ดื่มน้ำอุ่นดีอย่างไร

วันที่ 01 มิย. พ.ศ.2561

ดื่มน้ำอุ่นดีอย่างไร


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , ดื่มน้ำอุ่นดีอย่างไร

            ร่างกายดูดซึมน้ำอุ่นได้ง่ายกว่าน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นมี อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย (อุณหภูมิปกติของร่างกาย ๓๗องศาเซลเซียส) ส่วนน้ำเย็นมีอุณหภูมิต่ำกว่าภายในร่างกาย

           กล้ามเนี้อหรืออวัยวะภายในเมื่อถูกน้ำเย็นจัดมากเท่าไรก็หดตัวมากเท่านั้น พอหดตัวการดูดซึมน้ำก็ไม่ดี การดูดซึมจะเริ่มดีขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายได้ปรับน้ำเย็นนั้น ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย แต่ถ้าเราดื่มน้ำอุ่น หรือจิบน้ำร้อนเข้าไปร่างกายก็จะดูดซึมได้ทันที

           ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะที่ต้องเดินทางผ่านทะเลทราย ซึ่งอากาศแห้งจัด ทั้งๆ ที่ระมัดระวังตัวเรื่องการฉันน้ำให้เพียงพออยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอาการขาดน้ำกะทันหัน คือ ปากแตก หน้าแตกปัสสาวะเหลืองอ๋อย พอรู้ตัวว่ามีอาการดังนี้ก็รีบฉันน้ำอย่างรวดเร็วแต่เป็นน้ำเย็น ไม่ว่าดื่มมากเท่าไหร่ๆ มันก็ออกหมด ดื่มน้ำไปสัก ๕ นาที ๑๐ นาที ก็ต้องเข้าห้องน้ำ ปัสส่าวะออกหมด ร่างกายไม่เก็บน้ำ จึงยังมีอาการขาดน้ำอยู่จนทำท่าจะมีอาการไข้

       ทันใดนั้นก็ฉุกคิดถึงสมัยที่หลวงพ่อยังเป็นเด็ก เคยเห็นผู้ใหญ่รุ่นพ่อรุ่นกัง ชอบจิบน้ำชาร้อนๆ และนั่งสนทนากันได้เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีใครลุกไปเข้าห้องน้ำ จึงขอน้ำอุ่นมาฉันไม่น่าเชื่อเลยว่า การเข้าห้องน้ำทุก ๆ ๑๐ นาที ได้ยึดเวลาออกไปเป็น ๒๐ นาที ครั้นฉันน้ำอุ่นเข้าไปเรื่อยๆ ทำให้ยืดเวลาไปได้ถึง ๑ ชั่วโมงจึงเข้าห้องน้ำ ต่อมาก็ยืดเวลาออกไปได้ถึง ๓ ชั่วโมงครั้นแล้วอาการขาดน้ำก็หายไป

          จากประสบการณ์ในครั้งนั้น จึงได้ข้อคิดว่า ครั้งใดก็ตามเมื่อรู้ตัวว่า ขาดน้ำ รู้ตัวว่าป่วย รู้ตัวว่ามีอาการไข้ร่างกายเริ่มไม่ปกติอย่าได้ดื่มน้ำเย็นเข้าไปเป็นอันขาด ถ้าเราดื่มน้ำยิ่งเย็นมากเท่าไรร่างกายจะยิ่งดูดซึมได้ใม่เต็มที่เท่านั้น เพราะว่าอุณหภูมิต่างกันมาก ร่างกายจึงขับทิ้ง แต่ถ้าดื่มน้ำอุ่นหรือจิบน้ำร้อน อุณหภูมิใกล้เคียงกัน ร่างกายจึงดูดซึมได้เต็มที่ และกลับฟื้นตัวสดชื่นได้เร็ว


การดื่มน้ำให้เพียงพอ
          การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั้นอย่าไปกําหนดเพียงว่าว้นนี้ต้องได้ปริมาณของน้ำ ๑๐ แก้ว หรือ ๒๐ แก้วแล้วพอ แต่ให้คำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่แวดล้อมตัวเรา และกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวันด้วยเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่า ตามปกดิในแต่ละวัน เราดื่มน้ำ ๑๐ แก้วก็เพียงพอแต่ถ้าวันใดไปยืนกลางแดดนานๆ หรือนั่งอยู่ในร่มแต่ถูกพัดลมเป่าทั้งวัน หรือออกกําลังกายทำให้เสียเหงื่อมากๆ อย่างนี้น้ำ ๑๐แก้วไม่พอแล้ว อาจจะต้องเพิ่มเป็น ๑๔ - ๑๕ แก้ว เป็นต้น

          มีวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ ก็คือ ปัสสาวะมีสีใสเหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป แสดงว่าการดื่มน้ำในวันนั้นเพียงพอแน่นอน แต่ถ้าปัสสาวะขุ่นคลั่กเหลืองอ๋อย หรือเป็นสีชาชงแก่ๆ ต้องดื่มน้ำเพิ่มเข้าไปอีกให้มากพอ

           ในการดื่มน้ำให้มากพอ ไม่ใช่ตลอดทั้งวันดื่มน้ำเพียง ๒ - ๓ ครั้ง โดยดื่มครั้งละมากๆ ถึง ๓ - ๔ แก้ว ถือว่ารวมแล้ววันนั้นก็ได้สิบกว่าแก้ว อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ ลองนึกถึงการรดน้ำต้นไม่ในกระถาง ถ้าตักน้ำมา ๑ ถัง แล้วรดลงไปครั้งเดียวจนหมดถังผลคือ น้ำส่วนใหญ่ไหลออกนอกกระถาง มาแฉะอยู่ที่พื้นดินใต้กระถาง แต่ถ้าน้ำ ๑ ถังเท่ากัน ใช้ขันตักน้ำรดลงไปครั้งละ ๑ ขันรดไปเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน ต้นไม้ในกระถางก็สามารถดูดซึมน้ำได้อย่างเต็มที่ น้ำที่ล้นทิ้งนอกกระถางจึงแทบไม่มีน้ำ ๑ ถังเท่ากัน แต่ประโยชน์ที่ต้นไม่ใต้รับกลับไม่เท่าถัน เราเองก็เช่นกัน ต้องดื่มน้ำให้เป็น ถ้าดื่มน้ำไม่เป็นคือดื่มน้อยครั้งแต่ครั้งละมากๆ เมื่อไปนั่งสมาธิภาวนาก็เดือดร้อน เพราะต้องเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ เดินทางไปทำงานก็เดือดร้อน หรือแม้แต่เวลานอนกลางคืนก็เดือดร้อน เพราะต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆไม่เป็นอันหลับนอน

             คนที่ดื่มน้ำเย็น พอตื่นเข้าขึ้นมา เขาจะรีบดื่มน้ำอุ่น ๒-๓ แก้วทันที เพื่อให้ร่างกายสดชื่นเร็วที่สุด

             ก่อนรับประทานอาหารเข้า อาจจะดื่มน้ำอีกสักแก้ว ครึ่งแก้วก็ได้แต่ไม่ควรมากกว่านั้น เพราะจะทำให้น้ำย่อยที่ออกมาตามเวลาเจือจางมากถึงกับทําให้รับประทานอาหารไม่ลง รวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลงไปมาก ครั้นหลังรับประทานอาหารเสร็จใหดื่มน้ำตามไปสัก ๑ แก้วทันที เพราะว่า กระเพาะและลำไส้เริ่มย่อยอาหารแล้ว จำเป็นต้องได้น้ำไปช่วยทำให้อาหารเหลวลง เหมือนกับเวลาโม่แป้งถ้าไม่หยอดน้ำเลย จะฝืดโม่ไม่ค่อยไปแต่พอหยอดน้ำแล้วหมุนโม่คล่องเชียว เพราะฉะนั้น หากเราไม่ดื่มน้ำเข้าไปเลย กระเพาะและลำไส้ต้องใช้แรงบีบ แรงเต้นมากแต่น้ำแก้วนั้นที่ดื่มตามเข้าไป จะช่วยบรรเทาแรงบีบตัวให้กระเพาะและลำไส้ไปได้เยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าวันไหนรับประทานเนื้อสัตว์มาก เช่น รับประทานขาหมูเข้าไปถึงหนึ่งขา ขาไก่อีกห้าขาสเต็กอีกชิ้นเบ้อเร่อ อย่างนื้ต้องดื่มน้ำตามไปอีกมากพอควรไม่อย่างนั้นกระเพาะและลำไส้จะออกแรงบีบจนล้า ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยเขาพบว่า ในขบวนการย่อยโปรตีน ต้องใช้น้ำในการทำปฏิกิริยาทางเคมีมากกว่าการย่อยแป้งและไขมันเสียอีก

           ทำไมไม่รีบดื่มให้ครบ ๒ - ๓ แก้วตั้งแต่ทีแรก ทั้งนี้เพราะถ้าดื่มรวดเดียวตั้งแต่ทีแรก น้ำย่อยจะเจือจางเกินไป น้ำเพียง ๑ แก้วในขั้นแรก ก็พอที่จะช่วยให้กระเพาะและลำไส้บีบต้วได้ง่ายขึ้นเมื่อน้ำย่อยเข้าไปแทรกอยู่ในอาหารเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้อาหารจะยังไม่ละเอียด ก็ไม่เป็นไร ถ้าดื่มน้ำตามเข้าไปอีก ๑ - ๒ แล้วโดยทิ้งระยะเป็นช่วงๆ กระเพาะและลำไล้ก็จะสามารถบีบตัวย่อยอาหารได้ง่าย จึงทำไห้เราไม่ง่วงไม่เพลีย

          สำหรับคนที่ต้องเดินทางออกจากบ้านในตอนเข้า เมื่อรับประทานอาหารเข้าเสร็จก็ดื่มน้ำเพียง ๑ แล้วก็พอ ในช่วงเวลา ๑ชั่วโมงต่อจากนั้น ถ้าไม่กระหายนัก ก็อย่าเพิ่งดื่ม ถ้ารูสึกกระหายก็แค่จิบน้ำเพียงนิดหน่อยเป็นระยะๆ ถ้าทําได้เช่นนี้ก็จะไม่ลำบากเรื่องการเข้าห้องน้ำระหว่างทาง ครั้นถึงที่หมายแล้ว จะดื่มน้ำอีกกี่แล้วก็ดื่มได้ตามความพอใจ ไม่กระทบต่อระบบการย่อยอาหาร

          ก่อนนอนก็เหมือนกัน ก่อนนอน ๒ ชั่วโมงอย่าดื่มน้ำมากถ้าในระหว่าง ๒ ชั่วโมงนี้ กระหายน้ำก็ดื่มเพียงเล็กน้อย มิฉะนั้นจะต้องลุกเข้าห้องน้ำในตอนดึกอีก

          ในกรณีบุคคลที่ไม่สามารถดื่มน้ำได้มากเหมือนคนทั่วไป เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจขั้นร้ายแรง (ห้วใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย) เป็นต้น คนไข้เหล่านี้ ถ้าดื่มน้ำมากๆ อาจจะทําให้เกิดอาการบวม หรืออาการเหนื่อยหอบได้ วิธีการดื่มน้ำอย่างไรให้เพียงพอ คงต้องไปปรึกษาแพทย์เป็นกรณีพิเศษ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0087891340255737 Mins