ระเบียบปฏิบัติการทำบุญฉลองอัฐิ

วันที่ 26 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ
ระเบียบปฏิบัติการทำบุญฉลองอัฐิ
 

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ , ระเบียบปฏิบัติการเชิญผู้มีเกียรติขึ้นทอดผ้าบังสุกุลที่เมรุ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , อัฐิ , ทำบุญฉลองอัฐิ , งานศพ , ระเบียบปฏิบัติการทำบุญฉลองอัฐิ


การกำหนดงานทำบุญฉลองอัฐิ

         การกำหนดวันและเวลาทำบุญฉลองอัฐินั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก แบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ คือ
                   ๑. การทำบุญฉลองอัฐิ ตอนเย็นวันเผาศพนั้น
                   ๒. การทำบุญฉลองอัฐิ ตอนเช้าหรือตอนเพล วันรุ่งขึ้นจากวันเผาศพนั้น
                   ๓. การทำบุญฉลองอัฐิ เมื่อเจ้าภาพมีความพร้อมวันใดวันหนึ่ง

         การทำบุญฉลองอัฐิ ตอนเย็นวันเผาศพนั้น นิยมปฏิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพ ที่จัดให้การบำเพ็ญกุศลติดต่อกันไปจากงานเผาศพนั้น โดยจัดงาน ณ วัดที่เผาศพนั้น เพี่อรวบรัดงานบำเพ็ญกุศลให้แล้วเสร็จภายในวันเผานั้นเลยทีเดียว ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป

         การทำบุญฉลองอัฐิ ตอนเช้าหรือตอนเพล วันรุ่งขึ้นจากวันเผาศพนั้น นิยมปฏิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพมีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศลทำบุญเก็บอัฐิ ในวันรุ่งขึ้น แล้วนำอัฐิและอังคารไปตั้งบำเพ็ญกุศลฉลองอัฐิ ณ บ้านเรือนของตน หรือ ณ วัดใดวัดหนึ่ง ตามความสะดวกของตนเป็นประการสำคัญ

         การทำบุญฉลองอัฐิ เมื่อเจ้าภาพมีความพร้อมวันใดวันหนึ่งนั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก ในเมื่อเจ้าภาพได้ตระเตรียมตัวพร้อมแล้วทุกประการ วันใดวันหนึ่งก็ได้ เพราะการทำบุญกุศลที่มีผลมาก มีอานิสงส์มากนั้น เจ้าภาพจะต้องมีความพร้อมด้วยศรัทธาและโภคะตั้งสองประการ


สถานที่จัดงานทำบุญฉลอง

        สถานที่สำหรับจัดงานทำบุญฉลองอัฐินั้น นิยมปฏิบัติกันโดยมาก แบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ คือ
                   ๑. จัดงานทำบุญฉลองอัฐิ ณ วัดที่เผาศพนั้น
                   ๒. จัดงานทำบุญฉลองอัฐิ ณ วัดใดวัดหนึ่ง
                   ๓. จัดงานทำบุญฉลองอัฐิ ณ บ้านเรือนของตนเอง


การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีทำบุญฉลองอัฐิ

        ในการจัดงานทำบุญฉลองอัฐินั้น นิยมจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีไว้ให้มีพรักพร้อมก่อนถึงวันและเวลาประกอบพิธีดังต่อไปนี้ คือ

         ๑. ผ้าไตร หรือผ้าสบง หรือผ้าเช็ดตัว อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับใช้ทอดให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลอัฐิ มีจํานวนเท่าพระสงฆ์ที่นิมนต์มาสวดพระพุทธมนต์ จำนวน ๕-๗-๑๐ รูป หรือมีจำนวนมากกว่านี้ก็ได้ ตามกําลังศรัทธาของเจ้าภาพ

         ๒. ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วน สำหรับใช้โยงจากอัฐิมาทอดผ้าบังสุกุล 

         โต๊ะสําหรับตั้งอัฐิและอังคาร ๑ ตัว หรือจะใช้โต๊ะบูชาก็ยิ่งดีพร้อมทั้งเครื่องสักการบูชาอัฐิ คือ กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมกับธูป ๑ ดอก และเชิงเทียนพร้อมทั้งเทียน ๑ คู่


การจัดงานทำบุญฉลองอัฐิ

         การจัดงานทำบุญฉลองอัฐินั้น นิยมปฏิบัติพิธีทำบุญเช่นเดียวกับพิธีทำบุญทั่วไปนั่นเอง มีความนิยมต่างกันบ้างเพียงบางประการ ดังต่อไปนี้ คือ

          ๑. นิยมไม่ต้องวงด้ายสายสิญจน์รอบอาคารบ้านเรือน

          ๒. นิยมไม่ต้องวงด้ายสายสิญจน์รอบฐานพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชา โยงมาให้พระสงฆ์ถือสวดพระพุทธมนต์

          ๓. นิยมไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำมนต์ เพราะพิธีทําบุญฉลองอัฐินั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญกตเวทีต่อท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ไม่ใช่ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพงาน

          ๔. นิยมจัดตั้งอัฐิและอังคารไว้บนโต๊ะ พร้อมกับตั้งรูปของผู้ตายด้วย(ถ้ามี) พร้อมทั้งมีเครื่องสักการบูชาอัฐิ คือ
                  - กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมกับธูป ๑ ดอก
                  - เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมกับเทียน ๒ เล่ม

         พร้อมทั้งจัดเตรียมวงด้ายสายสิญจน์รอบโกศอัฐิ-อังคาร-รูปภาพของผู้ตาย เพื่อใช้ทอดผ้าบังสุกุลให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลอัฐิและอังคารต่อไป

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016973654429118 Mins