ปฐมเหตุบัญญัติวัจจกุฎีวัตร ครั้งที่ ๑
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทก่อน หากไม่มีเหตุเกิดขึ้น การที่พระองค์ต้องทรงบัญญัติวัจจกุฎีวัตร ก็ด้วยมีเหตุการณ์อันไม่น่าเชื่อว่าจะ เกิดขึ้นได้ ดังเรื่องราวต่อไปนี้
สมัยพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่งถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างก้น ด้วยรังเกียจว่า เป็นของสกปรก ใครจักจับต้องของเลว มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ทั้งนี้เพราะภิกษุรูป นี้ มีชาติกำเนิดในวรรณะพราหมณ์ ซึ่งถือกันว่าเป็นชนชั้นสูงรองจากวรรณะ กษัตริย์ ท่านเกิดในตระกูลรํ่ารวย พรั่งพร้อมด้วยข้าทาสบริวาร ดูแลปรนนิบัติ รับใช้แม้กระทั่งล้างก้นให้ ด้วยเป็นความเชื่อ ของผู้อยู่ในวรรณะพราหมณ์ ว่า ตนเองนั้นเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม ส่วนพวกข้าทาสบริวารเป็นพวก วรรณะตํ่า เพราะเกิดจากเท้าของพระพรหม จักต้องเป็นข้ารับใช้ผู้อยู่วรรณะ สูงกว่า คือ วรรณะพราหมณ์ ท่านจึงมีความถือตัวจัด เป็นมิจฉาทิฏฐิตาม สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของท่าน ว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น เมื่อถ่ายอุจจาระ แล้ว ก็ต้องมีคนวรรณะตํ่ามาล้างก้นให้
ด้วยความมีสหชาติปัญญา ปัญญาติดตัวมาจากชาติที่แล้ว ท่านได้ ออกบวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งในพระวินัยห้ามพระภิกษุมีข้าทาสบริวาร รับใช้ ประจำตัว ท่านจึงไม่ล้างก้นหลังถ่ายอุจจาระ เพราะ
๑) ท่านไม่เคยทำด้วยตนเองมาตลอดชีวิตก่อนมาบวช
๒) มิจฉาทิฏฐิที่ยังเหลืออยู่ ก้นของท่านจึงเน่าเต็มไปด้วยหมู่หนอนยุ่บยั่บ
ความเชื่อของเหล่าวรรณะพราหมณ์ครั้งพุทธกาล และแม้ความเชื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิทำนองนี้ ก็ยังมีอยู่ในโลกยุคปัจจุบัน คือ การให้ความสำคัญกับ ชาติตระกูล ยศ ตำแหน่ง ความรํ่ารวย การมีการศึกษาสูง และความมีอำนาจ ว่ามีค่ามากกว่าการฝึกฝนตนเองให้มีศีลธรรมประจำใจและความประพฤติที่ ถูกต้องดีงาม คือ การฝึกตน ให้มีความประพฤติเหมาะสม สามารถพึ่งตนเอง ได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ” ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
นี้เป็นพุทธประสงค์ ที่ทรงต้องการให้พระภิกษุ รักการฝึกฝนตนเองให้ หมดกิเลส เพราะใครก็ทำแทนใครให้หมดกิเลสไม่ได้ นอกจากผู้นั้น ต้องปฏิบัติ ด้วยตนเอง ที่สำคัญพื้นฐานชีวิตจิตใจผู้ที่จะหมดกิเลสได้ จำต้องฝึกตนให้มี ความสะอาด มีระเบียบก่อน เพราะเป็นเหตุให้ใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว เป็นนิจ ทำให้ แยกถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป คุณ-โทษ ประโยชน์ตน-ท่าน ให้ถูกต้องได้ง่าย
ผู้มองข้ามความสะอาด และความมีระเบียบเสียแล้ว จะมองไม่เห็น ความจริงของโลกและชีวิต แต่จะเห็นความมียศถาบรรดาคักดิ์มีค่ามากกว่า การฝึกฝนอบรมตนให้มีความสะอาด มีระเบียบด้วยตนเอง จนกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ หมดกิเลส ความเข้าใจผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ ทำให้เกิด การยกตนข่มท่าน ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เคารพให้เกียรติกันและกัน เพราะมี ความถือตัวจัด ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้มีคุณงามความดี ให้น่าเคารพยกย่อง ไม่ได้ มีฝีไม้ลายมือ ความรู้ ความสามารถให้น่าเกรงขาม และไม่ได้มีความประพฤติ ถูกต้องตามแบบแผนหลักธรรมให้ถือเป็นแบบอย่างได้
พระภิกษุวรรณะพราหมณ์รูปนี้ ท่านก็มีมิจฉาทิฏฐิประเภทนี้ ตกค้าง อยู่ในใจ จึงถือตัวจัด ไม่เห็นโทษของความสกปรก และพิษภัยเชื้อโรคจากอุจจาระว่า จะบั่นทอนสุขภาพกายและจิตของท่าน ก่อความน่ารังเกียจใน การอยู่ร่วมกัน ท่านจึงไม่ล้างก้นด้วยตนเอง
ภิกษุรูปนี้เมื่อหมู่หนอนมั่วสุมที่ทวารหนักมากเข้า สุดจะทนทรมานต่อไป จึงแจ้งเรื่องแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านถูกสอบถามจากภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน ถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างทำความสะอาดก้นหรือ” ท่านก็ตอบตามความเป็นจริง ว่า “อย่างนั้น ขอรับ” ตรงนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าพระภิกษุชาติพราหมณ์รูปนี้ เป็นผู้มีสัจจะวาจา คือ ทำอย่างไรก็พูดอย่างนั้น พูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น เห็น คุณธรรมความดี คือ ความมีสัจจะ มีค่ามากกว่าชาติกำเนิดวรรณะพราหมณ์ ของตน จึงกล้าเปิดเผยความจริงที่ท่านกระทำ แม้กับพระภิกษุด้วยกัน โดย ไม่รู้สึกละอาย
บรรดาภิกษุผู้มีความมักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา คือเป็นผู้รักการฝึกฝนตน เพราะ
๑) ตั้งใจฝึกหัดขัดเกลาตนเองมาอย่างดีตามพุทธบัญญัติที่มีอยู่แล้ว
๒) มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าพอจะเตือนตนเองให้เลือกพูด เลือกทำ แต่สิ่งที่เป็นกุศลเหมาะต่อเพศสมณะของตน
ครั้นทราบเหตุการณ์ ได้พิจารณาคุณ-โทษการกระทำดังกล่าวด้วยกุศลจิต ครั้นพิจารณาเห็นโทษของการถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างก้น จึงกล่าวเตือน และชี้โทษให้พระภิกษุรูปนั้นเห็นระดับหนึ่ง ด้วยความปรารถนาดี รวมทั้ง โพนทะนา คือ บอกหมู่สงฆ์ที่อยู่ร่วมวัดให้ทราบโดยทั่วกัน มิใช่การจับผิด แต่ด้วยเมตตาจิต เพื่อร่วมกันพิจารณาหาข้อแก้ไขต่อไป เพราะเรื่องนี้ยังไม่มี วินัยพุทธบัญญัติไว้ก่อน เพื่อความอยู่สุขของพระภิกษุแต่ละรูป เพื่อความอยู่สุขร่วมกันของหมู่สงฆ์ทั้งชมพูทวีปในยุคนั้นและในอนาคตด้วย เหล่าพระ ภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบเรื่องแล้ว จึงทรงสอบถามภิกษุชาติพราหมณ์ ผู้ไม่ชำระหลังถ่ายอุจจาระนั้นว่า
“ข่าวว่า เธอถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ จริงหรือ”
ภิกษุ “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำธรรมีกถา คือ ทรงแสดงธรรม ชี้คุณ-โทษ การชำระ-ไม่ชำระล้างก้น และการทำ-ไม่ทำความสะอาดห้องสุขา ให้สะอาด หลังถ่ายอุจจาระ จากนั้นจึงทรงรับสั่งแก่พระภิกษุทั้งหลายเป็นพุทธบัญญ้ติว่า
“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อนํ้ามีอยู่ จะไม่ชำระไม่ ได้ รูปใดไม่ชำระต้องอาบัติทุกกฎ คือ มีโทษอันเกิดจากการกระทำละเมิด สิกขาบทอย่างเบา คือทุกกฎ” ซึ่งแปลว่ากระทำไม่ดี (ทุ : ชั่ว , ยาก)
การกระทำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งนี้ พวกเราชาวพุทธควรถือ เป็นแบบอย่าง คือ เมื่อมีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ผู้เป็นผู้นำไม่พึงนิ่งดูดาย แต่พึงรีบชำระความ ๑) ต่อหน้าผู้กระทำผิด ๒) ผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงนั้น และ ๓) เหล่าผู้กราบทูลเรื่องราวนั้น ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจถูกต้อง ตรงตามความ เป็นจริง พร้อมหน้ากันทุกฝ่าย จะได้ไม่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ตามความคิด เห็นของตนไปต่างๆนานา ในภายหลัง อันจะนำมาซึ่งความแตกแยกในหมู่สงฆ์ อนึ่งเมื่อทรงบัญญ้ติสิกขาบท ในเรื่องนี้แล้ว ทุกฝ่ายต่างได้รับฟังพร้อมกัน มีความเข้าใจตรงกัน ก็จะได้ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามพุทธบัญญ้ติเป็น แบบแผนเดียวกัน อันเป็นทางมาแห่งความเลื่อมใสศรัทธา และความเป็นปึกแผ่นของพระพุทธศาสนา
เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว
จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข