ฝึกความไม่ประมาทจากการอยู่ธุดงค์
ชีวิตคนเรานั้น เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ถ้าประมาทเมื่อไร ก็อันตรายเมื่อนั้นพระพุทธองค์ถึงกับตรัสไว้ว่า คนประมาทแม้มีชีวิตอยู่ ก็คือคนตายแล้ว การมาฝึกอยู่ธุดงค์ที่วัดเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะฝึกตนเองให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
หลายท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่าธรรมะทั้งหมดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ตลอด 45 พรรษา รวมแล้วได้ 84,000 ข้อ แต่เมื่อสรุปคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมดแล้วจะเหลือเพียง 1 ข้อ คือ ความไม่ประมาท โดยมีหลักฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในปัจฉิมโอวาทหรือโอวาทครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่พระศาสดาแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งกระทำเพื่อสาวกทั้งหลาย ด้วยความอนุเคราะห์เอ็นดู กิจทั้งปวงนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ขอเธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"
จากคำสอนโดยสรุปของพระองค์ เท่ากับเตือนสติให้พวกเราทุกคนได้รู้ว่าความก้าวหน้า ในการฝึกฝนคุณธรรมความดีของตนเองจะเกิดขึ้น เมื่อเรามีความไม่ประมาทเพราะถ้าประมาทเมื่อไร โอกาสที่จะทำผิดพลาด ก่อวิบากกรรมทางกาย วาจา ใจ จะมีโอกาสเกิดขึ้นทันที คุณธรรมความดีเดิมที่มี ก็จะถอยหลังกลับไปด้วย
คนที่จะไม่ประมาท ต้องฝึกสติเตือนตนเองอยู่เสมอว่า อายุของมนุษย์นั้นมีอยู่จำกัดการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า คือการหมั่นสั่งสมบุญกุศลติดตัวไป
การฝึกตนให้เป็นคนไม่ประมาท ก็ต้องฝึกตนให้เป็นคนอยู่ในบุญอย่างสม่ำเสมอ
ทำไมต้องอยู่ในบุญ นั่นก็เพราะตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ละคนก็มีกรรมดีกรรมชั่ว เป็นของตน แต่การส่งผลของกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับ ภาพของใจ
เช่น ถ้าใจอยู่ในบาป คือ ใจคิดจะทำชั่ว ทำบาป ก็จะเปิดโอกาสให้วิบากกรรมชั่วที่เคยผิดพลาดไว้ในอดีตส่งผลมาได้ เช่น กรรมที่เคยฆ่าสัตว์ส่งผลมาตัดรอนชีวิตได้ ทำให้ประสบทุกข์กรรมอย่างไม่คาดคิด และต้องขาดโอกาสในการทำความดีอย่างมา
ในทางตรงกันข้าม ถ้าใจอยู่ในบุญ คือ ใจคิดเมตตาต่อผู้อื่น หรือใจระลึกนึกถึงบุญที่เกิดจากการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ที่เคยทำไว้ในอดีต ก็จะเปิดโอกาสให้กรรมดีที่เคยได้ทำไว้ในอดีตส่งผลมาได้ เช่น บุญที่เกิดจากการทำทานไว้ในอดีตส่งผลให้ได้สมบัติเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบความจริงว่า บุญที่เราทำนั้น จะเกิดขึ้นอยู่ 3 ช่วง คือ ก่อนทำบุญก็มีความดีใจที่จะได้ทำบุญ ขณะทำบุญก็มีใจผ่องใสหลังจากทำบุญแล้วก็หมั่นตามระลึกนึกถึงบุญที่ได้ทำไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาก็ตาม
ทำอย่างไรให้ใจอยู่ในบุญ
วิธีการหนึ่งที่ปู่ย่าตายายท่านถือปฏิบัติ คือ การอยู่ธุดงค์ที่วัดเป็นเวลา 37 วัน ซึ่งจะมีการทำทาน รักษาศีล 8 และนั่งสมาธิทำภาวนาเป็นกิจกรรมหลักส่วนสถานที่พักก็แล้วแต่ว่าทางวัดจะจัดให้ บางแห่งก็เป็นการปักกลด บางแห่งก็เป็นเรือนพัก ขึ้นอยู่กับ ภาพภูมิประเทศของวัดที่ไปอยู่ธุดงค์นั้นเป็นอย่างไร
บางท่านอาจสงสัยว่า การมาอยู่ธุดงค์ทำให้ใจอยู่ในบุญ หรือทำให้เกิดความไม่ประมาทได้อย่างไร เรื่องนี้ก็ได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมและก็ได้พบกับคำตอบที่หลวงพ่อรูปหนึ่งเคยอธิบายไว้ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังในเรื่องนี้
หลวงพ่อท่านอธิบายให้แก่ผู้มาอยู่ธุดงค์ที่วัดฟังว่า
"การอยู่กลดเป็นวิธีการที่เลียนแบบมาจากข้อปฏิบัติของพระภิกษุเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แบบอย่างการอยู่ธุดงค์เอาไว้ เพราะทรงมองเห็นเหตุสำคัญ 2 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 คนในโลกนี้มีความรู้สึกเหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง คือเมื่อเวลาตนมีความสุข แม้จะสุขมากก็รู้สึกว่าตนสุขน้อยกว่าคนอื่น แต่เวลามีทุกข์นิดเดียว ก็รู้สึกว่าตนเองมีทุกข์มากกว่าคนอื่นทั้งโลก
ประการที่ 2 คนเราแยกไม่ออกว่า อะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต อะไรเป็นส่วนเกิน
หากสังเกตดูให้ดีจะพบว่า ปัญหาน้อยใหญ่ทั้งหลายที่เกิดขึ้น และทำให้โลกเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ ถ้าพูดโดยสรุปคือเราแยกไม่ออกว่า อะไรคือ และอะไรคือ
เพราะว่า Need คือ ความจำเป็นต้องมี ซึ่งก็คือการคำนวณปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงชีวิต ของเราในแต่ละวันให้ได้
ส่วน Want คือ ความต้องการ ความอยากได้ ซึ่งเป็นเรื่องของความสะดวก บาย
เพราะฉะนั้นพออยากได้อะไรขึ้นมา ก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เป็น ทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แม้ของเดิมจะมีแล้วเป็นสิบ ๆ ชุด อัดแน่นอยู่ในตู้แต่เจ้าของก็ยังคิดว่าไม่พอ ยังอยากจะหาซื้อแฟชั่นใหม่ ๆ มาเพิ่มเข้าไปอีก อย่างนี้ไม่ใช่ความจำเป็น แต่เป็นความทะยานอยากกัน
ข้อสังเกตอีกอย่าง เดี๋ยวนี้สินค้าต่าง ๆ มีรายการแถมโน่นแถมนี่ บางคนซื้อของใช้ต่าง ๆไม่ใช่เพราะอยากได้ของมาใช้ แต่ซื้อเพราะอยากได้ของแถม ผลสุดท้ายของที่ไม่จำเป็น ก็เลยมีอยู่เต็มบ้าน เงินทองก็เลยไม่พอใช้ แล้วมาร้องทุกข์ว่ารายได้ไม่พอรายจ่าย
การที่ใครจะแยกออกได้ระหว่าง ความจำเป็น (Need) กับความต้องการ (Want) ปู่ย่าตายายท่านจึงไปฝึกอยู่กลดทุกวันพระและวันหยุด
พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายท่านจึงบอกว่า ถ้าอยากรู้ก็ลองเข้าไปอยู่ในกลดดูแบกกลดมานอนที่ลานวัดสัก 2 คืนแล้วจะรู้เองว่าที่อยากได้บ้าน ได้ตึกกี่หลัง ๆ พอเข้าไปอยู่ในกลดแล้วจะรู้สึกว่า แค่นี้ก็พออยู่ ขืนหอบสมบัติมามากจนล้นออกนอกกลด จะหย่อนตัวลงนอนได้อย่างไร
การที่ให้ใส่แต่ชุดขาวอยู่ธุดงค์อย่างนี้ จะได้รู้ว่า จริงๆ แล้วเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ไม่ต้องการมากเลย เป็นภาระในการระวังรักษาเปล่า ๆ ยิ่งเป็น ชุดขาวยิ่งต้องระวัง จะนั่ง จะนอนต้องควบคุมสติ ระวังความเปรอะเปอนเป็นพิเศษ ทำให้ ติดีขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
ความต้องการจำเป็น หรือ มีอยู่แค่นี้เอง อะไรที่ตาโตอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุดหรือ ก็จะได้เพลา ๆ ลงเสียบ้าง นี่คือเหตุที่ต้องแนะนำชักชวนให้มาอยู่กลดกันนะ
แล้วถ้าจะทำความไม่ประมาทให้เกิดแก่ตนเอง ก็จะต้องเริ่มตั้งแต่ละชั่ว ทำความดีทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสซึ่งการกระทำทั้ง 3 ประการนี้ ถ้าทำให้สมบูรณ์ โดยเต็มกำลังความสามารถของเราแล้ว แม้ชาตินี้ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ ก็ต้องพยายามทำกันไปไม่ทอดทิ้งวันใดวันหนึ่ง ปีใดปีหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง เมื่อปฏิบัติธรรมได้สมบูรณ์แล้ว วันนั้น ปีนั้น ชาตินั้นเราก็จะสามารถหมดกิเล เป็นพระอรหันต์ เข้านิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้"
จากคำสอนของหลวงพ่อที่นำมาเล่าให้ฟังนี้ ก็เป็นอันสรุปได้ว่า วิธีการฝึกใจของเราให้ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทและสามารถอยู่ในบุญได้อย่างต่อเนื่องที่ดีที่สุด ก็คือ การมาอยู่ธุดงค์ที่วัดในช่วงสุดสัปดาห์อย่างน้อยต่อเนื่องสัก 37 วัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพาตนเองออกจากปัญหาต่าง ๆ ที่วุ่นวายในทางโลก ด้วยการเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่สงบกายและ สงบใจเพื่อเพิ่มบุญในทางธรรมให้ตัวเรา ครั้นเมื่อลาธุดงค์กลับไปปฏิบัติหน้าที่การงานแล้ว ก็จะทำให้เราทำงานด้วยใจที่อยู่ในบุญ ทำด้วยความไม่ประมาท แม้มีปัญหามาก ก็สามารถจัดการให้เหลือน้อย ซึ่งยิ่งมาอยู่ธุดงค์บ่อย ๆ ลาธุดงค์กลับไปทำงานแต่ละครั้ง ก็จะทำงานด้วยใจผ่องใในที่สุดปัญหาที่เคยมีมากก็จะหมดไปเอง แล้วโอกาสแห่งความเจริญก้าวหน้าก็จะก้าวเข้ามาหาอย่างมากมาย เพราะใจที่ผ่องใสย่อมมีอานุภาพดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามาหากัน
หากชาวพุทธในประเทศไทยกว่าหกสิบล้านคน พร้อมเพรียงกันฝึกความไม่ประมาทด้วยการอยู่ธุดงค์ทั่วทั้งประเทศเช่นนี้ ปัญหาต่าง ๆ ในประเทศไทยก็จะลดลงไปในชั่วข้ามคืน เพราะคนไทยมีจิตใจที่ผ่องใสขึ้น และหากมีการฟนฟูให้ทุกวัดทั่วประเทศจัดอยู่ธุดงค์สุดสัปดาห์อย่าง ม่ำเสมอ วันหนึ่งปัญหาต่าง ๆ ในประเทศก็จะหมดไป เพราะทุกคนได้ลงมือปฏิบัติธรรมเป็นชีวิตประจำวันแล้วนั่นเอง ซึ่งนั่นคือวิถีชีวิตที่ปู่ย่าตายายมอบไว้เป็นมรดกทางวันธรรมให้แก่เรามานานแล้ว แต่ว่าสิ่งเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนเมื่อไรนั้นมีหลักสำคัญอยู่ว่า เราต้องทำก่อนเป็นคนแรก แล้วจึงชักชวนผู้อื่นให้ทำตาม
เมื่อคิดพิจารณาดูแล้ว วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ก็ขอเชิญชวนทุกท่านพาครอบครัวไปทดลอง อยู่ธุดงค์สุดสัปดาห์ที่ศูนย์วิปั นาหรือวัดใกล้บ้านกันเลย ขออนุโมทนาบุญล่วงหน้า สาธุ!
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 001 หลักการสร้างความสุขในครอบครัว
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree