ร่างกายขาดน้ำทำให้เกิดผลเสียอย่างไร
เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของหารทำงานทุกระบบในร่างกายถ้าระบบต่าง ๆ ขาดน้ำก็จะทำให้ร่ายกายผิดปกติ ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ผลเสียจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ขาดน้ำว่า มากน้อยต่อเนื่องยาวนานแค่ไหน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างผลเสียซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายขาดน้ำ
อวัยวะภายในทำงานหนัก
เมื่อระบบทางเดินอาหารขาดน้ำ กระเพาะอาหารและลำไส้ก็ต้องทำงานหนักมากขึ้น ทั้งนี้เพราะในการบีบตัวเพื่อย่อยอาหารแต่ละครั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ต้องออกแรงมาก ทำนองเดียวกับเวลาเราบีบดินแห้ง ๆ ให้แตก ต้องออกแรงกว่าดินเปียก ๆ หรือดินโคลนในไม่ช้ากระเพาะหรือลำไส้ก็หมดแรง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการไหลเวียนของเลือดขาดน้ำมีผลทำให้เลือดข้นเพราะเลือดมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 90 เมื่อชเป็นเช่นนี้การไหลเวียนของเลือดข้นจึงส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
- หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เหมือนกับการที่เรานำปั้มน้ำไปปั้มโคลน ปั้มเลน เครื่องปั้มน้ำก็จะพังเร็ว เพราะว่าโคลนมันข้นและหนืดมากกว่าน้ำหล่ายเท่าตัว
- ปอดต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อฟอกเลือดต้องใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพื่อเปลี่ยนจากเลือดดำมาเป็นเลือดแดง เมื่อเลือดข้นการแลกเปลี่ยนออกซิเจนก็ไม่สมบูรณ์ เลือดดำก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเลือดแดงได้ครบถ้วนร้อยเปอร์เซ็นต์ ครั้นเมื่อเลือดดำหมุนเวียนกลับมาใหม่ ปอดก็ยิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้นไปอีก เพื่อจะเปลี่ยนให้เป็นเลือดแดงให้มากที่สุด
- ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะไตต้องกรองเอาของเสียออกจากเลือดข้น ๆ และต้องดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายใหม่ ปล่อยให้น้ำหลุดออกไปเป็นปัสสาวะน้อยที่สุดเพื่อรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย ใครที่ปัสสาวะสีเหลืองข้นบ่อย ๆ เป็นประจำ ระวังไตจะพิการเร็ว และกระเพาะปัสสาวะก็จะอักเสบบ่อยเพราะของเสียที่มาพักอยู่มีความเข้มข้นมาก เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะจึงถูกของเสียที่เข้มข้นกัดและทำลายตลอดเวลาที่ปัสสาวะตกค้างอยู่ ฯลฯ
ปวดศีรษะ
คนที่ขาดน้ำ จะมีอาการปวดศีรษะตุ๊บ ๆ เพราะการขาดน้ำทำให้เลือดข้น ปริมาตรของเลือดทั่วร่างกายจึงลดลง ระบบรักษาสมดุลของร่างกายจึงกระตุ้นเส้นเลือดให้หดตัว และเพิ่มอัตราการบีบตัวของหัวใจ เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ แต่เนื่องจากในเส้นเลือดแต่ละเส้น จะมีเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ แลัเส้นประสาทพันรอบเส้นเลือดด้วย พอเส้นเลือดหดตัว จึงส่งผลให้เส้นเลือดฝอย ๆ และแขนงเส้นประสาทถูกบีบ ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้รีบหารทางแก้ไข
ตามธรรมดาการสูบฉีดเลือกจากหัวใจขึ้นไปสู่ศีรษะจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกต้านไว้ เลือดที่ข้นและมีจำนวนน้อย จึงไปสู่ศีรษะได้น้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ที่ศีรษะยังมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก จึงไวต่อความรู้สึกปวดมากกว่าส่วนอื่น
จงพยายามสังเกตตัวเอง ขณะใดที่มีอาการดังกล่าวนี้ ให้รีบดื่มน้ำเข้าไปมาก ๆ เพื่อเพิ่มปริมาตรของเลือดให้กลับสู่ปกติ เส้นเลือดก็จะกลับสู่สภาพเดิม อาการปวดตุ๊บ ๆ ก็จะหายไปโดยไม่ต้องเพิ่มยาเลย
คัดจมูก
ในขณะที่ร่างกายขาดน้ำ น้ำที่มีอยู่ในตัวก็ร้อนราวกับจะเดือดขึ้น ทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะคิดว่าตนมีปริมาณน้ำในร่างกายมากเกินไปจึงล้นออกมา แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ให้นึกถึงหม้อน้ำรถยนต์ เวลาน้ำในหม้อน้ำแห้งลงไปมาก น้ำที่เหลือก็จะเดือด น้ำและไอน้ำก็จะทะลักออกมา ราวกับว่าน้ำในหม้อน้ำมีมากจนล้น
ไข้จากการขาดน้ำ
อาการไข้เป็นภาวะที่ภายในร่างกายมีความร้อนสูงเกินกว่าปกติ (ความร้อยภายในร่างกายปกติเท่ากับ 37 องศาเซลเซียส) ความร้อนที่สูงเกินกว่าปกตินี้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือ เกิดจากการได้รับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง และการขาดน้ำก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการไข้ได้
กลไกของไข้สูงจากการขาดน้ำเข้าใจได้ง่าย ๆ โดยลองนึกถึงหม้อน้ำรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้เติมน้ำ เมื่อรถยนต์วิ่งไปนาน ๆ จนน้ำในหม้อน้ำแห้ง ตัวเครื่องยนต์จึงไม่มีน้ำไปหล่อเลี้ยงในการช่วยระบายความร้อน จึงมีสัญญาณปรากฏโดยอัตโนมัติที่หน้าปัทม์เพื่อเตือนว่า ขณะนี้ตัวเครื่องยนต์มีความร้อนขึ้นสูงมาก ต้องรีบหารทางแก้ไขด่วน ร่างกายของเราก็ทำนองเดียวกัน มีความร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานออกมาตลอดเวลา จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ร่างกายกระทำ เมื่อน้ำในร่างกายเหือดแห้งลง ไม่มีน้ำไปช่วยหล่อเลี้ยงและระบายความร้อนออกทันท่วงที ความร้อนของร่างกายจึงสะสมขึ้นสูง ที่เรียกว่า เป็นไข้
แผลร้อนใน คออักเสบ และทอนซิลอักเสบ
แผลร้อนใน คออักเสบ และทอนซิลอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่เกิดได้บ่อย คือ การขาดน้ำ
เมื่อขาดน้ำ ความร้อนภายในร่างกายก็เริ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันเซลล์ก็ขาดน้ำหล่อเลี้ยง จึงขาดฉนวนคุ้มกันความร้อน เยื่อบุผิวบริเวณใดได้รับผลกระทบดังกล่าวมาก ก็เกิดปัญหาตามมามาก เพื่อให้เข้าใจง่าย ลองนึกถึงผิวหนังบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีลักษณะบวมแดง ถ้ารุนแรงมากก็จะโป่งพอง เป็นถุงใส ไ หากถุงเหล่านั้นแตกเมื่อใดก็จะเป็นแผลปวดแสบ สำหรับแผลภายในร่างกายที่เราเห็นกันได้บ่อย ๆ ก็คือ ในช่องปาก ขั้นแรกก็บวมแดงแล้วเกิดเป็นตุ่มใส ๆ ครั้นต่อมาก็แตกแล้ว ก็จะเป็นจุดแผลในช่องปาก มีอาการเจ็บปวด ขณะที่รับประทานอาหารอะไรก็จะปวดแสบยิ่งขึ้น ปู่ย่าตาทวดของเราเรียกแผลในช่องปากนี้ว่า แผลร้อนใน ถ้าเกิดขึ้นในลำคอก็ทำให้คออักเสบ หรือถ้าเกิดขึ้นที่ทอนซิล ก็ทำให้ทอนซิลอักเสบ
เนื่องจากในลำคอมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย จากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในช่องปากบ้าง จากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในทางเดินหายใจบ้าง ก็อาจจะกลายเป็นคออักเสบติดเชื้อหรือทอลซิลอักเสบติดเชื้อได้ มีไข้เจ็บคอไอ เสมหะเขียวข้นตามมาต้องหายาฆ่าเชื้อโรคมารักษา ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มตามมาอีก
ท้องผูก-ริดสีดวงทวารหนัก
ลำไส้ใหญ่มีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญ คือ ดูดน้ำจากกากอาหารกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือด หากร่างกายขาดน้ำ ร่างกายก็สั่งให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับคืนจากกากอาหารให้มากขึ้นไปกว่าเดิมอีก อุจจาระจึงแข็ง ยิ่งดูดน้ำออกมากอุจจาระก็ยิ่งแข็งมาก หากในกากอาหารนั้นไม่มีอาหารพวกเส้นใยอยู่เลย ก็ยิ่งอัดแน่นแข็งมากขึ้นไปอีก ครั้นถึงเวลาขับถ่ายลำไส้บีบให้ออกก็ออกยาก ท้องจึงผูก แล้วเวลาถ่ายความแข็งของอุจจาระก็ไปบาดครูดเนี้อเยื่อทวารหนัก เกิดการอักเสบหรือเป็นแผลบ่อย ๆ เข้าในที่สุดก็เป็นริดสีดวงทวารหนัก
นิ่ว
ถ้าดื่มน้ำน้อย คนเราก็จะไม่ใคร่รู้สึกปวดปัสสาวะ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การขับถ่ายปัสสาวะจะทิ้งช่วงห่าง เนื่องจากปัสสาวะยังมีปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะแล้วขับออกมาได้ จึงต้องค้างอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นเวลานาน ตะกอนที่อยู่ในปัสสาวะจึงตกค้างและค่อยๆ จับตัวกันเป็นก้อน ในที่สุดก็เกิดเป็นนิ่วในไต หรือนิ่วในท่อไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นอันตรายมาก
เส้นยึด
ร่างกายขาดน้ำ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดเหี่ยว เสมือนพืชผักสวนครัว ถ้าหากวันใดไม่ได้รดน้ำ ก้าน ใบ แม้กระทั่งลำต้น ก็จะเหี่ยวเฉา เพราะในกล้ามเนื้อมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 80
เมื่อเส้นเอ็นและพังผืดเหี่ยวก็จะเกาะติดกันเป็นแผงมิหนำซ้ำบางเส้นยังไขว้กันอีกด้วย แต่ต่อมาจะพยายามออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นเท่าไร บริหารยืดเส้นยืดสายอย่างไร อาการเส้นเอ็นและพังผืดก็ยากที่จะหลุดออกจากกันกลับคืนสู่สภาพปกติ เพราะฉะนั้นใครที่เส้นยึด ใครที่เท้าแพลงบ่อย ๆ ขอให้ทราบเถิดว่า สาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ ท่านไม่ค่อยเห็นคุณค่าของการดื่มน้ำ
ตื่นแล้วไม่สดขึ้น
บางคนเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ก็ยังรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนไม่อยากจะลุกขึ้น ทั้ง ๆ ที่นอนมาทั้งคืนแล้ว จึงมักจะคิดว่าตนคงจะเพลียมาก ยังพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่จริงๆ แล้วสาเหตุที่ทําให้รู้สึกเช่นนี้ ก็เพราะเขาสูญเสียน้ำขณะหลับไปตลอดทั้งคืน ครั้นตื่นเช้าขึ้นมาร่างกายจึงขาดน้ำ แต่ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วรีบดื่มน้ำเข้าไปสัก ๒ - ๓ แก้ว เซลล์ก็จะกลับชุ่มชื่นขึ้น เราก็จะรูสึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที เพราะฉะนั้นใครก็ตามเมื่อตื่นนอนแล้วรู้สึกหงอยเหงาขอนอนบิดขึ้เกียจต่ออีก เพราะรู้สึกว่า ยังนอนไม่พอ ก็ขอเตือนว่าให้รีบลุกขึ้นเร็วๆ เถิด อย่านอนอมขี้ฟันอยู่เลย แล้วดื่มน้ำเข้าไปสัก ๒-๓ แก้ว อาการเพลียก็จะหาย ความสดชื่นก็เข้ามาแทนที่
อิ่มแล้วง่วง
บางคนรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็ง่วง ถ้านั่งสมาธิก็จะหลับสัปหงก สาเหตุที่สำคัญคือ ดื่มน้ำน้อยไปหรือรับประทานอาหารมากไปจนไม่มีช่องว่างสําหรับน้ำ ทํา ให้อาหารในกระเพาะข้นมาก ยากต่อการย่อย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ทุกครั้งที่รับประทานอาหารให้เตือนตนว่า อีก ๔-๕ คํา จะอิ่มให้หยุดเสีย แล้วก็ดื่มน้ำเข้าไปสักแก้วหนึ่ง ใครก็ตามขณะที่รู้สึกว่าอีก ๔-๕ คำ จะอิ่มความจริงคืออิ่มแล้ว เพราะอาหาร ๔-๕ คำ ที่ เรารู้สึกว่า ยังขาดนั้นกําลังเดินทางยังไม่ถึงกระเพาะ ในทันทีที่ทั้งหมดถึงกระเพาะจะรู้สึกอิ่มพอดี บางคนพอพบกับข้าวอร่อยถูกปาก ทั้งที่อิ่มแล้ว ยังขอแถมอีก ๔-๕ คำ นั้นแสดงว่า เมื่อดื่มน้ำแล้ว ก็เกินไปตั้ง ๙ คํา ๑๐ คํา
ทำไมพระองค์จึงทรงสอนเช่นนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีที่ว่างในกระเพาะและลำไล้พอที่น้ำจะแทรกเข้าไปได้ อาหารก็จะเหลวลงซึ่งจะช่วยให้การบีบตัวของกระเพาะและลำไล้สะดวก ไม่ต้องออกแรงมาก ร่างกายจึงไม่เพลีย ไม่ล้า การย่อยอาหารดำเนินไปได้โดยง่าย อิ่มแล้วก็ไม่ง่วง นั่งสมาธิก็ไม่สัปหงก
สาเหตุของการขาดน้ำ
สาเหตุที่ร่างกายของคนเราขาดนํ้าที่พบบ่อย ๆ คือ
๑. ไม่ทราบกลไกและความสําคัญของน้ำ ที่มีต่อร่างกายแต่ละระบบ จึงดื่มน้ำน้อย ทําให้ไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
๒. ความพลั้งเผลอ เมื่อต้องไปทํางานอยู่กลางแดด หรือถูกลมโกรก หรืออยู่หน้าพัดลมนานๆ หรืออยู่หน้าเดาไฟ แม่ดื่มน้ำในปริมาณเท่ากับในเวลาปกติ ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำไกเ
๓. ไม่ได้ออกกําลังกายเป็นประจำ กล้ามเนื้อและพังผืดจึงหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา ทํา ให้การดูดซึมน้ำไม่ดี แม้จะดื่มน้ำเข้าไปมาก็ดูดซึมได้น้อย จึงเก็บน้ำไม่อยู่ ขับถ่ายออกเร็วและปัสสาวะถี่เข้าทำนองเดียวกับดินที่ไม่ได้พรวน ย่อมดูดซึมน้ำที่ราดลงไปได้น้อย รดลงไปมากเท่าไรก็ไหลไปที่อื่นหมด ร่างกายจึงขาดน้ำ
๔. ดื่มน้ำเย็นจัด ตามธรรมดาถ้าร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยแม้จะดื่มน้ำเย็นก็ม้กไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อใดร่างกายอ่อนแอถ้าดื่มน้ำเย็นจัดโดยเฉพาะน้ำใส่น้ำแข็ง หรือน้ำในตู้เย็นเข้าไปแล้วก็จะทำให้กล้ามเนื้อ กระเพาะ และลำไส้หดเกร็ง จึงดูดซึมได้ไม่ดีเพราะฉะนั้น พอดื่มน้ำเย็นจัดไม่ถึง ๕ นาที น้ำที่ดื่มเข้าไปส่วนใหญ่ก็จะถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะ ร่างกายจึงขาดน้ำไปโดยปริยาย
๕. เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นมาก ซึ่งมีสภาพอากาศแห้งอยู่แล้ว หากต้องพักอยู่ในห้องที่ใช้เครื่องทําความร้อน (Heater) จึงทำให้ร่างกายยิ่งขาดน้ำบางครั้งถึงกับทำให้เส้นเลือดฝอยแตก เลือดกำเดาออก
วิธีสังเกตอาการที่ร่างกายขาดน้ำ
อาการที่ร่างกายขาดน้ำ สามารถสังเกตได้จาก อาการปากแห้ง คอแห้ง กระหายนํ้า ปากแตก ผิวแตก เสียงแหบ ท้องผูกจัด ร้อนใน ฯลฯ
อาการดังกล่าวนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า ขณะนี้ร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ นั่นก็คือร่างกายได้ขาดน้ำแล้ว ยิ่งกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่เตือนว่า นิสัยที่ไม่ดี คือ ขาดความสังเกต มักง่าย เอาแต่ใจตน ได้เกิดขึ้นในตัว เราแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
อนึ่ง ยังมีวิธีสํารวจตรวจสอบตัวเองง่าย ๆ ว่า ร่างกายขาดน้ำหรือไม่ ก็ คือ หากปัสสาวะมีสีเหลือง ยิ่งถ้าเหลืองเข้มเหมือนกับน้ำชาชงแก่ๆ แสดงว่าขาดน้ำอย่างมาก ส่วนผู้ที่ปัสลาวะสีเหลืองอ่อนหรือปัสสาวะใส แสดงว่าร่างกายมีน้ำเพียงพอ