ร่างกายดำรงภาวะปกติได้อย่างไร
การที่ร่างกายจะดำรงภาวะปกติได้นั้นอวัยวะทุกส่วนจะต้องทำงานพร้อมกันเป็นปกติ และต้องทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อเจาะลึกเข้าไปถึงหน่วยย่อยภายในของอวัยวะแต่ละอย่างก็จะพบว่า เซลล์ทุกเซลล์ต้องทำงานเป็นปกติด้วย อีกทั้งเซลล์ทุกเซลล์เหล่านั้น ก็ต้องทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีเช่นกัน
การที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งเซลล์ทุกเซลล์จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เป็นปกติ ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้
๑.๑. องค์ประกอบหลักภายในร่างกายปกติ
องค์ประกอบหลักภายในร่างกายที่จะช่วยสนับสนุนให้เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบทั้งหลาย สามารถทำหน้าที่ในสภาพปกติได้อย่างต่อเนื่อง มีพื้นฐานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
๑.๑.๑. มีสารอาหารน้ำ และออกซิเจนหล่อเลี้ยงร่างกายในปริมาณเพียงพอ
สารอาหาร นํ้า และออกซิเจนเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อไปขับเคลื่อนเซลล์ให้เกิดการทำงานของอวัยวะ ส่งผลเป็นการกระทำต่างๆของร่างกาย ดังนั้นเซลล์จึงต้องได้รับสารอาหาร น้ำ และออกซิเจน อย่างเพียงพอต่อเนื่องและทั้่วถึง ส่วนปริมาณความต้องการจะมากหรือน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายขณะนั้นๆ
๑.๑.๒. มีการกำจัดของเสียทิ้งทันท่วงที
ในขณะที่ร่างกายแปรเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นพลังงานจะต้องมีของเสียเกิดขึ้นทุกครั้ง ซึ่งของเสียจากกระบวนการชีววิทยาเหล่านี้ จะต้องถูกระบายออกจากเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ อย่างทันการ เซลล์เหล่านั้นจึงจะไม่แช่อยู่ในของเสียและทำงานต่อไปได้เป็นปกติ แต่ถ้ามีของเสียส่วนใดส่วนหนึ่งระบายออกไม่ได้ หรือได้แต่ช้าไป เซลล์ก็จมของเสีย สำลักของเสียแล้วตายในที่สุด
๑.๑.๓. มีการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างกัน ตลอดเวลา
การสื่อสารส่งลัญญาณสั่งการทำงานระหว่างเซลล์ต่อเซลล์เนื้อเยื่อต่อเนื้อเยื่อ อวัยวะต่ออวัยวะ และระบบต่อระบบต่างๆต้องมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา เพราะถึงแม้แต่ละส่วนจะทำงานของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่สัมพันธ์กัน ก็จะเกิดการกระทบกระทั่งกันเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นการขยับนิ้วมือเมื่อเรางอนิ้วหนึ่งนิ้ว เซลล์ต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอนิ้วหดตัว พร้อมกันนี้ กล้ามเนื้ออีกด้านหนึ่งจำเป็นต้องหย่อนลง ถ้ากล้ามเนื้อด้านหน้าหดตัว และด้านหลังก็หดตัวด้วย ไม่ยอมคลาย เราก็งอนิ้วไม่ได้ กลายเป็นกล้ามเนื้อสู้กันเอง เราก็จะรู้สึกเจ็บ
ความบกพร่องขององค์ประกอบหลักพื้นฐานภายในร่างกายที่สำคัญทั้ง ๓ ประการดังกล่าวแม้บกพร่องเพียงประการเดียว ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะหรือระบบนั้นๆ ได้อาจไม่ถึงกับทำให้อวัยวะเสียหายทันที แต่นานๆไปก็อาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คนเราเจ็บป่วย ก็คือ องค์ประกอบหลักภายในร่างกาย ๓ ประการ ดังกล่าวทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
๑.๒. ระบบการขนส่งขององค์ประกอบหลักภายในร่างกายมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบหลักทั้ง ๓ ประการดังกล่าวในขัอ ๑ นั้นไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง ร่างกายจึงต้องมีระบบการขนส่ง ๓ ระบบ ดังนี้
๑.๒.๑. ระบบหล่อเลี้ยงบํารุง กระแสเลือดในเส้นเลือดแดง มีหน้าที่นําอาหาร น้ำ และออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ถ้าเลือดไปไม่ถึง ณ ที่ใด ที่นั้นก็ขาดอาหาร น้ำ และออกซิเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา
๑.๒.๒. ระบบกำจัดของเสีย ท่อน้ำเหลืองและเส้นเลือดดำ มีหน้าที่ระบายของเสียต่างๆ ในร่างกาย โดยนำไปทำลายตามระบบของร่างกาย แต่ถ้าตรงไหนน้ำเหลืองและเลือดดำไม่สามารถไหลผ่านหรือทั่งค้าง ของเสียก็ระบายออกมาไม่ได้
๑.๒.๓. ระบบการสื่อสารสัมพันธ์ ร่างกายมีการสื่อสารสัมพันธ์ ด้วยการส่งสัญญาณทั่งการทำงาน ๒ ทาง คือ
๑) โดยผ่านเส้นประสาท
๒) โดยอาศัยฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนก็ไปกับเลือดและน้ำเหลือง
สำหรับการสื่อสารสัมพันธ์โดยอาศัยเส้นประสาทนั้น เนื่องจากเส้นประสาทมีเซลล์ที่มีชีวิตเป็นส่วนประกอบการที่จะทำงานได้ปกติ ต้องได้รับอาหาร น้ำ และออกซิเจนอย่างเพียงพอ และมีการระบายของเสียอย่างทันท่วงทีเช่นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าบริเวณใดการไหลเวียนถูกปิดกั้น เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ น้ำเหลืองก็เข้าไปไม่ทั่วถึง เส้นประสาทในบริเวณนั้นก็ได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอขณะเดียวกันการระบายของเสียออกก็จะทำได้ไม่สมบูรณ์มีผลให้การส่งสัญญาณสื่อสารบกพร่อง
ดังนั้น ถ้าระบบการขนส่งขององค์ประกอบหลักภายในร่างกายมีประสิทธิภาพ กล่าวคือระบบหล่อเลี้ยงบำรุงดำเนินไปได้ตลอดทั่วสรรพางค์กาย ระบบกำจัดของเสียปราศจากปัญหาการติดขัดคั่งค้าง ระบบการสื่อสารสัมพันธ์สามารถส่งสัญญาณสั่งงานได้ทั่วถึง ทุก ๆ เซลล์ ก็จะสนับสนุนให้องค์ประกอบหลักภายในร่างกาย ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ครบถ้วน
๑.๓. เส้นทางทำงานของระบบการขนส่งภายในร่างกายไม่มีการปิดกั้น
เส้นทางการขนส่งทุกเส้นในระบบการขนส่งขององค์ประกอบหลักภายในร่างกายทั่ง ๓ ระบบ ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ ท่อน้ำเหลือง รวมทั้งการส่งสัญญาณทางเส้นประสาทและฮอร์โมน ตามปกตินั้นต้องผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น (กลุ่มเส้นใยที่รวมกันเป็นมัดยึดปลายกล้ามเนื้อให้เชื่อมโยงกับกระดูก) และพังผืด ที่มีอยู่โดยตลอดทั่วร่างกาย
รูปที่ ๑-๑ ภาพตัดขวางของแขน
รูปที่ ๑-๒ แสดงการผ่าตัดส่วนประกอบของร่างกาย ออกทีละชั้น
ฟังผืด คืออะไร
พังผืด คือ เยื่อเหนียวบางๆ ที่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำหน้าที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทุกๆ ส่วนในร่างกายให้ยึดติดกันเป็นมัดๆ เมื่อตัดตามขวางของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ก็จะพบว่ากล้ามเนื้อทุกมัดมีพังผืดหุ้มอยู่ รวมทั้งกระดูกน้อยใหญ่ทั่วสรรพางค์กายก็มีพังผืดห่อหุ้มเช่นเดียวกัน
รูปที่ ๑-๓ ภาพตัดขวางของแขนแสดงการห่อหุ้มของพังผืด
ถ้ากล้ามเนื้อไม่มีพังผืดหุ้ม เวลากล้ามเนื้อหดตัวมันก็จะเละเนื่องจากไม่มีอะไรมายึดให้มันเกาะติดกัน กล้ามเนื้อที่หุ้มกระดูกสามารถรัดติดกับกระดูกได้ก็เพราะพังผืดนี่เอง ถ้าขาดพังผืดมาช่วยรัดไว้แล้ว เวลาที่กล้ามเนื้อหดตัว กล้ามเนื้อก็จะกระจัดกระจายกันไปคนละทิศละทาง
ด้วยเหตุที่พังผืดเกิดขึ้นก่อนกล้ามเนื้อ เล้นเอ็น และกระดูกมันจึงสามารถขยายตัวหุ้มไปเรื่อยๆ ดังกล่าวได้ แม้กระทั่งเยื่อที่ยึดอวัยวะภายในทั้งหลาย นับตั้งแต่ สมอง หัวใจ ปอด ลำไส้ ฯลฯให้ติดกับผนังด้านในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ก็คือ พังผืด ชนิดเดียวกันที่ขยายตัวห่อหุ้มอย่างต่อเนื่อง ต่างกันตรงพังผืดที่หุ้มกล้ามเนื้อเส้นเอ็น และกระดูกมีความเหนียวและหนากว่า จึงมักเรียกพังผืดที่หุ้มอวัยวะภายในว่า "เนื้อเยื่อยึดเหนี่ยว"
ดังนั้น เส้นทางการขนส่งขององค์ประกอบหลัก ภายในร่างกายทั้ง ๓ ระบบ จะมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสมบูรณ์เต็มที่ ก็ต่อเมื่อใม่มีการปิดกั้นจาก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและพังผืด
๑.๔. โครงสร้างของร่างกายต้องอยู่ในภาวะสมดุล
กล้ามเนื้อ เล้นเอ็น และพังผืด ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของโครงสร้างของร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดจะสามารถทำงานได้เป็นปกติ โดยไม่ไปปิดกั้นเส้นทางทำงานของระบบการขนส่งภายในร่างกายนั้นก็คือ โครงสร้างของร่างกายต้องอยู่ในภาวะสมดุลตามปกติด้วย