ปฏิสันถาร

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

ปฏิสันถาร

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ปฏิสันถาร , การต้อนรับแขกผู้มาเยือน , อามิสปฏิสันถาร , ธัมมปฏิสันถาร

    ปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งดื่มด่ำในอัธยาศัยไมตรี ยากที่จะลืมเลือน แบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ

      1. อามิสปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยอามิส คือ การต้อนรับ หรือรับรองแขกผู้มาเยือนด้วยเครื่องบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ข้าว น้ำ และของขวัญ เป็นต้น

     2. ธัมมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือ การต้อนรับ และสนทนาพอเหมาะแก่สภาพของผู้มาเยือน เช่น การเชื้อเชิญหรือต้อนรับแขกด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ


1.1 อานิสงส์ต้อนรับปฏิสันถาร
      พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ เป็นรัตนะอันประเสริฐเลิศกว่ารัตนะใด ๆ ในโลก เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน เป็นตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ได้เข้าถึงและเป็นหนึ่งอันเดียวกับพระรัตนตรัย ย่อมได้ชื่อว่า เข้าถึงความสุขที่สมบูรณ์และมีความปลอดภัยในชีวิต ความสุขและความบริสุทธิ์ทั้งมวลล้วนรวมอยู่ในธรรมกายซึ่งเป็นพุทธรัตนะ รวมอยู่ในธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นดวงธรรมที่สุกใสว่างซ้อนอยู่ในกลางพุทธรัตนะ และรวมอยู่ในธรรมกายที่ละเอียด ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ รัตนะทั้งสามนี้ คือแก่นแท้ของชีวิต เป็นชีวิตในระดับลึกที่อยู่ภายในตัวของเรา ที่ทุกคนมีสิทธิ์จะเข้าถึงได้เมื่อฝึกใจให้หยุดนิ่ง ถ้าทำใจหยุดได้เมื่อไร ย่อมก็เข้าถึงได้เมื่อนั้น หากเข้าถึงแล้วชีวิตก็จะมีความสุขสมปรารถนาทุกอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอปริหานิยสูตร ว่า

     "บุคคลผู้เคารพในพระบรมศาสดา เคารพในพระธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้าในพระสงฆ์ เคารพในความไม่ประมาท เคารพในปฏิสันถาร ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมย่อมเป็นผู้อยู่ใกล้นิพพาน"

      ความเคารพเป็นคุณธรรมที่สำคัญของบัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย เมื่อเราจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใด เราจะต้องรู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนฉันใด บุคคลผู้ปรารถนาจะรับสิ่งที่ดีมีคุณค่าจากบุคคลอื่น จำเป็นต้องมีความเคารพต่อบุคคลนั้นฉันนั้น ความเคารพคือความตระหนักซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขา แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้น ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งต่อหน้าและลับหลัง ความเคารพเป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสิ่งที่ควรเคารพอย่างสูงสุดคือพระรัตนตรัย ซึ่งจะส่งผลให้เราได้สมบัติอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานสมบัติได้โดยง่าย แม้ความเคารพในการปฏิสันถารก็มีอานิสงส์มากดังเรื่องต่อไปนี้

      ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพระราชาในนครพาราณสี พระองค์ได้เสด็จไปปราบชายแดนที่กำเริบให้สงบ แต่ทรงพ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น จึงทรงม้าเสด็จหนีไปถึงปัจจันตคามหมู่บ้านหนึ่ง พวกชาวบ้านเห็นเข้าก็กลัว พากันวิ่งหนีเข้าบ้านกันหมด เหลือเพียงชายคนหนึ่งต้อนรับพระองค์ด้วยมิตรไมตรีพลางถามว่า "ข้าพเจ้าได้ยินข่าวว่า พระราชาเสด็จไปปัจจันตชนบท ท่านเป็นใคร เป็นราชบุรุษหรือจารบุรุษ"

      พระราชาตรัสว่า "สหาย เราเป็นราชบุรุษ" "ถ้าอย่างนั้นท่านจงตามข้าพเจ้ามา" เขาได้พาพระราชาไปบ้านของตน ให้นั่งบนตั่งแล้วพูดกับภรรยาว่า "นางผู้เจริญ เธอจงมาล้างเท้าของสหายเรา" จากนั้นได้เตรียมอาหารตามสมควรแก่กำลังของตน แล้วปูลาดที่นอนให้พลางพูดว่า "ท่านคงเหน็ดเหนื่อยพักผ่อนก่อนเถิด"ส่วนเจ้าของบ้านได้ไปถอดเกราะของม้าออก ให้มันดื่มน้ากินหญ้า แล้วเอาน้ำมันทาหลังให้ เขาปฏิบัติเช่นนี้ต่อพระราชา 34 วัน พระองค์ก็ขอลากลับ ก่อนเสด็จกลับทรงตรัสว่า "สหาย เราชื่อมหาอัสสาโรหะ บ้านของเราอยู่กลางเมืองถ้าท่านเข้าเมืองเมื่อใด จงแวะมาเยี่ยมเราด้วย โดยไปที่ประตูด้านทิศใต้ถามนายประตูว่า คนชื่อ
มหาอัสสาโรหะอยู่ไหน แล้วให้เขาพาไปบ้านของเรา" แล้วก็เสด็จกลับพระราชวัง

     ฝ่ายทหารที่ออกตามหาพระราชา เมื่อไม่พบพระราชาจึงตั้งค่ายรออยู่นอกเมือง ครั้นเห็นพระราชาเสด็จมา ต่างพากันต้อนรับพระองค์ด้วยความดีใจ และก่อนที่พระองค์จะเสด็จเข้าเมือง ทรงรับสั่งให้นายประตูมาเฝ้าพร้อมตรัสว่า "ถ้ามีชาวบ้านปัจจันตคามประสงค์จะมาพบเราและถามหาคนชื่อมหาอัสาโรหะ เธอพึงมีไมตรีจิตต่อเขา แล้วรับพามาหาเรา" ครั้นตรัสสั่งแล้วพระองค์ก็เสด็จกลับพระราชวัง

      กาลเวลาผ่านไป พระราชาทรงระลึกถึงคุณของบุรุษชนบท ครั้นจะรับสั่งให้เขามาเข้าเฝ้า ก็เกรงเขาจะรู้ว่าเป็นพระราชา จึงให้เพิ่มการเก็บภาษีในหมู่บ้านที่เขาอยู่ เขาก็ยังไม่มาเข้าเฝ้า พระองค์ทรงให้เพิ่มภาษีขึ้นอีก เป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สาม เขาก็ยังคงไม่มาเข้าเฝ้าจนกระทั่งคนในหมู่บ้านพากันเดือดร้อน ชาวบ้านจึงประชุมแล้วพูดกับบุรุษนั้นว่า "นับตั้งแต่นายมหาอัสสาโรหะมา พวกเราต่างได้รับความเดือดร้อน ท่านจงไปบอกนายมหาอัสาโรหะสหายของท่าน ให้ช่วยปลดเปลื้องภาษีของพวกเราด้วยเถิด" เขารับปากว่า "ดีละ ถ้าอย่างนั้นเราจะช่วย แต่ว่าเราไม่อาจไปมือเปล่าได้" ชาวบ้านจึงจัดเตรียมบรรณาการให้เขาถือไปพร้อมขนมที่ทอดในบ้านของเขาเอง เมื่อเข้าเมืองแล้ว เขาเดินไปทางประตูด้านทิศใต้ ถามนายประตูว่า "บ้านของนายมหาอัสาโรหะอยู่ไหน" นายประตูจึงพาเขาเข้าวังเพื่อเข้าเฝ้าพระราชาตามคำสั่งของพระองค์

     พระราชาทรงสดับก็ดีพระทัย เสด็จลุกขึ้นจากพระอาสน์ตรัสว่า "ให้ หายของเราเข้ามาเถิด" แล้วทรงทำการต้อนรับทักทาย หายอันเป็นที่รักว่า ภรรยาของ หายและพวกเด็ก ๆ ของเรา บายดีหรือ แล้วทรงจับมือพาเข้าไปในท้องพระโรง ให้นั่งบนอาสน์ของพระราชาภายใต้เศวตรฉัตร รับสั่งให้เรียกพระอัครมเหสีมา แล้วตรัสว่า "พระนางผู้เจริญเธอจงล้างเท้าของ หายของเรา" พระเทวีก็ทรงล้างเท้าแล้วทาด้วยน้ามันหอมอย่างบรรจง

       พระราชาทรงรู้ว่า หายไม่มามือเปล่าแน่ จึงถามว่า "สหาย ของกินสำหรับพวกเรามีบ้างไหม" "มีสิ" เขารีบนำขนมออกมาจากกระเช้า พระราชาจึงตรัสกับเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่า "ท่านทั้งหลายมาร่วมรับประทานขนมที่ หายเรานำมากันเถอะ" แล้วทรงพระราชทานขนมให้พระเทวีและอำมาตย์ทั้งหลาย แม้พระองค์เองก็ร่วมเสวยด้วย ชายหนุ่มได้ถวายเครื่องบรรณาการที่จัดเตรียมมา ซึ่งแม้จะเป็นบรรณาการของคนยาก แต่พระองค์ก็ไม่ทรงดูหมิ่นทรงเปลี่ยนเครื่องทรงของกษัตริย์ เพื่อทรงนุ่งห่มผ้าธรรมดาที่เขานำมาถวาย พร้อมทั้งให้

     ตีกลองป่าวร้องไปทั่วเมือง เพื่อให้อำมาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลายมาประชุมกัน แล้วตรัสประกาศว่า จะพระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่งแก่บุรุษผู้เป็นสหายรักของพระองค์

      ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชาทั้งสองทรงร่วมเสวย ร่วมดื่มด้วยกัน ความคุ้นเคยก่อตัวขึ้นอย่างแน่นแฟ้น ไม่มีผู้ใดทำให้แตกแยกได้ พระราชารับสั่งให้เรียกบุตรและภรรยาของสหายรักมา ทรงให้สร้างนิเวศน์ภายในพระนคร พระราชาทั้งสองต่างสมัครสมานครองราชสมบัติสร้างความไม่พอใจให้แก่เหล่าอำมาตย์มาก อำมาตย์จึงให้พระราชกุมารหาโอกาสทูลถามพระเจ้าพาราณสีตรัสตอบว่า "ลูกเอ๋ย ครั้งหนึ่งพ่อได้พ่ายแพ้ในการรบในปัจจันตคาม ครั้งนั้นพ่อหายไป 3-4 วัน และได้หลบหนีอยู่ในบ้านของ หายผู้นี้ เขาช่วยเหลือพ่อทุกอย่างจนกระทั่งปลอดภัย เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อจึงแบ่งสมบัติแก่เขา เพราะเขาคือผู้มีอุปการคุณต่อพ่ออย่าว่าแต่สมบัติเพียงแค่ครึ่งหนึ่งเลย แม้ชีวิตพ่อก็ให้ได้"

      พระโพธิสัตว์ทรงตรัสอนต่อไปว่า "บุคคลใดให้แก่ผู้ไม่ควรให้ ไม่ให้แก่บุคคลผู้ควรให้บุคคลนั้นเมื่อถึงคราวมีอันตราย ก็จะไม่ได้อุปการะจากใครเลยส่วนผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่เพิ่มในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับทุกข์ในคราวมีอันตราย ก็ไม่ได้ หายช่วยเหลือแต่ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้ทานเพิ่มในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับทุกข์ในคราวมีอันตราย ย่อมได้มิตรแท้ช่วยเหลือ ความสนิทสนมกันฉันท์มิตรในชนทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรมเป็นคนมักโอ้อวดย่อมไร้ผลส่วนความสนิทสนมกันฉันท์มิตรในอารยชนผู้ซื่อตรงคงที่ แม้เล็กน้อยก็ย่อมมีผลมาก"

       ผู้ใดได้ทำความดีงามไว้ก่อน ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำกิจที่ทำได้แสนยากในโลก ภายหลังผู้รับจะทำปฏิการะตอบหรือไม่ก็ตาม ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง พืชที่หว่านลงในนาดีย่อมเจริญงอกงามไพบูลย์ เหมือนความดีที่ทำไว้กับผู้มีความกตัญู มีศีล มีความประพฤติเยี่ยงอารยชน ย่อมได้รับการตอบแทนด้วยความดีเช่นกัน

      ผู้ที่มีความเคารพ คือตระหนักถึงคุณธรรมความดีของผู้อื่น ทั้งเคารพในการต้อนรับปฏิสันถารด้วย ย่อมเป็นทางมาแห่งโชคลาภ จะทำให้ได้สมบัติมากมาย อย่างน้อยย่อมได้เพื่อนแท้เพิ่มขึ้น ดังนั้นอย่าดูเบาในเรื่องการปฏิสันถาร ต้องต้อนรับแขกที่มาเยือนให้ดี ต้องหมั่นดูแลต้อนรับด้วยดวงหน้าที่สดใสจิตใจที่เบิกบาน ต้อนรับด้วยมิตรไมตรี ผู้ที่มาเยือนจะได้รู้สึกสบายใจมีความสุข และการต้อนรับที่สำคัญก็คือ การต้อนรับให้พระรัตนตรัยเข้ามาอยู่ภายในจิตใจภายในตัวของเราด้วย เชื้อเชิญให้ท่านอยู่ที่ศูนย์กลางกายของเรานาน ๆ จนกระทั่งท่านอยู่กับเราตลอดเวลา อย่างนี้จึงจะเป็นการปฏิสันถารที่วิเศษ ที่เลิศกว่าการปฏิสันถารใด ๆ ในโลก และให้หมั่นรักษาอารมณ์ รักษาใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ ๆและในที่สุดนักศึกษาก็จะได้สมบัติอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานสมบัติ


1.2 อย่ามองข้ามการปฏิสันถาร
      การปฏิสันถาร เป็นหนึ่งในหลักธรรมเรื่องความเคารพ 6 ประการ ที่เรียกว่าปฏิสันถารคารวตา มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้รอดปลอดภัยจากภัยในวัฏฏะ ดังที่ปรากฏไว้ในสักกัจจสูตร ว่า

      "ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในพระธรรม ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดาในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถารข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย"

        ความเคารพ คือ ความตระหนักซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดี ที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้น ด้วยการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งต่อหน้า และลับหลัง ความเคารพนั้นเป็นคุณธรรมที่สำคัญของบัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสิ่งที่ควรเคารพอย่างแรกคือเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรามีความเคารพต่อพระพุทธองค์แล้ว ความเคารพในพระธรรมคำสอนของพระองค์ย่อมเกิดขึ้นตามมา และจะเกิดความเคารพศรัทธาในพระสงฆ์สาวก
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และเมื่อได้ศึกษาในศีลสมาธิ และปัญญาแล้ว ความเคารพในการศึกษาและความไม่ประมาทก็จะบังเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับ

       เมื่อเกิดความเคารพในทุกอย่างข้างต้นแล้ว ความเคารพในการปฏิสันถารจะเกิดขึ้นโดยง่ายดาย คุณธรรม 7 ประการนี้ นอกจากส่งผลดีให้ตนเองแล้ว ยังได้ชื่อว่า ดำรงพระพุทธศาสนาไว้ด้วย ดังที่พระบรมศาสดาตรัสกับพระกิมมิละใน กิมมิลสูตร ว่า

       สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมมิลา ครั้งนั้นท่านพระกิมมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานไปแล้ว" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ จะเป็นผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาทในการปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่นาน"

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว" พระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า "เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดาในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน"

        จะเห็นได้ว่า ความเคารพนั้นสำคัญมากเพียงใด ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ตรัสไว้แล้ว ดังกล่าวส่วนอานิสงส์ในการปฏิสันถารนั้น เนื่องจากการต้อนรับปฏิสันถารเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าผู้มาเยือนจะเป็นใคร มาด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือในสถานการณ์ใดก็ตาม หากนักศึกษาให้การต้อนรับอย่างชาญฉลาด ถือว่าสามารถชนะใจคนตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว เพราะการต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดีงาม ไม่เพียงแต่เป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสูงส่งแห่งจิตใจของผู้ที่ให้การต้อนรับอีกด้วย นอกจากนี้บรรยากาศอันน่าชื่นใจในการต้อนรับ ยังสามารถปิดช่องว่าง ข้อผิดพลาดบกพร่องต่าง ๆ และยังสามารถเปลี่ยนเรื่องร้ายให้
กลายเป็นดีได้อีกด้วย ดังเช่นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในคีรีวิหาร ประเทศศรีลังกา ในสมัยหนึ่ง

      ครั้งหนึ่ง พระเถระแห่งคีรีวิหารได้ให้การต้อนรับปฏิสันถารที่ดี ทำให้สามารถพลิกสถานการณ์อันเลวร้าย ให้กลายเป็นดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ ใน มัยก่อน ประเทศศรีลังกาเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง เกิดความเดือดร้อนทุกหนทุกแห่ง และเกิดมีโจรอยู่ก๊กหนึ่งคอยดักปล้นจี้ตีชิงข้าวของเงินทอง จนชาวบ้านหวาดกลัว พากันหนีไปอยู่เมืองอนุราธบุรี ทั้งยังไม่กล้าไปกราบไหว้พระเจดีย์ที่คีรีวิหารอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา เพราะกลัวภัยจากโจร

      วันหนึ่ง พวกโจรเห็นว่า เมื่อไม่สามารถปล้นชาวบ้านได้ เพราะไม่มีใครกล้าผ่านมา ทำให้พวกโจรอดอยาก จึงได้ชักชวนกันไปปล้นวัดคีรีวิหาร เมื่อคนรักษาวัดเห็นโจรยกพวกมา จึงรีบไปกราบเรียนพระเถระ พระเถระถามคนรักษาวัดว่า เรามีข้าวสารอาหารแห้ง เนื้อ ปลา นม เนยหรือไม่ คนรักษาวัดตอบว่า มีแต่ของที่จะถวายสงฆ์เท่านั้น พระเถระจึงสั่งให้นำของเหล่านั้นไปหุงต้มเลี้ยงดูโจร ทั้งกำชับว่า ให้ต้อนรับโจรเหล่านั้นด้วยมารยาทอันดี

      เมื่อโจรเหล่านั้นมาถึง พวกเขามิได้คาดคิดว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างดีถึงเพียงนี้ เพราะเคยได้รับแต่ความเกลียดชังตลอดมา โจรสมัยก่อนเป็นโจรมีคุณธรรม มีสัจจะ มีความกตัญญูอันที่จริงทุกคนต่างก็อยากเป็นคนดีกันทั้งนั้น แต่ที่หลงไปทำความชั่ว เพราะไม่รู้ว่าอย่างไรเรียกว่าความดี จึงปฏิบัติไม่ถูก ทำไปตามอำนาจกิเลสหรือยังมีกำลังใจไม่พอที่จะเอาชนะกิเลและเป็นเพราะสังคมสิ่งแวดล้อมเหตุการณ์บังคับให้ทำไปอย่างนั้น เป็นต้น

      พวกโจรรู้สึกแปลกใจในการต้อนรับนั้น จึงถามคนรักษาวัดว่า "ทำไมต้อนรับพวกเราอย่างดีเช่นนี้" คนรักษาวัดจึงตอบว่า "พระเถระเจ้าอาวา ของเรา เป็นผู้มีความเมตตากับทุก ๆ คน ท่านเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์ ให้เกียรติต่อทุกคนด้วยการต้อนรับปฏิสันถารมิได้ขาดแก่ทุก ๆ คนอยู่เสมอ" โจรทั้งหลายได้ฟังเช่นนั้น จึงพากันไปกราบพระเถระแล้วกล่าวว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกผมมาในครั้งนี้ตั้งใจว่าจะมาปล้นวัดของท่าน แต่นี่กลับได้รับการต้อนรับจากท่านเป็นอย่างดี พวกผมซาบซึ้งใจ และเลื่อมใสในการต้อนรับของท่านเป็นอย่างยิ่งไม่คิดว่าในโลกนี้จะมีใครดีต่อพวกผมอย่างนี้ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป พวกผมขอรับอาสาเป็นผู้รักษาวัด ไม่ให้มีอันตราย ขอพระคุณเจ้าจงป่าวประกาศให้ชาวบ้านมากราบไหว้พระเจดีย์ได้ตามปกติเถิด"

       นับแต่นั้นมา ชาวบ้านต่างพากันมาทำบุญถวายทานที่วัดเช่นเดิม โดยมีพวกโจรคอยต้อนรับที่ริมฝังแม่น้ำ พาชาวบ้านข้ามฝังไปสู่วิหาร เพื่อให้ทำบุญกุศล และกราบไหว้พระเจดีย์ได้ดั่งใจปรารถนา หลังจากชาวบ้านถวายทานแด่พระสงฆ์แล้ว ของที่เหลือก็เก็บไว้ให้โจรกลับใจเหล่านั้น ครั้นถึงเวลากลับ พวกโจรซึ่งเป็นฝ่ายปฏิสันถารก็จะตามไปส่ง โดยให้การอารักขาเป็นอย่างดี ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายพากันมาทำบุญให้ทานอย่างต่อเนื่องตลอดมา

       ภายหลัง พระภิกษุผู้ไม่รู้ได้ทักท้วงขึ้นว่า พระเถระประพฤติไม่ถูกต้อง นำเอาของสงฆ์ไปให้พวกโจร เมื่อมีความสงสัยเกิดขึ้น พระเถระไม่ได้เดือดร้อนใจแต่อย่างใด เพราะท่านคิดว่าได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าอาวาสทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่เพื่อเป็นการให้เกิดความสามัคคี และความเข้าใจอันดีต่อกัน และเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระภิกษุที่บวชเข้ามาใหม่ ที่มีสติปัญญาตรองตามไม่ทัน ท่านจึงเรียกให้มีการประชุมพระภิกษุทั้งวัด เพื่อถามผู้ดูแลวัดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ใช้ไป แล้วให้รวมราคามูลค่าว่ามีเท่าไร เมื่อรวมแล้วปรากฏว่า มีมูลค่าไม่ถึงแม้ค่าผ้าที่ปูลาดในพระวิหาร ท่านชี้แจงว่า ถ้าเราไม่ให้การต้อนรับปฏิสันถารเช่นนี้แล้ว เราอาจต้องสูญเสียข้าวของที่มีมูลค่ามหาศาลทั้งหมดในวัดไปก็ได้ เมื่อท่านอธิบายชี้แจงแล้ว พระภิกษุต่างก็เข้าใจและชื่นชมอนุโมทนาสาธุการในสติปัญญาของท่าน

      จะเห็นได้ว่า การต้อนรับด้วยการแสดงน้ำใจไมตรีอย่างจริงใจสามารถเปลี่ยนใจโจรร้ายให้กลายเป็นคนดีได้ และสามารถชี้หนทาง ว่างให้กลับใจมาทำความดี อีกทั้งมองเห็นคุณงามความดีในตนเอง จนกระทั่งเลิกทำบาปอกุศลอีกต่อไปสมกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องการต้อนรับปฏิสันถารอันดีว่า เป็นเหตุแห่งความสุข ความเจริญอย่างแท้จริง

       ดังนั้น ทุกครั้งที่นักศึกษาให้การต้อนรับบุคคลใดก็ตาม ให้คิดว่า เรากำลังจะประกอบบุญใหญ่ ด้วยการแ ดงน้ำใจของพระโพธิสัตว์ งเคราะห์เพื่อนมนุษย์และชาวโลกทั้งหลาย โดยเปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จะเผื่อแผ่แบ่งปันความสุขให้กับทุก ๆ คน ประดุจเอากุญแจวิเศษแห่งการต้อนรับนี้ไขประตูใจของผู้ที่มาเยือนให้ได้รับความสุขความปรารถนาดีจากเรา เมื่อเริ่มต้นด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นและจริงใจ ความสุขความประทับใจย่อมเกิดขึ้น เขาจะเกิดความเลื่อมใสและพร้อมที่จะรองรับความดีหรือคำแนะนำที่ก่อประโยชน์ทุกอย่าง กระทั่งรองรับธรรมะภายในที่จะเกิดขึ้น เมื่อเวลาแห่งการต้อนรับมาถึง เมื่อนั้นเราคือผู้ถือกุญแจวิเศษที่จะเปิดประตูสวรรค์ และนิพพานให้กับผู้มาเยือนทุก ๆ คน นักศึกษาควรใช้มันให้เกิดประโยชน์มากที่สุด นอกจากการคุยสนทนาทั่วไปแล้ว ควรเปิดใจเขาให้ได้รับร แห่งพระธรรมกลับไปทุกครั้ง แล้วเราจะมีความปลื้มปีติใจเป็นรางวัลของชีวิต ตราบถึงวาระสุดท้ายของการสร้างความดีในเมืองมนุษย์

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

**บทความ แนะนำ/เกี่ยวข้อง

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031774218877157 Mins