วัดร้าง - วัดรุ่ง

วันที่ 25 พค. พ.ศ.2560

วัดร้าง - วัดรุ่ง
 

หลักการสร้างความสุขในครอบครัว , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , วัดร้าง - วัดรุ่ง

     เมื่อประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้เกิดประวัติศาสตร์สำคัญบทหนึ่งของพระพุทธศาสนาในเมืองไทย นั่นคือ ข่าวของวัดพระธรรมกาย

   จำได้ว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำอย่างหนัก หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ โทรทัศน์ทุกช่องประโคมข่าวโจมตีวัดพระธรรมกายอย่างหนัก จนกระทั่งนักวิจารณ์หลายคนต่างก็ฟันธงว่า อีกไม่นาน วัดที่มีขนาดเนื้อที่สองพันกว่าไร่ คงจะต้องร้างในไม่กี่เดือนอย่างแน่นอน และก็จะต้องกลายเป็นวัดร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

    หลายท่านก็ติดตามข่าวนี้เช่นกัน แต่หลังจากติดตามข่าวนี้อย่างต่อเนื่องอยู่ถึง 2 ปีเต็ม ก็พบว่าผลที่ออกมากลับตาลปัตร ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะในช่วงนั้น ถ้ากรณีเป็นรัฐบาลถูกโจมตีหนักอย่างนี้บ้าง แค่โดนติดต่อเข้าไปไม่กี่เดือน ก็ทำท่าจะยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่กันแล้ว

   นอกจากนี้แล้ว ท่ามกลางการออกข่าวโจมตีอย่างหนัก หลายท่านยังพบใบประกาศของวัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปร่วมงานบุญสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย ซึ่งหลังจากวันงาน ก็มีการรายงานข่าวจากทางวัดว่า มีคนมาร่วมงานนับเรือนแสน แม้ว่าจะมีเสียงค่อนแคะจากบางสื่อว่าทางวัดจ้างคนมาร่วมงาน แต่โดยวินิจฉัยของตนเองแล้ว ไม่น่าใช่ เพราะถ้าวัดใช้เงินมาจ้างคนจำนวนมากขนาดนี้จริง ๆ วัดต้องล้มละลายอย่างแน่นอน และที่สำคัญผู้ร่วมงานบางคนเป็นถึงนักธุรกิจอันดับต้น ๆ ของประเทศบุคคลเหล่านี้คงจ้างมาไม่ได้อย่างแน่นอน รุปว่าเรื่องจ้างคนมาวัด ก็เป็นการเขียนข่าวกันไปเอง

    ในขณะที่ติดตามข่าววัดพระธรรมกายนั้น ผู้เขียนก็ได้ติดตามข่าววัดร้างในประเทศไทยด้วย ซึ่งในปีนั้น มีการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีวัดร้างมากถึง 8,000 กว่าวัด ซึ่งนั่นเกือบเป็นหนึ่งในสามของวัดที่มีอยู่สามหมื่นวัดทั่วประเทศ และคิดเป็นเนื้อที่ประมาณแสนไร่เรื่องตัวเลขวัดร้างที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า "อะไรเป็นสาเหตุของวัดร้างกันแน่ "

      การพิจารณาเรื่องนี้ เริ่มจากแบ่งเป็นวัดเก่าและวัดเกิดใหม่

   วัดเก่าที่ปู่ย่าตายายสร้างไว้ในยุคที่ประชากรไทยมีไม่กี่สิบล้านคนมากถึงสามหมื่นวัดแล้ววัดที่เกิดใหม่ในช่วงสามสิบปีนี้มีเท่าไรกันแน่

      นั่นก็หมายความว่าสถานการณ์ของวัดตอนนี้ คือ วัดเก่าทยอยร้าง วัดใหม่ก็ไม่เพิ่ม

     สถานการณ์ของวัดร้างไม่ได้หยุดยั้งลงแค่นั้น ต่อมาไม่นานก็มีข่าวออกมาว่า จะมีการเปลี่ยนทรัพย์สินที่ดินของวัดร้างมาเป็นทุน

    พูดง่ายๆ คือจะนำที่ดินของวัดร้างไปทำธุรกิจ แนวคิดนี้ ผิดหลักของชาวพุทธอย่างมาก แทนที่จะหาทางรักษาเยียวยามรดกของปู่ย่าตายายให้กลับมาเป็นวัดที่รุ่งเรืองอีกครั้งกลับมีแนวคิดซ้ำเติมให้วัดร้างเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างนี้ ที่สำคัญก็คือ วัดร้างเหล่านี้ ในอดีตเคยเป็นวัดที่ปู่ย่าตายายท่านสร้างไว้ด้วยจิตศรัทธา เพราะเป็นห่วงลูกหลานจะไม่มีความเข้าใจเรื่องบุญถ้าปู่ย่าตายายท่านยังอยู่ ท่านจะรู้สึกอย่างไรกับการไม่เอาใจใส่ในวัดของท่าน

    ตัวเลขวัดร้างที่อ่านข่าวเจอนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ในประเทศไทยได้นานเพียงใดกันแน่

  สถานการณ์ของวัดร้างและแนวคิดการเปลี่ยนทรัพย์สินของวัดเป็นทุนนี้ กระตุ้นให้สนใจเรื่องความอยู่รอดของวัดพระธรรมกายอย่างมาก เพราะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตการระดมโจมตีของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปีมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ และยังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสกดดันของสังคมที่ถูกสร้างจากสื่อจนถึงปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งออกจะเป็นการฟังความข้างเดียวเสียส่วนมาก

     วัดพระธรรมกายรอดพ้นจากการเป็นวัดร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาได้อย่างไรกัน 

    เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ ก็เกิดความมั่นใจว่าวัดพระธรรมกายต้องมีหลักการสำคัญที่ใช้ในการรักษาวัดไม่ให้ร้างอย่างแน่นอน ซึ่งหลักการนี้น่าจะเป็นกุญแจที่ช่วยไขคำตอบได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของวัดร้างในประเทศไทย

   จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย ก็พบว่าวัดนี้มีรากฐานความเป็นมาจากลูกศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (สด จนฺท โร) และก็พบคำตอบอันเป็นกุญแจของเรื่องนี้ว่าอยู่ที่ "ความเคารพในคำสอนของครูบาอาจารย์" นี่เอง

      พระลูกวัดรูปหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า

    "เมื่อตอนที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ ท่านให้ "มนต์สร้างวัดไว้ 3 บท" แล้วหลวงพ่อเจ้าอาวา วัดพระธรรมกาย ท่านก็นำมนต์ 3 บทนั้น มา สอนให้พระลูกวัดเข้าใจตรงกัน โดยตัวท่านเองก็ลงมาทำเป็นตัวอย่างให้ดูด้วย


มนต์บทที่ 1 กวาดวัดให้สะอาด

   ท่านให้เหตุผลว่าถ้าวัดสะอาดแล้วคนที่เขาตั้งใจมาทำบุญก็จะเกิดความมั่นใจว่าทุกบาททุกสตางค์ที่ทำบุญมากับวัดนี้ จะไม่รั่วไหลไปในทางที่ไม่ควรแน่นอน

     สมมติว่า ถ้าเขาตั้งใจจะมาทำบุญสัก 10 บาท พอมาถึงวัด เห็นวัดสะอาดสะอ้านน่ายืน น่าเดิน แม้กระทั่งในศาลาก็น่านอน จากเดิมที่คิดจะทำบุญ 10 บาท ก็มีสิทธิ์จะทำเพิ่มเป็น 100 บาท แต่ถ้าตั้งใจจะทำบุญ 100 บาท เขาก็เพิ่มขึ้นอีกเป็นเงาตามตัว

     ความสะอาด คือ เสน่ห์ที่แรงที่สุดของวัด

   แต่ถ้าถามว่า ถานที่จุดใดของวัดที่คนมุ่งไปหามากที่สุด ก้าวแรกที่ญาติโยมลงมาจากรถ เขาถามหาอะไรก่อน คำแรกเลยคือ "ห้องน้ำอยู่ที่ไหน " เขาไม่ถามหรอกว่า "เจ้าอาวา อยู่ที่ไหน " หรือ "หลวงพ่อ หลวงพี่ ที่ อนบาลีรูปนั้น ที่เทศน์เก่ง ๆ อยู่ที่ไหน" เขายังไม่ถาม แต่เขาถามว่า "ห้องน้ำอยู่ที่ไหน "

   เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ทุกคนในวัดจะต้องช่วยกันทำ และจะต้องทำให้มีเสน่ห์ให้ได้คือความสะอาดของห้องน้ำและบริเวณสถานที่โดยรอบ

    อุปกรณ์ทำความสะอาดนี่สำคัญมาก อย่ามองไม้กวาด มองผ้าขี้ริ้ว หรือถังขยะว่ามันเป็นไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ถังขยะที่สกปรกโสโครก แต่ขอให้มองว่าของเหล่านี้ คือ เทพธิดาแห่งความสะอาด ไม้กวาดที่เรากวาดขยะมีฤทธิ์ดึงดูดสมบัติติดปลายไม้กวาดมาได้ ทั้งผ้าขี้ริ้ว ทั้งถังขยะมีมนต์เรียกสมบัติของพระศา นาติดอยู่ทั้งนั้น

    แล้วท่านก็ยังบอกว่า วัดที่ไม่รักษาความสะอาด โยมมาครั้งใด ศาลาก็รก กุฏิก็รกคนที่สร้างศาลาเอาไว้สร้างกุฏิเอาไว้ให้ มาทีไรก็เห็นรก วันหลังเราอยากได้เพิ่มอีกหลัง ไปบอกเขาอีก เขาก็จะบอกว่า ก็หลังนี้ยังไม่มีปัญญาทำให้สะอาด แล้วจะเอาอีกหลังมาให้รกอีกทำไมตอนนั้นก็คงได้หน้าชากันบ้าง

    แต่ถ้าเราทำให้สะอาดไว้ตลอดเวลา เขาจะนั่ง นอน ยืน เดินก็สบาย จังหวะดี ๆ เขาอาจจะเข้ามาถามเองว่า "หลวงพ่ออยากได้อีกสักหลังหนึ่งไหม  ถึงไม่มีเงิน ผมจะไปตามพรรคพวกมาสร้างให้"

   ความสะอาดสร้างญาติโยมที่เป็นฝ่ายเสบียงให้แก่วัดอย่างนี้ พระภิกษุสามเณรในวัดจึงไม่ลำบากในเรื่องการบิณฑบาต ทำให้สามารถศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่จึงมีข้อคิดและความรู้ธรรมะดี ๆ มา อนญาติโยมอย่างมากมาย

   นอกจากนี้ เวลาญาติโยมถวายเงินทำบุญอะไรมา ต้องรีบเอาเงินไปทำบุญเรื่องนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ อย่าเอาเงินไปกำไว้นาน ถ้ารับปากญาติโยมว่าจะสร้างศาลาเขาถวายเงินมาแล้วต้องรีบสร้าง บอกว่าจะสร้างกุฏิ ต้องรีบสร้าง พอเขาทำบุญอะไรมาต้องทำให้เขาเห็นผลงานให้เร็วที่สุด

    นี่คือ หลักการดูแลรักษาวัดข้อที่ 1 ที่เรียกว่า "ความสะอาดเรียกสมบัติ" หรือ "มนต์เรียกสมบัติ" ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ นั่นเอง


มนต์บทที่ 2 ขยันเทศน์

   ท่านให้เหตุผลว่า คนที่มีศรัทธา มีใจรักจะสร้างวัด พัฒนาวัด จะต้องขยันศึกษาธรรมะและขยันเทศน์ด้วย เพราะญาติโยมเอาข้าวปลาอาหารมาให้ขบฉันถึงที่วัดแล้วแต่ถ้าพระภิกษุในวัดยังไม่ลงมือเทศน์ให้ญาติโยมฟัง เขาก็จะรู้สึกว่ามาวัดแล้วไม่ได้อะไร

     ถ้าหากพระภิกษุขบฉันอาหารของญาติโยมฟรี แล้วไม่มีธรรมะติดใจกลับบ้านไปเขาก็ไม่รู้ว่าจะมาวัดทำไม

     วิธีเทศน์หรือเรื่องที่จะเทศน์ ก็มีหลักการเลือกเรื่องแบบง่าย ๆ คือให้ดูหน้าโยมว่าเขามีความทุกข์เรื่องอะไร แล้วก็เทศน์ให้ตรงกับปัญหาของเขา เทศน์ให้เจาะใจเหมือนบ่งหนองออกจากแผล พอญาติโยมสบายใจแล้ว เขาก็จะซาบซึ้งในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็จะมีศรัทธามาช่วยพระภิกษุสามเณรพัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าเองเพราะเขาคิดว่าเงินที่ทำบุญเลี้ยงพระ บำรุงวัดไปนั้น เป็นการให้โลกียทรัพย์ แต่สิ่งที่หลวงพ่อคืนกลับมาให้เขานั้นเป็นอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เขาสามารถใช้แก้ไขความทุกข์ได้ตลอดชีวิตซึ่งยิ่งใหญ่กว่ามากนัก

    นี่คือ หลักการดูแลรักษาวัดข้อที่ 2 ที่เรียกว่า "ขยันเทศน์เรียกคน" หรือ "มนต์เรียกญาติโยมเข้าวัด" ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ นั่นเอง


มนต์บทที่ 3 ขยันนั่งสมาธิ

    ท่านให้เหตุผลว่า เป้าหมายของการบวช คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง และวิธีการทำพระนิพพานให้แจ้งก็ต้องขยันนั่งสมาธิ

   คำสอนทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามุ่งเน้นที่การสอนให้พุทธบุตรขยันนั่งมาธิเป็นสำคัญ เพราะการที่ใครจะหมดกิเลสได้ ก็ต้องมองเห็นกิเลสก่อน คนที่จะเห็นกิเลสได้ก็ต้องมองเห็นใจของตนเอง และคนจะมองเห็นใจของตนเองได้ ก็ต้องนั่งสมาธิให้ใจสงบจนเกิดความสว่างในใจมากพอจะมองเห็นใจของตนเองได้

   มนุษย์ส่วนมากในโลกนี้ ยังมองไม่เห็นใจของตนเอง เพราะไม่ได้นั่งสมาธิจึงตกเป็นทาสของกิเลสได้โดยง่าย โลกจึงวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น

     การที่ชาวโลกเห็นพระภิกษุขยันนั่งสมาธิ ก็จะทำให้เขาได้คิด ได้เห็นต้นแบบและอยากจะลองนั่งสมาธิบ้าง

  เพราะฉะนั้นเมื่อญาติโยมมาทำบุญที่วัด นอกจากเทศน์ให้ฟังแล้ว ยังต้องสอนให้ญาติโยมนั่งสมาธิด้วย เพราะถ้าญาติโยมนั่งสมาธิแล้ว ใจก็จะสะอาดสงบ และ ว่างตามมาเองความผ่องใสในใจก็จะมีมาก จะคิดแต่เรื่องที่ดี และมองเห็นช่องทางสร้างบุญกุศลได้ทะลุปรุโปร่ง

    ถ้าพระภิกษุขยันนั่งสมาธิและสอนญาติโยมขยันนั่งสมาธิอย่างนี้ การจะสร้างวัดหรือสร้างอะไรก็ทำได้สำเร็จทั้งนั้น

    นี่คือ หลักการดูแลรักษาวัดข้อที่ 3 ที่เรียกว่า "ขยันนั่งสมาธิ" หรือ "มนต์เรียกความสำเร็จเข้าวัด" ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ นั่นเอง"

   เมื่อได้ฟังพระลูกวัดท่านตอบแล้ว ก็เข้าใจแล้วว่า วัดพระธรรมกายรอดพ้นจากวิกฤตดังกล่าวมาได้อย่างไร และได้คำตอบว่า ถ้าวัดใดใช้มนต์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ทั้ง 3 บทนี้ มากำหนดกิจกรรมของวัดทุกอย่างให้สอดคล้อง วัดก็จะไม่มีทางร้างอย่างแน่นอน นอกจากไม่ร้างแล้ว ยังจะเป็นวัดที่คนอยากไปทำบุญ อยากไปศึกษาธรรมะอีกด้วย

   ข้อคิดที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องนี้ ก็คือ ถ้าชาวพุทธที่หมดภาระหน้าที่การงานทางโลกแล้ว คิดจะใช้ช่วงบั้นปลายชีวิตนี้ออกบวช ก็จะช่วยแก้ปัญหาวัดร้างได้มากโดยใช้ประสบการณ์ชีวิตและเครือข่ายที่ตนเองมี มาร่วมกันสร้างบุญในยามบั้นปลายด้วยการช่วยกันฟื้นฟูวัดร้าง หรือสร้างวัดใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก แล้วบริหารวัดโดยใช้มนต์ 3 บทของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ก็จะทำให้วัดร้างกลับมาเป็นวัดที่รุ่งเรืองอีกครั้งวัดในประเทศไทยก็จะไม่ลดจำนวนลงไป และเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีกด้วย

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 001 หลักการสร้างความสุขในครอบครัว
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0079865177472432 Mins