สามเณรสิกขา
( สิกขาบท ๑๐ )
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา , สามะเณรานัง ทะสะ สิกขาปะทานิ ,
เตสุ จะ สามะเณเรหิ สิกขิตุง , ปาณาติปาตา เวระมะณี ,
อะทินนาทานา เวระมะณี , อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี , มุสาวาทา
เวระมะณี สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี , วิกาละโภชะนา เวระมะณี ,
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี , มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี ,
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี , ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี
( นาสะนังคะ ๑๐ )
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา , ทะสะหิ อังเคหิ , สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุง ,
กะตะเมหิ ทะสะหิ , ปาณาติปาตี โหติ ,
อะทินนาทายี โหติ , อะพรัหมะจารี โหติ , มุสาวาที โหติ ,
มัชชะปายี โหติ , พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ , ธัมมัสสะ
อะวัณณัง ภาสะติ , สังฆัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ , มิจฉาทิฏฐิโก
โหติ , ภิกขุณี ทูสะโก โหติ , อะนุญญาสิ โข ภะคะวา , อิเมหิ
ทะสะหิ อังเคหิ , สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุนติ
( ทัณฑกรรม ๕ )
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา , ปัญจะหิ อังเคหิ , สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุง ,
กะตะเมหิ ปัญจะหิ , ภิกขูนัง อะลาภายะ ปะริสักกะติ ,
ภิกขูนัง อะนัตถายะ ปะริสักกะติ ,
ภิกขูนัง อะนาวาสายะ ปะริสักกะติ , ภิกขู อักโกสะติ ปะริภาสะติ ,
ภิกขู ภิกขูหิ เภเทติ , อะนุญญาสิ โข ภะคะวา , อิเมหิ ปัญจะหิ อังเคหิ ,
สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุนติ
คำแปล สามเณรสิกขา
(สิกขาบท ๑๐)
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาติไว้แล้วแล
สามะเณรานัง ทะสะ สิกขาปะทานิ
ซึ่งสิกขาบทสิบประการแก่สามเณรทั้งหลาย
เตสุ จะ สามะเณเรหิ สิกขิตุง
และเพื่อให้สามเณรศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้นคือ
ปาณาติปาตา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
อะทินนาทานา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
มุสาวาทา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏาฐานา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มกินสุรา และเมรัย
วิกาละโภชะนา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการขับร้องฟ้อนรำ และประโคมดนตรีและดูการเล่นต่าง ๆ
มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการนั่งหรือนอนเหนือที่นั่งที่นอนอันสูงอันใหญ่
ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการรับเงินและทอง
(นาสนังคะ ๑๐)
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล
ทะสะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุง
เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์สิบให้ฉิบหาย
กะตะเมหิ ทะสะหิ
องค์สิบอะไรบ้าง
ปาณาติปาตี โหติ
คือสามเณรชอบทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
อะทินนาทายี โหติ
สามเณรชอบถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
อะพรัหมะจารี โหติ
สามเณรไม่ชอบประพฤติพรหมจรรย์
มุสาวาที โหติ
สามเณรชอบพูดปด
มัชชะปายี โหติ
สามเณรชอบดื่มกินของเมา
พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ
สามเณรกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
ธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ
สามเณรกล่าวติเตียนพระธรรม
สังฆัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ
สามเณรกล่าวติเตียนพระสงฆ์
มิจฉาทิฏฐิโก โหติ
สามเณรเป็นผู้มีความเห็นผิดจากธรรมวินัย
ภิกขุณี ทูสะโก โหติ
สามเณรชอบประทุษร้านภิกษุณี
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล
อิเมหิ ทะสะหิ อังเคหิ ะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุนติ
เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์สิบเหล่านี้ให้ฉิบหาย, ดังนี้
(ทัณฑกรรม ๕)
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล
ปัญจะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุง
เพื่อทำทัณฑกรรมคือลงโทษแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ห้าอย่าง
กะตะเมหิ ปัญจะหิ
องค์ห้าอย่างอะไรบ้าง
ภิกขูนัง อาลาภายะ ปะริสักกะติ
คือสามเณรพยายามทำให้ภิกษุณีเสื่อมลาภที่ควรจะได้
ภิกขูนัง อะนัตถายะ ปะริสักกะติ
สามเณรพยายามทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกขูนัง อะนาวาสายะ ปะริสักกะติ
สามเณรพยายามทำไม่ให้ภิกษุอยู่อย่างสงบ
ภิกขู อักโกสะติ ปะริภาสะติ
สามเณรด่าและพูดขู่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกขู ภิกขูหิ เภเทติ
สามเณรยุให้ภิกษุแตกกัน
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล
อิเมหิ ปัญจะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุนติ
เพื่อทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ทำผิด ประกอบด้วยองค์ห้าอย่างเหล่านี้, ดังนี้
อ้างอิงจากหนังสือคู่มือทำวัตร-สวดมนต์แปล พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี