ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค

วันที่ 21 มิย. พ.ศ.2561

ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค

          การที่จะเข้าใจถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้โดยง่าย จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานบางประการ คือ

๑.๑. ความรู้พื้นฐานเรื่องอาการปวด
        ถ้าพิจารณาตามหลักสรีรวิทยาก็สามารถอธิบายได้ว่าอาการที่คนเรารู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้นเพราะ เนื้อเยื่อในบริเวณที่เจ็บปวด ขาดเลือดไปเลี้ยง และกําลังเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้น เช่น กำลังอักเสบหรือกำลังถูกทำลายระบบประสาทจึงส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้ร่างกายหาทางแก้ไข


๑.๒. ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบประสาท
         ระบบประสาทในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยสมองไขสันหลัง และเส้นประสาท โดยสมองและไขสันหลังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานของร่างกาย อาศัยการสื่อสารส่งลัญญาณผ่านไปทางเส้นประสาท ซึ่งเส้นประสาทจะแยกออกจากศูนย์กลางไปเป็นคู่ ๆ เส้นประสาทที่แยกออกทางด้านซ้ายจะไปเลี้ยงร่างกายทางด้านซ้าย ส่วนเส้นประสาทที่ออกทางด้านขวาก็จะไปเลี้ยงร่างกายทางด้านขวา แต่ละคู่มีอวัยวะเป้าหมายที่กำหนดไว้ชัดเจน

          ๑.๒.๑. องค์ประกอบเส้นประสาทแต่ละคู่
          เส้นประสาทแต่ละคู่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ


ส้นประสาทที่แยกไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

เส้นประสาทที่แยกไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

          ส่วนที่ ๑ เส้นประสาทสมอง ได้แก่ เส้นประสาทที่แยกออกจากส่วนต่างๆ ของสมอง มีทั้งหมด ๑๒ คู่ แยกไปตามอวัยวะต่างๆ ของส่วนหัวและคอ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กล่องเสียง กล้ามเนื้อบนใบหน้า เป็นต้น แต่มีพิเศษอยู่คู่หนึ่ง นอกจากเลี้ยงอวัยวะส่วนดังกล่าวแล้ว ยังแยกไปเลี้ยงอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้องด้วย

       ส่วนที่ ๒ เส้นประสาทไขสันหลัง ได้แก่  เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังตั้งแต่ระดับต้นคอจนถึงก้นกบ มีทั้งหมด ๓๑ คู่ แยกไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของส่วนคอ ลำตัว แขน ขา และอวัยวะภายใน


           ๑.๒.๒. หน้าที่เส้นประสาทแต่ละคู่
           เส้นประสาทแต่ละคู่ มีการแบ่งหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เป็น ๓ หน้าที่ คือ

           ๑) นำกระแสประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ เข้าสู่ระบบประสาทศูนย์กลาง เช่น เจ็บ ปวด ร้อน เย็น เป็นต้น

          ๒) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ     เพื่อให้เกิดการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งการสั่งการทำงานถูกควบคุมภายได้อำนาจจิตใจ

        ๓) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ  เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต  ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น ให้ทำงานอย่างสมดุลภายในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ขณะกำลังหลับ ซึ่งการสั่งการทำงานเกิดขึ้นเองนอกอำนาจจิตใจ เรียกว่า ระบบประสาทอัตโนมัติ


           ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น ๒ ระบบใหญ่ คือ

          ๑) พาราซิมพาเธติค ระบบประสาทนี้จะคู่ขนานไปกับ เส้นประสาท บางคู่ที่แยกออกมาจากสมอง และที่แยกออกมาจาก ไขสันหลัง ผ่านสองข้างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

        ๒) ซิมพาเธติค ระบบประสาทนี้พบในเส้นประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลัง เมื่อผ่านช่องของกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง แส้วก็จะมาผ่านปมประสาทที่มีการเชื่อมประสานกันของเส้นประสาท ชงอยู่ชิดตลอดแนวของกระดูกสันหลัง โดยส่งสัญญาณผ่านปมประสาทตั้งแต่ระดับท้ายทอยไปถึงระดับเอว

     อวัยวะแต่ละแห่งที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเธติคและซิมพาเธติคจะทพหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันไปเสมอ แต่จะทำหน้าที่ตรงข้ามกันกล่าวคือ อวัยวะบางแห่งซิมพาเธติคทำหน้าที่กระตุ้น ในขณะที่ พาราซิมพาเธติคทำหน้าที่ยับยั้งอวัยวะบางแห่ง ซิมพาเธติคทำหน้าที่ยับยั้งในขณะที่พาราซิมพาเธติคทำหน้าที่กระตุ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะรักษาภาวะสมดุลของร่างกายไว้ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เราวิ่ง ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก ซิมพาเธติค ก็จะกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดโลหิตเร็วและแรงขึ้น เพื่อเพื่มการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย เมื่อหยุดวิ่ง ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง พาราซิมพาเธติคก็จะทำหน้าที่ชะลอหัวใจให้สูบฉีดช้าลง และค่อยๆ กลับมาสู่การสูบฉีดโลหิตในภาวะปกติ เป็นต้น โดยสามารถสรุปการทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ ดังแสดงในรูปที่ ๒-๒


การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติต่ออวัยวะต่าง ๆ

การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติต่ออวัยวะต่าง ๆ


๑.๓ ความรู้พื้นฐานเรื่องโครงสร้างกระดูกสันหลัง
         กระดูกสันหลังแต่ละปล้องที่เชื่อมต่อกันแล้วจะมีช่องว่าเป็นที่ออกของเส้นประสาทแต่ละคู่ที่แตกออกมาจากไขสันหลัง


แสดงการแตกออกของเส้นประสาทจากไขสันหลัง

แสดงการแตกออกของเส้นประสาทจากไขสันหลัง


แสดงการแทรกของเส้นประสาทผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวกระดูกสันหลัง

แสดงการแทรกของเส้นประสาทผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวกระดูกสันหลัง


         เมื่อเส้นประสาทคู่ต่าง ๆ ที่แตกออกมาจากไขสันหลังผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังแล้ว จะต้องแทรกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่คอยยึดโยงตลอดแนวของกระดูกสันหลัง แล้วแต่ละคู่ก็จะแผ่ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในบริเวณที่มันทำหน้าที่ทั้งการสั่งการทำงานภาย ใต้อำนาจจิตใจ และการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ ซึ่งกล้ามเนื้อเส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวทั้งสองข้างของกระดูกสันหลังนี้ทำหน้าที่รักษาสมดุลของโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของ กระดูกสันหลัง

        จากความรู้พื้นฐานทั้งหมดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าถ้าโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะที่แกนของกระดูกสันหลัง มีการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ตาม กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ตามแนวกระดูกสันหลังนี้จะมีการดึงรั้งกันเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น และการไหลเวียนของเส้นประสาทที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังบริเวณนั้น ก็จะบกพร่องตามไปด้วยการส่งลัญญาณจึงบกพร่อง

        เส้นประสาทคู่ต่างๆ ที่ ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลัง ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั้งการทํางาน ภายใต้อำนาจ จิตใจและการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิดการปิดกั้นการส่งสัญญาณสั่งการทำงานที่ต้นทางเสียแล้วอวัยวะต่าง ๆ ที่ อยู่ระหว่างทางและปลายทาง ย่อมได้รับผลกระทบ ยิ่งนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียหายมากเท่านั้น ทำนองเดียวกับกิ่งไม้ใหญ่ที่หักร่องแร่งคาต้นใบไม้หรือผลของ กิ่งนั้นย่อมค่อยๆ เหี่ยวแห้งไปตามลำดับ และโดยเหตุที่ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคผ่านออกมาจากใต้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวของกระดูกสันหลังจึงมีโอกาสถูกปิดกั้น และทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการทำงาน แบบซิมพาเธติคได้มากกว่า พาราซิม พาเธติคในขณะที่เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตาม แนวกระดูกสันหลัง


อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกาย
         อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพต่างๆ ดังกล่าวแล้วอาจจัดลำดับพอสังเขปได้ดังนี้

๑. โครงสร้างกระดูกในร่างกายเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

๒. กล้ามเนื้อในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเกิดอาการเกร็ง

๓. กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด บริเวณที่เกิดอาการเกร็งเกิดการดึงรั้งกัน

๔. การดึงรั้งทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และท่อน้ำเหลือง ถูกปิดกั้น

๕. เมื่อการไหลเวียนไปยังเส้นประสาทไม่เพียงพอการส่งสัญญาณจึงบกพร่อง

๖. การส่งสัญญาณบกพร่อง จึงทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ ยิ่งนานเท่าไร ก็เสียหายมากเท่านั้น

๗. อาการของโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของอวัยวะนั้น ก็ปรากฏขึ้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013583032290141 Mins