สัมมาทิฏฐิ

วันที่ 05 กค. พ.ศ.2560

สัมมาทิฏฐิ

แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสัจสี่ , สัมมาทิฏฐิ , มรรคมีองค์ 8

     ต่อไปนี้คืออรรถาธิบายเกี่ยวกับมรรคมีองค์ 8 ในระดับโลกิยะ อันปรากฏในนิทานชาดกเป็นสุตตันตะปริยาย มีใจความว่าสัมมาทิฏฐิ หมายถึง ปัญญาอันรู้คุณพระรัตนตรัยดังมีเรื่องปรากฏในนิทานธรรมบทว่า

   ในเมืองสาวัตถี มีกุมารอยู่สองคน คนหนึ่งมาจากครอบครัวสัมมาทิฏฐิ อีกคนหนึ่งถือกำเนิดในครอบครัวมิจฉาทิฏฐิ กุมารทั้ง องนี้เล่นลูกคลีด้วยกันทุกวัน กุมารจากครอบครัวสัมมาทิฏฐิก่อนจะกลิ้งลูกคลีก็ระลึกถึงคุณของ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "อิติปิ โส ภควา" และ "นโม พุทธัสสะ" แล้วจึงกลิ้งลูกคลีนั้นไป ฝ่ายกุมารจากครอบครัวมิจฉาทิฏฐิ ก่อนจะกลิ้งลูกคลีก็ระลึกถึงคุณของเดียรถีย์ แล้วกล่าวถ้อยคำว่า "นโม ติตถิยานัง" แปลว่า ขอนอบน้อมต่อเดียรถีย์ทั้งหลาย แล้วจึงกลิ้งลูกคลีนั้นไป ผลปรากฏว่ากุมารจากครอบครัวสัมมาทิฏฐิมีชัยชนะทุกครั้งส่วนกุมารจากครอบครัวมิจฉาทิฏฐิแพ้ทุกครั้ง เรื่องนี้มีอรรถาธิบายสรุปว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิย่อมชนะมิจฉาทิฏฐิบุคคลเสมอ


สัมมาทิฏฐิช่วยให้พ้นจากอันตรายทั้งปวง
    บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิย่อมพ้นจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง อันได้แก่ อันตรายจากอมนุษย์ เป็นต้น เกี่ยวกับเรื่องนี้มีปรากฏในนิทานชาดกว่า วันหนึ่งบิดาของสัมมาทิฏฐิกุมารพากุมารผู้บุตรใส่เกวียนไปตัดฟนในป่าแห่งหนึ่ง ครั้นตัดฟนเสร็จแล้วก็ใส่เกวียนบรรทุกกลับบ้าน ขณะที่เดินทางกลับมาถึงป่าช้าแห่งหนึ่งภายนอกพระนคร จึงหยุดพักปล่อยให้โคไปกินหญ้า โคนั้นก็หนีเข้าไปในเมือง บิดาจึงปล่อยให้บุตรชายเฝ้าเกวียนแล้วเข้าไปตามหาโคในเมืองเมื่อจับโคได้แล้วจึงกลับออกมา ครั้นถึงประตูเมืองก็เป็นเวลาพลบค่ำ ผู้รักษาประตูเมืองได้ปิดประตูแล้ว บิดาของกุมารนั้นจึงไม่สามารถกลับออกไปหาลูกได้ กุมารนั้นมิได้เห็นบิดากลับออกมาจึงรำลึกถึงพระคุณแห่ง มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วท่องบท "อิติปิโส ภควา" จนกระทั่งนอนหลับไป

     ต่อมามียักษ์ องตนออกเที่ยวหาอาหารในยามราตรี ยักษ์ตนหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ อีกตนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ครั้นเห็นกุมารนั้นหลับอยู่ในเกวียน ยักษ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิจึงกล่าวแก่ หายว่า ควรจะจับเอากุมารนั้นเป็นอาหารเสียเถิด แต่ยักษ์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิกลับห้ามสหายมิให้ทำเช่นนั้น ฝ่ายยักษ์มิจฉาทิฏฐิก็มิได้ฟังคำทัดทาน ตรงเข้าจับเท้าทั้ง องของกุมารฝ่ายกุมารตกใจตื่นขึ้นก็รำลึกถึงพระพุทธคุณจึงสวดบท "นโม พุทธัสสะ" ดัง ๆ ทำให้ยักษ์มิจฉาทิฏฐิตกใจ วางเท้ากุมารแล้วถอยออกไป ยักษ์สัมมาทิฏฐิจึงตำหนิ หายว่า "ท่านกระทำไม่สมควร เราจะลงทัณฑกรรมแก่ท่าน ท่านจงไปเที่ยวแสวงหาอาหารมาให้กุมารนี้" ว่าแล้วยักษ์สัมมาทิฏฐิก็อยู่เฝ้ากุมารนั้นส่วนยักษ์มิจฉาทิฏฐิก็เหาะเข้าไปในพระราชวัง ขนเอาเครื่องพระสุธาโภชน์ข้าวหอมใส่พระสุพรรณภาชน์แล้วเหาะกลับมายังเกวียน ยักษ์ทั้งสองตนนั้นจึงแปลงตนเป็นมารดากับบิดาของกุมารนำอาหารมาให้กุมารกิน เสร็จแล้วจึงจารึกอักษรลงไว้ในภาชนะ แล้วอธิษฐานด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ว่า "ขอให้เฉพาะแต่พระมหากษัตราธิราชพระองค์เดียวเท่านั้นทรงแลเห็นอักษรนี้ บุคคลอื่นอย่าได้เห็น" อธิษฐานเช่นนั้นแล้วก็เอาสุพรรณภาชน์นั้นใส่เกวียนไว้แล้วจึงจากไป

    ครั้นรุ่งเช้า ชาวเมืองทั้งหลายก็โจษจันกันเซ็งแซ่ว่า พระสุพรรณภาชน์ของหลวงหายไปจึงมีการส่งเจ้าหน้าที่ค้นหากันทั่วทั้งในเมืองและนอกเมือง ในที่สุดจึงได้พบพระสุพรรณภาชน์อยู่ในเกวียนของกุมารนั้น เจ้าหน้าที่จึงนำเอาพระสุพรรณภาชน์กับตัวกุมารนั้นเข้าไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นอักษรก็ทรงเข้าพระทัย จึงทรงมีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ซักถามกุมาร ได้รับคำตอบจากกุมารว่า มารดาบิดาเอาสุพรรณภาชน์นั้นใส่อาหารมาให้กิน

    ครั้นแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงพากุมารนั้นพร้อมทั้งบิดา ไปนมัสการสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลถามพระพุทธองค์ว่า พุทธานุสติเพียงสิ่งเดียวก็สามารถรักษาสัตว์ให้พ้นอันตรายได้กระนั้นหรือ

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า จิตของบุคคลผู้เจริญอนุสติทั้ง 6 ประการ ย่อมรักษาผู้นั้นให้พ้นจากอันตรายได้ ครั้นแล้วจึงตรัสพระธรรมเทศนาถึงอนุสติทั้ง 6 ประการไว้ดังต่อไปนี้

1. สติอันระลึกถึงตถาคต คือ พุทธานุสติ ได้แก่บทว่า "อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ฯ"

2. สติอันระลึกถึงพระธรรมคุณ คือ ธัมมานุสติ ได้แก่บทว่า " วากขาโต ภควตา ธัมโม ฯ"

3. สติอันระลึกถึงพระสังฆคุณ คือสังฆานุสติ ได้แก่บทว่า "สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ฯ"

4. สติอันระลึกถึงความไม่สะอาดและน่ารังเกียจของร่างกาย คือกายคตาสติ ได้แก่ บทว่า "เกสา โลมฯ"

5. สติอันระลึกถึงความกรุณา ได้แก่บทว่า "สัพเพสัตตา ทุกขา ปมุญจันติ ฯ"

6. สติอันระลึกถึงความเมตตา ได้แก่บทว่า "สัพเพสัตตา อเวรา โหนตุ ฯ"

    บุคคลใดมีอนุสสติแม้เพียงประการเดียวใน 6 ประการนี้ระลึกมั่นอยู่ในสันดาน ในเวลากลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ตลอดเวลาก็ดี แม้เพียงวันละ 3 หน หรือหนเดียวก็ดี ย่อมได้ชื่อว่าเป็นสาวกแห่งตถาคต ไม่ว่ายามหลับยามตื่นย่อมพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงสำหรับเรื่องนี้มีอรรถาธิบายว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา รู้จักคุณพระรัตนตรัย หมั่นเจริญอนุสติภาวนา 6 ประการนี้เนือง ๆ ย่อมได้ชื่อว่า ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ

   อนึ่ง บุคคลผู้มีปัญญาละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง ย่อมได้ชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นอย่างไร จิตแห่งมิจฉาทิฏฐิบุคคลย่อมคิดเห็นว่า

1. การทำทานมิได้มีอานิสงส์ใด ๆ

2. การบูชาสักการะทั้งปวงหาผลมิได้

3. การกระทำดีหรือกระทำชั่วทั้งหลาย หาวิบากกรรมมิได้ คือไม่เชื่อในกฎแห่งกรรมนั่นเอง

4. โลกนี้หามิได้ คือไม่มีโลกนี้

5. ปรโลกก็หามิได้ คือไม่มีโลกหน้า

6. การปฏิบัติรับใช้มารดาก็หาประโยชน์มิได้

7. การปฏิบัติรับใช้บิดาก็หาประโยชน์มิได้

8.สมณะและพราหมณ์ผู้ประพฤติดีงาม บริสุทธิ์จากบาปทั้งปวง กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาแห่งตนเอง แล้วนำไปสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็หาผลมิได้ และการปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาแห่งตน แล้วนำมาบอกให้ผู้อื่นรู้ด้วยก็หาผลอันใดมิได้

   นอกจากนี้บุคคลที่มีความเห็นว่า บุคคลใดก็ตามเมื่อถึงแก่ชีวิตแล้วย่อมจบสิ้น มิได้มีการบังเกิดในโลกหน้าอีก บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิส่วนบุคคลที่รู้จักอานิสงส์แห่งทานอานิสงส์แห่งการบูชา ตลอดจนอานิสงส์แห่งการปฏิบัติเกื้อกูลต่อมารดาบิดาสมณพราหมณ์ผู้ทรงศีล ย่อมได้ชื่อว่า ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.089325932661692 Mins