นิสัยปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติมรรคมีองค์แปด
ในหัวข้อนี้กล่าวถึงความสำคัญของนิสัยต่อการปฏิบัติมรรคมีองค์แปด โดยจะกล่าวมรรคมีองค์แปดในแง่ของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดบุญและบารมีส่วนกรรมที่ตรงข้ามกับมรรคมีองค์แปดจะเป็นอกุศลกรรมซึ่งจะทำให้เกิดบาป
นิสัย หมายถึง ความประพฤติที่เคยชิน คนที่มีนิสัยอย่างไรก็จะทำอย่างนั้นบ่อย ๆ เช่น มีนิสัยรักการนั่งสมาธิ ก็จะนั่งสมาธิอยู่บ่อย ๆ มีนิสัยชอบนินทาคนอื่น ก็จะนินทาคนอื่นอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น นิสัยนั้นไม่ว่าจะเป็น "นิสัยดี" หรือ "นิสัยไม่ดี" หากเราไม่ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวเราไปตลอดชีวิตและจะติดตัวข้ามชาติอีกด้วย ในบางครั้งเราจะได้ยินคำว่า "อุปนิสัย" ซึ่งหมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน หรือติดตัวมาข้ามชาตินั่นเอง
ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างเรื่องอุปนิสัยที่ติดตัวมาข้ามชาติมากมาย เช่น พระปิลินทวัจฉเถระ เป็นต้นแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ท่านยังพูดกับผู้อื่นด้วยคำว่า "เจ้าถ่อย" เสมอ ซึ่งเป็นเพราะความเคยตัวที่ติดมาจากภพอื่น การสร้างบารมี 30 ทัศ ได้แก่ ทานบารมี เป็นต้นของพระโพธิสัตว์และพระสาวกก็เหมือนกันต้องทำจนเป็นนิสัยจนบารมีเต็มเปี่ยมจึงตรัสรู้ธรรมได้
1. ความสำคัญของนิสัย
นิสัยมีความสำคัญตรงที่เป็นเหตุให้เราสร้างกรรมบางอย่างอยู่เป็นประจำหรือต่อเนื่อง กล่าวคือถ้ามีนิสัยดีก็จะสร้างกรรมดีอยู่เป็นประจำ ถ้ามีนิสัยไม่ดีก็จะสร้างกรรมชั่วอยู่เป็นประจำ ผลที่เกิดขึ้นคือ หากเรามีนิสัยที่ดีเราก็จะทำกรรมดีอย่างต่อเนื่องและจะได้บุญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่ถ้าเรามีนิสัยไม่ดีเราก็จะทำกรรมชั่วอย่างต่อเนื่องและจะได้บาปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ หรือ หลวงพ่อทัตตชีโว กล่าวไว้ว่า "นิสัยสำคัญกว่าความรู้" ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า "ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด" และ "ดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้" กล่าวคือ แม้จะมีความรู้มากทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม แต่ถ้าไม่ปรับปรุงนิสัยให้ดี ก็จะทำชั่วอยู่เรื่อย ๆ ตามนิสัยที่ไม่ดี เหมือนคนที่มีนิสัยชอบดูดบุหรี่ ชอบเที่ยวและใช้บริการหญิงโสเภณี เขาก็รู้อยู่เต็มอกว่าตนเองอาจเป็นโรคร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เพราะสิ่งเหล่านี้ ถึงกระนั้นเขาก็ยังทำสิ่งนั้นอยู่เป็นประจำ บุหรี่และสถานบริการทางเพศจึงเป็นธุรกิจที่ยังทำกำไรได้มากในเกือบทุกประเทศ ในขณะเดียวกันผู้ติดเชื้อเอดส์และเป็นโรคระบบทางเดินหายใจก็เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกัน
2. นิสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
นิสัย คือ ความประพฤติที่เคยชิน ด้วยเหตุนี้นิสัยจึงเกิดขึ้นจากการที่เราคิดพูดและทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่บ่อย ๆ อย่างต่อเนื่องด้วยระยะเวลาหนึ่ง ดังทฤษฎีของนายแพทย์ชาวตะวันตกท่านหนึ่งชื่อ แม็กซ์เวลล์ที่ว่า "หากทำอะไรก็ตามต่อเนื่องกัน 21 วันก็จะเกิดเป็นนิสัย"
3. ห้าห้องแหล่งบ่มเพาะนิสัย
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียดลึกซึ้ง และนำมาใช้ฝึกอบรมศิษยานุศิษย์นับล้านคนตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ท่านได้ รุปไว้ว่า แหล่งบ่มเพาะนิสัยคือ ถานที่ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งมีอยู่ 5 แห่งหรือ 5 ห้องคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องแต่งตัวและห้องทำงาน โดยห้องทำงานนั้นขึ้นอยู่กับเพศภาวะอาชีพและวัย กล่าวคือ หากเป็นนักเรียนห้องทำงานก็คือห้องเรียนส่วนผู้ใหญ่ก็มีห้องทำงานแตกต่างกันตามอาชีพ เช่น ชาวนาห้องทำงานคือท้องนาฟ้าโล่งนักธุรกิจห้องทำงานคือห้องแอร์เย็น ๆส่วนห้องทำงานของนักสร้างบารมีคือวัดหรือแหล่งบุญอื่น ๆ
วงจรชีวิตของมนุษย์ทุกคนจะหมุนเวียนอยู่ในห้องทั้ง 5 นี้ทุกวันคือ ตื่นเช้าขึ้นมาจากห้องนอนก็เข้าไปล้างหน้าล้างตาและขับถ่ายในห้องน้ำ จากนั้นก็เข้าไปรับประทานอาหารในห้องครัว เสร็จแล้วก็แต่งเนื้อแต่งตัวในห้องแต่งตัว แล้วก็นั่งรถออกจากบ้านเพื่อไปห้องทำงาน ตกเย็นก็กลับเข้าห้องนอน ซึ่งจะหมุนเวียนเป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้นิสัยทั้งดีและไม่ดีจึงเกิดขึ้นจาก 5 ห้องนี้เป็นหลักเพราะเราใช้อยู่เป็นประจำ
4. หลักการบ่มเพาะนิสัยที่ดี
เมื่อเรารู้แล้วว่า 5 ห้องดังกล่าวข้างต้นเป็นแหล่งบ่มเพาะนิสัยทั้งดีและไม่ดีกับเรา ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องบริหารจัดการห้องทั้ง 5 นี้เสียใหม่เพื่อให้เป็นไปเพื่อบ่มเพาะนิสัยที่ดีล้วน ๆ ถามว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนี้ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติไม่ได้หรือ เรื่องนี้พระภาวนาวิริยคุณได้ให้ข้อคิดไว้ว่า "ของดีต้องปลูกส่วนของไม่ดีไม่จำเป็นต้องปลูกมันงอกขึ้นเองตามธรรมชาติ" เช่น หญ้าเราไม่จำเป็นต้องปลูกมันขึ้นของมันเองส่วนข้าวเราต้องปลูกจึงจะได้กิน หากไม่ปลูกก็ไม่มีให้กิน นิสัยไม่ดีก็เช่นกันเราไม่ต้องปลูกมันจะเกิดขึ้นเองจากการดำเนินชีวิตแต่ละวันของเรา ลำพังเพียงการตามกำจัดก็หนักแรงอยู่แล้ว ในทางตรงข้ามคือ นิสัยที่ดีหากเราไม่ตั้งใจปลูกมันมักจะไม่เกิดเหมือนกับข้าวอย่างไรอย่างนั้น
การบริหารจัดการห้องทั้ง 5 ให้เป็นไปเพื่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีมีหลักการว่า "ต้องจัดทำสิ่งแวดล้อมในห้องทั้ง 5 ให้ดีและต้องมีวิธีการใช้ห้องที่ถูกต้อง"สิ่งแวดล้อมในที่นี้คือ รูปแบบห้อง อุปกรณ์ และบุคคลส่วนวิธีการใช้ห้องคือ วิธีการใช้ที่ทำให้เกิดนิสัยที่ดีขึ้นนั่นเอง
1) รูปแบบห้อง เราต้องคิดว่า รูปแบบของห้องแต่ละห้องที่เป็นไปเพื่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นกับเราและคนในครอบครัวควรจะเป็นอย่างไร เช่น ห้องนอน ถ้าเราต้องการให้ลูกของเรามีนิสัยที่ดีคือสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิก่อนนอนทุกคืน เราก็ต้องออกแบบห้องให้เหมาะกับการสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ กล่าวคือ ห้องจะต้องป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนและควรมีพื้นที่สำหรับวางชุดโต๊ะหมู่เล็ก ๆ ไว้ในห้อง เป็นต้นส่วนรูปแบบของห้องอื่น ๆ ก็เช่นกันคือ ต้อง
เกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดี
2) อุปกรณ์ในห้อง อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในห้องแต่ละห้องก็ต้องเกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีอุปกรณ์ใดที่จะทำให้นิสัยไม่ดีเกิดขึ้นต้องนำออกไป โดยห้องนอนควรมีอุปกรณ์ดังนี้ เช่น ภาพองค์พระ หรือชุดโต๊ะหมู่เล็ก ๆสำหรับกราบก่อนนอน, แฟ้มภาพการสั่ง มบุญสำหรับเอาไว้ดูเพื่อนึกถึงบุญจะได้หลับในอู่ทะเลบุญ, เตียงนอนก็ไม่ควรเป็นเตียงที่นุ่มมากไปเพราะทำให้นอน บายจนเกินไปเป็นเหตุตื่นสาย เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ควรมีในห้องนอน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เพราะจะทำให้เราดูหนังดูละครเพลินอันเป็นเหตุให้นอนดึกและตื่นสายจนเป็นนิสัย และการดูหนังบางเรื่องที่มีเนื้อหารุนแรงก็จะบ่มเพาะนิสัยไม่ดีให้เราได้เช่นกัน ภาพที่ไม่เหมาะ มก็ไม่ควรติดไว้ในห้องนอน เช่น ภาพดารา ภาพโป เป็นต้นส่วน
อุปกรณ์ในห้องอื่น ๆ ก็มีหลักการเช่นเดียวกันคือ ต้องเกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดี
3) บุคคลในห้อง บุคคลนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก เป็นต้นแบบหลักแห่งนิสัยดีและไม่ดีของมนุษย์ บุคคลในที่นี้คือ ทิศ 6 หมายถึง ผู้ที่อยู่แวดล้อมของมนุษย์ทุกคน ทิศเบื้องหน้า คือ บิดามารดา ทิศเบื้องหลัง คือ บุตรภรรยา ทิศเบื้องขวา คือ ครูอาจารย์ ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตร หาย ทิศเบื้องบน คือ พระภิกษุส่วนทิศเบื้องล่างคือ ลูกน้องพนักงาน
บุคคลในทิศทั้ง 6 นี้มนุษย์ทุกคนจะต้องเจอต้องพูดต้องคุยกันเกือบทุกวันตามห้องต่าง ๆ ทั้ง 5 ห้องดังกล่าวมาแล้ว ถ้าคนทั้ง 6 ทิศที่แวดล้อมเราอยู่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี เราก็จะเห็นต้นแบบที่ดีอยู่เป็นประจำทำให้เราคิดถึงสิ่งที่ดีพูดถึงสิ่งที่ดีที่ได้เห็นนั้นเป็นประจำ และในที่สุดเราก็จะทำสิ่งที่ดีนั้นเป็นประจำด้วย นั่นหมายถึงเราติดนิสัยที่ดีจากทิศทั้ง 6 นั้นมาแล้ว ในทางตรงข้ามหากบุคคลที่อยู่แวดล้อมเราส่วนใหญ่เป็นคนไม่ดีเราก็จะเห็นต้นแบบที่ไม่ดีอยู่เป็นประจำ เมื่อเราเห็นเป็นประจำก็เป็นเหตุให้เราคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีพูดถึงสิ่งที่ไม่ดีที่ได้เห็นนั้นเป็นประจำ และในที่สุดเราก็จะทำสิ่งที่ไม่ดีนั้นเป็นประจำด้วย นั่นหมายถึงเราติดนิสัยที่ไม่ดีจากทิศทั้ง 6 นั้นมาแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสอนว่า "บุคคลคบคนเช่นใดย่อมเป็นเหมือนคนเช่นนั้น" ด้วยเหตุนี้จึงควรคบแต่คนดีและหลีกหนีให้ห่างไกลจากคนพาล ถามว่าหากคนพาลนั้นเป็นคนที่มีพระคุณต่อเราหรือเป็นคนที่เราจำเป็นต้องอยู่ด้วย จะทำอย่างไร เช่น บิดามารดา เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้เราคงหลีกหนีไม่ได้แต่ให้เราอยู่กับท่านอย่างมีสติ ไม่รับนิสัยไม่ดีต่าง ๆ มาสู่เราและอดทนคอยเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ท่าน เช่น ชวนบิดามารดามาทำบุญและฟังธรรมที่วัดในโอกาสต่าง ๆ เมื่อท่านได้ทำบุญและฟังธรรมบ่อย ๆ นิสัยไม่ดีในตัวท่านก็จะลดลงเอง
4) วิธีการใช้ห้อง วิธีการใช้ห้องที่ถูกต้องนั้นมีหลักการสำคัญเช่นเดียวกันคือ "ต้องใช้แล้วก่อให้เกิดนิสัยที่ดีแก่เรา" เช่น ห้องนอน ควรมีวิธีการใช้ห้องตอนก่อนนอน ขณะนอน และหลังจากตื่นนอนดังต่อไปนี้
1. เข้าห้องนอนไม่ควรเกิน 4 ทุ่ม
2.สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน
3. นั่งสมาธิและแผ่เมตตาก่อนนอน
4. นึกถึงบุญและอธิษฐานจิตก่อนนอน
5. นอนในอู่แห่งทะเลบุญคือ จรดจิตไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และนึกถึงองค์พระหรือดวงแก้วไปจนกว่าจะหลับ ถ้าหากทำได้ควรนอนตะแคงขวาหรือสำเร็จ สีหไสยาสน์ เพราะเป็นท่านอนที่ทำให้มี ติและส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด
6. ตื่นนอนแต่เช้า
7. เมื่อตื่นนอนก็ให้ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญ คือ เมื่อตื่นก็ให้นำใจไปจดไว้ที่ศูนย์กลางกายแล้วนึกว่า "เราโชคดีที่รอดมาได้อีกหนึ่งวัน ขอให้ สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้นตายแน่ตายแน่" จะได้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตตลอดทั้งวัน
8. เก็บที่นอนพับให้เรียบร้อย
ฯลฯ
เมื่อเราปฏิบัติตามวิธีการใช้ห้องนอนเช่นนี้ จะทำให้เรามีนิสัยที่ดีคือ เป็นคนตรงต่อเวลารักในการสั่งสมบุญ มีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นคนไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต และเป็นคนรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มักง่าย เป็นต้น และที่สำคัญบุญกุศลก็จะเกิดขึ้นกับเราทุกคืนทุกวันอย่างต่อเนื่อง เมื่อละโลกไปแล้วเราก็จะมีสุคติโลก วรรค์เป็นที่ไป วิธีการใช้ห้องอื่นใดที่เคยทำมาแล้วส่งผลให้เกิดนิสัยไม่ดี เช่น ดูหนังจนดึก ทำให้ต้องนอนดึก และนอนอย่างไม่มีสติ ตื่นก็สาย ตื่นแล้วก็ไม่เก็บที่นอนให้เรียบร้อย เป็นต้น ก็ให้เลิกเสียส่วนวิธีการใช้ห้องอื่น ๆ ก็เช่นกันคือ ต้องเป็นวิธีที่เกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น
5. หลักธรรมที่เกื้อหนุนมรรคมีองค์แปด
หลักธรรมในพระไตรปิฎกอาจจัดแบ่งได้อีกรูปแบบหนึ่งคือ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องมนุษย์ เรื่องสังคม และเรื่องสิ่งแวดล้อม หากเทียบกับหมวดวิชาในทางโลกจะได้ดังนี้คือ เรื่องมนุษย์ คือ หมวดมนุษยศาสตร์ เรื่องสังคมคือ หมวดสังคมศาสตร์ และเรื่องสิ่งแวดล้อม คือ หมวดวิทยาศาสตร์ ทั้ง 3 หมวดวิชานี้ครอบคลุมศาสตร์ทั้งปวงในทางโลก
หลักธรรมในพระไตรปิฎกเน้นเรื่องมนุษย์ศาสตร์เป็นหลัก เพราะจุดประ สงค์หลักในการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ เพื่อให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ส่วนเรื่องสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพื่อเสริมหรือเกื้อหนุนหลักธรรมที่ว่าด้วยการพ้นทุกข์คือ มรรคมีองค์แปดเท่านั้น
5.1 หลักธรรมหมวดสังคมศาสตร์
หลักธรรมหมวดสังคมศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้วก็จะช่วยให้ปฏิบัติมรรคมีองค์แปดได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องวิตกกังวลและตามแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการอยู่ร่วมกัน จะมีเวลาในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น หลักธรรมหมวดนี้มีทั้งด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีหลักธรรมเกี่ยวกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือ การชวนคนทำความดี การเผยแผ่พระธรรมคำสอนไปสู่ชาวโลกสาเหตุสำคัญที่ต้องมีหลักธรรมนี้ก็เพื่อช่วยให้ชาวโลกพ้นทุกข์ เมื่อชาวโลกพ้นทุกข์หรือได้เจอที่พึ่งภายในแล้วสังคมโดยรวมก็จะสงบสุข เป็นเหตุให้มวลมนุษย์มีเวลาปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุประโยชน์สูงสุดได้อย่างเต็มที
สิ่งที่ต้องตระหนักคือ เราไม่อาจจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขหากคนรอบบ้านเรายังเป็นคนพาล เพราะไม่ช้าไม่นานความพาลของเขาจะส่งผลกระทบถึงเราผู้เป็นคนดี เราอาจจะถูกประทุษร้ายด้วยวิธีการต่าง ๆ เราอาจจะนอนไม่หลับเพราะเพื่อนบ้านตั้งวงดื่มเหล้ากันอย่างเมามายในยามดึกดื่น ลูกหลานของเราอาจจะถูกกระทำชำเราจากมิจฉาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
สถานการณ์การก่อการร้ายใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยและการก่อการร้ายทั่วโลกเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องตระหนักว่า เราไม่อาจจะเป็นคนดีเพียงลำพังได้ จะต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้ชาวโลกเข้าใจกฎแห่งกรรมด้วย หากเขาเข้าใจว่านรก วรรค์มีจริง เขาจะไม่ก่อการร้ายอย่างที่ผ่านมาแน่นอน แม้ภารกิจดังกล่าวจะเป็นเรื่องยากและไม่อาจจะทำให้คนทั้งโลกเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ อีกทั้งเราจะได้บุญบารมีจากการนี้ด้วย และถ้าสามารถทำให้คนกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มที่มีอำนาจในสังคมเป็นคนดีได้ ก็จะทำให้สังคมโลกโดยรวม สงบสุขได้ง่าย
5.2 หลักธรรมหมวดวิทยาศาสตร์
หมวดวิทยาศาสตร์นี้เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ จักรวาลและภพภูมิ จุดประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ก็เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของภพภูมิต่าง ๆ เพื่อให้ทราบความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละภพภูมิ เช่น ความสุข บายของเทวดา เมื่อพุทธบริษัทได้ฟังแล้วจะได้มีกำลังใจในการสร้างบุญให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป หากเป็นเรื่องนรกก็จะทำให้ผู้ฟังมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะชีวิตของสัตว์ในนรกที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสอย่างที่ไม่อาจจะเทียบได้กับความทุกข์ในโลกมนุษย์ ความร้อนในมหานรกนั้นร้อนยิ่งกว่าดวงอาทิตย์หลายร้อยหลายพันเท่า หากนำดวงอาทิตย์ใส่เข้าไปในมหานรกก็จะหลอมละลายไปในพริบตา
นอกจากนี้บางครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงความไม่เที่ยงของโลกนี้เพื่อให้ภิกษุที่ฟังอยู่เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารแล้วตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาเพื่อการหลุดพ้นดังที่ปรากฏในสุริยสูตรว่าสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตก หลายแสนปีเมื่อฝนไม่ตก พืช ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง ฉันใดสังขารก็ฉันนั้น เป็น ภาพไม่เที่ยง ไม่น่าชื่นชม ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏเพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใดสังขารก็ฉันนั้น เป็นภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏเพราะอาทิตย์ดวง ที่ 3 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 4 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 5 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 6 ปรากฏ ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วงมีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็น ภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่ายควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง...
หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา