ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่ทําบุญ

วันที่ 04 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่ทําบุญ


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่ทําบุญ , สมาธิ , Meditation , การจัดสถานที่ทําบุญ , สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย , ทำบุญ , สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์ , สถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน

การจัดสถานที่ทําบุญ
         การจัดสถานที่ทําบุญในทางพระพุทธศาสนาทุกอย่าง ทั้งงานมงคลและอวมงคลนั้น เบื้องต้น เจ้าภาพ คือ เจ้าของงานจะต้องคํานึงถึงสถานที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ และเหมาะสมจะใช้เป็นสถานที่บําเพ็ญบุญกุศลทางพระพุทธศาสนาสําหรับจัดเป็นห้องพิธี อันประกอบด้วยสถานที่สําคัญ ๓ ประการคือ

         ๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
         ๒. สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์
         ๓. สถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน


สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
         โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ ตั้งไว้สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควร และนิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสําเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าขัดข้องเพราะสถานที่ไม่อํานวย ก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรอทิศได้ ทิศใดทิศหนึ่ง แต่ไม่นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะถือกันว่า ทิศตะวันตก เป็นทิศอัสดงศตแห่งพระอาทิตย์เป็นทิศแห่งความเสื่อม ไม่เจริญรุ่งเรือง

         โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น โดยมากนิยมตั้งไว้บนอาสน์สงฆ์ ทางต้นอาสน์สงฆ์ ประกอบด้วยสิ่งสําคัญ ๕ ประการ คือ

         ๑. พระพุทธรูป ๑ องค์ (นิยมพระปางมารวิจัย)
         ๒. กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมทั้งธูป ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย
         ๓. เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมทั้งเทียน ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย
         ๔. แจกัน ๑ คู่ พร้อมทั้งดอกไม้ประดับ และนิยมมีพานดอกไม้ตั้งบูชาด้วย
         ๕. โต๊ะหมู่ ๑ หมู่ (นิยมใช้โต๊ะหมู่บูชา)

         เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดหาสิ่งของที่ดีที่สุด ประณีตที่สุดเท่าที่สามารถจะหามาจัดได้ กล่าวคือ
         ๑. ธูป นิยมใช้ธูปหอมอย่างดี
         ๒. เทียน นิยมใช้เทียนเล่มใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน
         ๓. ดอกไม้ นิยมดอกไม้ที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ มีสีสวย ๑ มีกลิ่นหอม ๑ และกําลังสดชื่น ๑


สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์
         อาสน์สงฆ์ คือ สถานที่สําหรับพระสงฆ์นั่งนั้นนิยมจัดตั้งไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย และนิยมจัดแยกออกเป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากที่นั้งของคฤหัสถ์ชายหญิงประกอบด้วยเครื่องรับรองพระสงฆ์ ดังนี้
         ๑. พรมเล็ก สําหรับปูเป็นที่นั้งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป
         ๒. กระโถน
         ๓. ภาชนะน้ำเย็น
         ๔. พานหมากพลู-บุหรี่
         ๕. ภาชนะน้ำร้อน

         เครื่องรับรองพระภิกษุสงฆ์นั้น นิยมจัดดั้งไว้ด้านขวามือของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป โดยจัดดั้งกระโถนไว้ด้านในสุด จัดตั้งภาชนะนํ้าเย็นไว้ถัดออกมา จัดตั้งพานหมากพลู-บุหรี่ ไว้ถัดออกมาข้างนอก ส่วนภาชนะนํ้าร้อนนั้น นิยมจัดนํามาถวายภายหถัง เมื่อพระภิกษุมานั้งเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้านํามาตั้งไว้ก่อนนั้าร้อนจะเย็นเสียก่อน ทําให้เสียรสน้ำชา

         ถ้าสถานที่ห้องประกอบพิธีสงฆ์นั้นคับแคบ หรือสิ่งของเครื่องรับรองมีไม่เพียงพอที่จะจัดถวายให้ครบทั้ง ๙ ที่สําหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๙ รูป ก็นิยมจัดเครื่องรับรองเพียง ๕ ที่ ก็เพียงพอ คือ

         ๑. สําหรับพระเถระผู้เปีนประธานสงฆ์ จัดตั้งไว้ด้านขวามือของทําน หนึ่งที่
         ๒. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๒ กับรูปที่ ๓ หนึ่งที่
         ๓. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๔ กับรูปที่ ๕ หนึ่งที่
         ๔. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๖ กับรูปที่ ๗ หนึ่งที่
         ๕. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๘ กับรูปที่ ๙ หนึ่งที่


สถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน
         สถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น นิยมจัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ และนิยมจัดแยกออกเป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์ เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอาบัติโทษ เพราะนั่งอาสนะเดียวกับสตรีเพศ

         ถ้าสถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้นปูลาดเนื่องเป็นอันเดียวกับอาสน์สงฆ์ โดยปูเสื่อ หรือพรมเชื่อมเป็นอันเดียวกัน นิยมปูเสื่อหรือพรมผืนที่เป็นอาสน์สงฆ์กับผืนที่เป็นที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน โดยปูลาดกับกันออกมาตามลําดับและนิยมจัดปูลาดพรมเล็กสําหรับเป็นอาสนะที่นั่งของพระภิกษุแต่ละรูป เพื่อให้สูงกว่าที่นั่งของคฤหัสถ์อีกด้วย

         สถานที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น นิยมว่าจะต้องไม่ดีกว่า ไม่ประณีตกว่า และไม่อยู่ ณ ที่สูงกว่าอาสน์สงฆ์ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพคารวะแก่พระสงฆ์

         การปูลาดอาสน์สงฆ์ และอาสนะที่นั่งสําหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น โดยนั่วไป นิยมจัดแยกออกจากกันคนละส่วนเพื่อความสบายใจด้วยกันทุกฝ่าย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010686675707499 Mins