ทำอย่างไรจึง "หาทรัพย์เป็น"
การหาทรัพย์เป็นไม่ใช่เพียงแค่เอาร่างกายไปทำงานเพื่อให้ได้เงินเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย เพราะการหาทรัพย์เป็น เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีรายละเอียดและวิธีการอยู่ในตัว และต้องไม่ลืมด้วยว่าสาเหตุที่ทำให้คนเราได้ทรัพย์นั้น มี 2 ประการ คือ
1) ได้ทรัพย์เพราะความขยันอย่างถูกดีถึงดีพอดีในปัจจุบัน
2) ได้ทรัพย์เพราะการส่งผลของบุญที่ทำไว้ดีแล้วในอดีต
โดยสาเหตุของการได้ทรัพย์ทั้ง 2 ประการ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ได้ทรัพย์เพราะความขยันอย่างถูกดี "ถึงดี" พอดีในปัจจุบัน
ความขยันในการหาทรัพย์เป็นนิสัยที่คนสร้างฐานะต้องมีในตัว และความขยันเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้สร้างฐานะให้สำเร็จได้ แต่ต้องเป็นความขยันที่ประกอบกับกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ กระบวนการ
1) การผลิต
2) การพัฒนา
3) การบริหารจัดการ
4) การขาย
ทั้ง 4 ประการนี้ ให้ถูกดี ถึงดี พอดี จึงจะเรียกว่า เป็นคนหาทรัพย์เป็น
1) การผลิต
การผลิต คือ การสร้างงานสร้างผลงานออกมาให้ถูกดี ถึงดี พอดี คนสร้างฐานะต้องมีความขยันในการผลิต โดยต้องยึดมั่นใน "สัจจะ" เป็นคุณธรรมพื้นฐาน และมีหน้าที่ต้องกระทำ 5 ประการ คือ
1.1) เลือกประกอบสัมมาอาชีพตามที่ตนถนัด หมายถึง การเลือกอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทุจริตผิดกฎหมาย และไม่เป็นมิจฉาอาชีพมิจฉาอาชีพที่พระพุทธองค์ทรงให้ไว้คือ
1. การค้าอาวุธ
2. การค้ามนุษย์
3. การค้ายาพิษ
4. การค้ายาเสพติด
5. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
วัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงห้ามประกอบการค้าทั้ง 5 ประการ ก็เพราะว่าเป็นอาชีพที่ผิดหลักกฎแห่งกรรม หากไปประกอบอาชีพนี้แล้วย่อมก่อเวรสร้างกรรมให้กับตนเองเมื่อตายไปย่อมตกนรกแน่นอน ดังนั้น ชาวพุทธต้องศึกษาให้ดีว่า เมื่อจะเลือกประกอบอาชีพต้องเป็นอาชีพที่ไม่ผิดหลักกฎแห่งกรรม
1.2) ผลิตสินค้ามีคุณภาพ
คุณภาพ คือสิ่งที่เป็นมาตรฐาน หรือสิ่งที่เป็นต้นแบบ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจึงเป็นการสร้างสรรค์สินค้าหรือผลงานที่เป็นมาตรฐานและเป็นต้นแบบ
หัวใจของการทำการค้าคือการแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุดด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพไม่ใช่การทำกำไรจากการเอารัดเอาเปรียบลูกค้าให้ได้มากที่สุด คนที่เอาเปรียบลูกค้า เช่น ลดปริมาณสินค้า ลดคุณภาพสินค้า แม้จะได้กำไรในตอนแรก แต่อีกไม่นานกิจการต้องถดถอย เพราะใครๆ ก็ต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม ก็จะเกิดความรังเกียจไม่กลับมาซื้ออีกต่อไป โบราณจึงกล่าวไว้ว่า "ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน" คนทำการค้าจึงต้องรักษาความน่าเชื่อถือของตนให้ดี
1.3) รักษาคำพูด
รักษาคำพูด คือ การรักษาวาจา มีสัจจะ ไม่โกหก หลอกลวง
การทำธุรกิจการค้า ต้องมีสัจจะ พูดความจริง รู้รักษาคำพูด รวมถึงสัญญาข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกัน เพราะการรักษาคำพูดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กิจการเจริญรุ่งเรืองได้ เช่น เมื่อตกลงส่งสินค้าให้กับลูกค้าวันใด ก็ต้องส่งไปตามกำหนดเวลา ไม่เช่นนั้นก็จะก่อความเสียหายได้
1.4) ไม่คดโกงลูกค้า
ไม่คิดโกงลูกค้า คือ การซื่อสัตย์ ซื่อตรง ตรงไปตรงมากับลูกค้าของตน ไม่ทำการค้าโดยการคดโกง เอารัดเอาเปรียบ ใช้เล่ห์ล่อหลอกให้คนหลงกล ของไม่ดีก็กลับบอกว่าดี ของไม่มีคุณภาพก็บอกว่ามีคุณภาพ เช่น นำของปลอมมาหลอกขายว่าเป็นของจริงผู้ซื้อไม่รู้ก็นำไปใช้จนเกิดอันตรายได้
1.5) เลือกคบคนดีมาเป็นหุ้นส่วน
เลือกคบคนดีมาเป็นหุ้นส่วน คือ การเลือกเอาแต่คนดีมาเป็นหุ้นส่วนทำการค้า บุคคลที่มีอาชีพเป็นนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ถ้าต้องการขยายกิจการก็อาจจำเป็นต้องมีการร่วมลงทุนกับผู้อื่น ถ้าตัดสินใจจะดำเนินการดังกล่าว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกลงทุนร่วมกับคนดีมีศีลธรรมเท่านั้น ถ้าเราดูคนไม่ออก ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ หรือเชื่อคนง่าย เราก็อาจจะได้คนไร้ศีลธรรมมาเป็นหุ้นส่วน ซึ่งถ้ากิจการของเราเจริญขึ้น ก็อาจถูกเขาใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกงยึดกิจการไปจากเรา หรือมิฉะนั้นก็คงจะทำให้กิจการของเราพินาศล่มจมลงได้
2) การพัฒนา
พัฒนา แปลว่า ทำให้เจริญ ทำให้มาก
การสร้างฐานะต้องขยันพัฒนา ที่สำคัญต้องรู้จักพัฒนาทั้งความรู้ความสามารถตลอดเวลา ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถต่อสู้กับการแข่งขันได้ อีกทั้งต้องมี "ทมะ" เป็นคุณธรรมพื้นฐาน คือ มีนิสัยรักการฝึกฝน อบรมตนเอง และการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตัวสิ่งที่จำเป็นต้องพันาในขั้นต้นมี 4 ประการ คือ
2.1) หมั่นพัฒนาความรู้
ความรู้ หมายถึง วิชาความรู้ในวิชาชีพ
การหมั่นขวนขวายหาความรู้ มาใช้ในการทำงาน ทั้งด้านการบริหาร และการผลิตเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ได้ปริมาณผลผลิตสูงสุด มีคุณภาพดีที่สุด ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วยซึ่งจะมีผลดีต่อการแข่งขันกันในด้านธุรกิจ
2.2) หมั่นเพิ่มพูนความดี
ความดี คือสิ่งที่ทำไปแล้วทั้งทางกาย วาจา ใจ แล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง การทำความดีพร้อมๆ กับการสร้างฐานะ ย่อมเป็นการทำเป้าหมายชีวิตทั้ง 3 ระดับ ไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครดิต ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจให้กับตนเองอีกด้วย เพราะถ้าเราต้องการให้คนดีมาค้าขายกับเรา เราก็ต้องเป็นคนดีก่อน ด้วยการทำความดีให้มากๆ ด้วยความเต็มใจ และเป็นนิสัย ไม่ใช่การทำความดีเพื่อเอาหน้า
2.3) หมั่นพันาเทคโนโลยี
เทคโนโลยี คือ เครื่องมือเครื่องใช้ที่อำนวยความสุขสะดวกสบาย การเป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนใครๆ จะทำให้เป็นผู้ได้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก่อนผู้อื่น อีกประการหนึ่ง เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต เทคโนโลยีมักจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง หากไม่ยอมรับหรือปฏิเสธเทคโนโลยีก็จะกลายเป็นคนล้าหลัง ก้าวตามไม่ทัน ความสำเร็จก็จะมีน้อยกว่าคนอื่น
2.4) หมั่นติดตามข่าวสารและสถานการณ์ในโลก
ข่าวและสถานการณ์ คือ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดทั่วทุกมุมโลก ต้องมีความรอบรู้ในข้อมูลข่าวสารสถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจและสังคม ดินฟ้าอากาศ ของโลกทั้งโลก เพราะเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจการค้า ไม่ว่าใครจะทำอะไรที่ไหนในโลกสิ่งนั้นจะส่งผลกระทบไปทั้งโลก หากไม่มีความรอบรู้ก็จะไม่มีข้อมูลเพื่อตัดสินใจ หรือสามารถวางแผนล่วงหน้า ต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้
3) การบริหาร
การบริหาร คือ การเข้าไปจัดการในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคล เงิน ทรัพยากรงานทุกงานต้องอาศัยการบริหารจัดการทั้งสิ้นจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในงานบริหารย่อมต้องมีปัญหา และอุปสรรคให้ต้องแก้ไขอยู่เสมอ ผู้บริหารต้องมีความ "อดทน" เป็นนิสัยจึงจะสามารถบริหารได้สำเร็จ หน้าที่หลักของผู้บริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ
3.1) ขยันทำงานตามเวลา
ผู้บริหารต้องมีนิสัยตรงต่อเวลา มีวินัยในเรื่องเวลา รู้จักจัดการงานตามเวลา งานใดสำคัญก็ต้องทำก่อน งานใดยังไม่สำคัญก็ต้องรอไปก่อน และเมื่อถึงเวลาต้องทำงานใด ก็ต้องทำงานนั้นทันที ไม่ควรผัดวันประกันพรุ่ง เป็นดินพอกหางหมูสุดท้ายก็ไม่ได้ทำงาน
3.2) หมั่นตรวจตรางานให้เรียบร้อย
ผู้บริหารต้องมีนิสัยไม่ประมาท คือ รู้จักสังเกต ไม่ปล่อยผ่านในสิ่งแม้เพียงเล็กน้อย เมื่อพบสิ่งผิดปกติก็ต้องรีบแก้ไขในทันทีโดยไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ หรือทำงานแบบสุกเอาเผากินผักชีโรยหน้าเป็นต้น
3.3) อดทนกับการแก้ปัญหา
ผู้บริหารต้องมีนิสัยอดทน เป็นคนสู้ปัญหา พบปัญหาแล้วแก้ไข ไม่ใช่หนีปัญหาไม่หาทางแก้ไข และรู้จักป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก ดังนั้น ความอดทนเท่านั้นจึงจะเอาชนะปัญหาอุปสรรคได้
3.4) หมั่นตรวจตราบัญชี
ผู้บริหารต้องมีนิสัยละเอียดรอบคอบ หมั่นตรวจ อบบัญชีการเงินทั้งรายรับ รายจ่ายรายเหลือ ว่ามีการขาดทุน กำไร อย่างไรจะได้สามารถวางแผน แก้ไข ป้องกัน ปัญหาการเงินของตนได้ทันที
4) การขาย
จะค้าขาย ทำธุรกิจได้กำไร ขาดทุน มากน้อยเพียงใดอยู่ที่สามารถปิดการขายได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น คุณสมบัติพื้นฐานของนักขายที่ดี ที่ทุกคนต้องมี คือ จาคะ มีลักษณะ 4 ประการคือ
4.1) รู้จักรักษาอารมณ์ให้แจ่มใส
ผู้ขายต้องมีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ รอยยิ้มจะสร้างความคุ้นเคยให้กับลูกค้า ให้รู้สึกสนิทสนมและเป็นมิตร จะได้รู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ แม้ลูกค้าจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ตาม ก็ต้องยิ้มแย้มตลอดเวลา ไม่ควรทำหน้าบูดบึ้งอารมณ์เสียใส่ลูกค้า เพราะวันนี้ลูกค้าอาจจะไม่ซื้อ แต่หากลูกค้าประทับใจ วันอื่นลูกค้าก็จะกลับมาซื้ออีกแน่นอน
4.2) รู้จักให้สิ่งมีประโยชน์แก่ลูกค้า
ผู้ขายต้องเสนอสินค้าแก่ลูกค้าตามความเป็นจริงสินค้าของเรามีรายละเอียด คุณภาพอย่างไร ใช้งานอย่างไร ต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจชัดเจนเสียก่อน ไม่ควรหลอกขายสินค้าที่ด้อยคุณภาพ หรือ โฆษณาเกินจริง หรือลูกค้าบางคนไม่มีความรู้ ก็ต้องอธิบายให้ความรู้แนะนำช่วยเหลือลูกค้าให้เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ แม้จะไม่ซื้อสินค้าของเราก็ตาม
4.3) รู้จักอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
ผู้ขายต้องให้ความสำคัญกับการบริการ เพราะการบริการเป็นสิ่งสำคัญของการขาย ลูกค้ามีความต้องการอย่างไร ผู้ขายต้องอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในทุกๆ ด้าน เช่น ตัวอย่างสินค้าพื้นที่สำหรับลูกค้าได้เลือกชมสินค้า เก้าอี้สำหรับนั่ง ห้องน้ำสะอาด ให้การต้อนรับลูกค้าเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยียนถึงบ้าน
4.4) รู้จักผูกใจลูกค้าที่เป็นคนดีมาเป็นลูกค้าประจำ
ผู้ขายต้องใส่ใจกับลูกค้าที่เป็นคนดี เพราะการค้าขายกับคนดีย่อมสบายใจกว่าคนไม่ดีฉะนั้นการผูกใจให้สนิทสนมคุ้นเคยกันไว้เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ จะได้ติดต่อค้าขายกันได้นาน ๆ การได้คนดีมาเป็นลูกค้าจะมีแต่ช่วยกันเจริญก้าวหน้า เพราะคนดีจะไม่ชักชวนไปในทางที่เสื่อมหรือพาให้ฉิบหาย ตรงกันข้ามกับคนพาล หากพบพานมากๆ เข้าก็มีแต่จะล่มจม มีแต่จะเสื่อมทั้งชีวิต ธุรกิจการค้าทีเดียว
ความขยันให้การหาทรัพย์เป็น จึงเป็นต้นทางของการสร้างฐานะให้ร่ำรวย ประการแรกและเป็นความเก่งที่สามารถเรียนรู้และสร้างขึ้นมาในตนเองได้ แต่จะสร้างฐานะให้ร่ำรวยได้อย่างแน่นอนต้องเป็นความเก่งบวกกับความเฮงที่ได้มาจากการสร้างบุญ
2. ได้ทรัพย์เพราะการส่งผลของบุญที่ทำไว้ดีแล้วในอดีต
การสร้างฐานะ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพ ทำธุรกิจประเภทใด ย่อมต้องการกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมาย แต่หลายครั้งจะพบว่า แม้จะขยันทำเต็มที่เพียงใดก็ไม่ได้ผลตามที่ตั้งใจไว้ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ไม่สูงขึ้น เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องบุญ ที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างฐานะของตน พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ใน "วาณิชชสูตร" มีใจความสรุปได้ว่า
1. โกงบุญตนเองจึงขาดทุน หมายความว่า คนบางคนเคยปวารณากับสมณพราหมณ์ว่า
ถ้าพระคุณเจ้าต้องการปัจจัยสิ่งใดขอให้บอกเขา ครั้นต่อมาภายหลัง เมื่อเขาได้รับการบอกกล่าวแล้วก็เฉยเสีย คนประเภทนี้ เมื่อละโลกไปแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ไม่ว่าจะสร้างฐานะด้วยการประกอบอาชีพใดๆ ก็มีแต่ขาดทุน ได้เงินน้อยกว่าที่ควรได้
2. โกงบุญบางส่วน ทำให้ได้กำไรน้อย หมายความว่าคนบางคนถวายปัจจัยแก่ สมณ
พราหมณ์น้อยกว่าที่ตนเคยปวารณาต่อพระคุณเจ้า คนประเภทนี้ เมื่อละโลกไปแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ไม่ว่าจะสร้างฐานะด้วยการประกอบอาชีพใดๆ ก็จะได้กำไรน้อยกว่าที่ตั้งไว้
3. ทำบุญตามกำลังจึงได้กำไรตามเป้าหมาย หมายความว่า คนบางคนถวายปัจจัยแก่
สมณพราหมณ์ตรงตามจำนวน ที่ตนเคยปวารณาไว้ ไม่ว่าตนเองจะประสบอุปสรรคมากน้อยเพียงใดหรือไม่ก็ตาม คนประเภทนี้เมื่อละโลกไปแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะสร้างฐานะด้วยการประกอบอาชีพใดๆ แม้มีอุปสรรคแบบไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากมายเพียงใดเขาก็สามารถฝ่าฟันจนกระทั่งได้กำไร ตามที่หวังจนได้
4. ทำบุญเต็มกำลังจึงได้กำไรเกินเป้า หมายความว่า คนบางคนถวายปัจจัยอย่างเต็ม
กำลังแก่สมณพราหมณ์ คือถวายมากกว่าที่ตนเองปวารณาไว้ คนประเภทนี้เมื่อละโลกไปแล้วก็ไปสู่สุคติ เมื่อกลับมาเป็นมนุษย์อีก ไม่ว่าจะสร้างฐานะด้วยการประกอบอาชีพใดๆ ก็ได้กำไรเกินเป้าทุกทีไป
เพราะฉะนั้น คนที่จะสร้างฐานะคนใดที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพตามที่คาดหวังหรือประสบความล้มเหลว ถ้ามั่นใจว่าสาเหตุแห่งปัญหาไม่ได้มาจากความขยันหมั่นเพียรแล้วละก็ย่อมจะต้องเป็นสาเหตุจากการขาดกำลังบุญในอดีตแน่นอน เมื่อทราบแล้วก็พึงกัดฟันสู้ต่อไปด้วยการทำมาหากินควบคู่กับการสร้างบุญกุศลเรื่อยไปในเชิงบูรณาการให้ยิ่งๆ ขึ้น แม้ผลยังบังเกิดไม่ทันในชาตินี้ ก็จะบังเกิดในชาติหน้าและชาติต่อไปอีก
ส่วนคนสร้างฐานะคนใดที่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง หรือเกินความคาดหวังก็อย่าพึงหลงคิดว่า ความสำเร็จของท่านเกิดจาก "หนึ่งสมองสองมือของท่านแท้ๆ" แท้ที่จริงแล้วยังมีบุญกุศลที่ท่านเคยสั่ง มไว้สนับสนุนอยู่ด้วย เข้าทำนองที่มีผู้นิยมพูดกันว่า "เก่งอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องทั้งเก่งทั้งเงนั่นแหละ จึงจะรวย"
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ท่านกำลังสร้างฐานะทางเศรษฐกิจไป ท่านจะต้องไม่มองข้ามการสั่งสมบุญไว้ล่วงหน้าอย่างเด็ดขาด
3. ทำอย่างไรจึง "เก็บทรัพย์เป็น"
1) การเก็บทรัพย์คืออะไร
คือ การออมทรัพย์เพื่อจะได้ใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2) ทำไมจึงต้องเก็บทรัพย์
เหตุผลที่ต้องเก็บทรัพย์ คือ
1. ทรัพย์บางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ข้าวปลา อาหาร ยารักษาโรค ถ้าไม่มีแล้วก็จะต้องตาย
2. ทรัพย์เป็นสิ่งที่หามาได้โดยยาก ต้องใช้ความขยัน อดทนจึงจะได้มา เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต
3. เป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคม ว่าเป็นคนรวย หรือ คนจน
4. เป็นหลักประกันเมื่อยามเจ็บป่วย ใช้ทรัพย์เป็นค่ารักษาพยาบาล
5. เป็นอุปการณ์ต่อการทำความดีสั่งสมบุญบารมี เพื่อประโยชน์ในชาติหน้าและอุปการะต่อประโยชน์สูงสุด
3) หลักการเก็บทรัพย์
หลักการเก็บทรัพย์ คือ ต้องเก็บทรัพย์โดยที่คำนึงถึงศีลธรรม หมายความว่าสิ่งใดที่เป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตชนิดที่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดแล้วต้องถึงความตาย ผู้มีศีลธรรม จะไม่เก็บกักตุน และแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งนั้นมากเกินควรอย่างเด็ดขาด แต่จะใช้เท่าที่จำเป็น เช่น อาหาร ยารักษาโรค จะไม่กักตุนไว้เพื่อโกงราคาจนคนอื่นเดือดร้อน
4) วิธีเก็บทรัพย์
คนทั้งหลายในโลกมีวิธีเก็บทรัพย์อยู่หลายวิธี บางคนฝากธนาคาร บางคนเก็บในรูปของของมีค่า เช่น เพชร ทองคำ อัญมณี หรือบางคนเก็บในรูปของที่ดิน ไม่ว่าจะเก็บทรัพย์ด้วยวิธีใด การเก็บทรัพย์ที่ถูกวิธี ต้องประกอบด้วยหลัก 4 ประการ ต่อไปนี้
1. การวางแผนเก็บทรัพย์
2. การป้องกันอันตรายแก่ทรัพย์
3. การถนอมทรัพย์
4. การฝังขุมทรัพย์
5) การวางแผนเก็บทรัพย์
การวางแผนเก็บทรัพย์ เป็นเรื่องของบุคคลผู้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต คิดเห็นการณ์ไกล จึงได้เก็บรวบรวมทรัพย์ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ไม่หลงเมามัวในชีวิต ใช้จ่ายเพียงเพื่อความเพลิดเพลินในกามคุณ แต่รู้จักแบ่งทรัพย์เป็นส่วนๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพย์ได้อย่างเต็มที่
พระพุทธองค์ได้ให้หลักการวางแผนไว้ คือ "บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น 4ส่วน พึงใช้สอย 1 ส่วน พึงประกอบการงาน 2 ส่วน พึงเก็บส่วนที่ 4 ไว้ เผื่อจักมีอันตราย"
สรุปว่า พระพุทธองค์ให้วางแผนแบ่งทรัพย์ เป็น 4 ส่วนคือ
1. เก็บไว้ใช้สอย 1 ส่วน
2. เก็บไว้เพื่อประกอบการงาน 2 ส่วน
3. เก็บไว้เผื่อเหตุอันตรายในอนาคต 1 ส่วน
การรู้จักวางแผนเก็บทรัพย์ คิดก่อร่างสร้างตัวสร้างฐานะแต่ยังหนุ่ม เป็นความคิดของคนมีปัญญาเพราะเห็นภัยจากความยากจน เจ็บ โง่ และภัยในชีวิต จึงทำงานหนัก แม้การเก็บทรัพย์จะทำให้ลำบากในตอนแรก แต่ก็จะ บายในภายหลัง เพราะทรัพย์จะบันดาลความสุขมาให้ เกิดจากการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น
6) การป้องกันอันตรายแก่ทรัพย์
ทรัพย์ที่หามาได้โดยยากลำบาก ต้องใช้ชีวิตสติปัญญา ความรู้ เข้าไปแลก หากเก็บรักษาไว้ไม่ดี อันตราย โทษภัยใดๆ ก็เกิดกับทรัพย์นั้นได้อันตรายที่จะเกิดจากทรัพย์มี 5 ประการ คือ
1. อันตรายจากไฟ คือ ไฟอาจไหม้ได้
2. อันตรายจากน้ำ คือ น้ำอาจท่วมได้
3. อันตรายจากผู้ปกครองบ้านเมือง คือ ถูกข่มขู่ รีดไถ่ บีบบังคับเอาไปได้
4. อันตรายจากโจรผู้ร้าย คือ โจรอาจขโมยได้
5. อันตรายจากทายาทผู้ไม่ประพฤติธรรม คือ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักอาจนำไปได้
เมื่อรู้ว่าทรัพย์อาจจะเกิดภัยอันตรายได้ ต้องหาทางป้องกันล่วงหน้า โดยตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นตรวจตราทรัพย์นั้นอยู่เสมอ
7) การถนอมทรัพย์
ทรัพย์สินใดๆ ไม่ว่าจะแข็งแรงทนทาน มีคุณภาพดีเพียงใด ก็ย่อมเสื่อมสลายไปได้ตามกาลเวลา ตามอายุการใช้งาน แม้จะรู้ว่าทรัพย์นั้นต้องมีวันเสื่อม แต่การยืดอายุทรัพย์เพื่อจะได้สามารถใช้ได้นานๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เป็นการรักษาทรัพย์ให้ยั่งยืน บุคคลที่เห็นความสำคัญของการถนอมทรัพย์ ย่อมยังตระกูลให้มั่นคงอยู่ได้นาน เพราะมีทรัพย์สมบัติให้ใช้ได้นานๆ มีวิธีการสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. แสวงหาสิ่งของที่หายไป คือ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใดเมื่อสูญหายไป ต้องตามกลับคืนมาให้ได้ โดยไม่ปล่อยปละละเลย เห็นว่ามีค่าเพียงเล็กน้อยไม่ได้เพราะจะเป็นการสร้างนิสัยมักง่าย ประมาท ขาดความระมัดระวัง
2. ซ่อมแซมสิ่งของที่เสียหายแล้วให้กลับมาใช้ได้ดีดังเดิม คือ ทรัพย์ถ้าเสียหายเพียงเล็กน้อย ซ่อมได้ก็ต้องซ่อมแซมทันที ไม่ปล่อยให้เสียหายมากแล้วค่อยมาซ่อม หรือ คิดจะซื้อมาใหม่โดยไม่ยอมซ่อมแซม ด้วยคิดว่า มีราคาเพียงเล็กน้อย จึงไม่ยอมซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้สอยบริโภคทรัพย์ คือ ใช้สอยอย่างประหยัดตามความจำเป็น ไม่น้อยเกินไปจนตนเองลำบาก และไม่มากเกินไปจนต้องทิ้งต้องขว้าง อันเป็นการสร้างนิสัยสุรุ่ยสุร่าย หรือ ตระหนี่ถี่เหนียว
4. แต่งตั้งคนดีเป็นคนดูแลทรัพย์ คือ ให้คนดีมีศีลธรรมเป็นคนดูแลรับผิดชอบในทรัพย์เพราะจะเป็นหลักประกันได้ว่า ทรัพย์นั้นจะถูกนำมาใช้อย่างระมัดระวัง ละเอียดรอบคอบและมีความปลอดภัย
ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจของมนุษย์ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต ควรถนอมรักษาทรัพย์นั้นไว้ให้ดี
8) การฝังขุมทรัพย์
มี 2 ประเภท
1. ฝังทรัพย์หยาบ คือ การเก็บทรัพย์ไว้ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์หยาบ ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ โดยในปัจจุบัน มีการนำไปฝากกับธนาคารบ้าง เก็บไว้ในตู้นิรภัยบ้าง การเก็บทรัพย์เช่นนี้นั้นมีความปลอดภัยไม่มากนัก และถ้ายิ่งเก็บสะ มไว้มากๆในลักษณะที่ตั้งใจเก็บไว้เป็นมรดกของตระกูล เป็นมรดกสำหรับลูกหลาน โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่มีความจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ในชีวิตอีก ก็กล่าวได้ว่าทรัพย์นั้นมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่เจ้าของทรัพย์นั้นเลย บางกรณีทรัพย์นั้นยังเป็นสาเหตุแห่งการพิฆาตฆ่าฟันกันระหว่างทายาทผู้มีส่วนรับมรดกของตระกูลได้อีก
2. เก็บเป็นทรัพย์ละเอียด การเก็บเป็น ทรัพย์ละเอียด คือการเปลี่ยนทรัพย์นั้นเป็นบุญ ด้วยการบริจาคเป็นทาน หรือสงเคราะห์บุคคลต่างๆ เป็นต้นว่า การถวายทานแก่สงฆ์การบริจาคทานเพื่อสร้างศาสนสถานต่างๆ เช่น เจดีย์ การแบ่งปันสิ่งของแก่บุคคลต่างๆ รวมทั้งการบริจาคเพื่อสังคมสงเคราะห์ การให้เงินอุปการะตลอดจนการเลี้ยงดูเอาใจใส่บุพการี และญาติพี่น้อง การใช้จ่ายทรัพย์ในลักษณะดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดบุญทั้งสิ้น ซึ่งบุญนี้ไม่ว่าโจรหรือใครๆ ก็ไม่สามารถลักเอาไปได้
การฝังขุมทรัพย์ที่ดีที่สุด คือ การเปลี่ยนเป็นบุญ เป็นอริยทรัพย์ บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้วควรเริ่มฝังขุมทรัพย์แต่ยังหนุ่มสาว เพื่อทรัพย์นั้นจะเป็นประโยชน์ในภพชาติหน้า
GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา