ศีลเบื้องต่ำ และศีลเบื้องสูง

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

ศีลเบื้องต่ำ และศีลเบื้องสูง

 

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ ,  สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , ศีลเบื้องต่ำ และศีลเบื้องสูง

 

๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

นโม.....
อเนกปริยาเยน โข ปน.....

 

                          ศีลเป็นหลักเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา และเป็นสิ่งที่จะต้องรู้และมีให้แน่นอนในใจของทุกคน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปุจฉาวิสัชนาด้วยพระองค์เป็นลำดับในเรื่องศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูงปรากฏตาม พระบาลี กถญจ สีลํ

ศีลเบื้องต่ำ

                           คือศีล ๕ ของผู้ครองเรือน เป็นเหฏฐิมศีล ต้องมีให้มั่นเสียก่อนสูงกว่านี้ คือศีล   เป็นอติเรก ศีล

                           ศีล ๕ ได้แก่

                           ๑. การฆ่าสัตว์ "สัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในภพ มีกำเนิด ๔ คือ

                           อัณฑะ สัตว์ที่เกิดด้วยฟองไข่ แล้วฟักเป็นตัวทีหลัง ต้องระวังและเว้นจริงๆ เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่มด ไข่เรือด เพราะระวังยาก ถือว่ามีชีวิตอยู่แต่กระดุกกระดิกไปไหนไม่ได้ นางกุลตีกินรี ไข่ออกมา เป็นมนุษย์ชาย ๒ คน ต่อมาเป็นพระเถระ

                          สังเสทชะ สัตว์ที่เกิดด้วยเหงื่อไคล เช่น เหา เล็น เรือด ไร มนุษย์ที่เกิดจากเหงื่อไคล ได้แก่ เรื่องพระปัจเจกโพธิ ๕๐๐ อาศัยคัพภมลทินเหงื่อไคลจากมารดา

                          ชลาพุชะ สัตว์ที่อาศัยน้ำบังเกิด เช่น มนุษย์ แพะ แกะ วัว ควาย

                         อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เช่น นางอัมพปาลี เกิดในคาคบต้นมะม่วง มีราชกุมาร ๕๐๐ จะแย่งกัน พราหมณ์จึงตัดสินให้อยู่คนละ ๗  วัน ในปราสาทในสวนมะม่วง จะได้ไม่ทะเลาะกัน


องค์แห่งศีลข้อที่ ๑ คือ ปาณาติบาต

                        ๑.สัตว์นั้นมีชีวิตทั้งเป็นตัวแล้วหรือยังอยู่ในไข่ ขยับตัวไม่ได้ก็ตาม เรียก ปาโณ

                        ๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต

                        ๓. มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น

                        ๔. พยายามฆ่าสัตว์นั้น

                        ๕.สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

                        ท่านยกเอาอริยบุคคล อริยสาวก ตั้งแต่พระโสดา เจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลย ที่เรารักษาปาณาติบาตนี้ ต้องตัดเจตนาให้ขาดจากใจ


องค์แห่งศีลข้อที่ ๒ คือ อทินนาทานา

                         ๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้น มีเจ้าของหวงแหน

                         ๒. รู้ว่าทรัพย์นั้น มีเจ้าของหวงแหน

                        ๓. มีเจตนาที่จะลักทรัพย์นั้น

                        ๔. พยายามลักทรัพย์นั้น

                        ๕. ได้ทรัพย์นั้นมาด้วยความพยายาม

                        เงินทองเล็กน้อยพออดได้ ไม่พอใช้พอกินอะไรพออดได้ แต่ว่าอ้ายเพชรนิลจินดาราคามันมากราคาถึงแสน เอาแล้วทำใจคนมีศีลกระดุกกระดิกไปอีกแล้ว เรียกว่า ศีลจอมปลอม


องค์แห่งศีลข้อที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม

                        ให้โทษมาก เพราะทำให้มนุษย์ในโลกนี้มีความทุกข์

                        ๑. หญิงหรือชาย ไม่ใช่สามีภรรยาของตน

                        ๒. มีเจตนาที่จะเสพเมถุน

                        ๓. ประกอบกิจในการเสพเมถุน

                        ๔.ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน

                        ศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ศีลอับปาง อำพรางศีล หลบศีล หลอกศีล หลอกตัวเอง โกงตัวเอง ถ้าว่าที่ไม่พอใจก็พออดได้ ถ้าพอใจอยู่สิ้นกาลช้านาน พอใจอยู่จนแก่ หลายสิบปี เมื่อมาสมเจตนาของตัวเข้าก็กลัว ขยับเขยื้อนจะล่วงกามนั้นๆ เข้าอีก


องค์แห่งศีลข้อที่ ๔ คือ มุสาวาทา

                       "ถ้าเลิกมุสากันหมดทั้งประเทศสบายกันหมดทั้งประเทศทีเดียว"

                       ๑. พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง

                       ๒. มีเจตนาที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง

                       ๓. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง

                       ๔. คนฟังเข้าใจความหมายในคำพูดนั้น

                       ถ้ายังมีเลือกเฟ้นว่าจะดีหรือไม่ดี ศีลยังเหลวอยู่ จะตัดหัวคั่วแห้ง ตีรันฟันแทง ตัดชีวิตสักเท่าใด จะให้กล่าวคำเท็จน่ะ กล่าวไม่ได้เสียแล้ว คำเท็จขาดจากใจ กล่าวแต่คำจริง อย่างนี้ได้ชื่อ ว่ามีศีล


องค์แห่งศีลข้อที่ ๕ การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย

                        ๑. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา

                        ๒. รู้ว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเมา

                        ๓. มีเจตนาดื่ม

                        ๔. พยายามดื่ม

                        ๕. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

                      ผู้ถือศีลทั้งห้าข้อนี้ จะต้องเว้นเจตนาละเมิดศีลให้ขาดจากใจ เหมือนพระอริยบุคคลทีเดียว ไม่หลบศีล ไม่คิดจะทำแม้ถูกบังคับ ศีลจึงจะสมบูรณ์

                      ในศีลทั้งห้าสุราเป็นตัวสำคัญ ถ้างดไม่ได้ ศีลข้ออื่นก็จะรักษาไม่ได้ด้วยท่านเปรียบเทียบเหมือนงวงของช้าง ช้างมีเท้า ๔ มีงวง ๑ แต่ ถ้าช้างขาดงวง มันก็จะต้องนอนลงกินหญ้าหรือเลี้ยงชีพได้อย่างยากลำบาก ถ้าล่วงสุรา อีก ๔สิกขาบทก็สลายหมด

                      ศีลห้าข้อเหมือนพระนครมี ๕ ประตูตามลำดับ ถ้าออกประตูที่ ๕ คือล่วงสุรา ก็เท่ากับผ่านประตูที่ ๑ ถึง ๕ แล้ว

                     ศีลข้อ ๕ จึงเป็นตัวสำคัญ เช่นเดียวกับโมหะเป็นตัวสำคัญที่สุดในกิเลสทั้ง ๓ ตระกูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ

                     สุราจึงจัดไว้ว่าเป็นตัวประมาท อยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลส่วนธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎกมากน้อยเพียงใด สรุปลงในความไม่ประมาท

                     ดังนั้น ต้องมั่นอยู่ในศีลห้า ซึ่งเป็นศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ

                     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงศีลโดยปริยายเบื้องสูงว่า

                      อิธ ภิกฺขุ  ภิกขุในธรรมวินัยของพระตถาคต ย่อมเป็นผู้มีศีล ( สีลวา โหติ)


ภิกษุ มีศีลอย่างไร

                     ไม่ต้อง สมาทาน เหมือนอุบาสก อุบาสิกา แต่สำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ในท่ามกลางพระสงฆ์ในปัจจันตประเทศ ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ รูป มาประชุมโดยมีพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาส่วนสามเณรต้องมีศีล ๑๐

                       ศีล  ๘ เป็นไปเพื่อการตัดตัณหา จึงเพิ่มการเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาลเพื่องด "รสตัณหา" ฟ้อนรำดีด สีตีเป่า เป็นสัททตัณหาตรึงสัตว์โลกให้มนุษย์เวียนอยู่ในภพทัดทรง ประดับดอกไม้ของหอมนั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ มีนุ่นสำลี เป็น "โผฏฐัพพตัณหา"

                       ศีล ๑๐ เพิ่มการไม่รับเงินและทอง

                       ศีล ๕, ๘ , ๑๐ รวมอยู่ในศีลของภิกษุหมด ศีลภิกษุเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลไม่มีที่สุด ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ มี ๓ ล้านกว่าสิกขาบท


ศีลเบื้องสูง

                       ๑. ย่อมเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์

                        คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามทำตามที่ทรงอนุญาต โดยทั่วไปมี ๒๒ สิกขาบท

                        "ศีล ๒๒ ขึ้นสู่พระปาติโมกข์ แต่ว่าข้อสำคัญทั้งนั้น ไม่ใช่ข้อเล็กน้อย เพราะฉะนั้นควรไหว้ควรบูชาภิกษุ ภิกษุที่ประพฤติในสิกขาบัญญัติน้อยใหญ่ของตัวได้น่าไหว้ น่าบูชานัก เป็นของยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย"

                        ๒. ถึงพร้อมด้วยอาจารมารยา และด้วยโคจร

                       ๒.๑ อาจารสัมปันโน ภิกษุเวลาเดินย่อมทอดตาลงมองชั่วแอกหนึ่ง เรียกว่า ตาตาย ทอดลง แม้จะเบิกตาขึ้นก็เพียงดูอันตรายเท่านั้น มิได้แสวงหาวิสภาคารมณ์ คือ รูปที่ชอบ

                        ภิกษุเดินอยู่ในความสำรวม เรียกว่า อินทรีย์สังวรทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายไม่ให้โทมนัสลอดเข้าประทุษร้ายใจ เรียก "อาจาระ"

                       ภิกษุสำรวมในมารยาทั้งกาย วาจา ใจ เป็นอัพโพหาริก ลงในเจตนา ไม่ประทุษร้ายใครประกอบด้วยเมตตา เป็นปุเรจาริก

                      ๒.๒ โคจรสัมปันโน ภิกษุไม่ไปในที่อโคจร แต่ไปในที่โคจรของตัว

ภิกษุไม่ไปหาหญิงแพศยา หญิงม่าย หญิงสาวใหญ่ ในเรื่องกิจอื่นนอกจากเขานิมนต์ ไม่สนทนาอย่างสามัญชน

                       ภิกษุไม่ไปโรงสุรา ยาฝิน โรงมหรสพ ที่ประชุมสนุกสนาน รวมถึงดูเขาชุมนุมกันรวมพลหรือในที่ที่เข้าไปแล้ว เขาติเตียน

                       ๓. เห็นภัยในโทษแม้เพียงน้อย

                       ภิกษุพึงระวังความบริสุทธิ์ของภิกษุไม่ให้กระทบสิ่งที่เป็นโทษ แม้ปลายผม เหมือนระวังเศษปฏิกูล

                       ภิกษุย่อมถอยใจออกห่างจากสิ่งที่เป็นอาบัติสิ่งที่เป็นโทษ เหมือนปีกไก่ที่ใส่ลงไปในไฟ ปีกไก่ย่อมงอกลับถอยออกมา

                       ๔. สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

                      ภิกษุในธรรมวินัย อยู่ในศีล ย่อมไม่ล้นกรอบของศีล อยู่ในกรอบของพระวินัยเหมือนมหาสมุทรรักษาน้ำไว้ไม่ให้ไหลบ่าท่วมไป

                      นี้จึงได้ชื่อว่า ภิกษุนั้นแหละอยู่ในศีลเบื้องบนส่วนสามเณรก็อยู่ในศีล ๑๐ ศีลเป็นของสูง ของละเอียด ผู้ปฏิบัติก็ต้องละเอียด จึงจะรักษาไว้ได้

                      "ศีลในเหฏฐิมศีล และอุปริมศีลทั้ง ๒ ประการ เป็นเบื้องต้นของพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาละโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลส นั้นเอง จึงต้องคอยระแวดระวังตั้งตนให้อยู่ในศีลจริง เหมือนพระอริยบุคคล"

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018813808759054 Mins