การแก้ไขวิกฤตพระพุทธศาสนา
ช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา มีข้อสังเกตว่า ยิ่งใกล้ฤดูทอดกฐินซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของชาวพุทธมากเท่าไร หนังสือพิมพ์จะต้องประโคมข่าวพระภิกษุบางรูปที่ทำผิดพระวินัยอย่างครึกโครมอยู่เสมอ จนเป็นเหตุให้ศรัทธาของชาวพุทธทั่วประเทศตกวูบ เพราะประชาชนรู้สึกว่าพระภิกษุไม่น่าเคารพ ผลกระทบก็ไปตกกับพระภิกษุสามเณรกว่าสามแสนรูปทั่วประเทศเมื่อประชาชนไม่ศรัทธา เขาก็ไม่ อนให้ลูกหลานไหว้พระ ไม่สนใจศึกษาธรรมะ และไม่ทำบุญงานต่าง ๆ ของวัดก็เลยอัมพาตกินกันไปหมด ชาวพุทธก็ลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดจากปากกาของคนเขียนข่าวไม่กี่คน ในกรณีที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวพระทำผิดวินัยเช่นนี้ชาวพุทธควรคิดอย่างไรจึงถูกต้องและเป็นการดูแลพระพุทธศาสนา
หากเมื่อใดหนังสือพิมพ์ลงข่าวเกี่ยวข้องกับพระภิกษุทำตนไม่น่ากราบไหว้ผู้ใหญ่จะต้องสอนให้ลูกหลานจับประเด็นคิดให้ถูกต้อง ดังนี้
ประเด็นที่ 1 หากหนังสือพิมพ์ลงข่าวพระภิกษุทำความผิด ชาวพุทธอย่ารีบเชื่อตามข่าว แต่ควรใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุผล และควรปล่อยให้หมู่สงฆ์ดำเนินการพิจารณาตัดสินกันเองตามพระธรรมวินัย
ตั้งแต่โบราณมาแล้ว พระเถราจารย์ท่านพูดไว้ชัดเจนว่า พระพุทธศาสนาเป็นเสมือนสระน้ำใหญ่ ใครมาถึงแล้วลงอาบ ก็ได้ความสะอาดกลับไป ใครมาถึงแล้วไม่ลงอาบเนื้อตัวก็ไม่สะอาดต่อไป
การมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเช่นกัน ใครตั้งใจปฏิบัติธรรม คนนั้นก็ได้รับความสะอาดกาย วาจา ใจไปมากส่วนใครไม่ปฏิบัติธรรม ก็ย่อมเปรอะเปื้อนต่อไป
การที่พระภิกษุไปทำผิดพระวินัยขึ้นมา จะโดยเจตนาหรือเผลอสติก็ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้กำหนดพระวินัยไว้เรียบร้อยแล้ว ญาติโยมก็ต้องไว้วางใจให้เป็นเรื่องภายในของหมู่สงฆ์ในวัดนั้นจัดการตามพระวินัยกันต่อไป โดยพระภิกษุผู้ปกครองในวัดนั้นท่านจะต้องเป็นผู้ไต่สวน ตรวจสอบหลักฐานและพยานให้ชัดเจน ไม่ใช่ญาติโยมตั้งศาลเตี้ยตัดสินกันเอง ซึ่งมักจะชอบว่าเองเออเองกันไปตามความสะใจหากพระภิกษุรูปนั้นทำผิดจริง และความผิดก็ร้ายแรงถึงขั้นขาดจากความเป็นพระก็ต้องให้สึกหาลาเพศไป
แต่หากความผิดนั้นไม่ได้ผิดรุนแรงถึงขั้นขาดจากความเป็นพระ และเกิดผิดพลาดเพราะความประมาทพลั้งเผลอ พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ก็ยังมีข้อที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุที่ทำผิดได้แก้ไขฝึกฝนอบรมตนกันใหม่
แต่หากความผิดพลาดนั้น มีเรื่องการผิดกฎหมายบ้านเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ต้องพิจารณากันไปตามหลักฐานและพยานทั้งในแง่พระวินัยและในทางกฎหมายบ้านเมืองกันต่อไป
พูดง่าย ๆ ก็คือ หากพระท่านทำผิด ญาติโยมอย่าไปตั้งศาลเตี้ยพิพากษากันเองหรือเขียนข่าวพิพากษาพระภิกษุกันอย่างสนุกมือ แต่ต้องให้พระผู้ปกครอง ท่านเป็นผู้พิจารณาตัดสินกันเองตามพระวินัย แล้วก็ไม่ควรจะไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรกันต่อไป เพราะหากพูดไปผิด ๆ ก็จะกลายเป็นบาปแก่ตนเองเปล่า ๆ
ประเด็นที่ 2 หากหนังสือพิมพ์ลงข่าวพระภิกษุทำความผิด ชาวพุทธอย่าคิดเหมารวมว่าพระภิกษุทั้งประเทศแย่เหมือนกันหมด
การที่จะห้ามหนังสือพิมพ์ไม่ให้ประโคมข่าวพระภิกษุที่ทำผิดพระวินัย เราก็คงจะห้ามหนังสือพิมพ์ได้ยาก เพราะเขามีอาชีพรายงานข่าวสารให้สังคมทราบ แต่ว่าถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เอาแต่ลงเฉพาะข่าวพระทำผิดเสียหาย เวลาพระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ ท่านทุ่มเทจัดกิจกรรมอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน ก็ไม่ยอมประโคมข่าวให้เท่ากับเมื่อตอนลงข่าวพระทำผิด ก็ต้องถือว่าสื่อฉบับนั้นลำเอียงเกินไป
มีความจริงประการหนึ่งที่ชาวพุทธไม่ค่อยจะได้คิดกัน ก็คือ พระพุทธศาสนาคงสืบทอดมาถึงวันนี้ไม่ได้ ถ้าพระภิกษุที่ดีมีน้อย แต่เพราะทุกวันนี้ ในแต่ละวันมีพระภิกษุที่ออกมาทำหน้าที่ให้แก่สังคม กระจายอยู่ทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ แต่ว่า สื่อมวลชนไม่ค่อยนำมารายงานผิดกับข่าวพระภิกษุทำผิดพระวินัยอย่างรุนแรง สื่อจะชอบนำมารายงานมากกว่า
การให้เวลาข่าว ให้เนื้อที่ข่าว และให้ความถี่ในการออกข่าวพระภิกษุที่ตกเป็นจำเลยสังคมบ่อย ๆ เช่นนี้ มากกว่าการออกข่าวพระภิกษุที่ทำประโยชน์แก่สังคมนี้เองเป็นสาเหตุให้ประชาชนส่วนมากเข้าใจผิดว่า พระภิกษุส่วนมากไม่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม
ยิ่งช่วงใดที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวโจมตีพระอย่างหนักโดยที่บางข่าวก็ไม่ได้เป็นความจริงพระภิกษุรูปอื่นจะเดินทางไปไหน ก็จะถูกจัดการด้วยสายตาในลักษณะส่วนเกินของสังคมอยู่ตลอดเวลา และมักถูกมองด้วยสายตาแปลก ๆ ทำนองจับผิดอยู่บ่อย ๆ
เรื่องเหล่านี้สะท้อนว่า การลำเอียงไม่ออกข่าวของพระภิกษุที่ทำความดีมากมายหลายแสนรูป มีผลทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาจากพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง
พระผู้ใหญ่บางท่านที่ตั้งใจทำประโยชน์ให้แก่สังคมมาหลายสิบปี แต่ได้รับผลกระทบจากเรื่องเหล่านี้ ถึงกับเคยออกปากในทำนองที่ว่า
"เดี๋ยวนี้ เวลาพระจะพูดเตือนอะไร ให้สังคมได้คิด มันยากเหลือเกิน
แม้แต่ความพยายามที่จะทำให้คนมีศีลธรรมก็ยังมีความผิดไปด้วย
ผิดตรงไหน ผิดตรงที่ไปชวนเขาทำความดีได้ไม่ถูกใจสื่อมวลชน
เวลาพระออกมาเตือน พระก็ถูกด่าว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ต้องออกมายุ่ง
แต่พอพระอยู่เฉย ๆ ในวัด แล้วสังคมมีปัญหาขึ้นมา พระก็ถูกด่าอีกว่า เป็นพระแล้วไม่รู้จักทำประโยชน์ให้สังคม
พระเลยถูกตัดสินให้เป็นคนผิดทั้งขึ้นทั้งล่องจากสื่อมวลชน"
เมื่อฟังพระผู้ใหญ่ท่านพูดในทำนองนี้ให้ฟังแล้ว ก็ได้คิดว่า การอ่านข่าวพระภิกษุที่ทำผิดพระวินัย ชาวพุทธต้องแยกแยะเรื่องส่วนบุคคลกับส่วนรวมออกจากกันถ้าหากไม่แยกแยะออกจากกันแล้ว ก็จะกลายเป็นคนที่ตัดสินใจโดยขาดการพิจารณาเข้าทำนองในอุปมาที่ว่า มองเห็นปลาเน่าตัวเดียวลอยน้ำมา เลยเหมาว่าปลาทั้งแม่น้ำเน่าเหมือนกันหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็จะได้บาปจากการทำลายพระพุทธศา นาโดยไม่รู้ตัวซึ่งนี่ไม่ใช่วิสัยของชาวพุทธอย่างแน่นอน เพราะชาวพุทธจะต้องมีความรอบคอบ สมดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ชัดเจนว่า "อย่าเชื่อโดยขาดการพิจารณาให้รอบคอบ" นั่นเอง
ประเด็นที่ 3 คนที่เจริญในธรรมะได้ ต้องไม่จ้องจับผิดพระ แต่สนับสนุนการทำงานเผยแผ่ธรรมะของพระอย่างเต็มที่
สำหรับในประเด็นนี้ ขอยกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในชั่วโมงพระพุทธศาสนาที่มีหลวงพ่อรูปหนึ่งท่านอธิบายเรื่องนี้ไว้ได้ชัดเจนดังนี้
เรื่องมีอยู่ว่า มีโยมท่านหนึ่ง เนื่องจากอ่านข่าวพระทำผิดมามาก ก็เลยคิดว่าพระทั้งประเทศไทยนี้ แย่เหมือนกันหมด พอได้มาพบกับหลวงพ่อท่าน ก็เลยนำคำถามนี้มาถามว่า
"พระเดี๋ยวนี้ทำตัวไม่น่ากราบ ไม่น่าไหว้ ไม่น่าเลื่อมใสผมจะขอนับถือแค่พระพุทธกับพระธรรม เลิกนับถือพระสงฆ์จะได้ไหมครับ "
คำถามนี้เป็นคำถามที่ละเอียดอ่อน มีผลกระทบในวงกว้าง และตอบยาก ถ้าตอบไม่ดีก็มีสิทธิทำให้นักศึกษาทั้งห้องพากันเลิกนับถือพระสงฆ์ทั้งประเทศได้เลยทีเดียวแต่หลวงพ่อท่านนั่งยิ้ม ๆ แล้วก็ตอบอย่างสบาย ๆ ว่า
"การที่คนใดคนหนึ่งจะสามารถนับถือพระธรรมได้ มีข้อแม้สำคัญอยู่อย่างหนึ่งว่าผู้นั้นจะต้องเป็นบุคคลประเภทที่ว่า ไม่ชอบจับผิดคนอื่น แต่พยายามแสวงหาความดีที่มีอยู่ในตัวของบุคคลอื่นให้พบตามความเป็นจริง
คำถามของคุณที่ถามว่า "จะเลิกนับถือพระสงฆ์ จะเคารพแต่พระพุทธกับพระธรรมเท่านั้นจะได้ไหม" ตอบว่า "ไม่ได้" เพราะที่คุณบอกว่า "พระสงฆ์ไม่ค่อยจะดีอย่างนั้นอย่างนี้" ฟ้องว่า คุณเองมีนิสัยชอบจับผิดคนอื่น ขาดความสังเกตที่ดี และสรุปอะไรง่ายเกินไป
"พระสงฆ์ทั่วเมืองไทยมีตั้ง 23 แสนรูป คุณเองรู้จักพระสงฆ์สักกี่รูปเชียว อย่างมากอาตมาให้คุณสัก 1,000 รูป ถ้าคุณเห็นพระสงฆ์ที่ไม่ดีมา 1,000 รูป แล้วอีกตั้ง 3 แสนที่ดี ๆ จะว่าอย่างไร
คุณมีนิสัยจับผิดอย่างนี้ ชาตินี้หาพระดี ๆ ไม่พบหรอก คุณปิดใจจนใจบอดไปเองหลวงพ่อคิดว่าคุณควรฝึกการมองเสียใหม
มองเข้าไปในวัด แล้วทำใจให้เหมือนมองเข้าไปในสถาบันการศึกษาทางโลกคุณจะพบว่าในสถาบันการศึกษาทางโลกมีคนอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 คือ นักเรียน ซึ่งเข้ามาศึกษาหาความรู้
ประเภทที่ 2 คือ ครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้สอน
นักเรียนที่เข้ามาหาความรู้ในสถาบันการศึกษา โอกาสที่เขาจะประพฤติผิดวางตัวไม่ถูกต้อง มีไหม แน่นอน มีมากมาย
แล้วเราถือสาหาความกับนักศึกษาเหล่านั้นหรือเปล่า เปล่า เพราะเราถือว่าเขาเพิ่งก้าวเข้ามาศึกษาหาความรู้ จะทำความผิดพลาดล่วงเกินอะไรไปบ้าง เราก็ให้อภัยกัน
แต่ถ้าเป็นคนประเภทที่ 2 ระดับครูบาอาจารย์ หากมีข้อบกพร่อง เรามักตำหนิกัน
ในวัดวาอารามทุกแห่งในประเทศไทย ความจริงพระในวัดก็เหมือนคนในสถาบันการศึกษาทางโลก คือ พระก็มี 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 คือ พระนักเรียน
ท่านเพิ่งเข้ามาหาความรู้ บางทีเพิ่งบวชได้วันสองวัน เดือนสองเดือน ปีสองปีหรือพรรษาสองพรรษาเท่านั้น แน่นอน ท่านยังใหม่อยู่ในธรรมวินัย เพราะฉะนั้นท่านก็มีข้อที่ประพฤติปฏิบัติผิดพลาดบ้าง นี้เป็นธรรมดา ก็เป็นพระนักเรียน จะเอาอะไรกันนักกันหนา
ประเภทที่ 2 คือ พระที่เป็นครูบาอาจารย์
ท่านเหล่านี้เป็นหลักของวัดอยู่ทุกวัดในเมืองไทย มีรวมกันเป็นแสนรูปนะ แล้วท่านก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าท่านเหล่านี้ไม่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ต่อเนื่องกันมา นับตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดกันละก็ ป่านนี้วัดก็ร้าง พระพุทธศา นาก็ล้มไปแล้ว ไม่มาถึงพวกเราหรอก
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง พระอาจารย์ที่มีความรู้ดี มีความประพฤติดีเหล่านี้ส่วนมากท่านก็มีภารกิจเต็มที่ แล้วก็ไม่ใช่วิสัยของพระที่จะมาโฆษณาว่าตนเองดีอย่างไรท่านเหล่านี้บางท่านก็ก้มหน้าก้มตาประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านไป บางท่านก็เดินธุดงค์เข้าป่าไปเลย นาน ๆ จะออกมาทีหนึ่ง บางท่านก็อยู่ในบ้านในเมืองอย่างพวกเรานี่แหละนอกจากตั้งใจอบรมตนเองแล้ว ท่านยังตั้งใจอบรมบ่มนิสัยให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านอย่างเต็มที่แล้วท่านก็ไม่เคยมาโฆษณา ไม่เคยมาป่าวประกาศออกหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอทีวีว่าท่านวิเศษอย่างนั้น วิเศษอย่างนี้ เพราะว่าท่านเหล่านั้นเปียมล้นไปด้วยคุณธรรม เข้าทำนองว่า น้ำเต็มขวด เขย่าไม่ดัง หมายความว่า ผู้มีคุณธรรมเต็มเปียมย่อมไม่คุยโวโอ้อวด
ในสถาบันการศึกษาทางโลก การแต่งตัวและอายุของผู้ที่เรามองเข้าไปเห็นพอจะแยกออกได้เลยว่า นี่คือครูบาอาจารย์ แต่ในวัดแยกแยะไม่ออก เพราะพระทุกรูปนุ่งสบงห่มจีวรเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น การที่คุณเห็นพระจำนวนน้อย ๆ ไม่กี่รูป เช่น 5 รูป หรือ 10 รูป อย่างดีก็ไม่เกิน 1,000 รูปที่มีความประพฤติเสียหาย แล้วคุณก็ตัดสินว่าจะเลิกนับถือพระสงฆ์ทั่วทั้งสังฆมณฑล ซึ่งมีอยู่ตั้งเป็นแสน ๆ น่ะ ขอให้ไปพิจารณาตัวเองใหม่ว่า ทำถูกไหม
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อาตมาอยากให้คุณทำใจอย่างนี้ เวลาจะทำบุญกับพระภิกษุซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าท่านเป็นพระนักศึกษาหรือว่าเป็นพระครูบาอาจารย์ หรือมีคุณธรรมมากน้อยเท่าใดคุณก็วางใจเสียอย่างนี้ว่า ตราบใดที่พระท่านยังไม่ได้ทำความผิดทางพระวินัยร้ายแรงอะไรก็คิดว่า เราทำทานเพื่อให้เป็นเรี่ยวแรงในการปฏิบัติธรรมของท่านให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะได้เป็นเนื้อนาบุญที่สมบูรณ์ในวันข้างหน้า วันใดที่ได้พบพระภิกษุที่ท่านสำรวมดี คุณก็ตั้งใจทำบุญกับท่านให้เต็มที่ เพื่อให้ได้รับผลบุญเต็มเปียม
หากได้ข่าวว่าพระภิกษุรูปใดที่มีความประพฤติดีงาม มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใแม้ท่านจะอยู่ไกล ก็ดั้นด้นไปหาไปกราบท่านเถิด แล้วคุณก็จะได้เนื้อนาบุญที่ มใจนึกถ้าทำขนาดนี้ยังหาไม่ได้อีก ก็ทำใจเย็นๆ ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติธรรมไป
เปิดใจให้กว้าง แล้ววันหนึ่งคุณก็จะพบพระที่ถูกอัธยาศัย เป็นเนื้อนาบุญของคุณอย่างแท้จริง อย่าด่วนตัดสิน เหลือความเคารพแต่พระพุทธและพระธรรมเท่านั้น ต้องเคารพให้ครบไตรสรณคมน์ คือ เคารพพระรัตนตรัยเถอะ แล้วคุณจะเอาตัวรอดทั้งชาตินี้และชาติหน้าแล้วสามารถพาตนไปถึงพระนิพพานเชียวนะ"
ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบของประเด็นที่ 3 จากหลวงพ่อรูปหนึ่งที่รู้จักและเคารพรักในความรู้ความสามารถของท่าน โดยเฉพาะกรณีนี้ ท่านช่วยเป็นทนายแก้ต่างพลิกวิกฤตศรัทธาพระสงฆ์ให้มั่นคงในใจของชาวพุทธได้อีกครั้ง
1. โทษของการอ่านข่าวไม่พิจารณา
สำหรับกรณีนี้ หากผู้ใหญ่ไม่สอนให้ลูกหลานรู้จักคิดพิจารณาข่าวเกี่ยวกับพระอย่างรอบคอบ และปล่อยให้ลูกหลานฟังสื่อโดยขาดการพิจารณาเช่นนี้ ก็จะเป็นการตัดรอนโอกาการสร้างบุญทั้งของตัวเราและของเขาไป เพราะเมื่อเขาคิดเหมารวมว่า พระภิกษุทุกรูปคงจะแย่เหมือนกันหมดทั้งประเทศแล้ว เขาก็จะกลายเป็นคนที่ตัดสินใจโดยขาดสติพิจารณาให้รอบคอบ เป็นเพียงการฟังความจากการอ่านหนังสือพิมพ์ฝ่ายเดียว แล้วก็จับแง่คิดผิด พาลไม่สนใจการศึกษาธรรมะอันเป็นหลักสำคัญของชีวิต เป็นผลให้ขาดความเข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตอย่างน่าเสียดาย
เพราะเขาจะไม่รู้ว่า โลกที่อยู่อาศัยและชีวิตของเรานี้ มีกฎประจำโลกและกฎประจำชีวิตที่ต้องศึกษาจากคำสอนในพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ จึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง
กฎประจำโลก คือ กฎแห่งกรรม ซึ่งหมายถึงว่า ใครทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วผลของความดี เรียกว่า "ผลบุญ" และผลของความชั่ว เรียกว่า "ผลบาป" ตัวของเราเองทำสิ่งใดไว้ แม้จะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องบุญบาปก็ตาม ตนเองจะต้องรับผิดชอบต่อผลแห่งการกระทำนั้นแต่ผู้เดียว ผลบุญผลบาปไม่ส่งผลบิดเบือนไปตามความเชื่อของใคร แต่เป็นไปตามกฎประจำโลกที่มีอยู่ประจำโลกใบนี้มานานแล้ว
กฎประจำชีวิต คือ กฎไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวของเรา) ซึ่งข้อนี้เป็นความจริงของทุกชีวิตในโลกใบนี้
ทั้งสองเรื่องนี้เป็นความจริงที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ แต่ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ พระองค์ทรงค้นพบวิธีการปฏิบัติเพื่อเป็นหนทางหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์นี้ด้วย
แต่เมื่อเขาอ่านข่าวแล้วพิจารณาข่าวไม่เป็น นอกจากจะไม่ทราบคำสอนที่ดีในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็อาจจับแง่คิดผิดว่า พระภิกษุทั้งประเทศคงแย่เหมือนกันหมด
แล้วก็อาจเลยเถิดไปถึงไม่เชื่อว่า บุญบาปมีจริง และถ้าเขาเข้าใจผิดมาถึงจุดนี้ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่า แม้พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายอยากจะทำบุญจนใจแทบขาดเพียงใด เขาก็จะไม่สนับสนุนอย่างเต็มที่ หรือบางทีก็ขวางบุญเอาอีกด้วย เพราะเขาจะมีความคิดว่าการทำบุญเป็นการสิ้นเปลือง การใส่บาตรเป็นการสนับสนุนให้คนขี้เกียจ ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่คนที่ไม่เชื่อเรื่องบุญบาปส่วนมากชอบใช้
เมื่อเล่ามาถึงตรงนี้ เราก็คงได้ข้อสรุปแล้วว่า การจะไปบอกให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวพระภิกษุที่ทุ่มเททำประโยชน์ให้แก่สังคมมากกว่านี้ คงทำได้ยาก ในฐานะที่ทุกท่านเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายก็ต้องช่วยกันอบรมปลูกฝังลูกหลานให้รู้จักแยกแยะคิดพิจารณาให้เห็นความถูกต้องเสียก่อน จึงตัดสินใจ อย่าตัดสินใจโดยไม่รอบคอบ นั่นจึงจะเป็นหลักประกันว่าในยามบั้นปลายชีวิต ลูกหลานจะคอยสนับสนุนให้ปู่ย่าตายายของเขาได้ทำบุญเต็มที่พระภิกษุสามเณรก็สามารถฝึกฝนตนเองได้เต็มที่ และสามารถทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป พระพุทธศาสนาก็จะมั่นคงอยู่ในแผ่นดินไทยและได้รับการสืบทอดให้ยืนยาวต่อไปอีกนานแสนนาน
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 001 หลักการสร้างความสุขในครอบครัว
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree