุบาสิกาคนสำคัญในสมัยพุทธกาล
อุบาสก อุบาสิกาที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลมีหลายท่านทั้งที่เป็นพระราชาพราหมณ์ และเศรษฐี ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรู โชติกเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 2 ท่านคือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี และมหาอุบาสิกาวิสาขา
1) อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นเอตทัคคะคือเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายผู้ถวายทาน อรรถกถาบันทึกไว้ว่า ท่านตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นเอตทัคคะด้านนี้ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในชาตินั้นท่านเกิดในกรุงหังสวดี ได้ฟังธรรมจากพระศาสดา เห็นพระพุทธองค์ทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายทาน ท่านปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงสร้างบุญบารมีอย่างยิ่งยวดแล้วตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ได้ตำแหน่งนั้นในอนาคต
หลังจากชาตินั้นแล้วท่านก็สร้างบารมีเรื่อยมานับภพนับชาติไม่ถ้วนตลอด 100,000 กัป ในชาติสุดท้ายนี้ได้มาเกิดในเรือนของสุมนเศรษฐี กรุงสาวัตถี มีชื่อว่า "สุทัตตะ" แต่ด้วยอัธยาศัยรักการให้ทานจึงได้ชื่อว่า "อนาถปิณฑิกะ" แปลว่า "ผู้ให้ก้อนข้าวแก่คนอนาถา" เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วได้ทำธุรกิจด้านการค้าขาย ครั้งหนึ่งท่านใช้เกวียน 500 เล่มบรรทุกสินค้าไปขายยังกรุงราชคฤห์ ได้ทราบจากราชคหเศรษฐี หายรักว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว และทรงประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน แห่งกรุงราชคฤห์นี้เอง เมื่อท่านเศรษฐีทราบข่าวอันเป็นมงคลนั้น ได้เกิดความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง วันรุ่งขึ้นจึงรีบไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่เช้ามืด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคืออนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 แก่ท่าน ขณะที่ทรงแสดงอริยสัจ 4 อยู่นั้น ท่านเศรษฐีก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และได้กราบทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ของข้าพระพุทธเจ้า"
จากนั้นท่านเศรษฐีก็ได้กลับไปจัดเตรียมภัตตาหาร ณ บ้านของราชคหเศรษฐี วันรุ่งขึ้นก็ได้ถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ท่านได้กราบทูลว่า "ขอพระองค์พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษาในเมืองสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้า" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนคหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดีในสุญญาคาร" ท่านกราบทูลว่า "ทราบเกล้าแล้ว พระพุทธเจ้าข้า"
สร้างวัดพระเชตวัน
เมื่อท่านเสร็จกิจในเมืองราชคฤห์แล้ว จึงกลับไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อเตรียมสร้างวัดรองรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ท่านเที่ยวตรวจดูพระนครสาวัตถีโดยรอบเพื่อหา ถานที่สร้างวัด โดยยึดหลักว่า
(1) ไม่ไกลและไม่ใกล้กับหมู่บ้านเกินไป
(2) มีการคมนาคมสะดวก ไปมาได้ง่าย
(3) กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบสงบ
(4) เป็นสถานเหมาะแก่เจริญสมาธิภาวนา
อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมารซึ่งเป็น ถานที่เหมาะ มตามหลักการดังกล่าว จึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารเพื่อขอซื้ออาราม เจ้าเชตรับสั่งว่า ท่านคหบดี จะต้องซื้อด้วยการลาดทรัพย์เป็นโกฏิ อนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงิน 18 โกฏิ ออกมาเรียงลาดริมจดกันเต็มพื้นที่ในอารามนั้นเพื่อซื้อที่ดิน จากนั้นได้ใช้ทรัพย์อีก 18 โกฏิ เพื่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในวัด
เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านได้กราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "คหบดี เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จากทิศทั้ง 4 ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา" อนาถบิณฑิกคหบดีก็ได้ปฏิบัติตามนั้น ต่อมาท่านเศรษฐีได้บริจาคทรัพย์อีก 18 โกฏิ เพื่อทำบุญฉลองวัดพระเชตวัน เมื่อรวมทรัพย์ทั้งหมดที่เนื่องด้วยการสร้างวัดพระเชตวันเป็นเงินมากถึง 54 โกฏิทีเดียว
ไปสร้างบุญที่วัดวันละ 2 เวลา
ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี จะไปสู่ที่อุปัฏฐากพระตถาคตเจ้าวันละ 2 ครั้งเป็นประจำ เมื่อไปก็ไม่เคยไปมือเปล่า เพราะคิดว่า 'ภิกษุหนุ่มและสามเณร จักแลดูมือตน โดยนึกว่า เศรษฐีนั้นถืออะไรมาบ้าง'เมื่อไปก่อนเวลาฉันอาหารจะให้คนถือภัตตาหารไป เมื่อไปหลังเวลาฉันอาหาร จะใช้ให้คนถือน้ำปานะและเภสัช 5 ไป คือ เนยใสเนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ในเวลาเย็น ท่านจะนำดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ และผ้า เป็นต้น ไปสู่วิหาร ท่านเศรษฐีถวายทาน รักษาศีลอยู่อย่างนี้ทุก ๆ วัน และยังนิมนต์พระสงฆ์ไปฉันที่เรือนของตนครั้งละ 2,000 รูปอยู่เป็นนิตย์ เมื่อพระภิกษุรูปใดปรารถนาของสิ่งใด จะเป็นข้าว น้ำ หรือเภสัชก็ตาม ท่านก็จะจัดให้โดยไม่ขาดตกบกพร่องเลย
แม้ทรัพย์หร่อยหรอก็ไม่เลิกให้ทาน
ช่วงหนึ่งทรัพย์ของท่านเศรษฐีหร่อยหรอลงเพราะเพื่อนพ่อค้าได้กู้เงินท่านไป 18 โกฏิแล้วยังไม่ให้คืนทรัพย์อีก 18 โกฏิที่ฝังไว้ใกล้ฝังแม่น้ำ ก็ถูกน้ำเซาะจมหายไปในมหาสมุทร แม้เป็นอย่างนี้ท่านก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป วันหนึ่ง พระศาสดารับสั่งว่า "คฤหบดี ท่านยังให้ทานอยู่หรือ" ท่านกราบทูลว่า "ข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นใช้ข้าวปลายเกวียนและน้ำผักดอง พระเจ้าข้า" พระศาสดา ตรัสกะท่านว่า "ท่านอย่าคิดว่า เราถวายทานเศร้าหมองเลย ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว ทานที่บุคคลถวายแด่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี"
เทวดาซึ่ง ถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐีทราบว่า ท่านกำลังลำบาก จึงคิดจะเตือน และได้เข้าไปบอกเศรษฐีว่า "ท่านจงเลิกบริจาคทรัพย์เกินกำลัง แล้วทำงานรวบรวมสมบัติไว้เถิด"
ท่านเศรษฐีกล่าวว่า "ไปเถิดท่าน แม้บุคคลเช่นท่านตั้งแสนคน ก็ไม่อาจให้ข้าพเจ้าหวั่นไหวได้ ท่านกล่าวคำไม่ สมควร จงออกไปจากเรือนของข้าพเจ้าเร็ว ๆ"
เทวดานั้นฟังคำของเศรษฐีแล้ว ไม่อาจดำรงอยู่ได้จึงพาทารกทั้งหลายออกไป เมื่อออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น จึงคิดว่าเราจักให้ท่านเศรษฐีอภัยโทษแล้วอยู่ในที่เดิมนั้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพื่อให้เศรษฐีอภัยให้ได้ ต่อมาเขาได้คำแนะนำจากท้าวสักกเทวราชว่า "ท่านจงแปลงเพศเป็นเสมียนของเศรษฐีแล้วไปตามทรัพย์ 18 โกฏิ ที่พวกพ่อค้ายืมไปมาคืน นำทรัพย์อีก 18 โกฏิที่จมลงในมหา มุทรขึ้นมา และนำทรัพย์อีก 18 โกฏิ ซึ่งไม่มีเจ้าของจากที่โน้นมา จงรวบทรัพย์ทั้งหมดบรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐีจากนั้นจึงขอขมาโทษท่านเสีย" เมื่อเทวดาได้ทำอย่างนั้นแล้วเศรษฐีก็ให้อภัยและให้อยู่ที่เดิม
เศรษฐีร่ำรวยเหมือนเดิมเพราะบุญ
ในเมืองสาวัตถีมีพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะสิริอยู่คนหนึ่ง พราหมณ์นั้นคิดว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเคยลำบากด้วยทรัพย์อยู่ช่วงหนึ่งแต่กลับร่ำรวยขึ้นใหม่ คงเป็นเพราะสิริในเรือนเป็นแน่ เราควรไปลักเอาสิริจากเรือนของท่านเศรษฐีมาเสีย
จากนั้นจึงไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้วตรวจดูว่าสิริประดิษฐานอยู่ที่ไหน เห็นไก่ขาวปลอดดุจสังข์ที่ขัดแล้วตัวหนึ่งซึ่งเศรษฐีใส่ไว้ในกรงทอง พราหมณ์ตรวจดูก็รู้ว่าสิริประดิษฐานอยู่ที่หงอนของไก่นั้นจึงขอไก่ตัวนั้น เศรษฐีกล่าวว่า "จับเอาไปเถอะพราหมณ์"
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า "ให้" เท่านั้นสิริก็เคลื่อนจากหงอนของไก่นั้นไปประดิษฐานอยู่ที่ดวงแก้วมณีซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน พราหมณ์จึงขอแก้วมณีดวงนั้น...สิริก็เคลื่อนไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เท้าพราหมณ์จึงขอไม้เท้านั้น ...สิริก็เคลื่อนจากไม้เท้าไปประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของภรรยาเอกของเศรษฐีชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี
พราหมณ์คิดว่า 'เราไม่อาจขอภรรยาเอกนี้ได้' จึงสารภาพกะเศรษฐีว่า "ข้าพเจ้ามาด้วยคิดว่า จักลักสิริในเรือนของท่านไป เห็นสิริประดิษฐานอยู่ที่หงอนไก่ของท่าน เมื่อท่านให้ไก่แก่ข้าพเจ้าสิริก็เคลื่อนไปประดิษฐานที่แก้วมณี... ไม้เท้า... และศีรษะของนางบุญญลักษณาเทวี
ข้าพเจ้าคิดว่า 'สิ่งนี้หนอเป็นสิ่งที่ ละไม่ได้' จึงไม่อาจลักสิริของท่าน ของของท่านก็จงเป็นของท่านเท่านั้น" เมื่อกล่าวแล้วก็ลุกจากอาสนะหลีกไป
ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้กราบทูลเหตุการณ์นี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระศาสดาได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสว่า "แม้ในกาลก่อนสิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญเท่านั้น... ผู้ไม่มีบุญจะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่ก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียวสำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้... ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว"
การทำหน้าที่กัลยาณมิตร
ท่านเศรษฐีได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรแก่ทุกคนในครอบครัวคือ ทั้งภรรยา บุตร ธิดา ทา และกรรมกรในเรือน ทุกคนพากันสร้างบุญตามท่านทั้งหมด คราวหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีถึงกับจ้างบุตรชื่อกาละผู้ไม่ศรัทธาในพระรัตนตรัย ครั้งละ 100 กหาปณะบ้าง 1,000 กหาปณะบ้าง เพื่อให้ไปฟังธรรมจากพระศาสดา จนกระทั่งนายกาละได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน นอกจากนี้ท่านเศรษฐียังชวนเหล่าสหายของท่านไปฟังธรรมยังวัดพระเชตวันอยู่เป็นประจำ เช่น หายกลุ่มหนึ่งมีอยู่ 500 คน ซึ่งเป็นสาวกของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา แต่ท่านเศรษฐีก็พยายามทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนสหายเหล่านั้นบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันกันทั้งหมด อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันอยู่อย่างนี้จนตลอดชีวิต เมื่อละโลกแล้วก็ไปเสวยทิพยสมบัติอันโอฬารอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต
2) นางวิสาขามหาอุบาสิกา
นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเอตทัคคะคือเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในด้านการถวายทาน นางได้ตั้งความปรารถนาเพื่อให้ได้ตำแหน่งนี้ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เมื่อแสนกัปที่แล้วเช่นเดียวกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในสมัยนั้น นางเกิดในนครชื่อหังสวดี ได้เป็นเพื่อนของอุบาสิกาผู้เป็นยอดอุปัฏฐายิกาของพระศาสดาองค์นั้น นางได้ไปวัดฟังธรรมกับอุบาสิกานั้นทั้งเย็นและเช้าอยู่เนืองนิตย์ เห็นเพื่อนของตนขอพร 8 ประการจากพระศาสดา และพูดคุยกับพระองค์ด้วยความคุ้นเคย นางคิดว่า 'เธอทำกรรมอะไรหนอแล จึงเป็นผู้สนิทสนมกับพระพุทธเจ้าอย่างนี้'
นางจึงทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า หญิงนี้ เป็นอะไรแก่พระองค์"
พระศาสดาตรัสว่า "เป็นเลิศแห่งหญิงผู้อุปัฏฐายิกา"
นางทูลถามว่า "พระเจ้าข้า นางกระทำกรรมอะไร จึงเป็นเลิศแห่งหญิงผู้อุปัฏฐายิกา"
พระศาสดาตรัสว่า "เธอตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป"
นางทูลถามว่า "บัดนี้ หม่อมฉันปรารถนาแล้วอาจจะได้ไหม พระเจ้าข้า"
พระศาสดาตรัสว่า "จ้ะ อาจเป็นได้"
นางกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์กับภิกษุแสนรูป โปรดรับภิกษาของหม่อมฉัน ตลอด 7 วันเถิด"
พระศาสดาทรงรับแล้ว นางถวายทานครบ 7 วัน ในวันสุดท้ายได้ถวายผ้าสาฎกเพื่อทำจีวรแล้วถวายบังคมพระศาสดา หมอบลงแทบบาทตั้งความปรารถนาว่า "พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งทานนี้ หม่อมฉันปรารถนาความเป็นใหญ่ในเทวโลก เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็หาไม่ หม่อมฉันพึงได้พร 8 ประการ ในสำนักแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์แล้ว เป็นยอดของอุบาสิกาผู้สามารถเพื่อบำรุงด้วยปัจจัย 4 พระเจ้าข้า"
พระศาสดา ทรงดำริว่า 'ความปรารถนาของหญิงนี้ จักสำเร็จหรือหนอ' ทรงคำนึงถึงอนาคตกาลตรวจดูตลอดแสนกัปแล้วจึงตรัสว่า "ในที่สุดแห่งแสนกัปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักทรงอุบัติขึ้น ในกาลนั้นเธอจักเป็นอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ได้พร 8 ประการในสำนักของพระองค์แล้วจักเป็นเลิศแห่งหญิงผู้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้บำรุงด้วยปัจจัย 4"
นางทำบุญจนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นเกิดในเทวโลกท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากั ปะ นางได้เป็นพระธิดาพระนามว่าสังฆทาสีของพระเจ้ากรุงกาสี ได้ทำบุญมีทาน เป็นต้น ตลอดกาลนาน ได้ทำความปรารถนาตำแหน่งนี้ไว้แทบบาทแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นกัน
ในชาติหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นธิดาของธนญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรแห่งเมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนครแคว้นอังคะ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ในการปกครองของพระเจ้าพิมพิสารมหาราชแห่งแคว้นมคธ บิดามารดาได้ตั้งชื่อนางว่า "วิสาขา" เมื่อนางมีอายุได้ 7 ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยของผู้จะตรัสรู้ในนครนี้จึงเสด็จจาริกไปโปรด จากการได้ฟังธรรมครั้งนั้นนางวิสาขาผู้มีอายุเพียง 7 ขวบ ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
ลักษณะเบญจกัลยาณี
นางวิสาขาเป็นหญิงที่สั่งสมบุญมามากจึงถึงพร้อมด้วยความงาม 5 ประการ เรียกว่า เบญจกัลยาณี คือ ผมงาม, ริมฝีปากงาม, ฟันงาม, ผิวงาม, และ วัยงาม
ผมงาม คือ ผมมีลักษณะเหมือนกับกำหางนกยูง เมื่อแก้ผมปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ปลายผมก็จะงอนขึ้นตั้งอยู่อย่างสวยงาม แม้ภายหลังนางวิสาขาจะมีอายุ 120 ปีแล้ว แต่ผมหงอกบนศีรษะแม้เส้นหนึ่งก็ไม่มี
ริมฝีปากงาม คือ ริมฝีปากเป็นเหมือนกับผลตำลึงสุกเรียบชิดสนิทดี
ฟันงาม คือ ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งามดุจระเบียบแห่งเพชรและสังข์ที่ขัดสีแล้ว
ผิวงาม ลักษณะของผิวงามมี 2 แบบคือ หากผิวขาวก็ขาวประดุจพวงดอกกรรณิการ์ หากผิวดำก็ดำสนิทเหมือนพวงอุบลเขียว โดยไม่ต้องลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวใด ๆ ในอรรถกถาไม่ได้ระบุว่าผิวของนางวิสาขาเป็นแบบใด
วัยงาม คือ แม้คลอดแล้วตั้ง 10 ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียวยังสาวพริ้งอยู่ทีเดียว เป็นประหนึ่งเด็กหญิงรุ่นอายุราว 16 ปีเป็นนิตย
แต่งงานกับปุณณวันกุมาร
เมื่อนางวิสาขาอายุได้ 15-16 ปี ก็ได้แต่งงานกับบุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อว่าปุณณวันกุมาร ในกรุงสาวัตถี ในวันส่งธิดาไปธนญชัยเศรษฐีได้ให้ทรัพย์แก่นางถึง 54 โกฏิ และให้เครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์อันมีค่า 9 โกฏิด้วย ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ทำจากรัตนะต่าง ๆ ได้แก่ เพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน, แก้วประพาฬ 20 ทะนาน, แก้วมณี 33 ทะนาน เป็นต้น เครื่องประดับนี้เป็นผลบุญที่เกิดจากการถวายจีวรเป็นทาน ได้แก่ การถวายจีวรเนื่องในโอกาสงานทอดกฐิน เป็นต้น อรรถกถาบันทึกไว้ว่า "จีวรทานของหญิงทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยเครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์ จีวรทานของบุรุษทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์" ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นางวิสาขาได้ถวายจีวรแก่ภิกษุ 2 หมื่นรูป ผลแห่งจีวรทานนั้นทำให้นางได้เครื่องประดับดังกล่าว
และก่อนส่งตัวนางวิสาขาไปยังตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้ให้โอวาทนางว่า "แม่ ธรรมดาหญิงผู้อยู่ในสกุลผัว รักษามรรยาทนี้และนี้จึงจะควร" คือ
(1) ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก คือ อย่านำเรื่องไม่ดีภายในเรือนเกี่ยวกับพ่อผัวแม่ผัว
และสามีไปเล่าให้คนภายนอกฟัง
(2) ไม่ควรนำไฟภายนอกเข้าไปภายใน คือ อย่านำเรื่องไม่ดีของชาวบ้านมาคุยในเรือน
(3) พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น คือ ควรให้แก่คนยืมอุปกรณ์ไปแล้วส่งคืนเท่านั้น
(4) ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้ คือ ไม่ควรให้แก่คนยืมอุปกรณ์ไปแล้วไม่ส่งคืน
(5) พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่ไม่ให้ คือ เมื่อญาติมิตรที่ยากจนมาขอยืมหรือขอความช่วยเหลือเรื่องใด ๆ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะสามารถใช้คืนหรือไม่ก็ตามก็ควรช่วยเหลือ
(6) พึงนั่งให้เป็นสุข คือ ไม่ควรนั่งในที่ไม่เหมาะไม่ควร
(7) พึงบริโภคให้เป็นสุข คือ การไม่บริโภคก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี ต้องเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น
ก่อนแล้วจึงบริโภคทีหลัง
(8) พึงนอนให้เป็นสุข คือ ไม่พึงนอนก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี แต่ควรทำวัตรปฏิบัติที่ตนควรทำแก่ท่านเหล่านั้นแล้วค่อยนอนทีหลัง
(9) พึงบำเรอไฟ คือ พึงเห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามีเหมือนกับกองไฟ กล่าวคือ ควรปฏิบัติต่อท่านเหล่านั้นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
(10) พึงนอบน้อมเทวดาภายใน คือ พึงเห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามีเหมือนเทวดา
การทำหน้าที่กัลยาณมิตร
แต่เดิมมิคารเศรษฐีเป็นมิจฉาทิฏฐิและนับถืออเจลกะคือนักบวชเปลือย ได้นิมนต์นักบวชเหล่านี้มาฉันที่บ้านอยู่เป็นนิตย์ แต่เมื่อนางวิสาขาได้มาอยู่บ้านนี้แล้ว นางได้พยายามทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่ทุกคนได้นิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์มาที่บ้าน ได้ถวายภัตตาหารและฟังธรรม จนมิคารเศรษฐีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน นอกจากนี้นางยังทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้คนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น กุลบุตร 500 คน ในพระนครสาวัตถี ได้มอบภริยาของตน ๆ กะนางวิสาขามหาอุบาสิกา ด้วยมุ่งหมายว่า 'ด้วยอุบายอย่างนี้ภริยาเหล่านี้จักเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท' นางวิสาขาได้พาหญิงเหล่านั้นไปฟังธรรมจากพระศาสดา จนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันกันทั้งหมด
ขอพร 8 ข้อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันหนึ่งนางวิสาขาได้กราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "หม่อมฉันทูลขอประทานพร 8 ประการต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าคือสำหรับพระสงฆ์ หม่อมฉัน จะถวายผ้าวัสสิกสาฎก จะถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะจะถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมเดินทาง จะถวายภัตเพื่อพระอาพาธ จะถวายภัตเพื่อพระผู้พยาบาล จะถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ จะถวายยาคูเป็นประจำ และสำหรับภิกษุณีสงฆ์ หม่อมฉัน จะถวายอุทกสาฎกจนตลอดชีพ"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงขอพร 8 ประการนี้"
นางวิสาขากราบทูลว่า "วันนี้หม่อมฉันสั่งทาสีว่า 'เจ้าจงไปอารามแล้วบอกภัตกาลว่า ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า' เมื่อนางไปวัดได้เห็นภิกษุทั้งหลายเปลื้องผ้าสรง นานกายอยู่ เข้าใจผิดคิดว่า ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึงกลับมาบ้านแล้วรายงานแก่หม่อมฉันว่า 'นายไม่มีภิกษุในอารามมีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่'
(1) ความเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะ
ถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) แก่พระสงฆ์จนตลอดชีพ
(2) พระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง ย่อมเที่ยวบิณฑบาตลำบาก ท่านฉันอาคันตุกภัตของ
หม่อมฉัน พอชำนาญหนทาง จักเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายอาคันตุกภัตแก่พระสงฆ์จนตลอดชีพ
(3) พระผู้เตรียมตัวเดินทางมัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อตนอยู่ จักพลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปเมื่อพลบค่ำ ท่านฉันคมิกภัตของหม่อมฉันแล้ว จักไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึง ถานที่ที่ตนต้องการจะไปไม่พลบค่ำ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคมิกภัตแก่พระสงฆ์จนตลอดชีพ
(4) เมื่อพระอาพาธไม่ได้โภชนาหารที่ดี อาพาธกำเริบ หรือท่านจักมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานภัตของหม่อมฉัน อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานภัตแก่สงฆ์จนตลอดชีพ
(5) พระผู้พยาบาลมัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อตน จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธจนสาย ตนเองจักอดอาหาร ท่านได้ฉันคิลานุปัฏฐากภัตของหม่อมฉันแล้ว จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธตามเวลาตนเองก็จักไม่อดอาหาร หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายคิลานุปัฏฐากภัตแก่พระสงฆ์จนตลอดชีพ
(6) เมื่อพระอาพาธไม่ได้เภสัชที่ดี อาพาธจักกำเริบ หรือจักมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานเภสัชของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์จนตลอดชีพ
(7) พระองค์ทรงอนุญาตยาคู (ข้าวต้ม) ไว้แล้ว หม่อมฉันเห็นอานิสงส์ของยาคูตามที่พระองค์ตรัสนั้นจึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์จนตลอดชีพ
(8) ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำ ความเปลือยกายของมาตุคามไม่งาม หม่อมฉันเห็น
อำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎกแก่ภิกษุณีสงฆ์จนตลอดชีพ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ดีละ ดีละ วิสาขา ดีแท้ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอพร 8 ประการต่อตถาคต เราอนุญาตพร 8 ประการแก่เธอ"
สร้างบุพพารามถวายสงฆ์
นางวิสาขาได้บริจาคทรัพย์ 27 โกฏิเพื่อสร้างและฉลองวัดบุพพาราม กล่าวคือ ซื้อที่ดินด้วยทรัพย์ 9 โกฏิสร้างปราสาทด้วยทรัพย์ 9 โกฏิ และทำบุญฉลองบุพพารามด้วยทรัพย์อีก 9 โกฏิ บุพพารามแห่งนี้พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้คุมการก่อสร้าง ปราสาทมี 2 ชั้น มีห้องทั้งหมด 1,000 ห้อง ชั้นบน 500 ห้อง ชั้นล่างอีก 500 ห้อง นอกจากนี้นางวิสาขายังให้สร้างเรือน 2 ชั้น 500 หลัง ปราสาทเล็ก 500 หลัง ศาลายาว 500 หลัง แวดล้อมปราสาทนั้น บุพพารามนี้ใช้เวลา 9 เดือนจึงสร้างเสร็จ นางได้ฉลองอารามด้วยการนิมนต์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ประทับอยู่ในอารามนี้ตลอด 4 เดือน โดยได้ถวายทานเป็นประจำทุกวัน
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมหาเศรษฐีและพระราชาในสมัยพุทธกาลคือ นิยมสร้างวัดหรืออารามเพื่อเป็นแหล่งสั่งสมบุญของคนในแคว้น นอกจากวัดพระเชตวันและบุพพารามแล้วในสมัยพุทธกาลยังมีอีกหลายวัด เท่าที่ปรากฏชื่ออยู่บ่อย ๆ ในพระไตรปิฎกมีดังนี้
3. การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยบุคคล
การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยบุคคลของอุบาสกและอุบาสิกานั้น ก็มีลักษณะเดียวกับพระโพธิสัตว์และพระสาวกทั้งหลายดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 7 จากประวัติของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมหาอุบาสิกาวิสาขา ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น ระบุตรงกันว่า แต่ละท่านได้สร้างบารมีมาอย่างยาวนาน และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกจากพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อ 100,000 กัปที่ผ่านมา ซึ่งพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ 10 ใน 25 พุทธวงศ์
โดยสรุปคือ อุบาสก อุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ในศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจะได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกในสมัยพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกันทุกคน หลังจากนั้นต้องสร้างบารมีอีก 1 แสนกัปความปรารถนาจึงสำเร็จ ซึ่งระหว่าง 1 แสนกัปนี้มีพระโพธิสัตว์มาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 14 พระองค์ คือ พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าหากชาติใดอุบาสก อุบาสิกาเหล่านี้ได้เจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น และมีโอกาสได้สั่ง มบุญอย่างใดอย่างหนึ่งกับพระองค์ ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์สืบต่อกันเรื่อยมาว่า ความปรารถนาของอุบาสก อุบาสิกาท่านนั้น ๆ จะสำเร็จในสมัยของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าสำหรับอุบาสก อุบาสิกาทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเอตทัคคะนั้นก็ต้องสร้างบารมีลักษณะเดียวกัน แต่ไม่พบข้อมูลว่า อุบาสก อุบาสิกาเหล่านี้ได้รับพุทธพยากรณ์แต่อย่างใด
สำหรับหลักธรรมที่ใช้เป็นแม่บทในการสร้างบารมีของอุบาสก อุบาสิกานั้นคือ อนุปุพพิกถา และอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อุบาสก อุบาสิกาอยู่เสมอ แต่ในเชิงปฏิบัติดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 6 ว่า หากได้ปฏิบัติตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา ก็เท่ากับว่าได้ปฏิบัติอนุปุพพิกถา อริยสัจ 4 รวมทั้งบารมี 10 ทัศไปในตัว ด้วยเหตุนี้ทาน ศีล ภาวนา จึงเป็นแม่บทที่ง่ายที่สุดในการสร้างบารมีของอุบาสก อุบาสิกา
หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา