ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ

วันที่ 30 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
ระเบียบปฏิบัติรักษามารยาทในสังคม

ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ

การประณมมือ


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติรักษามารยาทในสังคม , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ , สมาธิ , Meditation , พนมมือ , มารยาทในสังคม , ทำบุญ , ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ

         การประณมมือ มาจากคําว่า "อัญชลีกรรม" คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประณม โดยให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัยในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ฟังพระสวดพระอภิธรรม และพังพระธรรมเทศนา เป็นต้น


วิธีการประณมมือ

        การประณมมือ นิยมปฏิบัติอย่างนี้ คือ ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ทั้งเป็นกระพุ่มมือประณมไว้ระหว่างอกให้ปลายมือทั้งขึ้นช้างบน นิ้วมือทั้งสองข้างทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมลํ้ากัน อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดกับชายโครง

         การประณมมือนี้ ถ้านิ้วมือกางห่างออกจากกัน ถือกันว่าเป็นกิริยาอาการที่แสดงออกให้ทราบถึงนิสัยของผู้นั้นว่าเป็นคนมือห่าง ตีนห่าง เป็นคนสุรุ่ยสุร่าย เป็นลักษณะของคนหยาบ คนมักง่าย คนยากจน

         การประณมมือนี้ เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทําด้วยความเรียบร้อย ทําด้วยความตั้งใจเคารพอ่อนน้อม ไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิกเป็นแง่งขิง แง่งข่านิยมตั้งกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก ไม่ยกให้สูงขึ้นไปจรดคาง หรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่พุง หรือวางไว้ที่หน้าตัก หรือวางไว้ที่หัวเข่า เป็นต้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0064629515012105 Mins