ธชัคคสูตร (ย่อ)
สูตรว่าด้วยธงรบในสงคราม นิยมสวดโนงานฉลองธงพระราชทาน
อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ตาม ;
มาระเสนัปปะมัททิโน. ผู้ทรงย่ำยีเสียได้ ซึ่งมารและเหล่าเสนาทั้งหลาย.
โกนาคะมะนัสสะ นะมัถถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ;
พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต, ผู้ทรงลอยบาปเสียได้ ผู้ทรงอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ;
กัสสะปัสสะ (จะ) * นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ;
วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ. ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง.
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระอังคีรสะสัมมาสัมพุทธเจ้า ;
สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต, ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากยราซ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ ;
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ, ซึ่งได้ทรงแสดงธรรมนี้ไว้ ;
สัพพะทุกขาปะนูทะนัง. อันเป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง.
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะลาภูตัง วิปัสสิสุง, อนึ่ง แม้ชนเหล่าใดโนโลก เห็นแจ้งธรรมตามความเป็นจริงดับกิเลสได้แล้ว ;
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา, ชนเหล่านั้น ไม่มีความส่อเสียด เป็นผู้ใหญ่โดยคุณธรรมปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว ;
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง, พากันนอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์โด ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
วิชชาจะระณะสัมปันนัง, ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ ;
มะหันตัง วีตะสาระทัง, ผู้ทรงถึงความเป็นใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้ามใด ๆ แล้ว ;
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะนันติ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะดังนี้ ;
นะโม เม สัพพะพุทธานัง, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าทั้งปวง ;
อุปปนนานัง มะเหสินัง, ผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ ซึ่งทรงบังเกิดขึ้นแล้ว ;
ตัณหังกะโร มะหาวีโร, คือ พระตัณหังกร ผู้ทรงกล้าหาญ ;
เมธังกะโร มะหายะโส, พระเมธังกร ผู้ทรงมียศใหญ่ ;
สะระณังกะโร โลกะหิโต, พระสรณังกร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลก ;
ทีปังกะโร ชุตินธะโร, พระทีปังกร ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา ;
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข, พระโกณฑัญญะ ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งหมู่ชน ;
มังคะโล ปุริสาสะโภ, พระมังคละ ผู้ทรงเป็นบุรุษประเสริฐ ;
สุมะโน สุมะโน ธีโร, พระสุมนะ ผู้ทรงเป็นปราชญ์ มีพระหฤทัยงดงาม ;
เรวะโต ระติวัฑฒะโน, พระเรวตะ ผู้ทรงเพิ่มพูนความยินดี ;
โสภิโต คุณะสัมปันโน, พระโสภิตะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณ ;
อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม, พระอโนมทัสสี ผู้ทรงอุดมในหมู่ชน ;
ปะทุโม โลกะปัชโชโต, พระปทุมะ ผู้ทรงทำโลกให้สว่าง ;
นาระโท วะระสาระถี, พระนารทะ ผู้ทรงเป็นสารถีผู้ประเสริฐ ;
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร, พระปทุมุตตระ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์ ;
สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล, พระสุเมธะ ผู้ทรงหาบุคคลเปรียบมิได้ ;
สุชาโต สัพพะโลกัคโค, พระสุชาตะ ผู้ทรงเลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ;
ปิยะทัสสี นะราสะโภ, พระปิยทัสสี ผู้ทรงเป็นนรชนประเสริฐ ;
อัตถะทัสสี การุณิโก, พระอัตถทัสสี ผู้ทรงมีพระกรุณา ;
ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท, พระธรรมะทัสสี ผู้ทรงบรรเทาความมืดคืออวิชชา ;
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก, พระสิทธัตถะ ผู้ทรงหาบุคคลเสมอมิได้ในโลก ;
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร, พระติสสะ ผู้ทรงประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ;
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ, พระปุสสพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ;
วิปัสสี จะ อะนูปะโม, พระวิปัสสี ผู้ทรงหาที่เปรียบมิได้ ;
สิขี สัพพะหิโต สัตถา, พระสิขี ผู้ทรงเป็นพระศาสดา เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ;
เวสสะภู สุขะทายะโก, พระเวสสภู ผู้ทรงประทานความสุข ;
กะกุสันโธ สัตถะวาโห, พระกกุสันธะ ผู้ทรงนำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส ;
โกนาคะมะโน ระณัญชะโห, พระโกนาคมนะ ผู้ทรงกำจัดเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส ;
กัสสะโป สิริสัมปันโน, พระกัสสปะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระสิริ ;
โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโว, พระโคตมะ ผู้ทรงประเสริฐแห่งหมู่ศากยราชทั้งหลาย ;
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา, พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี ;
อะเนกะสะตะโกฏะโย, ซึ่งนับจำนวนได้หลายร้อยโกฏิ ;
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา, พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้ทรงเสมอกันกับพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหาใครเสมอมิได้ ;
สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา, พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทรงมีมหิทธิฤทธิ์ ;
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา, ทุก ๆ พระองค์ ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ ;
เวสารัชเชหูปาคะตา, ทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ ;
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง, ทุก ๆ พระองค์นั้น ทรงปฏิญญาพระองค์ ในฐานะผู้มีคุณธรรมอันสูงสุด ;
สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา, ทรงเป็นผู้องอาจ บันลือกระแสธรรมดุจสีหนาท ท่ามกลางพุทธบริษัท ;
พ๎รัห๎มะจักกัง ปะวัตเตนติ, ยังพรหมจักรให้เป็นไป ;
โลเก อัปปะฏิวัตติยัง, ไม่มีใครคัดด้านได้ในโลก ;
อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา, ทรงเป็นผู้นำหมู่ชน เพราะประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ ;
ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตาสีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา, ทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ;
พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา, ทรงมีพระรัศมีอันงดงาม แผ่ออกจากพระวรกายโดยรอบข้างละวา ;
สัพเพ เต มุนิกุญชะรา, ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ;
พุทธา สัพพัญณุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา, ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญู เป็นพระขีณาสพเป็นผู้ชำนะซึ่งพญามาร ;
มะหัปปะภา มะหาเตชา, ทรงมีพระรัศมี และพระเดชมาก ;
มะหาปัญญา มะหัพพะลา, ทรงมีพระปัญญา และพระกำลังมาก ;
มะหาการุณิกา ธีรา, ทรงมีพระมหากรุณา และทรงเป็นจอมปราชญ์ ;
สัพเพสานัง สุขาวะหา, ทรงนำความสุขมาให้ แก่สัตว์ทั้งปวง ;
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ, ทรงเป็นดุจเกาะ เป็นดุจที่พึ่ง และเป็นดุจที่พำนักอาศัย ;
ตาณา เลณา จะ ปาณินัง, ทรงเป็นดุจที่ต้านทาน ซึ่งภัยทั้งปวง เป็นดุจที่หลีกเร้นของสัตว์ทั้งหลาย ;
คะตี พันธู มะหัสสาสา, ทรงเป็นที่ส่งใจถึง ทรงเป็นพวกพ้อง ทรงเป็นที่อุ่นใจอย่างยิ่ง ;
สะระณา จะ หิเตสิโน, ทรงเป็นสรณะ และเป็นผู้ทรงแสวงสิ่งเอื้อเกื้อกูล ;
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา, ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นที่มุ่งหวังแม้ในเบื้องหน้าแก่ประชาชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา ;
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม, ข้าพระพุทธองค์ ขออภิวาทพระบาทยุคล ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต, และขออภิวาท ซึ่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ทรงเป็นอุดมบุรุษ พร้อมทั้งวาจา และทางใจด้วย ;
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา, ทั้งในที่นอน ในที่นั่ง ในที่ยืน แม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อ ;
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง, ขอพระพุทธเจ้า ผู้ทรงสร้างสันติ จงรักษาท่านให้มีความสุขตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ;
เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต, ท่านเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรักษาแล้ว ;
มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ, จงเป็นผู้พ้นจากภัยทั้งปวง ;
สัพพะโรคะวินิมุตโต, พ้นจากโรคทั้งปวง ;
สัพพะสันตาปะวัชชิโต, หายจากความเดือดร้อนทั้งปวง ;
สัพพะเวระมะติกกันโต, ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง ;
นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ, และดับทุกข์ทั้งปวงได้เถิด ;
เตสัง สัจเจนะ สีเสนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ, ด้วยสัจจะ ด้วยศีล และด้วยกำลังแห่งขันติ และเมตตาของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, ขอพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน.
ปุรัตถิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ภูฅา มะหิทธิกา, เหล่าภูตทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศบูรพา ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้ภูตเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน.
ทักขิณัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา, เทวดาทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศทักษิณ ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน.
ปัจฉิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา, พญานาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศปัจฉิม ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้พญานาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน.
อุตตะรัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา, ยักษ์ทั้งหลาย ผู้มีฤหธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศอุดร ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้ยักษ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ, ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ;
ปุริมะทิสัง ธะฅะรัฏโฐ, ท้าวธตรฐ อยู่ประจำทิศบูรพา ;
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก, ท้าววิรุฬหก อยู่ประจำทิศทักษิณ ;
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข, ท้าววิรูปักษ์ อยู่ประจำทิศปัจฉิม ;
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง, ท้าวกุเวร อยู่ประจำทิศอุดร ;
จัตตาโร เต มะหาราชา, ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ;
โลกะปาลา ยะสัสสิโน, เป็นผู้มียศ คุ้มครองรักษาโลกอยู่ ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน.
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา, เทวดาผู้ประเสริฐทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่โนอากาศก็ดี สถิตอยู่บนภาคพื้นก็ดี ;
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, แม้เทวดาเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ;
อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ. ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียนเทอญ.