ระเบียบปฏิบัติการบรรจุศพ

วันที่ 25 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ

ระเบียบปฏิบัติการบรรจุศพ
 

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ , ระเบียบปฏิบัติการบรรจุศพ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , ศพ , พิธีศพ , งานศพ


การกําหนดวันบรรจุศพ
      การกําหนดวันประกอบพิธีบรรจุศพ (คือ การเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอความพร้อมที่จะจัดงานฌาปนกิจศพ หรือจะจัดงานพระราชทานเพลิงศพ) นั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก แบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ คือ

         ๑. การประกอบพิธีบรรจุศพ เมื่อได้บำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมครบ ๓ คืนแล้ว หรือ

         ๒. การประกอบพิธีบรรจุศพ เมื่อได้บำเพ็ญกุศลสัตตมวาร (คือ ทําบุญ ๗ วัน) แล้ว

         การจะกําหนดประกอบพิธีบรรจุศพ เมื่อไร ณ สถานที่ไหนนั้น เจ้าภาพศพจะต้องติดต่อสอบถามตกลงกับทางวัด หรือเจ้าหน้าที่ของสุสานที่จะประกอมพิธีบรรจุศพนั้นไว่ล่วงหน้าก่อนเพื่อความสะดวกเรียบร้อยดีงามด้วยกันทุกฝ่าย

         สำหรับศพที่ตั้งบำเพ็ญกุศลสวดพระอกิรรรมทุกคืนก็ดี  ทุก ๗ วันก็ดี ตลอดไปจนกว่าจะถึงงานบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร (ทําบุญ ๕๐ วัน) หรืองานบำเพ็ญกุศลสตมวาร (ทําบุญ ๑๐๐ วัน) หรองานฌาปนกิจศพ หรืองานพระราชทานเพลิงศพไม่นิยมประกอบพิธีบรรจุศพแต่อย่างใด


สถานที่บรรจุศพ
         สถานที่สําหรับบรรจุศพนั้น นิยมปฏบัติกันโดยมาก แบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ คือ

         ๑. การบรรจุศพ ณ ศาลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม วัดนั้น

         ๒. การบรรจุศพ ณ สุสานของวัดที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม นั้น หรือ

         ๓. การอัญเชิญศพไปบรรจุ ณ สุสานของวัดใดวัดหนึ่งหรือ ณ สุสานนอกวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง

         การบรรจุศพ ณ ศาลาที่ตั้งบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมวัดนั้น นิยมเริ่มประกอบพิธีบรรจุศพต่อจากได้บำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมครบ ๓ คืน เสร็จเรียบร้อยแล้วในคืนนั้นสืบต่อไปทันที หรือนิยมเริ่มประกอบพิธีบรรจุศพต่อจากได้บำเพ็ญกุศลสัตตมวาร (คือ ทําบุญ ๗ วัน) เสร็จเรียบร้อยแล้วในวันนั้นสืบต่อไปทันที

         การบรรจุศพ ณ สุสานของวัดที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมนั้น นิยมเริ่มประกอบพิธีบรรจุศพต่อจากได้บำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมครบ ๓ คืนแล้ว หรือนิยมเริ่มประกอบพิธีบรรจุศพต่อจากได้บำเพ็ญกุศลสัตตมวาร คือ ทํา บุญ ๗ วันเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยนิมนต์พระสงฆ์แห่งวัดที่ตั้งศพนั้นเป็นผู้นำศพไปยังสุสานที่จะประกอบพิธีบรรจุศพนั้น จำนวน ๑ รูปหรือหลายรูปก็ได้

         การอัญเชิญศพไปบรรจุ ณ สุสานของวัดใดวัดหนึ่ง หรือ ณ สุสานนอกวัดแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์แห่งวัดที่จะนำศพไปบรรจุนั้น เป็นผู้นำศพไปยังสุสานของวัดนั้น หรือนิยมนิมนต์พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งซึงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้าภาพศพ เป็นผู้นำศพไปบรรจุ ณ สุสานนอกวัดแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น


การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีบรรจุศพ
         ในการประกอบพิธีบรรจุศพนั้น นิยมจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบพิธีไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลาประกอบพิธี ดังต่อไปนี้ คือ

         ๑. ผ้าไตร หรือ ผ้าสบง หรือ ผ้าเช็ดตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับใช้ทอดให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลก่อนที่จะบรรจุศพอย่างน้อย ๑ ผืน หรือมีจำนวนมากเท่าจำนวนพระสงฆ์
ที่นิมนต์มาพิจารณาบังสุกุลนั้น

         ๒. ก้อนดินเล็กๆ ห่อด้วยผ้าสีดํา หรือห่อด้วยกระดาษสีดํา มีจำนวนมากเพียงพอแก่ผู้มาร่วมพิธีบรรจุศพนั้น (คนละ ๑ ก้อน)

         ๓. ดอกไม้สด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่มีสีสวย มีกลิ่นหอมและกําลังสดชื่น โดยมากนิยมใช้ดอกกุหลาบ มีจำนวนมากเพียงพอแก่ผู้มาร่วมพิธีบรรจุศพนั้น (คนละ ๑ ดอก)

         ๔. ธูป นิยมใช้ธูปหอม มีจำนวนมากเพียงพอแก่ผู้มาร่วมพิธีบรรจุศพนั้น (คนละ ๑ ดอก)

         ๕. กระถางธูป ๑ ลูก มีขนาดใหญ่พอสมคาร สำหรับใช้ปักธูปเคารพศพนั้น

         ๖. เหรียญเงิน ๑ บาท หรือเหรียญเงิน ๕ บาท จำนวน ๑ เหรียญ เป็นอย่างน้อย หรือมีจำนานหลายเหรียญก็ยิ่งดีสำหรับใช้ซื้อที่อยู่ให้แก่ศพนั้น ตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล


วิธีปฏิบัติในการประกอบพิธีบรรจุศพ
         วิธีปฏิบัติในการประกอบพิธีบรรจุศพนั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก แปงออกได้เป็น ๒ แบบ คือ

          ๑. อัญเชิญศพเข้าสู่ที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยก่อน

          ๒. อัญเชิญศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาบริเวณสุสานนั้นก่อน

         การอัญเชิญศพเข้าสู่ที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยก่อนแล้ว นิยมเริ่มประกอบพิธีดังต่อไปนี้ คือ

         เริมพิธีทอดผ้าบังสุกุล โดยเจ้าภาพศพเชิญท่านผู้ใหญ่เป็นประธานทอดผ้าบังสุกุล หรีอเจ้าภาพศพทอดผ้าบังสุกุลเองโดยวางทอดผ้าบังสุกุลไว้บนหลังหีบศพบัน แล้วนิมนต์พระสงฆ์ผู้นำศพให้พิจารณาผ้าบังสุกุล ครั้งละ ๑ รูป จนครบพระสงฆ์ทุกรูปที่นิมนต์มาในพิธีบรรจุศพนั้น

         เจ้าภาพศพเชิญท่านผู้มีเกียรติซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในพิธีนั้นเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุศพ โดยมอบก้อนดิน ๑ ก้อน ดอกไม้สด ๑ ดอก ธูป (ที่จุดไฟแล้ว) ๑ ดอก ให้แก่ท่านผู้เป็นประธานและมอบให้แก่ผู้มาร่วมพิธีบรรจุศพนั้นทุกคนอย่างเดียวกัน

         ท่านผู้เป็นประธานพิธีเริ่มประกอบพิธีบรรจุศพด้วยการวางก้อนดิน และดอกไม้สด ณ สถานที่บรรจุศพนั้น แล้วถือธูปประณมมือยกขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดอยู่ที่ดั้งจมูก ปลายนิ้วชี้ทั้งสองจรดอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับนึกอธิษฐานในใจว่า "ขอจงอยู่เป็นสุข ๆ เถิด'' จบแล้ว ปักธูปไว้ ณ กระถางสําหรับปักธูปนั้น แล้วน้อมตัวลงยกมือไหว้อีกครั้ง แม้ผู้มาร่วมพิธีทุกคนก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกัน

         เจ้าภาพศพนั้นนิยมนำเหรียญเงิน ๑ บาท หรือเหรียญเงิน ๕ บาท จํานวน ๑ เหรียญ เป็นอย่างน้อย หรีอมีจํานวนหลายเหรียญก็ยิ่งดี วางลง ณ สถานที่บรรจุศพนั้นพร้อมกับนึกในใจว่า "ข้าแต่ท่านเป็นเจ้าของที่ ข้าพเจ้าขอมอบเงินนี้เป็นค่าที่อยู่ให้แก่ศพนี้'' เสร็จแล้ว เป็นเสร็จพิธีบรรจุศพเท่านี้

          ถ้าประกอบพิธีบรรจุศพ ณ ศาลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมวัดนั้น นิยมไม่ต้องซื้อที่อยู่ให้แก่ศพแต่ประการใด

          การอัญเชิญศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาบริเวณสุสานนั้นก่อน นิยมเริ่มประกอบพิธีดังด่อไปนี้ คือ

          นิมนต์พระสงฆ์จํานวน ๕ รูป เป็นอย่างน้อย หรือมีจํานวนมากกว่านั้น มาประกอบพิธี ด้วยการสมาทานศีล ๕แล้วนิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกาและบังสุกุล พระสงฆ์ให้พรเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณผู้ตายแล้ว จึงอัญเชิญศพเข้าสู่ที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ เริ่มประกอบพิธีบรรจุศพดังกล่าวมาแล้ว

          ในการประกอบพิธีบรรจุศพนี้ บางท้องถิ่นก็นิยมมีการโปรยทานด้วย เพื่อเป็นการบําเพ็ญกุศลเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งอันเป็นการส่งเสริมเพิ่มเติมบุญบารมีของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วให้มีมากยิ่งขึ้นในคติวิสัยสัมปรายภพนั้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.016260933876038 Mins