อนุปุพพิกถา
อนุปุพพิกถา หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ เมื่อผู้ฟังมีอัธยาศัยหมดจดดีแล้ว พร้อมที่จะบรรลุคุณธรรมพิเศษพระพุทธองค์จะทรงแสดงอริยสัจ 4 ด้วยเสมอ
1. ทานกถา กล่าวถึงทาน แสดงให้เห็นประโยชน์ของการให้เพื่อละความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ รู้จักมีความเอื้อเฟอต่อผู้อื่น
2. สีลกถา กล่าวถึงศีล ทรงแสดงประโยชน์แห่งศีล คือ ความประพฤติเรียบร้อยทางกาย ทางวาจา และงดเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น
3. สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์ ทรงแสดงความดีงามอันผู้ให้ทานและผู้มีศีลจะพึงได้รับในมนุษยโลก รวมถึงการเสวยความสุขในเทวโลก
4. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม ทรงแ ดงโทษของกามว่าแม้จะมีความสุขก็เป็นความสุขเพียงเล็กน้อย แต่มีความทุกข์มาก ทุกข์สิ้นกาลนาน ไม่ควรเพลิดเพลินหลงใหล
5. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม คือ ไม่หมกมุ่นในกามคุณ
ฟังอนุปุพพิกถาหมดปัญหาในชีวิต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
"ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่"
โลกใบนี้เหมือนละครโรงใหญ่ที่มีนักแสดงมากมาย ทั้งเด็ก หนุ่มสาว และคนชราบางครั้งในคน ๆ เดียวกันก็แสดงได้หลายบท เป็นทั้งคนดี และคนไม่ดี ขึ้นอยู่กับความชอบใจที่อยากจะเป็น แม้ตัวเราบางครั้งก็อยากทำความดี บางทีไม่อยากทำบาปอกุศล หรือบางทีก็อยากอยู่เฉย ๆ เราจะสังเกตได้ว่า ถ้ายามใดที่ใจเราใสะอาดบริสุทธิ์ มีความคิด คำพูดและการกระทำที่ดี ๆ ยามนั้นเราจะ วมบทบาทของฝ่ายกุศลธรรม เมื่อเราระลึกย้อนกลับมาดูภาพแห่งการสร้างความดี เราจะมีแต่ความปลื้มใจ แต่บางทีเมื่อมีบาปอกุศลเข้ามาแทรก ทำให้ใจเราขุ่นมัว แล้วเผลอไปแสดงบทบาทของฝ่ายอกุศล ทำในสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าผิดพลาด ก็อาจสายไปแล้ว ต้องไปเสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสในอบายภูมิ
นักปราชญ์บัณฑิตมองเห็นความเป็นจริงของโลกและชีวิตเช่นนี้ จึงไม่ติดข้องอยู่ในโลกโดยเฉพาะเมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์สามารถอาศัยโลกอันตระการนี้เป็นฐานที่ตั้งสำหรับสั่งสมบุญสร้างบารมี เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตให้สูงขึ้น แม้จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับชาวโลกทั่วไป แต่ก็ไม่หลงใหลเพลิดเพลิน ไม่ติดข้องอยู่กับโลกกับวัตถุ ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต พยายามยกจิตใจให้สูงขึ้น จนกว่าจะบรรลุโลกุตรธรรม มีชีวิตที่อยู่เหนือโลกเช่นเดียวกับพระอริยเจ้า และพระอรหันต์ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
ดังเช่นเรื่องของยสกุลบุตร ผู้เบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสแม้จะมีชีวิตที่พรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ 5 มีปราสาท สวยงามใหญ่โตโอฬาร แต่กลับไม่ยินดีในสมบัติเหล่านั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า นี่คือโลกามิ เหยื่อล่อที่ทำให้หลงติดอยู่ในโลก เหมือนปลาที่ถูกล่อด้วยเหยื่อให้เข้าไปติดอยู่ในเบ็ด โดยไม่รู้ตัวว่า กำลังจะเข้าไปสู่ความตาย ยสกุลบุตรพิจารณาเห็นความเป็นจริงของชีวิต ถึงกับเปล่งอุทานรำพึงรำพันขึ้นมาว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"
คืนหนึ่ง ท่านตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นเหล่าข้าทา บริวารกำลังนอนหลับ เสื้อผ้าหลุดลุ่ยดูไม่งามตา บางคนนอนกรน บ้างก็ละเมอสภาพต่าง ๆ เหล่านี้ปรากฏต่อสายตาของยสกุลบุตรประดุจป่าช้าผีดิบที่น่าเกลียดน่าขยะแขยง เพราะสัญญาเก่าที่ท่านเคยสั่งสมอสุภกัมมัฏฐานมาหลายภพหลายชาติ ทำให้ได้อสุภสัญญา ภาพที่ข้าทา บริวารนอนระเกะระกะ หัวไปทางเท้าไปทาง เป็นภาพนำมาซึ่งความ ลดสังเวช ทำให้ท่านเกิดเบื่อหน่ายขึ้นมา เมื่อเบื่อหน่ายจิตจึงคลายจากความกำหนัดยินดี ท่านจึงตัดสินใจออกจากคฤหาสถ์ที่ใหญ่โตมโหฬารนั้นทันที
ก่อนรุ่งอรุณ ยสกุลบุตรเดินไปพลางก็รำพึงรำพันไปพลางว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" อยากจะไปแสวงหา ถานที่ที่ไม่วุ่นวาย แต่ก็ไม่รู้จะไปทางไหน จึงเดินไปเรื่อย ๆ เข้าไปในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พวกเทวดารู้ว่าท่านเป็นผู้มีบุญ อยากได้บุญใหญ่กับท่านผู้กำลังแสวงหาทางหลุดพ้น จึงช่วยกันป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้ท่านเดินทางโดยปลอดภัยจนกว่าจะไปถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
เช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเข้ามาในข่ายพระญาณ ทรงรู้ว่า วันนี้ผู้มีบุญจะมาหาพระองค์ จึงเสด็จจงกรมอยู่ในป่าเพื่อรอคอยการมาของท่าน ขณะนั้นเองยสกุลบุตรเดินตรงเข้าไปในบริเวณนั้น พร้อมกับเปล่งอุทานให้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ยินว่า "ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า "ดูก่อนยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยสะเราจักแสดงธรรมแก่เธอ" ทันทีที่ยสกุลบุตรได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ไม่ขัดข้อง ท่านร่าเริงบันเทิงใจเหมือนปลาในหนองน้ำที่แห้งขอด ดีดตัวขึ้นรับสายฝนที่ตกลงมาให้ความชุ่มฉ่ำฉะนั้นท่านถอดรองเท้าทองพลางเข้าไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งฟังธรรมจากพระองค์ด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างยิ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ตรัสถึงการให้ทานว่า เป็นสิ่งที่ควรทำเพราะเป็นการขจัดความตระหนี่ออกจากใจ จะได้เป็นบุญกุศลติดตัวข้ามภพข้ามชาติเกิดมากี่ภพกี่ชาติจะได้ไม่ต้องลำบากในการทำมาหากิน จะได้สร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบายแล้วจึงตรัสเรื่องการรักษาศีล ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งมวลที่จะทำให้มีความสุข ความบริสุทธิ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า จากนั้นทรงตรัสว่า เมื่อเราให้ทาน รักษาศีลเป็นประจำแล้วจะเป็นเหตุให้ไปสวรรค์ ซึ่งถ้ามีบุญมากก็เลือกเกิดได้ว่า จะไปอยู่สวรรค์ชั้นไหน ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นสุขที่ยิ่งกว่าความสุขในโลกมนุษย์นี้มากมายหลายเท่านัก หากมีบุญมากยิ่งขึ้นอีกจะเลือกอยู่ชั้นไหนก็ได้ทั้งนั้น
ถึงกระนั้น พระองค์ยังชี้ให้เห็นว่า เหล่าเทวดาที่เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ ก็ยังตกอยู่ในอำนาจของกิเล คือเบญจกามคุณเช่นกัน คือ ยังพัวพันด้วยรูป รส กลิ่น เสียงสัมผั ต่าง ๆ มีโลภะ โทสะ โมหะ บีบบังคับอยู่ เมื่อถึงคราวหมดบุญก็ต้องจุติไปเกิดเป็นอย่างอื่นตามกำลังบุญ เพราะฉะนั้นที่สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ไปไม่ได้ ก็เพราะมัวยึดติดอยู่กับเบญจกามคุณ เบญจกามคุณเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ที่ทำให้สรรพสัตว์หลงใหลเพลิดเพลิน และก็ประมาทในการแสวงหาหนทางพระนิพพาน
เมื่อยสกุลบุตรส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ท่านเกิดปัญญาเห็นแจ้งไปตามความเป็นจริง เกิดความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงรู้ว่า ยสะมีใจผ่องแผ้วดีแล้วจึงทรงชี้หนทางที่จะออกจากเบญจกามคุณว่า บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง เป็นวิธีการที่จะทำให้ใจสงบจากกามคุณทั้งหลาย เมื่อใจหยุดนิ่งย่อมไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้ใจหวั่นไหว ใจจะมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า พื้นฐานของมนุษย์ทุกคนมีทุกข์ทั้งนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ ความอยาก ไม่ว่าจะเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา การจะดับตัณหาความทะยานอยากเหล่านั้นได้ ใจต้องหยุด ที่เรียกว่า นิโรธ แปลว่าดับก็ได้ แปลว่าหยุดก็ได้ เมื่อหยุดใจได้ถูกส่วน มรรคมีองค์ 8 ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นดวงใสบังเกิดเป็นดวงสว่างไสวเรียกว่า ปฐมมรรค เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน
ท่านยสะดำเนินจิตเข้าสู่ภายในเรื่อยไป ท่านรู้เองเห็นเองว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันต่อมาเมื่อได้ฟังธรรมซ้ำอีกครั้ง ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree