ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ
ระเบียบปฏิบัติการจัดงานบำเพ็ญกุศลศพ
การจัดพิธีบำเพ็ญกุศลบังสุกุลปากโกศศพหรือปากหีบศพ
เมื่อได้นําศพเข้าบรรจุในโกศ หรือใบหีบศพแล้วและยกขึ้นประดิษฐานบนเครื่องตั้ง ประดับตกแต่งเครื่องประดับเรียบร้อยแล้ว
นิยมจัดพิธีบำเพ็ญกุศลสดับปกรณ์ หรือบังสุกุลปากโกศศพ โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณดักดิ์ ๑๐ รูป มาพิจารณาสดับปกรณ์ หรือบังสุกุลปากโกศศพ สำหรับพระศพหรือศพข้าราชการผู้ใหญ่ ซึ่งได้รับพระราชทานน้ำอาบศพและได้รับพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติศพ หรือ
นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จํานวน ๑๐ รูป หรือ ๕ รูปมาพิจารณาผาบังสุกุลปากหีบศพ สำหรับศพผู้มีเกียรติทั่วไป
เมื่อพระสงฆ์ทรงสมณดักดิ์ หรือพระภิกษุสงฆ์ธรรมดา (ซึ่งได้อาราธนาเตรียมไว้ก่อนแล้ว) มาพร้อมกันแล้วและเมื่อพิธีการทุกอย่างจัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นิมนต์พระสงฆ์ทั้งนั้นขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์
เข้าภาพงานศพนั้น เริ่มจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย และจุดเครื่องสักการบูชาที่หน้าเครื่องตั้งศพ ถ้ามีเครื่องทองน้อยตั้งอยู่ที่หน้าเครื่องตั้งศพด้วย ก็นิยมจุดเครื่องสักการ
บชาที่เครี่องทองน้อยนั้น แล้วหันค้านหน้าที่ดั้งดอกไม้ออกมาทางพระสงฆ์สดับปกรณ์ หรือบังสุกุล เพื่อให้ผู้ตายบูชาพระธรรม
พิธีกรเริ่มอาราธนาศีล พระเถระประธานสงฆ์ให้ศีลจบแล้วพระสงฆ์ทั้งนั้นตั้งพัดสวดมาติกาจบแล้ว
พิธีกรเริ่มทอดผ้าภูษาโยง (ถ้ามี) โดยยกผ้าภูษาโยงลงจากพานที่รองรับ วางไว้ที่พื้นอาสน์สงฆ์ แล้วจับชายผ้าภูษาโยงทอดไปตามพื้นอาสน์สงฆ์จนตลอดพระสงฆ์ทั้งนั้น หรือทอดด้ายสายโยงไปจนตลอดพระสงฆ์ทั้งนั้น เพื่อเป็นการทอดผ้าบังสุกุลต่อไป หรือ
เมื่อเจ้าภาพงานศพ จุดเครื่องสักการบูชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พิธีกรนำผ้าบังสุกุลเจ้าไปเชิญเจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลต่อไปทันที (โดยไม่ต้องอาราธนาศีล และไม่ต้องสวดมาติกา)
เจ้าภาพรับผ้าบังสุกุลมาทอดครั้งละผืน โดยวางขวางผ้าภูษาโยง หรือวางขวางค้ายสายโยงตรงจ้างหน้าพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป จนครบทุกรูป
เมื่อเจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วก็กลับไปนั้งที่เดิมพระสงฆ์ทั้งนั้นตั้งพัดพิจารณาผ้าบังสุกุลพร้อมกัน เจ้าภาพประณมมือฟัง
เมื่อพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลจบแล้ว พิธีกรพึงนําภาชนะสำหรับกรวดน้ำเจ้าไปให้เจ้าภาพ พระสงฆ์ทั้งนั้นตั้งพัดอนุโมทนา เจ้าภาพเริ่มกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายแล้วประณมมือรับพรต่อไป
เมื่อพระสงฆ์กำลังอนุโมทนานั้น พิธีกรพึงเก็บผ้าภูษาโยงหรือด้ายสายโยง เป็นเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลบังสุกุลปากโกศศพหรือปากหีบศพ
การจัดพิธีสวดพระอภิธรรมประจำคืน
การจัดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมประจำคืนนั้นนิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน จนครบสัตตมวารที่ ๑ คือ ครบ ๗ วัน
ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพบับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้ผู้มีความกตัญญกตเวทีได้รับจองเป็นเจ้าภาพบําเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือมีอุปการคุณแก่ตน ๆ ตามประเพณีนิยมของสังคม
การนับวันบําเพ็ญกุศลสัตตมวาร ปัญญาสมวาร และสตมวาร นั้น นิยมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ถึงแก่กรรมเป็นต้นไป คือ
เมื่อนับจากวันที่ถึงแก่กรรมไป ครบ ๗ วัน เรียกว่า "สัตตมวาร"
เมื่อนับจากวันที่ถึงแก่กรรมไป ครบ ๕๐ วัน เรียกว่า "ปัญญาสมวาร"
เมื่อนับจากวันที่ถึงแก่กรรมไป ครบ ๑๐๐ วัน เรียกว่า "สตมวาร"
การบำเพ็ญกุศลในวาระที่ครบ ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วันนั้น นิยมว่าเป็นงานส่วนรวมของคณะเจ้าภาพโดยตรงจึงไม่นิยมเปิดโอกาสให้ผู้ใดผู้หนึ่งรับเป็นเจ้าภาพโดยเฉพาะ
เมื่อบำเพ็ญกุศลในสัตตมวารที่ ๑ คือ ทําบุญ ๗ วันแล้ว ถ้ายังมีผู้มีจิตศรัทธารับจองเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมต่อไปอีก ก็นิยมเปิดโอกาสให้รับจองเป็นเจ้าภาพในสัตตมวารต่อๆ ไปทุกๆ ๗ วัน ซึ่งตรงกับวันที่ถึงแก่กรรม เช่น ถึงแก่กรรมวันอาทิตย์ ก็นิยมเปิดศพสวดพระอภิธรรมทุกๆ วันอาทิตย์ เป็นต้น จนครบ ๑๐๐ วัน หรือจนถึงวันพระราชทานเพลิงศพ หรือจนถึงวันฌาปนภิจศพ
การจัดงานบําเพ็ญกุศลสัตตมวาร
การจัดงานบําเพ็ญกุศลสัตตมวาร คือ ทําบุญ ๗ วันนั้นนิยมจัดเป็นงานบำเพ็ญกุศลพิเศษ โดยจัดให้มีรายการบำเพ็ญกุศลต่างๆ ตามกําลังศรัทธา และตามกําลังทรัพย์ที่จะอำนวยให้จัดทําได้ ซึงนิยมจัดงานบําเพ็ญกุศล ๒ วันบ้าง วันเดียวบ้าง
การจัดงานบำเพ็ญกุศล ๒ วัน
การจัดงานบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร คือ ทําบุญ ๗ วันนั้นถ้าจัดงาน ๒ วัน นิยมเริ่มงานพิธีบำเพ็ญกุศลตั้งแต่เย็นวันที่ครบ ๖ วัน และรุ่งขึ้นวันที่ครบ ๗ วันด้วย โดยมากมีรายการบําเพ็ญกุศล ดังต่อไปนี้
วันที่..........เดือน..............พ.ศ............. ตรงกับวัน...............ค่ำ เดือน.................
เวลา ๑๗.๐๐ น. พระราชาคณะแสดงพระธรรมเทศนาพระสงฆ์ ๔ รูป สวดรับเทศน์
เวลา ๑๘.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม
รุ่งขึ้นวันที่..........เดือน.............พ.ศ..............ตรงกับวัน................ค่ำ เดือน..................
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดถวายพรพระ
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์จํานวน............รูป
เวลา ๑๒.๓๐ น. พระภิกษุสงฆ์ จำนวน..............รูป สวดมาติกา และบังสุกุล
(นิยมจํานวนเท่าอายุผู้ตาย)
เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม
เวลา ๒๑.๐๐ น. ถวายเครื่องไทยธรรม ทอดผ้าบังสุกุลพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว เป็นเสร็จพิธี
การจัดงานบำเพ็ญกุศลวันเดียว
การบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร คือ ทำบุญ ๗ วัน แบบจัดงานบำเพ็ญกุศลวันเดียว นิยมจัดทำในวันที่ครบ ๗ วัน นับจากวันที่ถึงแก่กรรม เป็นต้นมา
ในปัจจุบันนี้ นิยมจัดงานบำเพ็ญกุศลแบบวันเดียวโดยมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาด้วยกันทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าภาพ ทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ผู้ได้รับอาราธนามาในงาน และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงไปได้อีกด้วย โดยมากนิยมจัดการบำเพ็ญกุศล ดังนี้
วันที่............เดือน..................พ.ศ..................ตรงกับวัน..........ค่ำ เดือน.....................
เวลา ๑๐.๐๐ น. พระราชาคณะแสดงพระธรรมเทศนา
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์จํานวน............รูป
เวลา ๑๒.๓๐ น. พระภิกษุสงฆ์ จำนวน..............รูป สวดมาติกา และบังสุกุล
เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม
เวลา ๒๑.๐๐ น. ถวายเครื่องไทยธรรม ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว เป็นเสร็จพิธี
การจัดงานบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร
การจัดงานบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร คือ ทำบุญ ๕๐ วันนั้น นิยมจัดพิธีการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เช่นเดียวกับการบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร (ทำบุญ ๗ วัน) ดังกล่าวมาแล้ว
ถ้ามีความขัดข้องในเรื่องการเงินก็ตาม มีความขัดข้องในเรื่องไม่อํานวยก็ตาม ก็นิยมขัดพิธีบำเพ็ญกุศลแบบรวบรัดให้เสร็จภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และไม่ต้องจัดถวายภัตตาหารอีกด้วย โดยมีรายการบำเพ็ญกุศลต่างๆ ดังต่อไปนี้
วันที่............เดือน..............พ.ศ.............ตรงกับวัน..............ค่ำ เดือน.................
เวลา ๑๗.๐๐ น. พระราชาคณะแสดงพระธรรมเทศนาพระสงฆ์ ๔ รูป สวดรับเทศน์
เวลา ๑๘.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม
เวลา ๒๑.๐๐ น. ถวายเครื่องไทยธรรม ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว เป็นเสร็จพิธี
การจัดงานบำเพ็ญกุศลสตมวาร
การบำเพ็ญกุศลสตมวาร ดือ ทําบุญ ๑๐๐ วันนั้น โดยมากนิยมขัดทำเป็นพิเศษกว่าการบำเพ็ญกุศล ๗ วัน และ ๕๐ วัน เพราะมีเวลาตระเตรียมสิ่งของต่างๆ ได้นาน
ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์ คือ ทั้งบุคคลที่ร่วมงานก็มีความเห็นพ้องต้องกัน ทั้งสถานที่ก็อํานวย ทั้งการเงินก็มีเพียงพอ ทั้งหนังสืออนุสรณ์งานก็จัดพิมพ์เสร็จทัน ก็นิยมขัดงานบำเพ็ญกุศลสตมวารนี้ควบคู่กับงานพระราชทานเพสิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพ คือ จัดงานติดต่อกันไปเลย
ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างยังไม่พร้อม ก็นิยมจัดงานบำเพ็ญกุศลสตมวารนี้เป็นงานหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับงานบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร และงานบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร ดังกล่าวมาแล้ว
ในการจัดงานบําเพ็ญกุศลครบ ๗ วันก็ดี ครบ ๕๐ วันก็ดี ครบ ๑๐๐ วันก็ดี ไม่นิยมพิมพ์การ์ดแจก เพราะถือกันว่าเป็นเรื่องการบำเพ็ญกุศลภายในของวงส์ญาติมิตรสหายและผู้มีความเคารพนับถือทั้งหลาย จะพึงแสดงความกตัญญูกตเวทีจัดการบำเพ็ญกุศลอุทีศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป ตามกําลังศรัทธาและตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ