สิ่งที่คุณยายพร่ำสอน

วันที่ 01 ธค. พ.ศ.2564

641201br.jpg

สิ่งที่คุณยายพร่ำสอน 
          คืนนี้เป็นคืนที่ ๑๖ ของการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายแด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาตมาขอถือโอกาสแสดงธรรมถึงคุณธรรมของคุณยายอาจารย์ฯ ของเรา เพื่อเป็นกุศโลบายในการสร้างความดีแก่ทุกๆ ท่านต่อไป

          อาตมา เริ่มเข้าวัดสมัยเป็นนิสิตนักศึกษาปีที่ ๑ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) เป็นสมาชิกชมรมพุทธศาสตร์ฯ ในยุคนั้น ได้ยินได้ฟังกิตติศัพท์ ของคุณยายจากรุ่นพี่ๆ บอกเล่าคุณธรรมของท่านตลอดจนได้อ่านจากหนังสิอ "เดินไปสู่ศวามสุข" รู้สึกซาบซึ้งคุณธรรมของท่าน แล้วก็อยากจะได้พบตัวจริง อยากจะได้สนทนา อยากจะฝากตัวเป็นศิษย์

          มีความตั้งใจอยู่นาน จนกระทั่งประมาณช่วงเดือนตุลาคม    ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ วันนั้นเป็นวันที่ ๑๓ ปิดภาคเรียนพอดี ก็ตั้งใจมาช่วยเตรียมงานกฐินที่ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมซึ่งต่อมาก็เป็น วัดพระธรรมกายในปัจจุบัน

00.jpg

          การได้ไปร่วมกันเตรียมงานกฐินในครั้งนั้น มีรุ่นพี่ๆ หลายคนร่วมเดินทางไปด้วย พี่วันชัย จิระชุติโรจน์ ปัจจุบันท่านเป็นพระครูปลัดวันชัย สีลวณฺโณ ครั้งนั้นท่าน เป็นคนขับรถซึ่งในช่วงเวลาเย็น ท่านจะไปรับพวกเราที่อาคารชมรมพุทธฯ และขับรถพาพวกเรามาที่ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม กว่าจะเดินทางมาถึงก็ประมาณ ๖ โมงเย็นเศษๆ ประตูวัดด้านหน้าซึ่งเป็นประตูเหล็กใหญ่ก็ปิดแล้ว แต่เบื้องหลังของประตูนั้นมีพระภิกษุอยู่ ๒ รูป ซึ่งก็คือหลวงพ่อธัมมชโย กับหลวงพ่อทัตตชีโว ท่านทั้งสองกำลังเดินปรึกษางานกันอยู่ พอท่านเห็นรถของวัดเข้ามาก็ช่วยเปิดประตูให้ หลวงพ่อธัมมชโยเปิดประตูทางขวา หลวงพ่อทัตตชีโวเปิดประตูทางซ้ายให้รถเข้าไป

          พอรถผ่านพ้นประตูเข้าไปจอด รุ่นพี่ก็ลงไปกราบหลวงพ่อ แล้วแนะนำตัวหมดทุกคน คนนี้ชื่อ วิชา ซึ่งปัจจุบัน คือ พระมหาวิชา อธิวิชฺโช คนนี้ชื่อ สมชาย ซึ่งปีจจุบันคือ พระสมชาย สุคนฺโธ คนนี้ชื่อ.... พอมาถึงอาตมาก็ไม่แนะนำชื่อจริงกลับแนะนำชื่อเล่น น้องคนนี้ชื่อเล่นว่า "หมู" ตอนนั้น หลวงพ่อธัมมชโยกับหลวงพ่อทัตตชีโวกำลังคุยปรึกษางานกันอยู่ หลวงพ่อธัมมชโย คงอยากจะให้ทุกคนคลายเครียด จึงหันมาทางหลวงพ่อทัตตชีโวบอก "เอ้า ! หมูมาแล้ว งั้นเรื่องงานทุกอย่างที่คุยมาเมื่อสักครู่ก็เรื่องหมูๆ หมดเลยสิ ก็หมูมาแล้วนี่นา..."

       หลวงพ่อทัตตชีโวท่านก็ปล่อยฮา ! ใหญ่ เสียงดังลั่น พร้อมกับยํ้าคำว่า "หมูมาแล้วๆ" พอกราบเสร็จ ท่านก็ให้ไปเก็บของแล้วเข้าที่พัก รุ่งขึ้นค่อยเตรียมงาน การเตรียมงานกฐินในช่วงนั้นจะ เป็นงานโยธาเสียส่วนใหญ่ ทุกคนช่วยกันหมด สิ่งที่ต้องเตรียมเพิ่มก็คือ การยืมเครื่องมือเครื่องใช้ ของทุกอย่างขอยืมเกือบหมดเรียกว่า เอาของมากองรวมทั้งหมดแล้ว ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นของยืมทั้งนั้น

          กวาดสายตาไปรอบๆ ดูว่า ของวัดเองมีอะไรบ้างก็เห็นแต่ หนังลีอสวดมนต์ และองค์พระประธานนอกนั้นของยืมทั้งหมด ถามรุ่นพี่ว่า   เอ๊ะ ! เราทำไมต้องยืม ไม่มีของเราเองบ้างเลยหรือ เพิ่งมาครั้งแรก ถามไปเซ่อๆ อย่างนั้น รุ่นพี่ก็บอกว่า ตอนนี้ไม่มีสตางค์ซื้อหรอก            แล้วอีกอย่างคุณยายท่านสั่งไว้ให้ยืมเขาใช้จัดงานไปก่อนจากวัดรอบๆ หรือจากญาติโยมข้างวัด

          ต่อมา อาตมาได้ฟังนโยบายจากคุณยายท่านมีวัตถุประสงค์นะ ท่านบอกว่า วัดเราเป็นวัดใหม่เพิ่งสร้าง ยังไม่มีใครรู้จัก การที่เราไปยืมของเขาเท่ากับไปประกาศตัวเองกับหน่วยราชการ วัดต่างๆ องค์กร และสถาบันต่างๆ ว่าวัดนี้เกิดขึ้นแล้วนะ จะเป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรมสร้างบุญของสาธุชน มีนิสิตนักศึกษา มีเยาวชนไปปฏิบัติธรรมกันเยอะ อยู่ที่ตรงนั้นน่ะ คลองสาม หมู่ ๗ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

          เราได้ไปคุยกับเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ที่เราไปยืมของทุกรูปก็รู้ว่ามีวัดใหม่เกิดขึ้นที่คลองสามพระเถระเหล่านั้นมักจะเรียกวัดเราในสมัยนั้นว่า "วัดใหม่" บางทีเราก็ไปยืมของตามมหาวิทยาลัยต่างๆ อาจารย์ก็ทราบว่า มีกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขาไปสร้างวัดกันที่ตรงนั้นตรงนั้น นี่เป็นกุศโลบายอันแยบยลของคุณยาย ที่ท่านให้ไปยืมของ นี่มีวัตถุประสงค์ไปพรีเซ้นต์ (Present) ตัวเอง แล้วการที่เราไปยืมของ กว่าจะได้ของมา เราต้องไปอ่อนน้อมกับเขา เรียกว่า ต้องไปกราบกรานเขาเลย ถ้าทำเป็นคนมือกระด้างคางแข็ง ก็ไม่ได้ของ เขาไม่ให้ยืมหรอก แถมเขาจะตำหนิมาด้วย นี่เป็นอุบายที่คุณยายให้ฝึกตัวเอง

         เพราะฉะนั้นการจัดงานบุญใหญ่ในช่วงแรกๆ บางทีอาตมา หรือรุ่นพี่รุ่นน้องต้องช่วยกันทำเอกสาร หนังสือยืมไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นวัตถุประสงค์ของคุณยาย ท่านต้องการให้ไปฝึกความรอบคอบ เพราะว่าของที่เรายืมมาจากหลายๆ ที่ จากหลายๆ วัด เวลายืมมาแล้วต้องมีการจดบันทึกทำบัญชี ถ้าเกิดความผิดพลาดหลงลลับกันขึ้นมา เราจะส่งคืนเขาไม่ได้ เดี๋ยวมีปัญหา

          คุณยายจะฝึกให้พวกเรามีความละเอียดรอบคอบ โดยท่านจะเน้นเสมอว่า ของที่ยืมเขามา เช่น ภาชนะ อุปกรณ์ต่างๆ เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้ทำความสะอาดให้ดีกว่าของเดิมที่เรายืมเขามา อะไรของเขาชำรุดมาก็ซ่อมให้ดีกว่า จะเป็นสิ่งที่ดี บางทีไปยืมภาชนะ เช่นหม้อ หรือกระทะ บางทีมันมีเขม่าดำเมี่ยมมา ก่อนส่งคืน คุณยายจะสอนให้พวกเราขัดให้ขาวให้หมด จานชาม ภาชนะทุกชนิดสะอาดหมด ไปคืนวัดที่เป็นเจ้าของของเดิม ทำเอาเจ้าของจำไม่ได้ นึกว่าหยิบอันผิดมาให้ เราต้องยืนยันว่า ใช่ใบนี้แหละ แต่ว่าล้างมาให้ขาวเชียวจะได้ดูสะอาดน่าใช้

         พระที่ท่านดูเรื่องสังฆภัณฑ์ หรืองานพัสดุ ท่านก็ชอบใจว่า ที่นี่เขายืมของมาแล้ว เขาเอาคืนในสภาพที่ดีกว่าเดิม แสดงว่ามีการอบรมที่ดี ลูกคืษย์ลูกหาได้รับการอบรมที่ดี และการส่งคืนก็ต้องไปขอบคุณเขาด้วยตัวเอง ตอนไปก็อย่าไปมือเปล่า ถ้าเป็นวัดก็มีไทยธรรมติดไป      ถวายพระท่านด้วย ถ้าเป็นหน่วยงานราชการก็มีหนังสือธรรมะ หรือมีอะไรไปฝากเขาบ้าง เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง ผูกใจกันไว้ว่า ต่อไปคงต้องมาขอยืมอีก

        แล้วคุณยายก็สรุปไว้ว่า การที่เราไปยืมของเขาเราก็ได้ศึกษาไปด้วยว่า อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่เรายืมมา พอถึงคราวที่เราจะต้องมีเอง ชนิดไหนขนาดไหน หรือประเภทไหนที่พอเหมาะ ตอนที่เราจัดหา มันจะได้ตรงเป้า ไม่สุ่มสี่สุ่มห้าจัดซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ เสียของเสียสตางค์เปล่าๆ สมัยรุ่นอาตมาเป็นอุบาสกหรือเป็นเด็กวัด จะได้รับการฝึกแบบนี้ เรียกว่าแต่ละแห่ง หยิบยืมกันจนคุ้น จนกระทั่งเขาไม่มีของพอจะให้ยืม เพราะงานวัดเราใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เราก็ต้องเพิ่มสถานที่ยืม และเพิ่มปริมาณของที่จะยืมมากขึ้นเรื่อยๆ

          แต่ปัจจุบันนี้ ประเภทซื้อซะเงินไม่พอ กับไม่มีของจะให้ซื้อ มันคนละอย่างกัน สมัยก่อนคุณยายฝึกพวกเราอย่างนี้ พยายามให้ไปยืมของเขา แล้วก็ฝึกตัวไปด้วย เรายืมหมด ตั้งแต่เต็นท์ รถบรรทุก รถเข็น โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม ไม้ประดับ ไม้กระถาง เสื่อ พรม กระทั่งหม้อ กระทะ จาน ชาม ช้อน ตะหลิว ทัพพี ยืมหมด ยืมจริง ๆ เพราะว่า อาตมาเป็นคนรับหน้าที่ทั้งส่งหนังสือยืม ทั้งเจรจา ทั้งขนย้าย สมัยก่อน ขนแบกมาแล้วก็ต้องขนไปคืน ตอนไปเอาในโกดังตามวัดต่างๆ หรือสถานที่ราชการ บางทีก็ต้องไปค้น ไปรื้อ หรือไปแยกประเภท เท่ากับไปจัดของให้เขาในตัว

          ท่านก็สอนอีก เวลาไปยืมให้ฉลาดๆ หน่อยเลือกของมาอย่าหยิบของชำรุดมานะ เดี๋ยวตอนเอาไปคืน กลายเป็นของชำรุด เขาจะมาว่าเราทำชำรุด เราต้องเลือกของให้เป็น ยืมทั้งหมด กระทั้งพัดลมก็ต้องยืมคราวนี้พัดลมหน่วยราชการเขาก็ไม่มีให้ยืม ตามวัดก็ไม่มีให้ยืม ต้องไปยืมตามบ้านชาวบ้านรอบวัด ตามริมคลองสามนี่แหละ

          สมัยนั้นขับรถตระเวนตามบ้าน ยืมบ้านละตัว สองตัว ต้องเขียนชื่อเจ้าของใส่สติกเกอร์แปะไว้ตามพัดลม สมัยก่อนการจัดงานบุญใหญ่ ตอนที่จัดงานกฐินปีแรกซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ พื้นที่ก็ยังไม่สมบูรณ์ คาลาจาตุมหาราชิกา เพิ่งจะเทพื้นใหม่ๆ ตอนนั้นนํ้าเจิ่งเลย เขาเอานั้าบ่มคอนกรีตไว้ เหล็กเส้นถูกถักตั้งขึ้นเพื่อจะเทเสาคอนกรีตเต็มโดยรอบไปหมด หลังคายังไม่มีต้องเอาเต็นท์มากางจนเต็มศาลา เราต้องพยายามพัฒนาพื้นที่ เหมือนปัจจุบันนี้ การก่อสร้างเกิดขึ้นยังไม่ทันเสร็จ แต่เราต้องรีบใช้เพื่อประกอบพิธีกรรม เพราะฉะนั้นต้องใช้พื้นที่ทั้งๆ ที่ยังไม่เสร็จนั้นแหละ

        ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดจนปัจจุบันเหมือนกันมาตลอดทุกยุคแม้ปัจจุบัน สภาธรรมกายสากลยังสร้างไม่เสร็จก็ต้องเริ่มเอามาใช้งานแล้ว หรือลานธรรมมหารัตนวิหารคดบางส่วนยังไม่เสร็จ เราก็ต้องใช้งานแล้ว ต้องใช้ให้ได้ทำพื้นที่ให้พร้อม จัดเฉพาะกิจสำหรับพิธีกรรม เราฝึกกันมาอย่างนี้ การก่อสร้างก็ต้องเร่ง พิธีกรรมก็ต้องจัด

จากหนังสือ เกิดด้วยสองมือยาย 

พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013133843739827 Mins