ข้อควรปฏิบัติหลังการสลายร่าง

วันที่ 28 กย. พ.ศ.2563

ข้อควรปฏิบัติหลังการสลายร่าง

 

630928_b.jpg

 

                   เก็บอัฐิ และทำบุญอัฐิ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หลังจากเผาศพจะนิมนต์ พระสงฆ์ไปที่เชิงตะกอน สวดบังสุกุลตาย พรมน้ำมนต์ที่กระดูก แล้วพระสงฆ์สวดบังสุกุลเป็นเพื่อแสดงถึงการเกิด แล้วจึงเก็บกระดูกใส่โกศไว้บนหิ้งบูชา หรือเก็บไว้ที่วัด เมื่อถึงวันตรุษสงกรานต์แต่ละปีจะนำโกศที่ใส่กระดูกไปวัดให้พระสงฆ์สวดบังสุกุล หรือนิมนต์พระสงฆ์ไปทำบุญที่บ้านเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว นับเป็นการทำบุญใหญ่ประจำปี

 

                  ขั้นตอนการเก็บอัฐิ เมื่อจัดฌาปนกิจเสร็จแล้ว บางรายอาจเก็บอัฐิในวันนั้น ทั้งนี้เพื่อฉลองเสร็จในวันเดียวกัน โดยเก็บอัฐิ ในเวลาประมาณ 19.00 น. แต่ส่วนใหญ่จะเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้น เมื่อเก็บอัฐิเสร็จตอนเช้าและนำอัฐิไปถึงบ้านแล้ว อาจทำบุญในวันนั้น หรือจะพัก 3 วัน หรือ 7 วันก็ทำได้

 

                เครื่องใช้ในพิธีเก็บอัฐิ
               • โกศสำหรับใส่อัฐิ
               • กล่องโลหะ ลุ้งโกศกระเบื้อง หรือหีบไม้ สำหรับใส่อัฐิที่เหลือ และอังคาร
               • ผ้าขาวสำหรับห่อกล่องโลหะ
               • ผ้าสำหรับทอดบังสุกุลก่อนเก็บอัฐิ
               • อาหารคาวหวานสำหรับพระสงฆ์

 

                  วิธีปฏิบัติในการเก็บอัฐิ

              • สัปเหร่อทำพิธีแปรอัฐิ โดยหันด้านศีรษะไปทางทิศตะวันตก แล้วนิมนต์พระสงฆ์สวดบังสุกุลตายเสร็จแล้วหันศีรษะของศพไปทางทิศตะวันออก แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลเป็น
              • เจ้าภาพเก็บอัฐิใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกาย 6 แห่ง คือ กะโหลกศีรษะ 1 ชิ้น,แขนทั้งสอง 2 ชิ้น, ขาทั้งสอง 2 ชิ้น, ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น
              • อัฐิที่เหลือรวมทั้งอังคารทั้งหมด ประมวลรวมเก็บใส่โกศกระเบื้องหรือหีบไม้ แล้วใช้ผ้าห่อเก็บไว้สำหรับนำไปบรรจุในเจดีย์หรือนำไปลอยน้ำต่อไป
              • เก็บอัฐิเสร็จแล้วนำอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์มาพิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จพิธี

 

 

“ส่งบุญ”
คู่มือจัดงานบำเพ็ญกุศลและสลายร่างผู้วายชนม์
เสียดาย...หากญาติผู้ตายไม่ได้อ่าน

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.044203547636668 Mins