​​​​​​​ระเบียบปฏิบัติการจัดข้าวบูชาพระพุทธ

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม

ระเบียบปฏิบัติการจัดข้าวบูชาพระพุทธ

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการจัดข้าวบูชาพระพุทธ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , การจัดข้าวบูชาพระพุทธ , บูชาข้าวพระ , บูชาข้าวพระพุทธ

เหตุผลในการจัดข้าวบูชาพระพุทธ

         สมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายนิยมนิมนต์พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานพระภิกษุสงฆ์ในพิธีบําเพ็ญกุศลตามบ้านเรือนของตน ๆ ดังมีบาลีว่า "พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ" แปลว่า "พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน" ดังนี้

         เมื่อถึงเวลาถวายภัตตาหาร ก็นิยมจัดภัตตาหารถวายแต่พระพุทธเจ้าเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับปัจจุบันนี้ที่นิยมนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีทําบุญงานมงคลตามบ้านเรือนคฤหบดี เมื่อถึงเวลาถวายภัตตาหารก็นิยมจัดภัตตาหารถวายสมเด็จพระสังฆราชเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง จัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์นอกนั้นอีกส่วนหนึ่ง ฉะนั้น

         เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็ยังนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งเป็นประธานสงฆ์แทนพระพุทธองค์ในพิธีบําเพ็ญบุญต่าง ๆ ทุกอย่างเช่นเดียวกันกับสมัยพุทธกาล

         เมื่อถึงเวลาถวายภัตตาหารก็ยังนิยมจัดภัตตาหารถวายพระพุทธรูปเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง และจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์อีกส่วนหนึ่ง เช่นเดียวภันกับสมัยพุทธกาลนั้นเอง


ความมุ่งหมายของการจัดข้าวบูชาพระพุทธ

        การจัดภัตตาหารถวายพระพุทธรูปนี้ มิใช่จัดไปถวายให้พระพุทธรูปฉันเหมือนอย่างจัดถวายให้พระภิกษุสงฆ์ฉันหรือไม่ใช่จัดไปเซ่นพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างจัดอาหารไปเซ่นภูตผีปีศาจ

        การจัดภัตตาหารไปถวายพระพุทธรูปนั้น เป็นการจัดไปถวายเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการจัดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น

        การจัดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่จัดถวายให้พระรัตนตรัยสูดดมกลิ่นธูปควันเทียน และกลิ่นหอมของดอกไม้ แต่จัดไปเพื่อบูชาพระคุณของพระรัตนตรัย ฉันใด การจัดภัตตาหารถวายพระพุทธรูปก็เพื่อบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น

        การจัดภัตตาหารบูชาพระพุทธรูปนั้น โดยมีความมุ่งหมายด้วยผลานิสงส์แห่งการบูชาด้วยภัตตาหารนี้ต่อไปในภายหน้าตนจะได้ไม่มีความขาดแคลนด้วยอาหาร ไม่ต้องอดอยาก จะมีความสมบูรณ์พูนสุขด้วยเรื่องอาหาร การบริโภคทุกประการ


วิธีการจัดภัตตาหารบูชาพระพุทธ

         ความจริงพระพุทธรูปนั้น เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทรงดํารงอยู่ในฐานะเป็นสังฆบิดร คือ ทรงเป็นพ่อของพระภิกษุสงฆ์

         การจัดสํารับคาวหวานบูชาพระพุทธ จึงนิยมจัดด้วยสํารับใหญ่ๆ จัดให้ดีกว่า ประณีตยิ่งกว่าจัดถวายพระภิกษุสงฆ์ เพราะเป็นการบูชาพ่อ ควรจะดีกว่า ประณีตกว่าจัดถวายลูกหรืออย่างน้อยก็นิยมจัดแบบเดียวกันกับจัดถวายพระภิกษุสงฆ์

         การจัดภัตตาหารคาวหวานสิ่งละเล็กละน้อย ใส่ภาชนะเล็กๆ เช่นเดียวภับจัดอาหารไปเซ่นภูตผีปีศาจนั้น เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง จะเป็นเหตุให้บุคคลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และเยาวชนทั้งหลาย อาจเภิดความเข้าใจผิดคิดไปว่าเป็นการจัดอาหารไปเซ่นพระพุทธเจ้า เพราะจัดอย่างเดียวกับจัดไปเซ่นผี

         สําหรับภัตตาหารที่จัดไปบูชาพระพุทธนี้ ถ้าจัดเป็นสํารับใหญ่ มีคาวหวานสมบูรณ์อย่างดี อย่างประณีตแล้ว เมื่อลากลับคืนมา ภัตดาหารนั้นย่อมเป็นสิริมงคล น่ารับประทาน ถ้าจัดใส่ภาชนะเล็ก ๆ มีคาวหวานสิ่งละเล็กละน้อยคล้ายกับจัดเซ่นผีแถ้วเมื่อลากลับคืนมา ความรู้สึกของคนเราว่า ไม่ใช่ของสิริมงคลไม่มีใครต้องการรับประทาน


วิธีการถวายข้าวบูชาพระพุทธ

         เมื่อพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จวนจะจบ หรือจบแล้ว พิธีกรนิยมยกสํารับคาวหวานไปตั้งที่หน้าบูชาพระโดยตั้งบนโต๊ะที่มีผ้าขาวปูรอง หรือตั้งที่พื้นมีผ้าขาวปูรอง แล้วเชิญเจ้าภาพหรือประธานพิธีมาทําพิธีบูชา พิธีกรไม่ควรจัดทําการบูชาเสียเอง

         เจ้าภาพหรือประธานพิธีพิงนั้งคุกเข่าจุดธูป ๓ ดอก ปักที่กระถางธูปแล้วประณมมือ กล่าวคําบูชาข้าวพระดังนี้


คําบูชาข้าวพระพุทธ

อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลียัง โภชะยัง สะอุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิฯ

(ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันสมบูรณ์ด้วยแกงและกับข้าวพร้อมกับน้ำอันประเสริฐนี้ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า) ฯ 

เมื่อกล่าวคําบูชาข้าวพระพุทธจบแล้ว นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง


การลาข้าวพระพุทธ

​​​​​​​         เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือพิธีกร นิยมจัดการลาข้าวพระพุทธ โดยการนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคําลาข้าวพระพุทธ ดังนี้


คําลาข้าวพระพทธ

เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ฯ
(ข้าพเจ้าทูลขอสิ่งที่เหลืออันเป็นมงคล)

         เมื่อกล่าวอําลาข้าวพระพุทธจบแล้ว เมื่อกล่าวอําลาข้าวพระพุทธจบแล้ว นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วยกสํารับไปได้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0043068170547485 Mins