การให้พรลูกหลาน
เมื่อชีวิตก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเท่าไร การอำนวยอวยพรให้ลูกหลานมีความสุข ความเจริญก้าวหน้า ก็ดูเหมือนจะเป็นหน้าที่หลักของผู้ใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งแต่การให้พรนั้น ถ้าทำไม่เหมาะสมกับวัยวุิและคุณวุิของความเป็นผู้ใหญ่ ลูกหลานก็จะไม่ให้ความเคารพนับถือเกรงใจ การได้ศึกษาว่า ปู่ย่าตายายของเรา มีหลักการและวิธีการให้พรอย่างไร ลูกหลานจึงอยากเข้าใกล้ อยู่ในโอวาท และเติบโตเป็นคนดีของสังคม จะช่วยให้เราเห็นภาพการปรับตัวสู่บั้นปลายชีวิตที่ชัดเจนขึ้น
1. "การให้พร" คืออะไร
"พร" มาจากคำว่า "วร" (วะระ) ในภาษาบาลี
"วร" แปลว่า "ความประเสริฐ"
การให้พร หมายถึง การให้ความประเสริฐ
ดังนั้น การที่ผู้ใหญ่ให้พรลูกหลาน ก็คือ การให้ความประเสริฐแก่ลูกหลาน
2. ความสำคัญของการให้พร
หลายท่านอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่า การให้พรลูกหลาน เป็นประเพณีโบราณที่ครอบครัวไทยสมัยก่อนนิยมปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยทุกวันก่อนจะเข้านอน พ่อแม่และญาติพี่น้องในบ้านจะพาลูกหลานทุกคน มากราบขอพรปู่ย่าตายายอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา แล้วท่านก็จะเอ่ยอ้างเอาความดีของท่านที่ได้ทำในวันนั้นมาเป็นคำอวยพรให้แก่ลูกหลาน ทำให้ลูกหลานได้เห็นตัวอย่างที่ดีจากปู่ย่าตายาย กลายเป็นการปลูกฝังถ่ายทอดคุณธรรมความดีภายในบ้าน และเป็นการตอกย้ำให้ลูกหลานมีความเชื่อมั่นในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอยู่เป็นประจำ
สังคมไทยสมัยก่อนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ปัญหาสังคมมีน้อย ก็เพราะครอบครัวส่วนมากของประเทศได้อาศัยกิจวัตรนี้ ถ่ายทอดความดีของผู้ใหญ่ในบ้านให้แก่ลูกหลานอย่างสม่ำเสมอ
การให้พรก่อนนอนนี้ ปู่ย่าตายายถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของครอบครัว เพราะท่านทราบดีว่า หากครอบครัวใดห่างหายเสียงคำพรจากผู้ใหญ่ในบ้านแล้ว ก็เท่ากับบ้านนั้น "ขาดการรวมใจ" ไปด้วย
เมื่อบ้านขาดการรวมใจ ก็เหมือนบ้านที่ขาดใจ เพราะขาดเสียงธรรมะ ขาดเสียงให้กำลังใจ ขาดเสียงเตือนสติจากผู้ใหญ่ในบ้าน
ความขัดแย้ง กระทบกระทั่ง ความเหงาหงอย หดหู่ ขาดขวัญกำลังใจของสมาชิกในบ้านก็จะแทรกเข้ามาทันที ความอบอุ่นผูกพันของสมาชิกในบ้าน ก็จะจืดจางลงไปทีละน้อยและหมดไป
ในที่สุดบ้านหลังนั้นก็จะมีแต่เสียงดุด่า เสียงทะเลาะวิวาท เสียงดื่มเหล้าเมายาเสียงอบายมุขเกิดขึ้นทุกวัน ความสุขในบ้านหลังนั้น ก็จะเลือนหายไปพร้อมกับเสียงผู้ใหญ่อวยพรให้ลูกหลาน
ครอบครัวที่เข้าใจถึงความสำคัญของกิจวัตรนี้ จึงได้ฝึกหัดลูกหลานให้คุ้นเคยกับการไปกราบขอพรจากปู่ย่าตายายและพ่อแม่ก่อนเข้านอนทุกคืน
บางครอบครัว ปู่ย่าตายายจากโลกนี้ไปแล้ว พ่อแม่ก็จะเป็นคนนำลูกกราบที่รูปภาพของท่านแทน แล้วพ่อแม่ก็จะเป็นผู้เล่าให้ลูกฟังว่า ท่านเคยทำความดีไว้ให้แก่วงศ์ตระกูลอย่างไร
แต่ปัจจุบันกิจวัตรนี้ได้ห่างหายไปจากครอบครัวไทยมาหลายสิบปีแล้ว ทำให้ปัญหาผู้เฒ่าถูกทอดทิ้ง ปัญหาครอบครัว ปัญหาการหย่าร้างเพิ่มขึ้นมาก เพราะขาดการรวมใจเป็นประจำทุกวันนั่นเอง
นอกจากนี้ปัญหาส่วนหนึ่งก็เกิดจาก ทุกวันนี้คู่แต่งงานส่วนมากนิยมแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวเดี่ยว ในบ้านจึงมีกันแค่พ่อแม่ลูก โอกาสที่ลูกจะได้รับพรจากปู่ย่าตายายจึงเป็นเรื่องที่นาน ๆ เกิดขึ้นที และพ่อแม่ก็ไม่ค่อยทราบถึงความสำคัญของเรื่องนี้ด้วย จึงไม่ได้ทำหน้าที่นี้แทนปู่ย่าตายาย การกระทบกระทั่งในบ้านระหว่างพ่อแม่ลูกจึงเกิดขึ้นเป็นประจำบางครอบครัวมีภาวะร้ายแรงเหมือนต่างคนต่างอยู่ และนำไปสู่การล่มสลายของครอบครัวโดยที่แต่ละคนก็ไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากการขาดการรวมใจในแต่ละวันนี่เอง
ในกรณีของครอบครัวเดี่ยวที่ยังไม่มีการรวมใจ พ่อแม่ก็คงจะต้องหันหน้าเข้าหากันและกลับมาตั้งหลักกันว่า เราจะปล่อยให้บ้านมี ภาพขาดการรวมใจอย่างนี้ต่อไป เพื่อรอให้เกิดสภาพต่างคนต่างอยู่ หรือว่าจะเริ่มสร้างกิจวัตรการรวมใจในครอบครัว ด้วยการฝึกลูกให้กราบขอพรพ่อแม่ก่อนเข้านอนเป็นประจำตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งในตอนเริ่มต้น คุณแม่อาจจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นนำลูกกราบขอพรคุณพ่อก่อน ในฐานะที่พ่อเป็นหัวหน้าครอบครัว หลังจากนั้นเมื่อคุณพ่อให้พรลูกเสร็จแล้ว จึงค่อยบอกให้ลูกกราบขอพรคุณแม่บ้าง ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนให้ทุกคนมีความก้าวหน้า อะไรทำนองนี้ เป็นต้น
ถ้าหากพ่อแม่ตัดสินใจจะวางกิจวัตรประจำบ้านไว้อย่างนี้ ก็เท่ากับเป็นการวางหลักประกันความอบอุ่นผูกพันในครอบครัวไว้อย่างแน่นหนาว่าบ้านจะไม่ขาดการรวมใจส่วนในยามบั้นปลายชีวิตก็จะมีหลักประกันว่า ลูกหลานจะไม่ปล่อยให้หงอยเหงาเดียวดาย เพราะได้ฝึกลูกหลานให้คุ้นเคยกับการเข้าหาผู้ใหญ่มาตั้งแต่เล็กแล้ว และทุกครั้งที่เข้ามาหาพ่อแม่ เขาก็จะมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับแต่สิ่งดี ๆ จากผู้ใหญ่เสมอนั่นเอง
3. ความประเสริฐเกิดขึ้นในตัวได้อย่างไร
เมื่อเราทราบว่า การให้พรคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรแล้ว ก็มีประเด็นที่น่าสนใจต่อมาอีกว่า ความประเสริฐเกิดขึ้นในตัวของผู้ให้พรได้อย่างไร
จากการค้นคว้าทำให้พบว่า ตามหลักการในพระพุทธศาสนา "ใจ"ของมนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสัตวโลกประเภทอื่น คือ
1) ใจสามารถฝึกให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปได้
2) ใจสามารถขจัดความไม่ดีออกไปได้
3) ใจสามารถสั่งสมความบริสุทธิ์ไว้ได้
ด้วยลักษณะพิเศษนี้เอง ถ้าใจของมนุษย์สะ สมแต่ความดี ก็เป็นใจที่ดีได้ แต่ถ้าสะสมแต่ความชั่ว ก็กลายเป็นใจที่ชั่วได้
แต่เนื่องจากในใจของคนเรานี้ ไม่ได้มีแต่ความชั่วล้วน ๆ จนกระทั่งหาความดีไม่ได้เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงตกนรกหมกไหม้ไปแล้ว
ในทำนองเดียวกัน ใจของคนเรา ก็ไม่ได้มีแต่ความดีล้วน ๆ จนกระทั่งไม่มีความชั่วปนอยู่เลย เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงเป็นพระอรหันต์เหาะไปแล้ว
แต่เพราะในตัวของคนเรานี้ มีทั้งความดีและความชั่วปนอยู่ในตัว จึงต้องหาทางแก้ไขส่วนไม่ดีให้หมดไป แล้วก็พยายามเพิ่มส่วนที่ดีให้มีมากขึ้น ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
ตัวการที่สร้างความไม่ประเสริฐให้แก่คนเรานั้น เรียกว่า "กิเลส" มีอยู่ 3 พวก คือ
1. ความโลภ คือ ความเห็นแก่ตัว ความอยากได้ไม่รู้จักพอ ความตระหนี่ถี่เหนี่ยวไม่อยากแบ่งปันให้ใคร เช่น ผู้ใหญ่คนใด โลภจัดอยากได้ของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ลูกหลานก็คงสั่นหน้าบอกว่าไม่อยากเข้าใกล้ หรือว่าถ้าเด็กคนใด เห็นแก่ตัวจัด เป็นหัวขโมย อยากได้ของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ผู้ใหญ่ก็คงไม่อยากให้เด็กคนนั้นเข้าบ้าน
2. ความโกรธ คือ ความถูกขัดใจ แล้วอยากทำลายให้สิ้นซาก เช่น ผู้ใหญ่คนใดหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ลูกหลานก็ไม่อยากเข้าใกล้ หรือถ้าเด็กคนใด เจ้าโทสะ ระเบิดอารมณ์อยู่บ่อย ๆ ผู้ใหญ่ก็ไม่อยากให้เข้าบ้าน
3. ความหลง คือ ภาวะที่ใจมืดมิดขาดปัญญา มองเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี ทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด เช่น ผู้ใหญ่ท่านใดลำเอียง ชอบอิจฉาตาร้อนชอบนินทาชาวบ้าน ลูกหลานก็ไม่อยากเข้าใกล้ หรือถ้าเด็กคนใดชอบดมกาว ชอบเสพยาเสพติดผู้ใหญ่ก็ไม่อยากให้เข้าบ้าน
ความไม่ดีทั้ง 3 อย่างนี้ คอยปิดกั้นความดีอยู่ ยิ่งถูกปิดกั้นมากเท่าไรความประเสริฐก็น้อยลงไปเท่านั้น ใครพบก็ไม่อยากเข้าใกล้ เจ็บป่วยก็ไม่มีใครอยากดูแล
ตรงกันข้าม ถ้าใครที่เคยเห็นแก่ตัวมากเท่าไร แต่ตอนนี้ได้พยายามขจัดทิ้งออกไปแล้ว
ใครที่เคยเจ้าโทสะฉุนเฉียวมากเท่าไร แต่ตอนนี้ได้พยายามขจัดทิ้งออกไปแล้ว
ใครที่เคยอิจฉาตาร้อนมากเท่าไร มาบัดนี้ได้คิดว่า อิจฉาเขาก็ไม่ได้ทำให้เราดีขึ้นแต่อย่างใด ก็เลิกอิจฉาได้แล้ว
คนที่พยายามกำจัดความชั่วออกจากใจอย่างนี้ ไม่นานนักความคิดที่ดี คำพูดที่ดี การกระทำที่ดีก็จะถูกสะสมในตัวไว้มาก นิสัยดี ๆ ก็จะเกิดขึ้นมา และกลายเป็นความประเสริฐขึ้นในตัวมากมาย
ความประเสริฐของคนเรา ไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผู้ใหญ่เท่านั้น แม้เป็นเด็กก็มีความประเสริฐได้ คนหนุ่มคนสาวก็มีความประเสริฐได้เช่นกัน ขอเพียงแค่ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองอย่างจริงจัง
4. วิธีสร้างความประเสริฐให้เกิดขึ้นในตัว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้วิธีสร้างความประเสริฐให้เกิดขึ้นในตัว ด้วยการขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ไว้ในคำสอนเรื่อง บุญกิริยาวัตถุ 3 เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ
1. ขจัดความโลภด้วยการให้ทานอย่างสม่ำเสมอ
ปูย่าตาทวดของเราสมัยก่อน ท่านตื่นนอนขึ้นมาแต่เช้ามืด แล้วก็เรียกลูกหลานให้เตรียมข้าวของใส่บาตรให้ท่าน มาชิกทั้งบ้านก็ต้องลุกมาช่วยกัน แล้วท่านก็เป็นคนนำลูกหลานทุกคนในบ้านมาใส่บาตรพระภิกษุตั้งแต่เช้าตรู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
นอกจากนี้ หลังจากใส่บาตรพระเสร็จแล้ว ปู่ย่าตาทวดก็จะนำลูกหลานกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ เท่ากับเป็นการปลูกความกตัญูให้แก่ลูกหลานไปในตัวแล้วก็เป็นการฝึกใจให้อ่อนโยนคุ้นกับความเมตตาอีกด้วย
ส่วนบ้านใดที่อยู่ไกลวัด ตอนเช้าพระภิกษุไม่เดินผ่านหน้าบ้าน ท่านก็จะใช้ให้ลูกหลานเตรียมข้าวของเช่นกัน แล้วท่านก็เดินทางไปถวายถึงวัดด้วยตนเอง ถ้าท่านไปเองไม่ไหวเพราะสังขารไม่เอื้ออำนวย ท่านก็จะส่งตัวแทนไปถวายที่วัด โดยที่ก่อนจะไปถวาย ท่านก็จะเรียกทุกคนมาอธิษฐานจิตร่วมกัน แล้วค่อยส่งตัวแทนนำอาหารไปถวายพระที่วัด ซึ่งจะมีการหมุนเวียนกันไป
เหตุผลที่ท่านปลุกให้ทุกคนในบ้านลุกขึ้นมาใส่บาตร ก็เพราะท่านต้องการให้ลูกหลานทุกคนคุ้นเคยกับการให้ทานเมื่อตื่นนอนขึ้นมาแต่เช้าแล้ว อย่าปล่อยให้ใจขุ่นมัว อย่าคิดโลภอยากได้ของใคร แต่ให้รีบลงมือทำความดีอย่างแรกของวันนั้นทันที เพราะชีวิตเป็นของไม่แน่นอน ทุกคนในครอบครัวจึงได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยจิตใจที่ผ่องใสไม่ขุ่นมัว และมีแต่ใจคิดสนับสนุนให้ผู้อื่นทำความดีให้มากยิ่งขึ้นไป โดยเริ่มจากการตักข้าวใส่บาตรพระ
แตกต่างกับตอนเช้าของคนส่วนมากในยุคสมัยนี้ ที่พอลืมตาขึ้นมา ก็คิดแต่เรื่องแข่งขันทำมาหากิน คิดแต่จะกอบโกยผลประโยชน์จากผู้อื่น บางคนก็คิดคดโกงตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน หรือบางคนก็มัวแต่นอนตื่นสาย เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว คนอื่นเขาก็ทำอะไรไปถึงไหนกันแล้ว แต่ว่าตนเองผ่านเวลาไปตลอดวันก็ยังไม่ได้ทำความดีอะไรเลย
เมื่อเป็นอย่างนี้ เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจในบ้านถึงมีมาก มีการเอารัดเอาเปรียบกันเองในครอบครัว แล้วก็เลยเถิดมาถึงการทะเลาะอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อแย่งสมบัติกันหรือบางทีก็ขัดแข้งขัดขากันเองในหมู่ญาติพี่น้อง ความประเสริฐของวงศ์ตระกูลนั้นจึงได้เสื่อมลงไปมีแต่ปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคิดแต่จะเอาจากผู้อื่นตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
เพราะฉะนั้น ปู่ย่าตาทวดของเราท่านมองทะลุมาถึงตรงนี้ ท่านจึงนำลูกหลานทุกคนในบ้าน ออกมาใส่บาตรพระ เป็นการทำความดีแรกของวัน และเป็นการฝึกทุกคนให้คุ้นเคยกับการสนับสนุนให้ผู้อื่นทำความดีด้วยความเต็มใจ ป้องกันความคิดโลภ คิดเอาเปรียบ คิดอิจฉาริษยาคิดอยากได้ของคนอื่น และมีจิตใจผ่องใสตั้งแต่เช้าตรู่ของวันอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ความโลภภายในใจก็จะน้อยลงไป แล้วความประเสริฐจากความเป็นผู้ให้ ก็จะเกิดขึ้นในตัวเป็นประการที่ 1
2. ขจัดความโกรธด้วยการรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อปู่ย่าตายายตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้ามืดแล้ว ก่อนจะไปเตรียมอาหารใส่บาตรท่านจะเรียกลูกหลานมารวมกันที่หน้าหิ้งพระประจำบ้าน ไม่เว้นแม้แต่คนงานในบ้านเพื่อสวดมนต์ทำวัตรเช้าพร้อมกันก่อน แล้วก็นำทุกคนอาราธนาศีล 5 ต่อหน้าพระพุทธรูปประจำบ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ จึงค่อยแยกย้ายกันไปเตรียมข้าวปลาอาหารมาใส่บาตร
แต่ถ้าวันใด เกิดมีความผิดพลาดในเรื่องเวลา คนในบ้านอาจจะตื่นช้ากว่าปกติไปสักสิบนาที ทำให้ไม่ได้สวดมนต์ทำวัตรเช้าก่อน เพราะต้องรีบไปเตรียมอาหารใส่บาตรก่อนท่านก็ไม่ยอมเลยตามเลย อย่างน้อยระหว่างรอพระมาบิณฑบาต ท่านก็จะนำ มาชิกทุกคนอาราธนาศีล 5 ในช่วงนี้แทน พอใส่บาตรเสร็จ ท่านก็นำลูกหลานกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเอาบุญที่เกิดจากการใส่บาตรและการรักษาศีลอุทิศให้บรรพชนผู้ล่วงลับทันที แล้วหลังจากนั้นท่านก็กลับไปสวดมนต์ทำวัตรเช้าของท่าน ไม่มีลดราวาศอกกับกิเลสเลย
การที่ท่านฝึกให้ลูกหลานในครอบครัวคุ้นกับการตั้งสัจจะในการรักษาศีลเป็นประจำทุกวันอย่างนี้ ก็เพื่อให้ลูกหลานมีหลักประจำใจของตนเองว่า วันนี้ทั้งวัน จะต้องไม่ผิดศีล 5 จะต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ใคร ไม่ไปทำเจ้าชู้กับใคร และไม่ว่าจะเกิดกระทบกระทั่งกับใคร รุนแรงเพียงใด ก็จะพยายามไม่โกรธ ค่อยพูดค่อยจาด้วยเหตุผล
เมื่อท่านฝึกลูกหลานอย่างนี้ ปัญหาอบายมุขในครอบครัวก็จะไม่มี เรื่องร้อนเขาร้อนเราทั้งในบ้านและนอกบ้าน ก็จะไม่มี เพราะทุกคนมีศีล 5 เป็นปกติ
ผิดกับยุคสังคม มัยนี้ ที่ไม่พอใจอะไรขึ้นมาก็จะต้องด่าว่ากันด้วยคำหยาบคายทันทีพร้อมจะระเบิดอารมณ์เข้าหากัน พร้อมจะแก้แค้นทวงคืน ทำให้เกิดการจองเวรกันอย่างไม่รู้จบ
เพราะฉะนั้นปู่ย่าตาทวด ท่านมองทะลุมาถึงเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านจึงลุกขึ้นมาแต่เช้า เพื่อนำลูกหลานในบ้านให้อาราธนาศีลพร้อม ๆ กัน เพื่อเป็นการฝึกให้ทุกคนมีศีล 5 รู้จักควบคุมตนเอง ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ใคร และพยายามรักษาจิตใจให้ผ่องใสตลอดวัน
ด้วยเหตุนี้ ความโกรธในใจก็จะถูกขังเอาไว้ ไม่ให้ออกฤทธิ์อาละวาดได้ความประเสริฐจากการไม่สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้ทั้งตนเองและผู้อื่น จึงเกิดขึ้นในตัวเป็นประการที่ 2
3. ขจัดความหลงด้วยการทำภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
ปู่ย่าตายายท่านศึกษาธรรมะมามาก จึงทราบดีว่า ใจของคนเรามักติดเหยื่อล่อได้ง่ายบางทีไปเห็นของสวย ๆ งาม ๆ ก็อยากได้ บางทีไปได้ยินเสียงเพราะ ๆ ก็อยากได้ บางทีไปได้กลิ่นหอม ๆ ก็อยากได้ บางทีไปได้กินอะไรอร่อย ๆ ก็อยากได้ บางทีไปได้สัมผั อะไรที่นุ่ม ๆก็อยากได้ บางทีมีใครทำอะไรให้ถูกใจ ก็อยากได้เขามาอยู่ด้วยอีก
การติดเหยื่อล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจนี้เอง ทำให้มองเห็นผิดเป็นชอบได้ง่าย ทำให้ถูกชักจูงไป ทำความชั่วได้ง่าย แล้วก็ต้องประสบทุกข์ทรมานสารพัดจากการตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ในภายหลัง
การจะรักษาปกติของใจไม่ให้ตกเป็นทาสของเหยื่อล่อเหล่านี้ จำเป็นต้อง "ฝึกสติ" ให้ดี
สติ คือ ความรู้ตัวว่า ตนเองทำอะไรอยู่ และแยกแยะตัดสินได้ว่าสิ่งใดถูกผิด ดีชั่วบุญบาป ควรทำไม่ควรทำ ทำให้ไม่ตกอยู่ในความประมาท
ปู่ย่าตายายท่านทราบเรื่องนี้ดี ท่านจึงฝึกสติของท่านเป็นประจำทุกวัน และท่านไม่มารอฝึกตอนแก่ แต่ท่านฝึกของท่านมาตั้งแต่สมัยยังเป็นหนุ่มสาว
วิธีการฝึกสติของท่าน ได้ยึดแบบแผนตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งท่านได้จากการไปวัด เพราะวัดคือแหล่งความรู้เรื่องศีลธรรมให้แก่ประชาชน
และวิธีฝึก ติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ ก็คือ "การทำภาวนา"
การทำภาวนา คือ การกำจัดความเห็นผิดเป็นชอบด้วยการฝึกใจให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใสและมีสติตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลา
โดยปู่ย่าตายายจะฝึกสติของท่านผ่าน 3 เรื่องต่อไปนี้มาตลอด ท่านฝึกของท่านมาตั้งแต่ก่อนจะมีครอบครัว ท่านทำสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นชีวิตประจำวันของท่าน แม้ในยามบั้นปลายชีวิตท่านก็ยังฝึกอยู่ไม่ขาด นั่นคือ
1. ท่านศึกษาธรรมะทุกวัน
2. ท่าน สอนธรรมะให้แก่ลูกหลานทุกวัน
3. ท่านทำภาวนาทุกคืน
การศึกษาธรรมะทุกวัน ทำให้ใจของท่านได้รับการเตือน ติจากพระธรรมคำlอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอว่า อย่าขาดการทำบุญ เพราะว่า คนเรานั้นเกิดมาแล้ว ต้องตายแน่และสิ่งที่เรานำติดตัวไปได้ ก็มีแค่บุญกับบาปเท่านั้น ถ้าทำบุญไว้มาก ปัญหาก็ลดน้อย ความสุขก็มีมาก แต่ถ้าทำบาปไว้มาก นอกจากปัญหาจะมีมากแล้ว ความสุขที่มีก็จะหมดไปด้วย
การสอนธรรมะให้แก่ลูกหลานทุกวัน ทำให้ใจของท่านได้รับการทบทวนความรู้เรื่องศีลธรรมอยู่เสมอ อีกทั้งเป็นการถ่ายทอดให้ลูกหลานมีความรู้เรื่องศีลธรรมไปในตัวเมื่อจิตใจผูกพันอยู่กับธรรมะอย่างนี้ ลูกหลานก็อยากเข้าใกล้ ไม่เป็นโรคน้อยใจ แล้วก็กลายเป็นพระในบ้าน คอยเตือนสติลูกหลานให้เป็นคนดี
การทำภาวนาทุกคืน เป็นการฝึกสติของท่านโดยตรง เพราะเมื่อท่านหมั่นทำสมาธิทุกวันเป็นประจำ ใจของท่านก็จะคุ้นกับความสงบ ผ่องใสไม่ขุ่นมัวง่ายสิ่งใดที่จะมายั่วเย้าให้ใจของท่านไปติดเหยื่อล่อทางตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย และใจ ก็ทำได้ยาก เพราะความคุ้นกับความสงบของใจท่าน จะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ทันที
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเป็นคนที่ลุ่มหลงในสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ยาก และยังมีความทันคน ทันกิเลสอยู่เพียบพร้อม ทำให้ท่านเป็นคลังปัญญาให้แก่ลูกหลานได้อีกด้วย ลูกหลานคนใดอยากได้ปัญญา อยากได้ความทันคน ทันกิเลสเมื่อเข้าไปหาท่านแล้วย่อมไม่ผิดหวัง มีแต่ได้รับคำแนะนำที่ดีอย่างเต็มที่อย่างแน่นอน
โดยสรุป เพราะว่าปู่ย่าตายายของเรา ท่านสร้างความประเสริฐให้เกิดขึ้นในตัวด้วยการขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ผ่านวิธีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นนี้ ลูกหลานจึงมีความรู้สึกว่า ท่านเป็น "ปูชนียบุคคล" ที่น่าเคารพยกย่อง น่ากราบไหว้ น่าเข้าใกล้ ท่านเป็นบุคคลที่ลูกหลานสามารถยึดถือเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตได้อย่างแน่นอน
เมื่อศึกษามาถึงตรงนี้ ก็ได้ข้อคิดว่า ปู่ย่าตายายที่ท่านฝึกฝนตัวของท่านได้ดีเยี่ยมอย่างนี้ ลูกหลานจะไม่มีทางทอดทิ้งท่านอย่างแน่นอน มีแต่กราบเช้ากราบเย็น เสมือนท่านเป็นพระในบ้าน
5. ความประเสริฐทำให้คำอวยพรเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร
เวลาที่เราเข้าไปกราบผู้ใหญ่ที่ท่านมีคุณธรรมมาก มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ก็คือ เวลาปู่ย่าตาทวดของเราท่านให้พร ทำไมเราจึงรู้สึกว่า พรของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังอยู่ด้วย "ความศักดิ์สิทธิ์ของพรเกี่ยวข้องกับความประเสริฐของผู้ให้พรอย่างไรกันแน่"
หลวงพ่อรูปหนึ่งที่เคารพรัก ท่านให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ว่า "ความศักดิ์สิทธิ์ของพร"ขึ้นอยู่กับ "ความมีสัจจะต่อคุณธรรมความดีของผู้ให้พร"
"ถ้าผู้ให้พรเป็นคนมีสัจจะต่อคุณธรรมความดีมาก คำพรก็มีความศักดิ์สิทธิ์มากแต่ถ้าผู้ให้พรมีสัจจะต่อคุณธรรมความดีน้อย คำพรก็มีความศักดิ์สิทธิ์น้อย"
แล้วท่านก็ชี้แนะให้ย้อนไปดูเรื่องเก่าๆ ในตำรับตำราโบราณ โดยท่านให้เปิดดูหลักฐานจากพระไตรปิฎก เรื่อง "พระองคุลิมาล" ซึ่งเป็นหลักฐานที่อธิบายเรื่องนี้ได้ชัดเจน
หลวงพ่อท่านชี้ให้เห็นภาพชัดเจนว่า
"พระองคุลิมาล ก่อนบวชท่านเคยเป็นโจรฆ่าคนมาเกือบพันชีวิต คนที่จะฆ่าแล้วได้ครบหนึ่งพัน ก็คือ มารดาของท่านเอง แต่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ล่วงหน้า จึงได้เสด็จมาดักพบกับท่าน ท่านเห็นพระพุทธองค์แล้วก็คิดจะฆ่า แต่ว่าพระพุทธองค์ก็ทรงเตือนสติให้ได้คิดแล้วก็เทศน์โปรดให้ท่านฟังที่ข้างทางนั้นเอง ท่านจึงสำนึกบาปได้ ขอบวชเป็นพระภิกษุแล้วตั้งใจบำเพ็ญเพียรอยู่ในสำนักของพระพุทธองค์
แต่เนื่องจากท่านเคยเป็นโจรที่มีชื่อเสียงลือกระฉ่อนเรื่องฆ่าคนไม่เลือกหน้าระยะแรก ๆ เวลาออกบิณฑบาต ท่านไม่ค่อยได้อาหาร เพราะพอชาวบ้านจำหน้าได้ว่าท่านคือ โจรองคุลิมาล ก็ตกใจ เผ่นหนีกันไปหมด บางวันก็ถูกรุมขว้างปาจนเลือดอาบ
วันหนึ่ง ท่านออกบิณฑบาตไปพบผู้หญิงท้องแก่กลางทาง ผู้หญิงคนนั้นพอจำได้ว่าเป็นโจรองคุลิมาล ก็ตกใจ วิ่งหนีล้มลุกคลุกคลาน ในที่สุดก็หมดเรี่ยวแรงจะหนี ได้แต่อ้าปากพะงาบ ๆ ร้องไม่ออก ทำท่าจะตายเอาต่อหน้าต่อตา
พระองคุลิมาลก็คิดช่วย แต่ทำอย่างอื่นไม่ได้ จึงกล่าวคำให้พรขึ้น โดยในคำให้พรนั้น "ท่านอ้างสัจจะต่อคุณธรรมความดี" ที่ท่านมีก่อนว่า
'นับแต่เมื่อข้าพเจ้าเกิดแล้วในอริยวงศ์ ได้บวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนบัดนี้ ความคิดที่จะเบียดเบียนรังแกสัตว์ แม้สักนิดไม่มีเลย ด้วยสัจจะนี้ ขอน้องหญิงจงคลอดบุตรโดยสวัสดีเถิด'
พอท่านกล่าวจบ หญิงผู้นั้นก็คลอดบุตรออกมาอย่างง่ายดาย ปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพระองคุลิมาล จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า อำนาจของสัจจะต่อคุณธรรมความดีมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้
เพราะฉะนั้น หลักการให้พรที่ถูกต้อง คือ ผู้ให้จะต้องอ้างสัจจะในคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวมาเป็นคำอวยพรให้แก่ลูกหลาน คำอวยพรนั้นจึงจะเกิดความศักดิ์สิทธิ์
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีสัจจะในการทำทาน ก็ให้พรว่า
"ด้วยสัจจะที่ได้ตักบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์เป็นประจำมาตลอดปี ขอให้ผู้มาขอพรนี้จงมีอาหารการกินบริบูรณ์ อย่าได้ขาด หรือด้วยสัจจะที่เคยตัดใจให้สมบัติเป็นทานโดยง่ายขอให้ผู้รับพร จงได้สมบัติโดยง่ายเช่นกัน"
6. ข้อคิดของหลวงพ่อ
เมื่อหลวงพ่อท่านอธิบายเรื่องนี้จบลง ท่านก็ยังให้ข้อคิดอีกต่อไปว่า "พวกเราทุกคนที่รู้ตัวว่าพรุ่งนี้จะมีลูกหลาน หรือคนที่เคารพนับถือมาขอพรเราต้องคิดแล้วนะ ว่าทำอย่างไร คำอวยพรของเรา จะไม่เป็นเพียงเสียงนกแก้วนกขุนทองที่พูดไป
ถ้าหากเราไม่ได้ตักบาตรประจำ ก็ต้องเริ่มตักบาตรเป็นการฝึกขจัดความตระหนี่ของตนเอง ถ้าหากยังเจ้าอารมณ์อยู่ ก็ต้องฝึกรักษาศีลให้ดี ถ้าหากยังชอบตะแบง ชอบดันทุรังเห็นอยู่ว่าผิด แต่ก็ยังดื้อทำไป ก็ควรศึกษาธรรมะ และเข้าวัดปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิสม่ำเสมอได้แล้ว ไม่อย่างนั้น เราก็ไม่รู้ว่า จะเอาความประเสริฐจากที่ใด
แต่ถ้าเราฝึกตนเองมาอย่างดี พอถึงเวลาลูกหลานมาขอพร ก็อ้างเอาบุญกุศลที่ใส่บาตร รักษาศีล และนั่งสมาธิมิได้ขาด มากำหนดเป็นคำอวยพร ขอให้บุญกุศลนี้ จงถึงแก่ผู้มาขอพร ให้เขามีความเจริญรุ่งเรืองสุขภาพร่างกายแข็งแรง มี ติปัญญาเฉลียวฉลาดในการทำความดี พรที่เราให้นี้ก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์
แต่ถ้าใครตอนนี้ เป็นผู้ใหญ่แล้ว แหนงใจว่าตนเองไม่มีความดีอะไรเลย ก็ยังไม่สายเกินไปหรอกนะ คืนนี้ก่อนนอนสวดอิติปิโสัก 108 จบ หรือนั่งสมาธิให้ตลอดคืน พรุ่งนี้ลูกหลานมาขอพร ก็ยังเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่จะเอาไปอ้างได้ แม้จะเป็นความศักดิ์สิทธิ์เพียงคืนเดียว ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย หลังจากนั้นก็ทำเพิ่มเข้าไปทุกวัน เดี๋ยวความประเสริฐก็จะเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เอง"
เมื่อเราได้ศึกษาเรื่องนี้แล้ว ก็ทำให้เห็นภาพของการเตรียมตัวสู่บั้นปลายชีวิตที่ชัดเจน และมีความรู้สึกว่า นี่เราต้องเตรียมตัวแก่ก่อนแก่ให้พร้อมเสียแล้ว เพราะถ้าไปคิดปรับตัวตอนแก่ แต่ติดนิสัยแย่ ๆ มาเยอะแล้ว ไม้แก่คงดัดยาก แต่ถ้าลงมือฝึกฝนปรับปรุงตนเองแก้ไขความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ในใจให้น้อยลงไปเสียตั้งแต่วันนี้ พอบั้นปลายชีวิตมาถึง เราก็จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมต่อการเป็น "ปูชนียบุคคล" ที่ มควรแก่การเคารพกราบไหว้ของลูกหลาน เมื่อวันนั้นมาถึง นั่นเท่ากับว่า "เราได้เป็นคลังปัญญาให้ลูกหลานได้
ศึกษาและนำไปปฏิบัติตาม" นั่นเอง
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 001 หลักการสร้างความสุขในครอบครัว
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree