ธรรมนิยามสูตร

วันที่ 18 กค. พ.ศ.2560

ธรรมนิยามสูตร

 

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ ,  สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , ธรรมนิยามสูตร

 

(ธาตุธรรม)

๓๑ มกราคม ๒๔๙๗ 

นโม.....
เอวมฺเม สุตํ.....

 

                        เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนายกย่องธาตุธรรมว่า เป็นของเกิดขึ้นก่อนแม้พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

                        พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อภิกษุทั้งหลายที่วิหารเชตวัน ใจความโดยย่อว่า

                         อุปฺปาทา วา  "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความไม่บังเกิดขึ้น ของพระตถาคตเจ้าก็ดีธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ ตั้งมั่นแห่งธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว"

                        ธรรมนี้ลึกซึ้งนัก เราอาศัยกายมนุษย์ก็จริง แต่ว่าไม่รู้จักธาตุธรรมของมนุษย์ พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ จะเข้าใจพระสูตรนี้ได้ก็ต้องเข้าใจเรื่องธาตุธรรม และพระตถาคตเจ้าว่าอยู่ที่ไหน

                         พระตถาคตเจ้า คือ ธรรมกาย ตั้งแต่โคตรภูถึงอรหัตละเอียด "ธรรมกายนี่ตัวพระตถาคตเจ้า ทั้งนั้น" ธรรมกายจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดธาตุนั้นเขาตั้งอยู่แล้ว

                        ธาตุ นั้นเป็นเบาะของธรรม คือ เป็นที่ตั้งของธรรม


"ธาตุ" "ธรรม" มีรูปร่างอย่างไร

                        "ธาตุนั้นตัวจริงน่ะกลมๆ ธรรมตัวจริงก็กลมๆ เป็นดวงกลมๆ" ดวงกลม เล็กใหญ่ตามส่วน ตั้งแต่เล็กสุดจนกล้องส่องไม่เห็น และใหญ่ขึ้น ไปเต็มธาตุเต็มธรรมธาตุธรรมนี้แยกกันไม่ได้อาศัยกัน เหมือนกายและใจธาตุเป็นเบาะของธรรม ธรรมก็เป็นเบาะของธาตุได้

                         "เบาะ" เป็นภาษาพูด เปรียบอายตนะเป็นเบาะ คือที่ตั้ง ที่อาศัย เช่น ครรภ์มารดาเป็นเบาะ


อายตนะ (เปรียบเป็นเบาะ) มี ๒ อย่าง

                         ๑. โลกายตนะ เบาะของโลก เป็นอายตนะของชั้นกาม เช่น ครรภ์มารดา (มนุษย์อยู่ในอายตนะนี้ ไม่มีเกิดไม่ได้)ชั้นทิพย์ทั้ง ๖ชั้นรูปพรหม อรูปพรหม ล้วนมีเบาะตามชั้นของตน

                         ๒. ธรรมายตนะ นิพพานเป็นอายตนะอยู่ (เบาะนิพพาน)


ธาตุธรรมแบ่งออกเป็น ๒ คือ

๑. สสราคธาตุ สราคธรรม

                        ๑.๑)สังขตธาตุสังขตธรรม เป็นธาตุธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ บังคับบัญชาได้ ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียด

                        ๑.๒) อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู ถึง อนาคา (ทั้งหยาบทั้งละเอียดรวม  ๘ กาย)ธาตุเหล่านี้ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้เหมือนแก้วใสสะอาด

๒. วิราคธาตุวิราคธรรม

                       กายพระอรหัตทั้งหยาบละเอียด มีธาตุธรรมนิดเดียวกัน แต่ว่าละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นๆธาตุธรรมเหล่านี้เป็นตัวยืน เกิดก่อนพระพุทธเจ้า เป็นตัวผลิตสังขาร ให้เป็นติณชาติ รุกขชาติ หรือคนสัตว์


สังขาร มีอะไรบ้าง

สังขารเกิดขึ้น แยกโดยธาตุธรรม มี ๓ ประเภท คือ

                        ๑.ปุญญาภิสังขาร สังขารที่งดงาม

                        ๒. อปุญญาภิสังขาร สังขารที่ไม่งดงาม

                        ๓. อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่สังขารอรูปพรหม ในเนวสัญญานา สัญญายตนะและอสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป ได้รูปฌาน ๔ ในพรหมชั้น ๑๑


สังขารแยกอีกอย่างหนึ่ง มี ๒ ประเภท คือ

                        ๑.สังขารที่มีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) อาศัยกำเนิด ๔ (ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ)

                        ๒.สังขารที่ไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) เช่น ต้นไม้


สังขารทั้ง ๒ ประเภท ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์

                        " สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา" เป็นทุกข์แท้ๆ แต่ว่าทุกข์เหล่านี้ไม่เที่ยง เป็นละครของโลกชั่วครั้ง ชั่วคราวก็ลาโรงกันไป ถ้าว่าใครมีปัญญา ก็ปล่อยความยึดถือสิ่งไม่เที่ยงนั้นเสีย

                      "ถ้ารู้จริงตามธาตุธรรม เขาปรุงให้เป็นไปต่างหากละ ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่ไหน ไม่มีทั้งนั้น"

                      รู้จริงตามธาตุธรรม คือ "ธาตุ" เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง "ธรรม" ไม่ใช่ตัว ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เช่นกันอย่าเที่ยวหา หาแล้วจะทุกข์ท่านจึงยืนยันอีกครั้งว่า

                       " สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ปรุงตัวให้เป็นไปอีก ถ้าว่าไม่มีธรรมตัวก็ไม่มีไม่มีตัวธรรมก็ไม่มี อาศัยกัน

                       "ธรรม" เป็นดวงกลมใสอยู่กึ่งกลางกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียด ล้วนเป็นสังขตธาตุสังขตธรรม

                      ดวงธรรมกายธรรม กายธรรมพระโสดา กายธรรมพระสกิทาคา กายธรรมพระอนาคาทั้งหยาบและละเอียด ล้วนเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม

                      ยกดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตกับพระอรหัตละเอียดออกเสีย ดวงธรรมที่ต่ำกว่านั้น ลงมารวม ๑๖ ดวง คือธรรม แต่ไม่ใช่ตัว

                      "ดวงธรรมนั่นจึงไม่ใช่ตัว แต่ว่าเป็นที่อาศัยตัว ตัวต้องอาศัยดวงธรรมนั้น ถ้าดวงธรรมนั้นไม่มี ตัวก็ไม่มีสมมุติก็สมมุติด้วยกัน วิมุตติก็วิมุตติด้วยกันปัจจัย ปรุงแต่งได้ ก็ปรุงแต่งได้ด้วยกัน ปรุงแต่งไม่ได้ ก็ไม่ได้ด้วยกัน ขาดจากปัจจัยปรุงแต่ง ก็ขาดด้วยกัน เพราะเป็นตัวอาศัยกันอย่างนี้"

                       เมื่อรู้ชัดว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม เราก็จักตั้งใจแน่แน่วเข้าถึงธรรมกายให้ได้จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด เท่านี้เราก็จะเป็นสุขเกษมสำราญเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าไปทางไหน เราก็จะไปทางนั้น


ธาตุมีเป็นชั้นๆ อาจแบ่งแบบกว้างมีเพียง ๒ ประเภท

                       ๑. ภายนอกเป็น สราคธาตุ สราคธรรม  ประกอบด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศทั้งที่มองไม่เห็น จนกระทั่งเป็นไร่นาสัตว์ บุคคล ไม่มีที่สุด

                       ๒. เข้าไปในกลางของกลางหลุดจาก สราคธาตุ สราคธรรม เข้าถึง วิราคธาตุวิราคธรรม  เป็นชั้นๆ เข้าไป ใหญ่โตหนักเข้าไป ไม่มีที่สุด เต็มธาตุเต็มธรรม ไม่มีที่ว่าง

                       "ผู้เทศน์เองก็ได้ค้นคว้าหาเหตุผลเหล่านี้นักหนา แต่ว่ายังไปไม่ถึงสุด ไปยังไม่สุดในวิราคธาตุวิราคธรรม  ถ้าไปสุดเวลาไรละก็ วิชชาของผู้เทศน์นี่สำเร็จ เวลานั้น ภิกษุสามเณรจะต้องเหาะเหินเดินอากาศได้ัทันทีทีเดียว ไม่ต้องไปสงสัย ละเวลานี้กำลังไปอยู่ทั้งวันทั้งคืน วินาทีเดียวไม่ได้หยุดเลย ตั้งใจจะไปให้สุด วิราคธาตุ วิราคธรรม นี่แหละ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ นับได้ ๒๒ ปี ๖ เดือนเศษ เกือบครึ่งล่ะ จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรม  ถ้าว่าสุดแล้ว ก็รู้ดอกไม่ต้องสงสัยละ รู้กัน หมดทั้งสากลโลก ถ้าสุดเข้าแล้ว รบราฆ่าฟันก็เลิกกันหมด มนุษย์ในสากลโลก ร่มเย็นเป็นสุขหมด ไม่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ มีผู้เลี้ยงเสร็จ เป็นสุขเหมือนอย่างพระ เหมือนอย่างกับเทวดา เหมือนกับพระนิพพานสุขวิเศษไพศาลอย่างนั้น

                      พวกเราทั้งหลายนี้ไม่ได้ไปกันเลย ยังเฉยๆ อยู่ มัวชมสวนดอกไม้ในโลกนี่เอง ชมรูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็อยู่ที่เดียวนั่นเอง ไม่ได้ไปไหนกับเขาเลย นี่พวกจะไปก็มีภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรม แต่อ้าว..พอไปก็เลี้ยวกลับกันเสียแล้ว ไม่ไปกันจริงๆ ไปชมสวนดอกไม้อีกแล้ว ไปเพลิดเพลินในบ้านในเรือนกันอีกแล้ว กลับกลอกๆ อยู่อย่างนี้แหละจะเอาตัวไม่รอดชีวิตไม่พอ

                     เหตุนี้ให้พึงรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวของเรา จึงจะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม ได้ ที่จะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม น่ะ ต้องปล่อยชีวิต จิตใจนะไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ ปล่อยกันหมดสิ้นทีเดียว ต้องทำใจหยุดนั่นแหละจึงจะไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรม ได้ ต้องทำใจหยุด หยุดในหยุด ไม่มีถอยกัน ไม่มีกลับกันละ นั่นแหละจึงจะไปสุดได้ ถ้าใจอ่อนแอไปไม่ได้ดอก ต้องใจแข็งแกร่ง ทีเดียวจึงไปได้"

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.054496848583221 Mins