ภาพรวมแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
ภาพรวมแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก "

 

     GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ , การดูแลสุขภาพ

     การดูแลสุขภาพ หมายถึง การดูแลร่างกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะปกติคือแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ซึ่งต่างกับการรักษาสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การเยียวยารักษาสุขภาพที่ไม่อยู่ในภาวะปกติอันเกิดจากการเจ็บป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติคือหายป่วย การดูแลสุขภาพจึงเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยนั่นเอง

     หลักสำคัญในการดูแลและรักษาสุขภาพตามหลักพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น คือ ต้องดูแลและรักษาทั้ง 2ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ เพราะมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบขึ้นจาก 2ส่วน คือ ร่างกายกับจิตใจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันส่งผลกระทบต่อกันและกัน ไม่อาจจะแยกกันได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพจึงต้องดูแลรักษาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน

  การดูแลและรักษาทางร่างกายนั้นก็มีหลักการและวิธีการคล้ายๆ กับการแพทย์ยุคปัจจุบันส่วนการดูแลและรักษาด้านจิตใจนั้น จะใช้ธรรมโอสถคือ "บุญ" เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงรักษาให้จิตใจมีความบริสุทธิ์ ผ่องใสและสว่างไสว

   ในประเด็นสุดท้ายจะเป็นการเปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน การแพทย์ยุคปัจจุบันในที่นี้ คือ การแพทย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แผน คือ การแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

    การเปรียบเทียบนั้นจะชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มของการแพทย์ยุคปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากมีงานวิจัยจำนวนมากที่สรุปผลว่า "จิตใจ" มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับหลักในพระพุทธศาสนาที่ว่า หากมีจิตใจดีจิตใจเข้มแข็งด้วยการั่ง มบุญจะช่วยให้สุขภาพดีไปด้วยสำหรับคนเจ็บป่วย หากได้สั่ง มบุญมากๆ ก็จะหายอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะชี้ให้เห็นว่ามีหลักการแพทย์ยุคปัจจุบันหลายประการที่สอดคล้องกับในพระไตรปิฎกซึ่งพุทธบริษัทใช้ดูแลรักษาสุขภาพมานานกว่า 2,500 ปี

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.03654328584671 Mins