เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
" เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม "

 

     GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก , เศรษฐศาสตร์ , เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม , โภคทรัพย์ , อริยทรัพย์

    การเปรียบเทียบนั้น จะเปรียบเทียบทั้งเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาคและระดับมหภาค โดยระดับจุลภาคมี 2 ประเด็น คือ อุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐียุคปัจจุบัน และ อริยทรัพย์กลยุทธ์สร้างความสุขในทุกยุคสมัยส่วนเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคมี 2 ประเด็นเช่นกัน คือ ระบบเศรษฐกิจทางโลกกับทางธรรม และวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก

1. อุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐีโลกยุคปัจจุบัน
    จากที่กล่าวถึงเรื่องนิสัยในบทที่ 5 เรื่องมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎกว่า นิสัย หมายถึง ความประพฤติที่เคยชินส่วน"อุปนิสัย" หมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดานหรือติดตัวมาข้ามชาติ ใครที่เคยมีนิสัยอย่างไร หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวไปตลอดชีวิตและจะติดตัวข้ามชาติด้วย

   จากเรื่องอุปนิสัยอันติดตัวข้ามชาติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับอุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐีโลกในปัจจุบันพบว่าสอดคล้องกันมาก บุญจากการให้ทานแก่เนื้อนาบุญในอดีตชาติเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนมีฐานะร่ำรวย และอุปนิสัยการให้ทานนี้ก็จะติดตัวข้ามชาติแม้การจะรู้เรื่องในอดีตชาติของมหาเศรษฐีต่างๆ เป็นไปได้ยาก แต่ฐานะและอุปนิสัยการให้ทานในปัจจุบันก็สะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน

     บิลล์ เกตส์ อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2550 ได้ออกมาประกาศว่า จะยกสินทรัพย์ถึง 95% ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มูลนิธิของเขาเพื่อใช้ในกิจกรรมการกุศล โดยเหลือไว้ให้ลูกทั้ง 3 คนเพียง 5 เท่านั้น ปัจจุบัน (พ.ศ.2551) บิลล์ เกตส์ มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 58,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท) เท่ากับว่าเขาจะยกสินทรัพย์ให้มูลนิธิเพื่อการกุศลถึง 55,100 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท

    มีคนเคยถามบิลล์ เกตส์ ว่าทำไมถึงไม่ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับลูกทั้ง 3 คน เขาตอบว่า เงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ หากยกให้ลูกจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและกับลูกทั้งสาม เพราะปรัชญาในการดำรงชีวิตของเขาก็ คือ นำทรัพย์สมบัติที่มีคืนให้กับสังคม

     มหาเศรษฐีโลกผู้ใจบุญอีกท่านหนึ่งคือ วอร์เร็น บัฟเฟ็ทท์ เขาออกมาประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 ว่า จะบริจาคเงินประมาณ 37,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.158 ล้านล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 85 ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนั้นให้แก่มูลนิธิการกุศล 5 แห่ง และไม่นานมานี้เขาก็ได้บริจาคเงิน 31,000 ล้านดอลลาร์ให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์ไปแล้ว

   นอกจากนี้ใน หรัฐอเมริกายังมีมหาเศรษฐีผู้ใจบุญอีกมากมาย เช่น กอร์ดอน์ และเบตตี้ มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล, เอลิ และเอดิธ บรอด ผู้ก่อตั้งบริษัทซันอเมริกา, เจมส์ และเวอร์จิเนียร์ โตเวอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทอเมริกาเซนจูรี่, ไมเคิล และซูซาน เดลล์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเดลลคอมพิวเตอร์, ครอบครัววอลล์ตัน แห่งศูนย์การค้าวอลล์มาร์ต, เท็ด เทอร์เนอร์ ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น , เจฟฟรี กอลล์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตชื่อ อีเบย์ (eBay), จอห์น อาร์ อาล์ม ประธาน บริษัท โคคาโคลา เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นต้น

   นอกจากในสหรัฐอเมริกาแล้ว ปัจจุบันมหาเศรษฐีทั่วโลกได้ทยอยตั้งมูลนิธิการกุศลของตนเองขึ้นมา ซึ่งกำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดไปทั่วโลก เช่น ในเยอรมนี ปัจจุบันมูลนิธิของเอกชนในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก 4,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 เป็น 13,000 แห่งในปี พ.ศ.2549 และจากข้อมูลของธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าลูกค้าระดับมหาเศรษฐีประมาณ 1 ใน 4 แสดงความจำนงที่จะบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อการกุศล ขณะที่ 40 กำลังพิจารณาในเรื่องนี้ และ 15 เริ่มนำเรื่องบริจาคมาพูดถึงแล้ว

      นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ได้ตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุหลักของการให้ของมหาเศรษฐีเหล่านี้ว่า คนรวยมักต้องการตอบแทนต่อบางสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ เช่น บริจาคเงินแก่โรงเรียนที่ตนเคยเรียน บางคนให้การสนับสนุนโรงพยาบาลหรือการวิจัยยารักษาโรค ซึ่งเคยทำร้ายคนใกล้ชิดของพวกเขา หรือบางคนก็ช่วยเหลือประเทศยากจนซึ่งพวกเขาเคยไปเยือนส่วนสาเหตุรองของการให้ อาจมาจากมาตรการจูงใจทางภาษี เพราะบางประเทศเงินบริจาคสามารถนำไปหักภาษีเงินได้

    สาเหตุการให้ทานที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงสาเหตุที่พบและวิเคราะห์ได้ในปัจจุบันชาติเท่านั้นส่วนสาเหตุสำคัญที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น คือ อุปนิสัยรักการให้ทานที่ติดตัวมาข้ามชาติส่งผลให้มหาเศรษฐีเหล่านี้ดำเนินชีวิตเช่นเดิมอีกในชาตินี้ แม้ในชาตินี้พวกเขาจะไม่ค่อยได้ให้ทานแก่เนื้อนาบุญ เพราะเกิดในประเทศที่มีความเชื่อต่างไปจากคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ประเด็นที่กล่าวมานี้ ต้องการชี้ให้เห็นอุปนิสัยที่ติดตัวข้ามชาติเป็นหลัก


2. อริยทรัพย์กลยุทธ์สร้างความสุขในทุกยุคสมัย
    เศรษฐศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับความสุขและทุกข์ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องอาชีพ ความเป็นอยู่และปากท้องของคนในสังคม หลักการของทฤษฎีการสร้างความสุขในสังคมทุนนิยมของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ได้แก่

1) การบริโภคเป็นหนทางเดียวในการสร้างความสุข การทำงานเป็นเพียงวิธีการได้เงินมาเพื่อใช้จ่ายในการบริโภค

2) มนุษย์จะคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองเท่านั้น มนุษย์จะพึงพอใจมากขึ้นก็ด้วยการบริโภคของตนเองเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจความพึงพอใจหรือสวัสดิการของผู้อื่น

3) มนุษย์จะต้องเร่งการบริโภคของตนเพื่อให้มีความสุขเพิ่มขึ้น การบริโภคจึงแปลงสภาพจากเครื่องมือมาเป็นเป้าหมายของการสร้างความสุขของมนุษย์

4) สังคมจะดีขึ้นจากการเร่งการบริโภคของทุกๆ คน นิยามคำว่าสวัสดิการสังคม คือ ผลรวมของความพึงพอใจของแต่ละคนในสังคม ดังนั้น การเร่งบริโภคโดยรวมของสังคมจึงกลายมาเป็นเป้าหมายของสังคมไปด้วยโดยอัตโนมัติ

     ในช่วงเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการตอบคำถามว่า มนุษย์มีความสุขมากขึ้นจากการมีเงินและการบริโภคเพิ่มมากขึ้นจริงหรือไม่ ผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศพบว่าเงินสามารถซื้อความสุขได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นและการสร้างความสุขดังกล่าวก็เป็นไปในลักษณะถดถอย กล่าวคือ ต้องใช้เงินเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ในการเพิ่มความสุขขึ้นในอัตราเท่าเดิม

     การศึกษาที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวกับความพึงพอใจในชีวิตของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.19581991 (พ.ศ.2501-2534) ปรากฏว่า ในช่วงเวลา 33 ปี รายได้ต่อหัวของชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นกว่า 16 เท่า แต่ชาวญี่ปุ่นกลับมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีความพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้นเลยตลอดช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ในแง่ของการบริโภค การสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า แม้ว่าร้อยละของครัวเรือนอเมริกันที่มีเครื่องปรับอากาศจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า ร้อยละของครัวเรือนที่มีเครื่องล้างจานจะเพิ่มขึ้น 7 เท่า ร้อยละของครัวเรือนที่มีรถยนต์มากกว่า 1 คันจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่ชาวอเมริกันยังรู้สึกว่าตนเองยากจนลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 ทศวรรษก่อน

     จากข้อมูลดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า ความเชื่อเรื่อง เงินซื้อความสุข หรือ การบริโภคนำมาซึ่งความสุข มิได้เป็นความจริงเสมอไป มนุษย์มิได้มีความสุขเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมนุษย์ก็เริ่มและขวนขวายที่จะแสวงหาความสุขที่มิได้เกิดจากการบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ อดัม สมิธ บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้กล่าวไว้ว่า ต่อให้มนุษย์เห็นแก่ตัวแค่ไหนก็ตาม ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ยังมีหลักการบางอย่างอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์เองใส่ใจในชะตากรรมของคนอื่นๆ และถือว่าความสุขของคนอื่นๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับตนแม้ว่าตนเองจะไม่ได้อะไรเลย นอกจากความอิ่มเอมใจที่ได้เห็น

    เมื่อเร็วๆ นี้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ร่วมกับวิทยาลัยธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด(Harvard Business school) ได้ทำการทดลองเรื่องความสุขจากการให้โดยสำรวจชาวอเมริกันกว่า 630 คน พบว่า พวกเขารู้สึกเป็นสุขอย่างวัดได้มากขึ้น เมื่อได้แจกเงินให้กับคนอื่นศาวตราจารย์เอลิสเบธ ดันน์ กล่าวว่า "มันไม่สำคัญว่า คนเราหาเงินได้มากเท่าไร หากแต่คนที่มีโอกาสให้เงินช่วยเหลือคนอื่น ต่างบอกว่ารู้สึกเป็นสุขมากขึ้น โดยแม้คนที่เอาเงินไปใช้จ่ายเรื่องของตนเองก็ไม่เกิดความรู้สึกเช่นนี้" การให้จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยให้มนุษย์ได้นำความพึงพอใจของผู้อื่น มาใส่ไว้ในสมการหรือบัญชีความสุขของตนเอง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ความสุขเพิ่มขึ้นของทั้งผู้ให้และผู้รับ

     จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า การให้ทาน หรือ การบริจาค อันเป็นอริยทรัพย์ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้ไม่ผันแปรแม้เวลาจะผ่านมากว่า 2,500 ปีแล้ว ใครก็ตามที่ได้ศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติก็จะได้รับผลเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนสมัยไหน ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสังคมแบบทุนนิยมหรือคอมมิวนิสต์ หากเขาปฏิบัติตามหลักอริยทรัพย์นี้ ก็จะได้รับผลคือความสุขจากการปฏิบัติเหมือนกัน และความจริงอริยทรัพย์ยังมีอีก 6 ประการ การบริจาคทานเป็นเพียงข้อหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะปฏิบัติได้เพียงข้อเดียวยังทำให้คนในสังคมทุนนิยมโดยเฉพาะชาวตะวันตกสัมผัสได้ถึงความสุขขนาดนี้ จึงไม่ต้องกล่าวถึงความสุขอันมากมายที่จะเกิดขึ้นเมื่อปฏิบัติตามหลักอริยทรัพย์ครบทั้ง 7 ประการ

 
3. ระบบเศรษฐกิจทางโลกกับทางธรรม
   ประเด็นนี้จะเปรียบเทียบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน และระบบเศรษฐกิจในพระไตรปิฎกสาเหตุที่กล่าวถึงเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้เพราะว่าเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 และอันดับ 4 ของโลกตามลำดับ โดยเฉพาะจีนเองเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงมากจนน่าจับตามอง

1.) ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
     แม้ในปัจจุบันเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะตกต่ำลง แต่ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดขนาดเศรษฐกิจยังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรัฐอเมริกาก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจของโลกอย่างเต็มตัว ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตอนนั้น GDP ของ หรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของโลก

    สหรัฐอเมริกาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หัวใจที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต คือ การสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และ หลักบริโภคนิยม กล่าวคือ เมื่อคนในประเทศมีความเชื่อมั่นโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนก็จะจับจ่ายใช้ อยอย่างเต็มที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการก็จะขายสินค้าได้มาก ทำให้มีรายได้มาก มีกำไรมาก และจะขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น ขยายกิจการให้ใหญ่โตขึ้น ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนก็จะมีรายได้มากขึ้น ก็จะเพิ่มการจับจ่ายใช้ อยไปอีกจึงทำให้ GDP สูงตามไปด้วย

     หลักบริโภคนิยมนั้นถือว่าเป็นจุดเด่นของสหรัฐอเมริกา จนมีคำกล่าวว่าอเมริกาเป็น "สังคมอุดมโภคา" (high-mass comsumption) หมายถึงสังคมที่มีการบริโภคอย่างเต็มที่ แต่เป็นการบริโภคโดยไม่คำนึงว่า "สิ่งใดจำเป็นและสิ่งใดฟุ่มเฟือย" หากช่วงใดเศรษฐกิจซบเซารัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนบริโภคมากเหมือนเดิม เช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ผลจากความซบเซาของเศรษฐกิจ ทำให้นายจ้างของบริษัทต่างๆ ลดตำแหน่งงานลงถึง 63,000ตำแหน่ง ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงตั้งงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยและก่อให้เกิดการจ้างงานมากเท่าเดิม

      อย่างไรก็ตามหลักบริโภคนิยมก็เป็นเหตุสำคัญให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวนมากติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง 3040 ปี4 เพราะสินค้าและบริการที่คนอเมริกันบริโภคไม่ได้ผลิตในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย เมื่อคนบริโภคมากก็ต้อง


2.) ระบบเศรษฐกิจของประเทศจีน
     ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจโตเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน แต่คาดว่าจีนจะก้าวขึ้นไปสู่อันดับ 3 ในปีพ.ศ. 2551 และอาจก้าวขึ้นไปเป็นอันดับ 2 ใน 23 ปีข้างหน้านี้ ปัจจุบันจีนมีทุนสำรองระหว่างประเทศ สูงที่สุดในโลก คือ 1.76 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (เดือนเมษายน พ.ศ. 2551) ทุนสำรองจำนวนนี้มากกว่าเงินทุนสำรองของ 4 ประเทศรวมกันคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง ถามว่าจีนมียุทธศาสตร์อย่างไรจึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วขนาดนี้ทั้งๆ ที่เมื่อ 30-40 ปีก่อน ประเทศจีนยังยากจนและล้าหลังอยู่มาก

    จุดเปลี่ยนของระบบเศรษฐกิจจีนเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ และเปิดประเทศ ค่อยๆ นำวิธีการแบบทุนนิยมเข้ามาปรับใช้กับการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ การพันาเศรษฐกิจในยุคนั้นคือ "ยุทธศาสตร์ 3 ก้าว" ก้าวละ 10 ปี (ค.ศ.19802010) ก้าวแรก คือ พัฒนาให้ประชาชน "อยู่อุ่นกินอิ่ม" ก้าวที่สองคือ พัฒนาให้ประชาชน"พออยู่พอกิน" ก้าวที่สาม คือ พัฒนาให้ประชาชน "อยู่ดีกินดี"

     ตลอด 28 ปีที่ผ่านมายุทธศาสตร์ 3 ก้าวนี้ ได้ผลิดอกออกผลทำให้เศรษฐกิจของจีนดีขึ้นตามลำดับ แม้จะยังมีปัญหาความยากจนอยู่มากก็ตาม หัวใจสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตอย่างรวดเร็วมี 4 ประการ คือ มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนรอบคอบรัดกุม การสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนส่งเสริมการลงทุน และใช้จ่ายอย่างประหยัด

 จีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี ผ่านการสู้รบทั้งศึกในและศึกนอกมามากมายทำให้จีนเป็นชาติที่เชี่ยวชาญเรื่องยุทธศาสตร์ทั้งด้านการรบและการพันาประเทศ และที่สำคัญประวัติศาสตร์สอนให้คนจีนมีความรอบคอบรัดกุม ค่อยๆ ก้าวเดินทีละก้าวอย่างมั่นคงส่วนการสร้างความเชื่อมั่นทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง เป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องทำเพื่อให้ประชาชนกล้าลงทุนและจับจ่ายใช้สอยอันเป็นผลให้เศรษฐกิจเติบโต

    ในการลงทุนนั้นถือว่าเป็นจุดเด่นของจีน เนื่องจากคนจีนประหยัดจึงมีเงินเหลือเก็บมาก มีเงินฝากธนาคารมาก บรรดานักธุรกิจจึงสามารถกู้เงินจำนวนมากนี้ไปลงทุนผลิตสินค้าได้มาก เมื่อผลิตมาแล้วขายในประเทศไม่หมดเพราะคนจีนประหยัดก็ส่งออกขายต่างประเทศด้วยเหตุนี้จีนจึงได้ดุลการค้าแต่ละปีจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา มียอดเกินดุลการค้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ 262,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

   อย่างไรก็ตามจีนก็ยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง อีกหลายประการ อาทิเช่น การกระจายรายได้, ความมั่นคงภายใน,สิ่งแวดล้อม และปัญหาแรงเสียดทานอันเกิดจากการที่จีนได้เปรียบดุลการค้ามากเกินไป เป็นต้น


3.) ระบบเศรษฐกิจในพระไตรปิฎก
   ส่วนระบบเศรษฐกิจที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมีบุญเป็นศูนย์กลาง เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุญเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขความสำเร็จทั้งปวงของมนุษย์คนจะร่ำรวยหรือยากจนก็ขึ้นอยู่กับบุญในตัวเป็นหลัก หากมองในระดับมหภาคประเทศใดที่ร่ำรวยมากก็แสดงว่าบุญโดยรวมของคนในประเทศนั้นมีมากส่วนประเทศใดยากจน ก็แสดงว่าบุญโดยรวมของคนในประเทศนั้นมีน้อย

    อย่างไรก็ตามนอกจากบุญแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังตรัสถึง "หลักหัวใจเศรษฐี" ไว้ให้พุทธบริษัทใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการสั่งสมบุญด้วย ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา คือ หาทรัพย์เป็น ขยันหาทรัพย์, อารักขสัมปทา คือ เก็บรักษาทรัพย์เป็น, กัลยาณมิตตตา คือสร้างเครือข่ายคนดีเป็น ไม่คบมิตรชั่ว และ มชีวิตา คือ ใช้ชีวิตเป็น ใช้จ่ายแต่พอดี

    ใครก็ตามสร้างฐานะจนร่ำรวยด้วยหลัก 2 ประการนี้แล้ว จะไม่เก็บทรัพย์ส่วนเกินไว้เฉยๆ แต่นำมาสร้างบุญต่อด้วยการให้ทานแก่คนจน ทำบุญในพระพุทธศาสนาสร้างสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่นสร้างวัด เป็นต้น ทรัพย์ที่มีอยู่จึงเกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างเต็มที่ อันเป็นวิธีการทำให้เศรษฐกิจเติบโตตามหลักพระพุทธศาสนา กล่าวคือ เป็นการใช้จ่ายทรัพย์เหมือนกัน แต่ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเท่านั้น ไม่ได้ใช้จ่ายในสิ่งที่ฟุ่มเฟอยเพื่อความสุขส่วนตัว ซึ่งตรงข้ามกับหลักบริโภคนิยมของสหรัฐอเมริกาที่เน้นให้คนบริโภคมากๆ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการบริโภคสินค้าที่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย แม้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตในช่วงแรกแต่ผลที่ตามมาในระยะยาวคือ ภาระเรื่องหนี้สิน

   การสร้างบุญนั้นเป็นการฝึกให้คนเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมไปในตัว ปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพเพราะหวังกอบโกยกำไรจะมีน้อย ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบกันจะมีน้อย เพราะมีวัฒนธรรมการให้เป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้คนเมตตาต่อกัน การให้นี้เป็นการกระจายรายได้จากคนรวยไปสู่คนจน ปัญหาการแตกแยกระหว่างชนชั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ความเชื่อมั่นของคนในสังคมจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะผลักดันเศรษฐกิจให้โตขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน และที่สำคัญบุญและศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นได้ดีที่สุด ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร หากคนยึดมั่นในบุญและศีลธรรม ก็จะนำพาสังคมและเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้


4. วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก
   ปัญหาอาหารและพลังงานกำลังเป็นประเด็นร้อนให้รัฐบาลแต่ละประเทศหาทางแก้ไขพลังงานในที่นี้หมายเอาพลังงานที่ได้จาก "น้ำมัน" เป็นหลัก การถีบตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลให้ราคาน้ำมันในแต่ละประเทศสูงตามไปด้วย ในปี พ.ศ. 2540 น้ำมัน "เบนซิน 95" ขายปลีกในเมืองไทยมีราคาประมาณ 10 บาทลิตร1 แต่ ณ วันนี้ (31 พฤษภาคม พ.ศ.2551) ราคาน้ำมันในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 40.09 บาทลิตร

    สำหรับอาหารก็แพงขึ้นทุกชนิด ธนาคารโลกประเมินว่า "ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา" นายบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่องค์การ หประชาชาติกล่าวว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างมากทำให้คน 100 ล้านคนต้องกลายเป็นคนยากจน ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ปัจจุบันคนเหล่านี้ไม่สามารถซื้อหาอาหารได้แล้ว

   ทำไมน้ำมันและอาหารจึงแพงขึ้นขนาดนั้น หลักเศรษฐศาสตร์ให้คำตอบไว้ว่าสาเหตุพื้นฐานของภาวะของแพง คือ "อุปสงค์มาก(demand) แต่อุปทานน้อย(supply)" กล่าวคือความต้องการสินค้ามีมากในขณะที่สินค้าในตลาดมีน้อยจึงผลักดันให้ราคาแพงขึ้นส่วนสาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มากแต่อุปทานน้อยนั้นมีดังนี้


สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มาก
     สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อุปสงค์เรื่องน้ำมันมีมาก คือ การใช้อย่างฟุ่มเฟือย, ประชากรโลกเพิ่มขึ้น, การขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และการกักตุนเพื่อเก็งกำไรของกลุ่มเฮดจ์ฟันด์ เป็นต้นส่วนสาเหตุที่ทำให้อุปสงค์เรื่องอาหารมีมากนั้นก็คล้ายๆ กันคือ การใช้อย่างฟุ่มเฟือย, ประชากรโลกเพิ่มขึ้น และ การกักตุนเพื่อเก็งกำไรของนายทุนบางกลุ่ม เป็นต้น

    การใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือยจะทำให้น้ำมันหมดไปมากและรวดเร็ว จึงต้องจัดหามาเพิ่มอุปสงค์จึงเพิ่ม การที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอุปสงค์ทุกๆ ด้านจึงเพิ่มขึ้นด้วย การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เหมือนกัน เช่น ความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนส่งผลให้จีนต้องการน้ำมันจำนวนมาก ปริมาณการบริโภคน้ำมันส่วนที่เพิ่มขึ้นของโลกนั้น จำนวนถึง 40 เกิดจากการบริโภคเพิ่มขึ้นของประเทศจีน

    การกักตุนเพื่อเก็งกำไรของกลุ่มเดจ์ฟันด์นั้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ปัจจุบันเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณ 8,000 กองทุน มีมูลค่าสินทรัพย์รวมมากถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์1 มนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหารบริษัทบางจาก กล่าวถึงเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วว่า เฮดจ์ฟันด์ได้ซื้อน้ำมันดิบไปสำรองไว้ถึง 1,000 ล้านบาร์เรล น้ำมันจำนวนนี้เป็นปริมาณที่เมืองไทยทั้งประเทศนำเข้าถึง 3 ปี3 เมื่อมีการกักตุนจึงทำให้น้ำมันในตลาดเหลือน้อยลง ราคาจึงแพงขึ้นหรือที่เรียกว่าถูก "ปันราคา" เมื่อราคาสูงถึงระดับหนึ่งเฮดจ์ฟันด์ก็จะเทขายเพื่อเอากำไร


สาเหตุที่ทำให้อุปทานน้อย
   สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อุปทานหรือการผลิตน้ำมันส่งตลาดโลกมีน้อยมี 2 ประการ คือปริมาณน้ำมันในธรรมชาติลดลง และภัยคุกคามแหล่งน้ำมัน เช่น การโจมตีบ่อน้ำมันและท่อส่งน้ำมัน, โจร ลัดปล้นเรือบรรทุกน้ำมัน และปัญหาสงครามในประเทศผลิตน้ำมัน เป็นต้น

     มีการประมาณกันว่าน้ำมันที่สามารถเอามาใช้ได้จะหมดโลกอีกไม่เกิน 40 ปีส่วนน้ำมันที่ยังเอามาใช้ไม่ได้นั้นก็ยังมีอยู่แต่กระบวนการนำมาใช้ยากขึ้นและต้องใช้งบประมาณมากขึ้นจึงไม่คุ้มกับการลงทุน นักธรณีวิทยาด้านน้ำมันส่วนใหญ่เชื่อว่า มีการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ไปแล้ว 95-98 % ของทุกพื้นที่ในโลก ซึ่งพบแหล่งน้ำมันใหม่น้อยลงตามลำดับ จึงต้องเร่งวิจัยพลังงานทดแทนกันอย่างกว้างขวาง

     สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้การผลิตอาหารส่งตลอดโลกมีน้อยมี 2 ประการ คือ สภาพอากาศและพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร และ ผลจากน้ำมันแพงจึงมีการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรสำหรับบริโภคไปปลูกพืชเพื่อทำพลังงานทดแทนกันมากขึ้น

    สภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม พายุถล่ม เป็นต้น เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรทั้งสิ้นส่วนสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรไม่ได้มีทุกแห่งในโลก บางประเทศแทบปลูกอะไรไม่ได้เลย เช่น ประเทศที่มีพื้นที่เป็นทะเลทราย แหล่งเกษตรกรรมจึงมีอยู่เป็นหย่อมๆ กระจัดกระจายไปทั่วโลก

     เมื่อเร็วๆ นี้ หประชาชาติออกมาเตือนว่าทะเลทรายกำลัง "ขยายอาณาเขต" กว้างใหญ่ขึ้นทุกนาที จะส่งผลกระทบต่อราษฎรประมาณ 2,000 ล้านคน ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้าประชากรประมาณ 50 ล้านคนทั่วโลกจะทิ้งถิ่นฐานไปหาแหล่งทำกินใหม่ สาเหตุเป็นเพราะผืนดินเสื่อมคุณภาพด้วย "น้ำมือมนุษย์" คือทำเกษตรกรรมเกินตัว หักร้างถางพง ตัดไม้ทำลายป่า การใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์มากเกินไป จนมันไม่สามารถเจริญงอกงามขึ้นมาทดแทนทัน


เปรียบเทียบปัญหาอาหารและพลังงานกับอัคคัญญสูตร
    ความจริงปัญหาเรื่องอาหารและพลังงานในปัจจุบันไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต เช่น เรื่องราวในอัคคัญญสูตรที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 5 หัวข้อ "ประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ"

   ในอัคคัญญสูตรกล่าวไว้ว่า อาหารและสิ่งแวดล้อมเสื่อมลงและขาดแคลนเพราะมนุษย์เสื่อมจากศีลธรรมเนื่องจากการคบคนพาลและอำนาจกิเล คือ ความถือตัว การดูหมิ่นกันและ ความโลภ เป็นต้น อาหารดีๆ ในยุคนั้นจึงค่อยๆ หมดไปทีละอย่าง แล้วเกิดอาหารใหม่ที่หยาบกว่าเดิมขึ้นแทนคือ จากง้วนดิน เป็นกระบิดิน เป็นเครือดิน และเป็นข้าวสาลี เป็นต้น

      ความโลภด้วย "การกักตุนข้าวสาลี" จนเกินความจำเป็นของคนบางกลุ่ม ทำให้มีการปฏิบัติตามกันอย่างแพร่หลาย เป็นเหตุให้ข้าวสาลีงอกขึ้นไม่ทัน บางแห่งก็ไม่งอกขึ้นอีก จากเดิมที่ข้าวสาลีเคยมีอยู่ทั่วไปในทุกแห่ง ก็ปรากฏเป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายกันไป คุณภาพของข้าวก็ต่ำลงมาเรื่อยๆสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็เสื่อมลงมาตามลำดับเช่นกัน

   กลุ่มเฮดจ์ฟันด์และพวกพ่อค้าที่โลภมากชอบกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไรในปัจจุบันก็เหมือนกับพวกที่ชอบกักตุนข้าวสาลีในอัคคัญญสูตร จากเดิมเฮดจ์ฟันด์มีไม่กี่กลุ่มต่อมาก็มีการเลียนแบบกันมากขึ้น จนปัจจุบันเฉพาะใน หรัฐอเมริกามีเดจ์ฟันด์มากถึง 8,000 กลุ่ม ซึ่งสร้างความปันป่วนทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก

     การที่มนุษย์ทั่วโลกใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือยก็ดี หรือใช้มากเพราะความเติบโตทางเศรษฐกิจก็ดี เป็นเหตุให้น้ำมันที่มีอยู่ตามธรรมชาติลดลง จนน้ำมันที่สามารถเอามาใช้ได้จะหมดโลกแล้ว เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับในอัคคัญญสูตรคือ เพราะกิเลสคือความโลภ เป็นต้น ทำให้อาหารเก่าค่อยๆ หมดไป แล้วเกิดอาหารใหม่ขึ้นแทนแต่หยาบกว่าเดิม ต่างกันตรงที่ในยุคนี้คนมีบุญน้อยจึงต้องวิจัยกันอย่างยากลำบากกว่าจะได้พลังงานทดแทนมาใช้ได้

     การขยายอาณาเขตของทะเลทรายก็ดี ภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรก็ดี เป็นเหตุให้พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตรไม่ได้มีทั่วไป แต่มีเป็นหย่อมๆกระจัดกระจายไปทั่วโลกสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ตัดไม้ทำลายป่า ทำการเกษตรจนเกินพอดี การใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์มากเกินไปจนงอกขึ้นทดแทนไม่ทัน ซึ่งสอดคล้องกับในอัคคัญญสูตรที่ว่า แต่เดิมข้าวสาลีมีอยู่ทั่วไปแต่เพราะความโลภของมนุษย์คือการกักตุนข้าวสาลี เป็นต้น ทำให้ข้าวสาลีงอกไม่ทัน บางแห่งไม่งอกอีก ปรากฏอยู่เป็นกลุ่มๆ


หลักการแก้ไขวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก
    การแก้ไขก็ต้องยึดหลักการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่กล่าวไว้ใน "หัวข้อประวัติศาสตร์โลกและมนุษย์ชาติ" คือ ต้องฟื้นฟูเรื่องจิตใจคือศีลธรรมขึ้นใหม่ จึงจะทำให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมเจริญขึ้นอีกครั้ง

      การพัฒนาเพียงเศรษฐกิจให้คนมีฐานะดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เพราะจะเห็นว่ามีคนรวยจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักความพอดี ยังละโมบโลภมากปันราคาน้ำมันและอาหารให้สูงขึ้น จนผู้คนเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า คนเหล่านี้ทำไปเพราะอำนาจกิเลสบังคับเนื่องจากไม่มีศีลธรรมควบคุม หากได้มีการฟื้นฟูศีลธรรมโลกปัญหานี้ก็จะลดลง

   นอกจากนี้ ศีลธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเน้นให้คนรู้จักประหยัด ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และยังสอนให้มนุษย์มีเมตตาต่อกัน ไม่รบราฆ่าฟันกันเอง ปัญหาสงครามและการก่อการร้ายซึ่งนำไปสู่ความตกต่ำของเศรษฐกิจนั้น ล้วนเกิดจากมนุษย์ไม่มีเมตตาต่อกันไม่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม หากได้มีการฟื่นฟูเรื่องจิตใจคือศีลธรรม ปัญหานี้ก็จะลดลงเช่นกัน

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026349949836731 Mins