ความรู้เรื่องทาน ๕. อสัปปุริสทาน - สัปปุริสทาน

วันที่ 24 พค. พ.ศ.2564

25-5-64-3-b.jpg

๕. อสัปปุริสทาน - สัปปุริสทาน

           อสัปปุริสทาน คือ ทานของอสัตบุรุษ (อสัตบุรุษ คือ คนไม่ดี ไม่ฉลาดในการดำเนินชีวิต)
อสัตบุรุษ เมื่อให้ทานก็ให้ด้วยวิธีการที่ไม่ดี ไม่ฉลาด การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ไม่สมบูรณ์ ตามธรรมดา
คนที่ให้ทานจะได้ผลบุญ ได้อานิสงส์ที่ดีงามตอบสนองทั้งในปัจจุบันและอนาคตกาลข้างหน้า แต่ถ้า
เป็นอสัปปุริสทานแล้ว การให้นั้นแทนที่จะได้บุญกุศลมากก็กลับได้น้อย (เหมือนคนค้าขาย ลงทุนลงแรง
มาก แต่ทำไม่ดี ไม่ฉลาด ผลกำไรจึงได้น้อย) หรือแทนที่บุญจะส่งผลที่ดีล้วนๆ ก็กลับได้ดีปนเสียมาด้วย
ข้อนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า1

         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษย่อมให้
โดยไม่เคารพ ๑ ให้โดยไม่อ่อนน้อม ๑ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ๑ ให้ของที่เป็นเดน ๑ ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึง
ให้ ๑"

         สัปปุริสทาน อย่างที่ ๑
ส่วนทานของสัตบุรุษ คือ การให้ของคนดี คนมีปัญญา ผู้ฉลาดในการดำเนินชีวิตนั้นจะให้
ด้วยวิธีการที่ดี ซึ่งเมื่อให้แล้วทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ให้ดีขึ้น ประณีตขึ้น การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ที่
สมบูรณ์ทั้งผลและอานิสงส์ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัตบุรุษย่อมให้
โดยเคารพ ๑ ให้โดยอ่อนน้อม ๑ ให้ด้วยมือตนเอง ๑ ให้ของไม่เป็นเดน ๑ เห็นผลที่จะมาถึงให้ ๑"

           ดังนั้น คนดีมีปัญญา เมื่อจะให้ควรให้แต่สัปปุริสทาน ซึ่งนำความสุขความดีงามที่สมบูรณ์
มาให้ในการดำเนินชีวิต

         สัปปุริสทาน2 อย่างที่ ๒

         ยังมีการให้ของคนดีอีกอย่างหนึ่งใน "สัปปุริสทานสูตร" ดังนี้

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัตบุรุษย่อมให้
ทานด้วยครัทธา ๑ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑ ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๑ เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้
ทาน ๑ ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยครัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้น
เผล็ดผล (บังเกิดขึ้น)

(๒) ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มี
บุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

(๓) ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อม
เป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

(๔) ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
เป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

(๕) ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
ย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่
เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล"


เชิงอรรถอ้างอิง
1อสัปปุริสทานสูตร, พระสูตรและอรรถกถาแปล, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, เล่มที่ ๓๖, หน้า ๓๑๒.
2สัปปุริสทานสูตร, พระสูตรและอรรถกถาแปล, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, เล่มที ๓๖, หน้า ๓๑๔.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039533853530884 Mins