พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรมนี้ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียงครั้งเดียว นิยมสวดในงานศพ มี ๗ คัมภีร์
พระสังคณี
ว่าด้วยปรมัตถธรรมที่ถูกจัดรวมเป็นหมวดเป็นหมู่
กุสะลา ธัมมา, ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวจรกุศลเป็นต้น ;
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น ;
อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลาง ๆ มีอยู่ มีผัสสเจตนาเป็นต้น ;
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย, ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ;
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง, จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ;
อุปปันนัง โหติ, ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน ;
โสมะนัสสะสะหะคะตัง, เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ ;
ญาณะสัมปะยุตตัง, ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้ คือ ปัญญา ;
รูปารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
สัทธารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
คันธารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพระพุทธบูชาเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
ระสารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วก็ยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
โผฏฐัพพารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในของอันถูกต้อง แล้วก็คิดให้ทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
ธัมมารัมมะณัง วา, มีจิตยินดีในที่จะเจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ;
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใด ๆ ;
ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโส โหติ, ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศล ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในสมัยนั้น ;
อะวิกเขโป โหติ, อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดานก็ย่อมบังเกิดขึ้น ;
เย วา ปะนะ ตัส๎มิง สะมะเย, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น ;
อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา, ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกันก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม ;
อะรูปิโน ธัมมา, เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป ;
อิเม ธัมมา กุสะลา. ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล.
พระวิภังค์
ว่าด้วยการแยกขันธ์ ๕ เป็นข้อ ๆ
ปัญจักขันธา, กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ ;
รูปักขันโธ, รูป ๒๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง ;
เวทะนากขันโธ, ความเสวยอารมณ์เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัสและอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง ;
สัญญากขันโธ, ความจำได้หมายรู้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันบังเกิดในจิต เป็นกองอันหนึ่ง ;
สังขารักขันโธ, เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่างๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้นให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง ;
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณจิต ๘๙ ดวงโดยสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง ;
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรบัาง ;
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอันใดอันหนึ่ง ;
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูปที่เป็นอนาคตอันยังไม่มาถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่ ;
อัชฌัตตัง วา, เป็นรูปภายในหรือ ;
พะหิทธา วา, หรือว่าเป็นรูปภายนอก ;
โอฬาริกัง วา, เป็นรูปอันหยาบหรือ ;
สุขุมัง วา, หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม ;
หีนัง วา, เป็นรูปอันเลวทรามหรือ ;
ปะณีตัง วา, หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง ;
ยัง ทูเร วา, เป็นรูปในที่ไกลหรือ ;
สันติเก วา, หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้ ;
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเข้ายิ่งแล้วซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน ;
อะภิสังขิปิต๎วา, พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว ;
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ. กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล.
พระธาตุกถา
ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสัมพันธ์ โดยถือธาตุเป็นหลัก
สังคะโห, พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑ ;
อะสังคะโห, พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑ ;
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว ;
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์ ;
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว ;
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันไม่ได้สงเคราะห์ ;
สัมปะโยโค, เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบพร้อมกับจิต ๕๕ ;
วิปปะโยโค, เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบแตกต่างกันกับจิต ;
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกันเป็นหมวดเดียว ;
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกันเป็นหมวดเดียว ;
อะสังคะหิตัง. พระพุทธองค์ ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่ควรสงเคราะห์ ให้ระคนกัน.
พระปุคคลปัญญัตติ
ว่าด้วยบัญญัติ ๖ อย่าง และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
ฉะ ปัญญัตติโย, ธรรมชาติทั้งหลาย ๖ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
ขันธะปัญญัตติ, กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
อายะตะนะปัญญัตติ, บ่อเกิดแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิต พึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
ธาตุปัญญัตติ, ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
สัจจะปัญญัตติ, ของจริงอย่างประเสริฐคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
อินท๎ริยะปัญญัตติ, อินทรีย์ ๒๒ เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง, แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ ;
ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ;
สะมะยะวิมุตโต, พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น ;
อะสะมะยะวิมุตโต, พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์ เป็นต้น ;
กุปปะธัมโม, ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูญไป ;
อะกุปปะธัมโม, ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมไม่กำเริบ ;
ปะริหานะธัมโม, ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง ;
อะปะริหานะธัมโม, ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย ;
เจตะนาภัพโพ, ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ในสันดาน ;
อะนุรักขะนาภัพโพ, ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ก็ตามรักษาไว้ในสันดาน ;
ปุถุชชะโน, บุคคลที่มีอาสวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน ;
โคต๎ระภู, บุคคลผู้เจริญในพระกรรมฐานตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู ;
ภะยูปะระโต, บุคคลผู้เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบี้องหน้า ;
อะภะยูปะระโต, พระขีณาสพ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว ;
ภัพพาคะมะโน, บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น ;
อะภัพพาคะมะโน, บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้มรรคผลในชาตินั้น ;
นิยะโต, บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริยกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น ตายแล้วไปตกนรกเป็นแน่ ;
อะนิยะโต, บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม ;
ปะฏิปันนะโก, บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะโนพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค ;
ผะเลฏฐิโต, บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ตามลำดับ ;
อะระหา, บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส ;
อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตผล เป็นผู้ควรแล้วเป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส.
พระกถาวัตถุ
ว่าด้วยคำถาม-ตอบในหลักธรรม เพื่อเป็นหลักในการตัดสินพระปรมัตถธรรม
ปุคคะโล, มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุคคลว่าหญิงว่าชาย ;
อุปะลัพภะติ, อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด ;
สัจฉิกัตละปะระมัตเถนาติ, โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันด้งนี้ มีอยู่หรือ ;
อามันตา, มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่
โย, มีคำถามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น ทั้งหลายเหล่าใด ;
สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน ;
ตะโต โส, โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น ;
ปุคคะโล, ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย ;
อุปะลัพภะติ, อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน ;
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ ;
นะ เหวัง วัตตัพเพ, มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์มีขันธ์ ๕ เป็นต้น เราไม่มีพึงกล่าวเชียวหนอ ;
อาชานาหิ นิคคะหัง, ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวแล้วผิด ;
หัญจิ ปุคคะโล, ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นขาย ;
อุปะลัพภะติ, อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน ;
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ, โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน ;
เตนะ, โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น ;
วะตะ เร, ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าอันเจริญ ;
วัตตัพเพ โย, ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น อันเราพึงกล่าว ;
สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม ;
ตะโต โส, โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น ;
ปุคคะโล, ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย ;
อุปะลัพภะติ, อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน ;
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ ;
มิจฉา. ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน.
พระยมก
ว่าด้วยปรมัตถธรรมคือ จิตและสิ่งที่อาศัยจิตเกิดคือเจตสิก
เย เกจิ, จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด ;
กุสะลา ธัมมา, ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
สัพเพ เต, จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ;
กุสะละมูลา, เป็นมูลเป็นที่ตั้งรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
เย วา ปะนะ, อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น ;
กุสะละมูลา, เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
สัพเพ เต ธัมมา, ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ;
กุสะลา, ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
เย เกจิ, จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด ;
กุสะลา ธัมมา, เป็นธรรมเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
สัพเพ เต, จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ;
กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เป็นมูลอันหนึ่ง ด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
เย วา ปะนะ, อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่าใด ;
กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เป็นมูลอันหนึ่ง ด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตควรสะสมไว้ ;
สัพเพ เต ธัมมา, ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ;
กุสะลา. ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้.
พระมหาปัฏฐาน
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นปัจจัยเกื้อกูลสนับสนุนกันและกัน ๒๔ อย่าง
เหตุปัจจะโย, ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข ;
อารัมมะณะปัจจะโย, อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อะธิปะติปัจจะโย, ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อะนันตะระปัจจะโย, จิตอันกำหนดโนวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง ๖ เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
สะมะนันตะระปัจจะโย, จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง ๖ พร้อมกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
สะหะชาตะปัจจะโย, จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อัญญะมัญญะปัจจะโย, จิตและเจตสิกคํ้าชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
นิสสะยะปัจจะโย, จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อุปะนิสสะยะปัจจะโย, จิตเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
ปุเรชาตะปัจจะโย, อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
ปัจฉาชาตะปัจจะโย, จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อาเสวะนะปัจจะโย, ชวนจิตที่แล่นไปซ่องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
กัมมะปัจจะโย, บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีหรือที่ชั่ว ;
วิปากะปัจจะโย, และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีหรือที่ชั่ว ;
อาหาระปัจจะโย, อาหาร ๔ มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อินท๎ริยะปัจจะโย, ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
ฌานะปัจจะโย, ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม ;
มัคคะปัจจะโย, อัฏฐังคิกมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร ;
สัมปะยุตตะปัจจะโย, จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกันเป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
วิปปะยุตตะปัจจะโย, รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
อัตถิปัจจะโย, รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันเป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ;
นัตถิปัจจะโย, จิตและเจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน ;
วิคะตะปัจจะโย, จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด จิตและเจตสิกในปัจจุบัน ;
อะวิคะตะปัจจะโย. จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน.