บารมี ๓ ระดับ
บารมี หรือ พุทธการกธรรม ธรรมอันยังสัตว์ให้ถึงฝั่งแห่งพระโพธิญาณนี้ ยังแบ่ง
ตามลำดับความยากง่ายของการบำเพ็ญได้เป็น ๓ ชั้น คือ
๑. บารมีอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง
๒. บารมีอย่างปานกลาง เรืยกว่า อุปบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอม
สสะได้แม้เลือดเนี้อและอวัยวะเพื่อความดีนั้น
๓. บารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฏ์ เรืยกว่า ปรมัตถบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่
ยอมสละได้แม้ด้วยชีวิต
เมื่อบารมีทั้ง ๑๐ จำแนกออกเป็นองค์ละ ๓ บารมีอย่างนี้ จึงรวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ เรืยก
เป็นศัพท์ว่า "สมติงสบารมี"
ดวงบุญ - ดวงบารมี
การจำแนกบารมีเป็น ๓ ระดับนี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ให้คำอธิบายอันเกิดจากการเห็นด้วยธรรมจักขุไว้ว่า บารมีนั้นเป็น "ดวง" ซึ่ง
กลั่นมาจากดวงบุญ ที่เกิดจากการลั่งสมคุณงามความดีอย่างต่อเนื่อง จากดวงบารมีก็กลั่นเป็น
ดวงอุปบารมี และจากดวงอุปบารมีก็กลั่นเป็น ดวงปรมัตถบารมี ดังปรากฏในพระธรรมเทศนาของท่านใน
เรื่อง "ของที่หาได้ยาก"1 ดังนี้ว่า
"การสร้างบารมีกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านะ ไม่ใช่เป็นของง่าย
ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี เป็นทั้งนั้น
ศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี เป็นทั้งนั้น
เนกขัมมบารมี เนกขัมมอุปบารมี เนกขัมมปรมัตถบารมี
ปัญญาบารมี ปัญญาอุปบารมี ปัญญาปรมัตถบารมี
วิริยบารมี วิริยอุปบารมี วิริยปรมัตถบารมี
ขันติบารมี ขันติอุปบารมี ขันติปรมัตถบารมี
สัจจบารมี สัจจอุปบารมี สัจจปรมัตถบารมี
อธิษฐานบารมี อธิษฐานอุปบารมี อธิษฐานปรมัตถบารมี
เมตตาบารมี เมตตาอุปบารมี เมตตาปรมัตถบารมี
อุเบกขาบารมี อุเบกขาอุปบารมี อุเบกขาปรมัตถบารมี เต็ม ๓๐ ทัศ
แต่ว่าบารมีหนึ่งๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไมใช่เป็นของง่าย
ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทาน ได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โต
เล็กเท่าไรไม่ว่า สร้างไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ
บุญมีคืบหนึ่ง เต็มเปี่ยมเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทีเดียว เอามากลั่นเป็นบารมีได้นิ้วเดียว
เท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ
กลั่นไปอย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าบารมีนั้นจะเต็มส่วน แล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมี
เอาบารมีนั้นแหละคืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว
แล้วเอาอุปบารมีนั้นแหละคืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว
บารมีก็ดี อุปบารมีก็ดี ปรมัตถบารมีก็ดี วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัวทุกบารมีไป มีทั้ง
๓๐ ทัศ จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยากนักเรื่องนี้ ยากนัก พระองค์จึงได้ทรงโปรดออกพระโอษฐ์ว่า
พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยากดังนี้ "
เชิงอรรถอ้างอิง
1มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากนํ้า (พระมงคลเทพมุนี), หน้า ๖๐๙