ธรรมมีอุปการะมาก
พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้นั้น มีมากมายหลายหมวดหมู่ที่มีอุปการะต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้อย่างสมบูรณ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงธรรมที่มีอุปการะมาก 2 อย่าง ที่จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไม่ให้พลั้งเผลอไปกระทำผิดพลาด คือ
1. สติ ความระลึกได้
2. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
1. สติ หมายถึง ความระลึกได้ คือ ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เช่น นึกถึงการกระทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ เป็นต้น ระลึกถึงสิ่งที่จะเกิดมีในภายหน้า เช่น นึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง เป็นต้น ระลึกถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
2. สัมปชัญญะ หมายถึง เมื่อกำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด ก็รู้ตัวว่า เรากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด เช่น เมื่อกำลังยืน เดิน เป็นต้น ก็รู้สึกตัวว่า เรากำลังยืน กำลังเดิน หรือเมื่อกำลังอ่านหนังสือ เป็นต้น ก็รู้สึกตัวว่า เรากำลังอ่านหนังสือ
สรุป ธรรม 2 อย่างนี้ เป็นเครื่องอุปการะไม่ให้พลั้งเผลอ และไม่ให้พลั้งพลาด อันจะนำมาซึ่งความเกื้อกูลในการงานทั้งปวง
สติ คืออะไร ?
สติ คือ ความระลึกนึกได้ถึงความผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญสิ่งต่าง ๆ ได้
ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับ ก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ
หน้าที่ของสติ
1. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือระแวงในสิ่งที่ควรระแวง และระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต
ความระแวง หมายถึง ความกริ่งเกรงล่วงหน้าว่าจะมีความเสียหายอันใดเกิดขึ้น เช่น คนกำลังขับรถขณะฝนตก ถนนลื่น ก็ระแวงว่ารถจะคว่ำ ระแวงว่าจะมีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิด
ส่วนความระวัง คือ การป้องกันไม่ให้ภัยชนิดนั้น ๆ เกิดขึ้น เช่น ลดความเร็วลง ตั้งใจขับมากขึ้น อย่างนี้เป็นต้น
2. สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไปในสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มีสติยับยั้งตัวเองไว้ว่าอย่าไป เพราะเป็นโทษต่อตัวเอง ฯลฯ
3. สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรค นอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี
4. สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือ เมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้ว ก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ
5. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
6. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร
คำอุปมาสติ
สติเสมือนเสาหลัก ปักแน่นในอารมณ์ คือ คนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง ท่านจึงเปรียบ ติเสมือนเสาหลัก
สติเสมือนนายประตู คือ สติจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้ามากระทบใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนเฝ้าดูถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อน ปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน
สติเสมือนขุนคลัง เพราะคอยตรวจตราอยู่ทุกเมื่อ ว่าของที่ได้เข้ามาและใช้ออกไปมีเท่าไร งบบุญงบบาปของเราเป็นอย่างไร ตรวจตราดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ยอมให้ตัวเองเป็นหนี้บาป
สติเสมือนหางเสือ เพราะสติจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเราให้มุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คอยระมัดระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น ไม่ให้ตัวของเราไปทำในสิ่งที่ไม่ควร
1.1 อานิสงส์ของการมีสติ
1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น จะดูหนังสือก็ นใจคิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิใจก็จรดนิ่งสงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เพราะฉะนั้นที่ใดมีสติ ที่นั่นมีสมาธิที่ใดมีสมาธิ ที่นั่นมีสติ
2. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ใน ภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทา ของอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความ เป็นไปต่าง ๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่าง ๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระมีพลัง เพราะมีสติควบคุม เสมือนเรือที่มีหางเสือควบคุมอย่างดี ย่อมสามารถแล่นตรงไปใน ทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่วกวน
4. ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริบูรณ์
5. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติจึงไม่เผลอไปเกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการ นทนากันขึ้นในระหว่างการประชุมว่า
"ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฎ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก"
เรื่องนี้มีเพียงเท่านี้ที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันค้างไว้ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่ทรงหลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอา น์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเวลานี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรพูดเรื่องอะไรค้างไว้"
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกา ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างการประชุมว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฎพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พูดค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "กายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มี ติหายใจเข้า มีสติหายใจออกเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า "เราหายใจเข้ายาว" เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า "เราหายใจออกยาว"
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า "เราหายใจเข้าสั้น"
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า "เราหายใจออกสั้น"
สำเหนียกว่า "เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า"
สำเหนียกว่า "เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก"
สำเหนียกว่า "เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า"
สำเหนียกว่า "เราระงับกายสังขาร หายใจออก"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือน 3 ได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในกายนั้นเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า "เราเดิน"
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า "เรายืน"
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า "เรานั่ง"
เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า "เรานอน"
เธอดำรงกายอยู่โดยอิริยาบถใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอิริยาบถนั้น ๆ
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระและปัสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับ นนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ ว่า "ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร"
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถุงมีปาก 2 ข้าง เต็มไปด้วยธัญพืชชนิดต่าง ๆ คือ ข้าวสาลีข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร คนตาดีเปิดถุงนั้นออกพิจารณาเห็นว่า "นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง นี้เป็นงา นี้เป็นข้าวสาร" แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่างมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ ว่า "ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับ นนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า "ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่" เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วแบ่งอวัยวะออกเป็นส่วน ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แม้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า "ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับ นนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งตายแล้ว 1 วัน ตายแล้ว 2 วัน
หรือตายแล้ว 3 วัน เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวคล้ำ ศพมีน้ำเหลืองเยิ้ม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า "แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้นไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับ นนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งถูกกาจิกกิน แร้งทึ้งกินนกตะกรุมจิกกินสุนัขกัดกินสุนัขจิ้งจอกกัดกิน หรือสัตว์เล็ก ๆ หลายชนิดกัดกินอยู่ แม้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า "แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นโครงกระดูก มีเนื้อและเลือดมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ แต่ยังมีเลือดเปอนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเอ็นรึงรัดแล้ว กระจุยกระจายไปในทิศใหญ่ทิศเฉียง คือ กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางทิศหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางทิศหนึ่งแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า "แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูกสีขาวเหมือนสีสังข์ ฯลฯ เป็นกระดูกกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า 1 ปี ฯลฯ
กระดูกผุป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า "แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้"
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์แล้ว เอาน้ำประพรมให้ติดเป็นก้อน ก้อนถูตัวนั้นที่มียางซึมไปจับ ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำเป็นวังวน ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหลเข้าได้ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านใต้ ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหนของห้วงน้ำนั้น ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ไม่มีส่วนไหนของร่ายกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม หรือดอกบุณฑริกบางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำจมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้าไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท... ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุจึงบรรลุจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสนอันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไปภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัสด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของผู้นั้น แม้ฉันใด กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้วกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้นฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ 3 ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงจมลงในกองดินเปียกนั้นได้ไหม
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้แห้งสนิท ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้ สีไฟ ด้วยหวังว่า เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นใช้ไม้ที่แห้ง นิทโน้นมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม
"ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่า ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอาหม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม?
"ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบา ๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบ ที่ทำด้วยไม้แก่นล้วนเธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงได้ช่อง จากการโยนกลุ่มด้ายเบา ๆ นั้นลงบนแผ่นกระดานเรียบที่ทำด้วยไม้แก่นล้วนได้ไหม"
"ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้วมารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้ สีไฟ ด้วยหวังว่า เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นเอาไม้สดที่มียางโน้นมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม"
"ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
"ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา มีบุรุษถือเอาหม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม"
"ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
"ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษผู้มีกำลังพึงเขย่าหม้อน้ำนั้นโดยวิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึงไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม"
" ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้วภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในพื้นที่ราบที่เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปียมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นโดยวิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึงไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม
"ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้วภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนรถที่เขาเทียมม้าอาชาไนย มีแส้เสียบไว้ในระหว่างม้าทั้ง องจอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ 4 แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ชำนาญ ขึ้นรถนั้นแล้วมือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ พึงขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ แม้ฉันใด กายคตา ติก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆสั่งสมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว เธอพึงหวังอานิสงส์ 10 ประการนี้ คือ
1. เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วได้
2. เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นแล้วได้
3. เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์กล้าแข็ง เจ็บแสบ เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดีไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้
4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 ซึ่งเป็นอาภิเจตสิก เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
5. บรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือหายตัว... ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
6. ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์ (2) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
7. กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่นได้ คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ... หรือจิตปราศจากโทสะ...
จิตมีโมหะ... หรือจิตปราศจากโมหะ...
จิตหดหู่... หรือจิตฟุ้งซ่าน...
จิตเป็นมหัคคตะ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า...
จิตเป็นสมาธิ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ...
จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
8. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้
9. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
10. เพราะอาสวะสิ้นไป ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆสั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวังอานิสงส์ 10 ประการนี้ได้"
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
การฝึกสติทำให้เป็นคนไม่ประมาท
1. มีสติระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนือง ๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้า ก็มี ติระลึกได้ทันทีว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาปหรือไม่ ถ้าเป็นบาปก็ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด
2. มีสติระลึกถึงการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนือง ๆ มิได้ขาด จะทำอะไรก็มีสติระลึกได้เสมอว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบุญเป็นกุศลหรือไม่ ถ้าเป็นกุศลจึงทำ
3. มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด มี ติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกายสัตว์เดียรัจฉาน นั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลย เพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิเช่นนั้น
4. มีสติระลึกถึงความทุกข์ อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในวัฏสงสารอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่าถ้าเรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ ก็ต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป จึงหาโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อให้เข้านิพพานให้ได้เร็วที่สุดจะได้หมดทุกข์ เมื่อระลึกเช่นนี้บ่อย ๆ ย่อมไม่หลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงไม่กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองได้ในที่สุด
5. มีสติระลึกถึงกรรมฐานภาวนาที่จะละราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาดจากสันดานอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้น ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญว่าใจของเราจะเข้มแข็งทรงพลัง เอาชนะความทะยานอยากต่าง ๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุดคือ การฝึกทำสมาธิ จึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree