ความเป็นมาของบทสวดมนต์
การสวดมนต์มีต้นเหตุมาจากการบูชา
ก็มักจะกล่าวคำบูชาด้วย จึงเป็นเหตุให้ได้สวดมนต์บูชา มีคาถา มีบทสวด เพื่อจะได้เกิดสิริมงคลต่อตนเอง
และโดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนชาวไทยชอบสวดมนต์และชอบทำบุญ ได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดในงานพิธีมงคลต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญเป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิต ในวาระต่างๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด งานแต่งงานเป็นต้น
เรียกว่า "พิธีเจริญพระพุทธมนต์"
ส่วนการทำบุญในงานอวมงคล เช่น งานศพ งานทำบุญครบรอบวันตาย ๗ วัน ๑๐๐ วัน ๑ ปี เป็นต้น
เรียกว่า "พิธีสวดพระพุทธมนต์"
งานมงคลและอวมงคลนั้นจะมีลักษณะงานที่แตกต่าง จำนวนพระสงฆ์ก็ต่างกัน
ในงานมงคลนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๙ รูป ตามคตินิยมของคนไทยที่ชอบลงท้ายด้วยเลข ๙ ซึ่งเป็นเลขคี่ หมายถึงความเจริญกัาวหน้า
แต่ความจริงแล้ว จะนิมนต์พระกี่รูปก็ก้าวหน้าและได้บุญเหมือนกัน
พิธีทำบุญแบบนี้ เราเรียกว่า ''พิธีเจริญพระพุทธมนต์"
บทสวดในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จึงมีความหมายเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อป้องกันทุกข์โศกโรคภัย เพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิต
เช่น มงคลสูตร รัตนปริตร ขันธปริตร และชยปริตร เป็นต้น
และในงานเช่นนี้ จะต้องมีการประพรมนํ้าพระพุทธมนต์
ส่วนในงานอวมงคลนั้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวม ๔ รูป หรือ ๑๐ รูป ซึ้งเป็นจำนวนคู่
บทสวดในงานอวมงคลนั้น มีความหมายเพื่อให้เห็นและเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและความตายเป็นธรรมชาติที่เหมือนกันในมนุษย์ทุกคน เช่น ธรรมนิยาม เป็นต้น
และพิธีทำบุญแบบนี้ เราเรียกว่า ''พิธีสวดพระพุทธมนต์''
ที่สำคัญงานเช่นนี้ ไม่นิยมทำน้ำมนต์หรือมีการประพรมน้ำมนต์
เพราะผิดหลักศาสนพิธี