ธรรมกายในหนังสือพุทธรังษีธฤษดีญาณ
ในหนังสือชื่อ "หนังสือพุทธรังษีธฤษฎีญาณ ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค"1 ซึ่งว่าด้วยวิธีปฏิบัติสมถะและวิปั นาแบบโบราณ 4 ยุค คือ กรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทร์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า "แบบขึ้นกัมมัฏฐานห้องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ" ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรม กรุงศรีอยุธยา โดยมีบันทึกว่า เป็นแบบที่สืบเนื่องมาจากท่านทิสาปาโมกขาจารย์ 56 องค์ แต่ครั้งโบราณฯ ได้ประชุมกันจารึกไว้ เมื่อประมาณพุทธศักราช 572
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจมากว่า วิธีปฏิบัติวิธีนี้ เป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่ผู้เขียนค้นพบ (จนถึงปัจจุบัน) ว่ามีการกล่าวถึง "ธรรมกาย" อยู่ในวิธีการทำสมาธิ ซึ่งเก่าแก่มาก คือ พ.ศ.572 อันไปพ้องกับคำกล่าวของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำว่า วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกายนั้นได้สูญหายไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 500 จัดเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่ยืนยันคำสอนของท่านได้
ข้อสังเกตต่อมาคือ วิธีปฏิบัติวิธีนี้ส่วนหนึ่งใช้บริกรรมภาวนาซึ่งเมื่อตรวจ อบแล้วพบว่าเป็นบทเดียวกับ "บทสวด พระอิติปิโสรัตนมาลา"2 ซึ่งสมเด็จพระพุาจารย์ (โต พรหมรังสี) นำมาเผยแผ่นั่นเอง อันทำให้หลักฐานชิ้นนี้ มีน้ำหนักมากขึ้นว่าเป็นของแท้
สำหรับข้อความที่กล่าวเกี่ยวกับ "ธรรมกาย" มีดังนี้
(ห้องพระพุทธคุณ) "...เมื่อกายเป็นสุข จิตต์เป็นสุขแล้ว สนฺตุฏโฐ เป็นผู้สันโดษ ลฺเลโขเป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ปหิตตฺโต เป็นผู้มีตนส่งไปสู่คุณความดีเป็นเบื้องหน้า จึงตั้งจิตต์พิจารณาดูธรรมกายในรูปกายด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้..."
(ห้องพระธรรมคุณ) "...จิตต์จัก งบสุขด้วยดี ผ่องใสเบิกบานพ้นจากความมัวหมองตามลำดับ แล้วจึงตั้งใจพิจารณาดูหลักธรรมที่ใจ คือ วิสุทธิ 7 ประการ เมื่อพิจารณ์ได้ประณีตสุขุมดีแล้ว จะเห็นธรรมอันเอกด้วยจิตต์ จักได้ที่พึ่งอันอุดมสุข อันเจ้าตัวจะพึงรู้เองเห็นเองเพราะว่าผู้มีใจประกอบด้วยสมาธิ ไม่ประกอบด้วยใจฟุ้งซ่าน ดำเนินกระแสจิตต์เป็นลำดับ จิตต์ย่อมบรรลุสภาพอันเป็นทิพย์ที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง อันเป็นส่วนสัพพัญุตญาณ เห็นชัด หยั่งทราบ
ที่สุดโลกยั่งยืนเป็นผู้บังคับ และละเอียดที่สุดแต่บรรดาสิ่งที่ละเอียดด้วยกันเพราะมีรูปเป็นอจินไตยรุ่งเรืองสุกใสลอยเด่นอยู่เหนือความมืด คือ อวิชชาฯ..."
(ห้องพระสังฆคุณ) "...พระโยคาวจรผู้รู้ว่า ธรรมกาย ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูต ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกายเป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิงถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของธรรมกายนั้นเป็นอมตะ..."
1 หนังสือพุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค.
(หน้า 263-285 และ 369) พิมพ์เพื่อไว้เป็นที่ระลึกในกาลผูกพัทธสีมาวัด ร่างโศก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช 2479.
2 ประวัติชีวิต การงาน หลักธรรม มเด็จพระพุาจารย์ (โต พรหมรังสี).
(หน้า 255267) สำนักพิมพ์ธรรม ภา กรุงเทพ ฯ, 2538.
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree