ฝึกลูกให้ประหยัด...หลักประกันอนาคตของวงศ์ตระกูล

วันที่ 22 พค. พ.ศ.2560

ฝึกลูกให้ประหยัด...หลักประกันอนาคตของวงศ์ตระกูล

หลักการสร้างความสุขในครอบครัว , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , ฝึกลูกให้ประหยัด...หลักประกันอนาคตของวงศ์ตระกูล

    สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกว่า อนาคตของลูกจะตั้งหลักตั้งฐานให้มั่นคงได้ คือความประหยัด แต่การจะเพาะนิสัยประหยัดให้ลูกนั้น พ่อแม่ต้องมีวิธีการที่เหมาะสม โดยมีหลักการอยู่ว่า ลูกจะมีนิสัยประหยัดได้ เมื่อพ่อแม่ประหยัดเป็นแบบอย่างให้ลูกดูเสียก่อน

       การเพาะนิสัยประหยัดให้ลูก ต้องทำตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ คือ

       1. ฝึกลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน เมื่อลูกขอเงินต้องซักถามให้ละเอียดก่อนว่าจะเอาเงินนี้ไปทำอะไร มีความจำเป็นเพียงใดถึงต้องใช้เงิน ถ้าลูกขอโดยไม่มีเหตุผล ก็ไม่ควรให้ต้องชี้แจงให้ลูกทราบด้วยว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ให้ แม้ลูกจะไม่พอใจก็ทำใจแข็งไว้ อย่าให้เงินลูกเพื่อตัดความรำคาญ อย่าให้ลูกมีความคิดว่า เงินได้มาอย่างง่าย ๆ ต้องสอนให้ลูกรู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่พ่อแม่หามาได้ หมายถึงหยาดเหงื่อแรงกายของพ่อแม่ ลูกจะได้รู้คุณค่าของเงินและใช้เงินอย่างคุ้มค่า

         2. ฝึกให้เว้นของฟุ่มเฟอยสิ่งใดที่เป็นของฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น พ่อแม่อย่าซื้อหาให้ลูกถ้าขัดไม่ได้ ก็หาอย่างอื่นที่ราคาไม่แพง แต่ใช้ทดแทนกันได้มาให้ หาวิธีอธิบายให้ลูกรู้ว่าของดีไม่จำเป็นต้องราคาแพง ฝึกให้ลูกรู้จักใช้ของอย่างคุ้มค่า ให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ไม่ใช้ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เมื่อของเสียหายต้อง อนให้รู้จักซ่อมแซมของนั้นด้วยตนเอง

      3. ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สอนลูกให้รู้จักทำของใช้เอง เป็นการเสริมสร้างปัญญาให้ลูก โดยเฉพาะของเล่น ให้ลูกรู้จักประดิษฐ์ขึ้นเอง หรือประกอบจากชิ้นส่วนเองลูกจะได้รู้จักช่วยตนเองเป็น และมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จ มีกำลังใจสูงขึ้น นอกจากนั้นควรฝึกให้ลูกรู้จักวิธีตัดทอนงบประมาณค่าใช้จ่ายของลูกเอง เพื่อลูกจะได้รู้จักวิธีอดออมและรู้จักทำงานหาเงินได้ด้วยตนเอง

       4. ฝึกลูกให้รู้จักเก็บออมทรัพย์ หากระป๋องออมสินให้ลูกสำหรับเก็บเงินที่เหลือจากค่าขนม หรือค่าใช้จ่ายประจำ พาลูกหรือ อนลูกให้เอาเงินที่เก็บออมได้ไปฝากเข้าบัญชีในธนาคาร เมื่อลูกได้เงินพิเศษจากผู้ใหญ่ในวันสำคัญของลูก เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ พ่อแม่ควร อนให้ลูกเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในธนาคาร เพื่อเป็นทุนการศึกษา อย่าให้ลูกรู้สึกว่าเงินนี้ได้มาง่าย เพราะจะเป็นเหตุให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของเงิน

      5. เลือกเพื่อนที่มีนิสัยประหยัดให้ลูกคบ เพื่อนที่มีนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายไม่รู้จักค่าของเงิน ต้องหาวิธีป้องกันอย่าให้ลูกไปคบหาสมาคมด้วยส่วนเพื่อนคนใดรู้จักเก็บหอมรอมริบ ช่วยพ่อแม่ทำงานแบ่งเบาภาระทางบ้าน ต้องให้ลูกรู้จักคบหาเอาไว้ จะได้ชวนกันประหยัดและชวนกันไปในทางที่ดี ที่สำคัญคือเป็นการป้องกันลูกให้ห่างออกจากคนพาลและอบายมุข ซึ่งเป็นศัตรูร้ายของความประหยัดที่แสนน่ากลัว

        6. ฝึกให้ลูกรู้จักรักษาศีล 8 ในวันพระหรือวันหยุด เมื่อเห็นว่าลูกโตพอสมควรแล้วควรพาไปวัด  หัดให้รู้จักรักษาศีล 8 เพื่อให้ลูกรู้ว่า บางสิ่งที่เราคิดว่าจำเป็นสำหรับชีวิตนั้น แท้จริงเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เช่น การดูหนัง ดูละคร แต่งหน้า ทาปาก แต่งตัวตามแฟชั่นสิ่งเหล่านี้เมื่อทดลองรักษาศีล 8 สักระยะหนึ่ง แล้วจะรู้ด้วยตนเองว่าไม่จำเป็นเลย และเพื่อให้ได้ผลดีพ่อแม่ต้องรักษาศีล 8 เป็นตัวอย่างให้ลูกดูด้วย การรักษาศีล 8 จะช่วยให้ลูกมีนิสัยประหยัด และรู้จักประมาณในการใช้ปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิตได้เอง

      หากทุกครอบครัวทำได้อย่างนี้ ย่อมเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของครอบครัวต่อไปภายหน้า ทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่มอบให้เป็นมรดกก็จะไม่ถูกไปใช้ในทางวอดวายเสียหาย หรือถึงแม้พ่อแม่อาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติมอบเป็นมรดกให้แก่เขาเลย ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่า เขาจะสามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเองได้อย่างแน่นอน เพราะจุดรั่วไหลทางอบายมุขไม่มี

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 001 หลักการสร้างความสุขในครอบครัว
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011317332585653 Mins