ระเบียบปฏิบัติการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์

วันที่ 23 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม

ระเบียบปฏิบัติการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , จัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ , ภัตตาหาร , ถวาย

อาหารที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุสงฆ์
          อาหารที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ คือ อาหารที่เป็นอกัปปิยะไม่สมควรแก่สมณบริโภคขบฉัน ได้แก่ เนื้อ ๑๐ ชนิด และอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อ ๑๐ ชนิด เหล่านื้ คือ

๑. เนื้อมนุษย์ รวมทั้งเลือดมนุษย์ด้วย
๒. เนื้อช้าง
๓. เนื้อม้า
๔. เนื้อสุนัข
๕. เนื้องู
๖. เนื้อราชสีห์ (สิงโต)
๗. เนื้อเสือโคร่ง
๘. เนื้อเสือเหลือง
๙. เนื้อหมี
๑๐. เนื้อเสือดาว

          เนื้อสัตว์นอกจาก ๑๐ ชนิดนื้ ไม่ทรงห้าม แต่ทรงห้ามของดิบ คือ เนื้อที่ยังไม่ได้ทําให้สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ปลาดิบ เป็นต้น ทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุขบฉัน

          เนื้อสัตว์ที่ฆ่าเจาะจง เช่น ฆ่าปลา ฆ่าไก่ เป็นต้น เพื่อทําอาหารถวายแต่พระภิกษุสามเณรโดยตรง ซึ่งเรียกว่า "ลุททิสสะมังสะ'' แปลว่า เนื้อเจาะจง เป็นของห้ามไม่ให้พระภิกษุสามเณรขบฉัน ถ้าพระภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อเป็นของเฉพาะเจาะจงแก่ตน ฉันได้ ไม่มีโทษ

           ผลไม้ที่มีเมล็ดอาจเพาะเป็น คือ ผลไม้ที่ใช้เมล็ดปลูกได้ เช่น เงาะ ลําไย เป็นต้น และเหง้าที่ปลูกเป็น คือพวกเผือก มัน แห้ว เป็นต้น ทรงอนุญาตให้อนุปสัมบัน คือ บุคคลที่ไม่ใช่พระภิกษุ ได้แก่ สามเณร และคฤหัสถ์ ทําให้เป็นกัปปิยะเสียก่อน คือ ทําให้เป็นของสมควรแก่สมณะเสียก่อนแล้วฉันได้ไม่เป็นอาบัติ

           อาหารที่ปรุงด้วยสุราจนมีสี มีกลิ่น หรือมีรส ปรากฎรู้ได้ว่ามีสุราเจือปน ทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุขบฉัน ถ้าไม่มีสีไม่มีกลิ่น หรือไม่มีรสปรากฎ ฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ


อาหารที่สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์
           เนื้อสัตว์ (นอกจากเนื้อที่ทรงห้าม ๑๐ ชนิดดังกล่าวแล้ว) ทุกชนิด ซึ่งเป็นเนื้อที่เขาฆ่าเพื่อนํามาขายเป็นอาหารคนพื้นเมืองตามร้านตลาด เรียกว่า "ปะวัตตะมังสะ" แปลว่าเนื้อมีอยู่แล้ว เนื้อที่เป็นไปอยู่ตามปกติที่เขาทําให้สุกด้วยไฟแล้วอนุญาตให้พระภิกษุฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ

           สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อทําอาหารถวายแด่พระภิกษุโดยตรงแด่พระภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้สงสัยว่าเขาฆ่าเป็นการเฉพาะเจาะจงแก่ตน เช่นนี้ อนุญาตให้พระภิกษุฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ


วิธีการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์
           การจัดภัตตาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเวลาเช้า นิยมจัดอาหารประเภทอาหารเบา เช่น ช้าวต้ม โจ๊ก กาแฟ ขนมปัง เป็นต้น เพื่อสะดวกแก่เจ้าภาพที่ไม่ต้องตระเตรียมมากและเพื่อพระภิกษุจะได้มีโอกาสฉันภัตตาหารเพลได้ดี ทําให้ไม่เกิดความหิวในเวลาเย็นและค่ำคืน

           ถ้าจัดภัตตาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเวลาเพล นิยมจัดอาหารประเภทอาหารหนัก จัดแบบเต็มยศ และโดยมากนิยมจัดอาหารประเภทอาหารไทย ซึ่งถูกกับรสนิยมของพระภิกษุสงฆ์ที่ เป็นคนไทย และควรเป็นอาหารประเภทพื้นเมืองเป็นหลักอาจมีอาหารพิเศษแทรกบ้างสักอย่างสองอย่าง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013642764091492 Mins