บรรพชาอุปสมบท
คำว่า "บรรพชาอุปสมบท" มาจากคำว่า "บรรพชา" กับคำว่า "อุปสมบท" รวมกัน มีความหมายดังนี้
"บรรพชา" ก็คือการบวช (แปลว่าเว้นจากความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายว่า "การบวชอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการอุปสมบท หรือการบวชเป็นสามเณร"
"อุปสมบท" มาจากคำบาลีว่า "อุปสมปทา" ซึ่งหมายถึงการบวชเป็น "ภิกษุหรือภิกษุณี"
เมื่อนำคำทั้ง ๒ มารวมกันเข้าจึงเป็น "บรรพชา อุปสมบท" หมายถึง การบวชในพระพุทธศาสนา โดยบวชเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงยกสามเณร (อุปสัมปทาเปกขะ) ขึ้นสู่อุปสมบทวิธีต่อไป จึงจะเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์ขอกล่าววิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นลำดับ ดังนี้
วิธีอุปสมบท ๘ อย่าง
กล่าวโดยประเภทตามที่มีปรากฏในตำนานทั้งหมดอย่างพิสดาร โดยเฉพาะบุคคล) มี ๘ อย่างคือ
๑.เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา อุปสมบทด้วยคำว่า "เอหิภิกขุ" ที่พระศาสดาทรงประทานเอง แก่พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นองค์แรก ๆ
๒.ติสรณคมนูปสมฺปทา อุปสมบทด้วยอันถึงสรณะทั้ง ๓ ทรงอนุญาตให้พระสาวกเป็นอุปัชฌาย์ (แต่ทั้งอุปัชฌาย์และผู้อุปสมบท ใครเป็นองค์แรกไม่ปรากฏ) ฯ
๓.โอวาทปฏิคฺคหญูสมฺปทา อุปสมบทด้วยรับคำสั่งสอน พระศาสดาทรงประทานเองโดยเฉพาะ แก่พระมหากัสสปะองค์เดียวเท่านั้น
๔.ปญฺหาพฺยากรณูปสมุปทา อุปสมบทด้วยกล่าวแก้ปัญหา พระองค์ทรงประทานเองโดยเฉพาะ แก่โสปากะสามเณรองค์เดียวเท่านั้น ๆ
๕.อฏฺฐครุธมฺมปฏิคฺคหญูปสมฺปทา อุปสมบทด้วยอันรับครุธรรมพระองค์ทรงประทานเองโดยเฉพาะ แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ
๖.ทูเตนอุปสมฺปทา อุปสมบทด้วยอันส่งทูตไป พระองค์ทรงประทานเองโดยเฉพาะแก่นางอัฑฒกาสีคณิกาคนเดียวเท่านั้น ๆ
๗.อฏฺฐวาจิกอุปสมฺปทา อุปสมบทด้วยกรรมวาจา ๘ ของนางภิกษุณีที่บวชแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือบวชด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ๒ หน จึงเป็นกรรมวาจา ๘ ฯ
๘. ญตฺติจตุตฺถกมฺมอุปสมฺปทา อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาพระศาสดาทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌายะ พระอุบาลีเป็นกรรมวาจา พระอานนท์เป็นอนุสาวนา อุปสมบทแก่ราธะภิกษุเป็นครั้งแรกๆผู้บวชด้วยกรรมวาจามีญัตติเป็นที่ ๔ ดังนี้ จึงชื่อว่าอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา
แต่ถ้ากล่าวโดยทั่วไป (ไม่เฉพาะบุคคล) ก็มีอยู่ ๓ อย่างเท่านั้น คือ เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา ๑ ติสรณคมนูปสมฺปทา ๑ ญตฺติจตุตฺถกมุมอุปสมฺปทา ๑ฯ
สรุปวิธีอุปสมบทเป็น ๓
แม้ในวิธีอุปสมบท ๘ อย่างนั้น เมื่อย่อเข้าแล้วก็เหลืออยู่ ๓ อย่างเท่านั้นเหมือนกัน คือ
ข้อ ๓ โอวาทปฏิคคหูปสมปทา, ข้อ ๔ ปญหาพยากรณูปสมปทา,ข้อ ๕ อฏฐครุธมฺมปฏิคคหญูปสมปทา, ข้อ 5 ทูเตนอุปสมปทา ทั้ง ๔ อย่างนี้มันลงใน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ฯ
ข้อ ๒ ติสรณคมนูปสัมปทาคงรูปเดิม ๆ
ข้อ ๗ อฏรวาจิกอุปสมปทา ย่นลงในญตฺติจตุตฺถกมฺุมอุปสมฺปทา ฯ