ทำอย่างไรจึง "มีจาคะ"

วันที่ 15 ธค. พ.ศ.2559

ทำอย่างไรจึง "มีจาคะ"

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , ทำอย่างไรจึง "มีจาคะ" , จาคะ , ทาน

การเป็นคนมีจาคะมีวิธีการดังนี้

1)  ต้องรู้ความสำคัญของการให้ทาน

      จาคะ แปลว่า ละ คือ การ ละสิ่งของ ของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

ความสำคัญของจาคะ คือ
    นัยที่หนึ่ง เป็นการสั่งสมบุญกุศลให้กับตนเอง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเกิดมาในภพชาติหน้า จะไม่ต้องมาลำบากยากจนอีก

    นัยที่สอง เป็นการพันาจิตใจของตนให้สูงขึ้น เป็นการขจัดความตระหนี่ ความโลภออกไปจากจิตใจ ฝึกตนเองให้มีความเอื้อเฟอเผื่อแผ่กับบุคคลต่างๆ ตามที่เขาจำเป็น

      นัยที่สาม เป็นการให้ความช่วยเหลือกับบุคคลต่างๆ ที่กำลังสร้างตัวสร้างฐานะให้สามารถสร้างตัวสร้างฐานะได้สำเร็จ

2) ต้องมีต้นแบบในการทำทาน
     บุคคลต้นแบบที่ทำทานอย่างถูกวิธีที่ควรศึกษาและนำมาเป็นแบบอย่างในสมัยพุทธกาลคือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสำหรับ ฝ่ายชาย และ มหาอุบาสิกาวิสาขาสำหรับฝ่ายหญิง เพราะทั้งสองท่าน เป็นผู้ที่ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้เลิศในฝ่ายอุบาสกและอุบาสิกา

     บุคคลทั้งสองท่าน มควรที่ชาวพุทธควรที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เพราะแม้ในช่วงชีวิตจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นอยู่บ้าง ก็ไม่เคยท้อถอยต่อการสร้างบุญบารมี และเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนาแม้แต่น้อย

3) ต้องรู้จักวิธีการให้ทานที่ได้บุญมาก
      การทำทานให้ได้บุญมาก พระพุทธองค์ทรงให้วิธีการ เรียกว่า การให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ

1. ให้ของสะอาด
2. ให้ของประณีต
3. ให้ตามกาล
4. ให้ของสมควร
5. เลือกให้
6. ให้ประจำ
7. กำลังให้จิตผ่องใส
8. ให้แล้วดีใจ
การให้ทานทั้ง 8 วิธีดังกล่าวผู้ทำย่อมประสบบุญมาก

4) ต้องเห็นคุณประโยชน์ของการให้ทาน
     อานิสงส์ของการให้ทาน มีมากมายสามารถกล่าวโดยย่อได้ดังนี้ผู้ใดให้โภชนะโดยเคารพตามกาลอันควรแก่ท่านผู้สำรวมแล้ว ผู้บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้ฐานะ 4 คือ อายุ วรรณะสุข พละ นรชนผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มีบริวารยศในทุกที่ที่ตนเกิด

5) ต้องเห็นโทษของการไม่ให้ทาน
    การไม่ให้ทาน เป็นนิสัยของคนตระหนี่ พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงวิบากกรรมของผู้ที่มีความตระหนี่กับเทวดาที่มาทูลถามปรากฏใน มัจฉริสูตร ว่าคนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวางคนอื่นผู้ให้

     คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ถ้าถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดใน กุลคนยากจนจะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริง ความสนุกสนานได้โดยยาก คนพาลเหล่านั้นต้องประสงค์สิ่งใดจากผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังมีทุคติเป็นที่ไปอีกด้วย

    การไม่ให้ทานมีผลน่ากลัวอย่างนี้ ชาวพุทธทราบอย่างนี้แล้ว ต้องขจัดความตระหนี่ออกไปจากใจ หันมาทำความดี โดยการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย


 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0044190327326457 Mins