ทำอย่างไรจึง "สร้างเครือข่ายคนดีเป็น"

วันที่ 09 ธค. พ.ศ.2559

ทำอย่างไรจึง "สร้างเครือข่ายคนดีเป็น"

 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , ทำอย่างไรจึง "สร้างเครือข่ายคนดีเป็น" ,  เครือข่ายกัลยาณมิตร , ใช้ชีวิตเป็น

      คำว่า "เครือข่ายคนดี" ก็คือ "เครือข่ายกัลยาณมิตร" นั่นเอง ซึ่งเครือข่ายกัลยาณมิตรจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ1คือ

       1) ตัวเองต้องเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง คือมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร หรือมีความเป็นมิตรแท้อย่างสมบูรณ์พร้อม

    2) กัลยาณมิตรในเครือข่ายแต่ละคนก็ต้องเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง หรือถ้ายังไม่มั่นคง ก็ต้องรู้จักตัวเอง และมุ่งมั่นที่จะพันาตนให้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ด้วยการพยายามซึมซับคุณความดีจากกัลยาณมิตรในเครือข่ายคนดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

      3) ต้องร่วมกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและสังคม เพื่อพัฒนาเครือข่ายกัลยาณมิตรให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายเครือข่ายให้กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ และเพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิในใจของกัลยาณมิตรแต่ละคนให้แก่รอบยิ่งขึ้น

     จากคุณลักษณะสำคัญของเครือข่ายคนดีหรือเครือข่ายกัลยาณมิตร 3 ประการข้างต้นสามารถแจกแจงเป็นวิธีการในการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรออกเป็น 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1) ตนเองต้องเป็นคนดี กล่าวคือ จะต้องมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง คือมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร หรือมีความเป็นมิตรแท้อย่าง มบูรณ์พร้อม ทั้งนี้เพราะ หากตนเองยังไม่เป็นคนดี ยังมีความเห็นผิดหรือเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างคนอื่นให้เป็นคนดี เปรียบเสมือนแม่ปูซึ่งยังเดินเก้ๆ กังๆ อยู่ ก็ไม่สามารถจะสอนลูกปูให้เดินตรงได้

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในราโชวาทชาดกว่า "ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไปโคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั่วกัน" ด้วยเหตุนี้การสร้างเครือข่ายคนดีจึงต้องเริ่มต้นที่ตนเองคือ ตนเองจะต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อนแล้วจึงจะชักนำผู้อื่นไปในหนทางที่ถูกต้องได้

      2) ต้องเห็นประโยชน์ของการคบคนดี คนดีจะดำรงอยู่ในคุณความดีได้ยั่งยืนและได้รับการพัฒนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมิตรดีด้วย เพราะมิตรดีหรือกัลยาณมิตรจะช่วยชี้แนะสิ่งดีๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปให้ได้ และยังเป็นต้นแบบที่ดีด้านต่างๆ ให้อีกด้วยบุคคลผู้คบมิตรดีจึงมีแต่เจริญไม่มีเสื่อม แม้แต่คนพาล หากได้มิตรดีก็สามารถเป็นคนดีมีปัญญาได้ ดังที่พระนางกิสาโคตรมีเถรีกล่าวถึงพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง"

      3) ต้องรู้จักพฤติกรรมของคนพาล การจะแยกแยะคนดีและคนพาลได้นั้นจำเป็นจะต้องรู้จักพฤติกรรมของคนทั้งสองประเภทก่อนสำหรับคนพาลนั้นคือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติเป็นผลให้มีความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คนพาลมีพฤติกรรมอย่างน้อย 5 ประการดังต่อไปนี้

3.1) คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด เช่น ชักชวนไปลักขโมย เป็นต้น

3.2) คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การงานของตนเองไม่ทำแต่ไปก้าวก่ายงานของผู้อื่น กลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน เป็นต้น

3.3) คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิดๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ สูบบุหรี่ เห็นคนทำถูกว่าเป็นคนโง่ เป็นต้น

3.4) คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ประกอบอาชีพด้วยความสุจริตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเองและประเทศชาติก็โกรธ เป็นต้น

3.5) คนพาลไม่รับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไปทำงานสาย แต่เลิกงานก่อนเวลา เป็นต้น

      4) ต้องรู้จักพฤติกรรมของคนดี คนดีคือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ จึงทำให้มีสัมมาทิฏฐิคือมีความเห็นถูกเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง เป็นผู้ที่รู้อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่วและรู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป คนดีมีพฤติกรรมอย่างน้อย 5 ประการดังต่อไปนี้

4.1) คนดีชอบชักนำในทางที่ถูก เช่น ชักนำให้เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา เป็นต้น

4.2) คนดีชอบทำแต่สิ่งที่เป็นธุระ ไม่เกะกะเกเรใครๆ เร่งรีบทำการงานในหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ปล่อยงานให้คั่งค้าง

4.3) คนดีชอบทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร เช่น ชอบพูดและทำตรงไปตรงมา ชอบสนทนาธรรม รังเกียจการนินทาว่าร้าย เป็นต้น

4.4) คนดีเมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือนโดยดีย่อมไม่โกรธ มีนิสัยถือเอาความถูกความดี และความมีประโยชน์เป็นที่ตั้ง ไม่ถือตัวอวดดีดื้อรั้น

4.5) คนดีย่อมรับรู้ระเบียบวินัย รักที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยของหมู่คณะอย่างเคร่งครัด เพราะตระหนักดีว่าวินัยเป็นเครื่องยกหมู่คณะให้เจริญขึ้นได้จริง

     5) ต้องรู้วิธีป้องกันอันตรายจากคนพาล วิธีป้องกันอันตรายจากคนพาลที่ดีที่สุดคือไม่คบคนพาล คำว่า คบ หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

5.1) ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน

5.2) รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน

5.3) ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของการไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าวข้างต้นกับคนพาลถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย โบราณท่านให้คติเตือนไว้ว่า ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์

      6) ต้องรู้วิธีผูกมิตรกับคนดี การผูกมิตรหรือการคบคนดีมีวิธีการดังต่อไปนี้คือ

6.1) หมั่นไปมาหาสู่
6.2) หมั่นเข้าไปนั่งใกล้
6.3) มีความจริงใจ ให้ความเกรงอกเกรงใจต่อท่าน
6.4) ฟังคำแนะนำ ฟังคำพูดของท่าน
6.5) จำธรรมที่ได้ฟังนั้นไว้
6.6) พิจารณาใจความของธรรมที่จำได้นั้นให้ดี
6.7) พยายามปฏิบัติตามธรรมที่ได้ฟัง

    7) ต้องให้การยกย่องนับถือคนดี กำลังใจมีความสำคัญต่อการสร้างความดี การที่บุคคลใดจะยึดมั่นอยู่ในความดีและสร้างสิ่งที่ดีได้อย่างต่อเนื่องต้องใช้กำลังใจสูง ดังนั้นคนดีจึงควรได้รับการยกย่องนับถือเพื่อให้เกิดกำลังใจในการทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อคนดีได้รับการยกย่องให้สูงเด่นก็จะเป็นต้นแบบให้แก่ชาวโลกได้เจริญรอยตามด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสร้างอริยประเพณีนี้ไว้ด้วยการประกาศยกย่องคุณงามความดีของพุทธบริษัทผู้เป็นเลิศในด้านต่างๆ ท่ามกลางสงฆ์ การประกาศยกย่องของพระพุทธองค์ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่พุทธบริษัทที่อยู่ในมหาสมาคมนั้น หลายต่อหลายท่านได้ตั้งความปรารถนาว่าขอให้ได้เป็นดังเช่นภิกษุภิกษุณีผู้ได้รับการยกย่องนั้นบ้างในภายภาคเบื้องหน้า ในประวัติการสร้างบารมีของภิกษุและภิกษุณีผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นเลิศหรือ "เอตทัคคะ" ด้านต่างๆ ทุกรูปต่างมีจุดเริ่มต้นการสร้างบารมีจากแรงบันดาลใจดังกล่าวมานี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ การยกย่องนับถือคนดีจึงมีความสำคัญยิ่ง

    ขั้นตอนทั้ง 7 ประการนี้ เป็นวิธีการสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นในสังคม หากปฏิบัติได้ครบถ้วนทุกขั้นตอนเครือข่ายคนดีที่สร้างขึ้นจะมีความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นสังคมที่คนดีมีอำนาจเหนือคนพาล

 

2. ทำอย่างไรจึง "ใช้ชีวิตเป็น"
      ใช้ชีวิตเป็น คือ การดำเนินชีวิตที่ไม่ผิดหลักกฎแห่งกรรมอย่างมีความสุขในโลกนี้และเตรียมความสุขในโลกหน้าไปพร้อมกัน จนหมดกิเลสเข้านิพพาน

1) ต้องมองชีวิตตามความเป็นจริง
        คนในโลกแม้จะสมบูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ถูกเลี้ยงดูมาอย่างดี มีมิตรสหาย พวกพ้อง บริวาร หน้าที่การงานดี มีชีวิตเป็นสุขดีแล้วก็ตาม ต้องมี ธัมมุทเท หมายถึง ความเข้าใจโลกตามความเป็นจริง มี 4 ประการ คือ

      1.1) โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน หมายถึง การมองเห็นโลกตามความเป็นจริงว่าทุกชีวิตในโลกล้วนต้องแก่เฒ่า ต้องชรา มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครจะสามารถยังความหนุ่มสาว ความแข็งแรง กำลังวังชาเอาไว้ได้

      1.2) โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน หมายถึง การมองเห็นโลกตามความเป็นจริงว่าทุกชีวิตในโลกล้วนต้องเจ็บป่วย เป็นไข้ เป็นโรค ไม่ บายกายด้วยกันทั้งนั้น จะแบ่งความทุกข์ ความเจ็บป่วย ให้กับใครๆ ก็ไม่ได้ มีแต่เจ็บป่วยอยู่คนเดียวใครก็ช่วยไม่ได้

   1.3) โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องทิ้งสิ่งทั้งปวงไป หมายถึง การมองเห็นโลกตามความเป็นจริงว่า โภคทรัพย์สมบัติ ที่ตนเองมีอยู่ ครอบครองอยู่ ใช้สอยบริโภคอยู่ เมื่อตายไปแล้ว ไม่สามารถนำไปใช้ในชาติหน้าได้สมบัตินั้นสุดท้ายต้องตกเป็นของคนอื่นไป

      1.4) โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทา แห่งตัณหา หมายถึง การมองเห็นโลกตามความเป็นจริงว่า หากสถานที่ใดในโลกสมบูรณ์ด้วย ทรัพย์สมบัติ ไร่ นา อันอุดมสมบูรณ์ มีผู้ปกครองอ่อนแอ ผู้ปกครองที่เข้มแข็งกว่าเมื่อทราบว่ามีสถานที่เช่นนั้น ย่อมจะเข้าไปรบ ยึด ตีชิงสมบัตินั้นมาเป็นของตนแน่นอนเมื่อมองโลกตามความเป็นจริงได้อย่างนี้จะเป็นผู้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตจะใช้ชีวิตก็ใช้อย่างระมัดระวัง รู้จักถนอมร่างกาย ใช้ร่างกายไปกับการสร้างสิ่งที่ดี ๆ ให้กับตนเอง


2) ต้องคำนวณงบประมาณตลอดชีวิตได้
      หมายความว่า ตลอดชีวิตคนๆ หนึ่ง หากอายุเฉลี่ย 75 ปี จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการดำรงชีวิต โดยการคำนวณ จาก

       2.1) ค่าการศึกษา  จำนวนปี  

       2.2) ค่าปัจจัย 4สำหรับเลี้ยงชีวิตของตนและคนในครอบครัว
               อาหาร  3 มื้อ  75 ปี  
               เสื้อผ้า   ชุด 75 ปี  
               ยารักษาโรค  75 ปี  
               ที่อยู่อาศัย  1 หลัง  

       2.3) ค่าเครื่องอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น  75 ปี  
      ตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณ แต่หากท่านลงมือทดลองคำนวณค่าใช้จ่ายของตัวท่านดูแล้ว จะพบว่างบประมาณที่จำเป็นตลอดทั้งชีวิตของเราคือเท่าไหร่ ซึ่งก็จะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตแล้วส่วนงบประมาณที่เหลือ คืองบประมาณที่ใช้สำหรับการฝังขุมทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นการเตรียมเสบียงเดินทางข้ามวัฏสงสาร เพื่อความสุขในชาติหน้า


3) ต้องวางแผนการใช้ทรัพย์เป็น
         พระพุทธองค์ได้ให้หลักการใช้จ่ายทรัพย์ที่ถูกต้อง 41 ประการ คือ

        3.1) ใช้เลี้ยงตนมารดา บุตรภรรยา บริวาร และมิตร หายให้เป็นสุข

        3.2) ใช้ป้องกันภัยธรรมชาติและอันตรายจากบุคคลต่างๆ

        3.3) ใช้ทำพลี 5 คือ

1. ญาติพลี         สงเคราะห์ญาติ
2. อติถิพลี          ต้อนรับแขก
3. ปุพพเปตพลี   ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
4. ราชพลี           ถวายให้หลวง มีภาษีอากรเป็นต้น
5. เทวตาพลี       ทำบุญอุทิศให้เทวดา

      3.4) ใช้บำเพ็ญทักษิณาทานในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิการรู้จักใช้ทรัพย์ตามที่พุทธองค์ทรงให้หลักการไว้นี้ ย่อมเป็นการใช้ทรัพย์อย่างถูกวิธีเป็นประโยชน์สำหรับตนและผู้อื่น ย่อมได้รับการยกย่อง มีมิตร มีพวกพ้อง บริวารมาก


4) ต้องไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
      ความประมาท คือ ความขาด ติกำกับตัว ไม่ว่าจะคิด พูด ทำอะไรก็เป็นไปในทางเสื่อม ความประมาทมี 7 ประการคือ

       4.1) มีความประมาทในเวลา คิดว่ายังมีเวลาเหลืออยู่อีกมาก

       4.2) มีความประมาทในวัย คิดว่าตนเองยังเป็นคนหนุ่มคนสาวอยู่ยังมีชีวิตอีกยาวนาน

       4.3) มีความประมาทในความไม่มีโรค คิดว่ายังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่

       4.4) มีความประมาทในชีวิต คิดว่าเรายังมีชีวิตอยู่สุขสบายดี ไม่ทุกข์ร้อนอะไร

       4.5) มีความประมาทในการงานคิดว่าค่อยๆ ทำไปสุดท้ายก็เสร็จไปเองไม่ยอมทุ่มเททำ ผัดวันประกันพรุ่ง

       4.6) มีความประมาทในการศึกษา ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาหาความรู้เอาแต่เพลิดเพลินไปวันๆ

       4.7) มีความประมาทในการปฏิบัติธรรม ปล่อยเวลาให้เสียเปล่า รอแต่ให้ถึงเวลาแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ

      ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต คือ การนึกความประมาททั้ง 7 ประการ อยู่เนืองๆ เมื่อนึกได้อย่างนี้ จะคิด พูด ทำ อะไรก็จะมีความระมัดระวัง ไม่ก่อเวรสร้างกรรม มุ่งหน้าทำแต่ความดีรักษา กาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ และ มุ่งทำเป้าหมายชีวิตให้สำเร็จ

     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย" ดังนั้น จะแก้ความประมาทได้มีวิธีเดียว คือ ความไม่ประมาท


5) ต้องใช้ชีวิตอย่างถูกต้องเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตตามลำดับใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง คือ

   5.1) มีความสำรวมในชีวิตไม่ปล่อยให้ตัวเองหลงเพลิดเพลินไปกับ รูปที่สวยงามเสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอมหวน รสที่อร่อยลิ้นสัมผัสอันนุ่มนวล และสิ่งบันเทิงเริงรมย์ เพราะหากลุ่มหลงมัวเมาไปกับสิ่งเหล่านี้เมื่อใด เวลา ชีวิต ทรัพย์ ญาติ มิตร ก็จะหมดสิ้นไป

   5.2) รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่เห็นแก่กิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโรคมากมายตามมา ทำให้เป็นคนเห็นแก่นอน คนกินมากย่อมนอนมากเพราะอิ่มจัดจึงง่วงเหงาหาวนอน กลายเป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว การงานก็ไม่ทำ ไม่มีความขยัน

    5.3) มีความเพียรตลอดชีวิตในทุกเรื่องราว ตั้งแต่การศึกษา การสร้างตัวสร้างฐานะสร้างความดีสร้างบุญบารมี

 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017923084894816 Mins