การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2566

4-7-66-lb.jpg

Untitled-7.jpg

 

               พุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรายละเอียดเนื้อหาอยู่มาก สำหรับในชั้นนี้ จะยกตัวอย่างพุทธประวัติเพียงบางช่วง เพื่อแสดงให้เห็นถึงพุทธวิธีในการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธองค์ รวมถึงการวางระบบระเบียบ สร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนาต่อไป แบ่งออกได้ ๔ ระยะ คือ
              ๑. ก่อนประกาศพระศาสนา
              ๒. การเผยแผ่ในยุคบุกเบิก
              ๓. ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
              ๔. ทรงมอบความใหญ่แก่สงฆ์ในการอุปสมบท


มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
๑. ก่อนประกาศพระศาสนา
           
สภาพทางสังคมในอินเดียสมัยพุทธกาล
            ชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลตลอดลงมาถึงสมัยพุทธกาลได้มีการแบ่งชั้นวรรณะของคนในสังคมและถือกันรุนแรงมากชนชั้นในสังคมอินเดียถูกกำหนดด้วยชาติกำเนิดตามหลักศาสนาพราหมณ์ คือ
             ๑. กษัตริย์ ชนชั้นเจ้า ชนชั้นปกครองหรือนักรบ
             ๒. พราหมณ์ ชนชั้นเจ้าตำราพิธี พวกพราหมณ์
             ๓. แพทย์ ชนชั้นพ่อค้าและกสิกร
             ๔. ศุทร ชนชั้นต่ำา พวกทาสกรรมกร

             พราหมณ์ถือว่าพระพรหมสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง กษัตริย์เกิดจากแขนพระพรหม พราหมณ์เกิดจากปาก แพทย์เกิดจากกระเพาะของพรหม ศูทรเกิดจากเท้าของพรหม


              การถือชาติ ถือศักดิ์ ถือตระกูล เกิดขึ้นตามลัทธิพราหมณ์ ที่อบรมสั่งสอนกันมาช้านาน ทั้งนี้เพื่อยกย่องวรรณะพราหมณ์ของพวกพราหมณ์ให้สูงขึ้นกว่าวรรณะอื่น เพื่อผลประโยชน์ทางจิตใจนั่นเอง การถือชั้นวรรณะ ชาติตระกูล ได้กลายเป็นการเหยียดหยามกดขี่ ตนชาติวรรณะที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย


              ส่วนพระพุทธศาสนาไม่มีการถือชั้นวรรณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนหลักธรรมที่แสดงถึงความเสมอภาคของมนุษย์และหลักธรรมที่ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยทรงสอนว่า "คนเราไม่ใช่ชั่วเพราะชาติตระกูล ไม่ใช่ดีเพราะชาติตระกูล คนเราจะชั่วก็เพราะการกระทํา จะดีก็เพราะการกระทำ"


              ผู้บวชในพระพุทธศาสนาจึงมาจากสกุลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นพราหมณ์ กษัตริย์แพทย์ศูทรและจัณฑาล พระพุทธองค์ตรัสว่ากระแสน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำต่าง ๆ อาทิ แม่น้ำคงคายจิรวดี สรภู เมื่อไหลมาถึงมหาสมุทรแล้วก็กลายเป็นน้ำในมหาสมุทรเพียงชื่อเดียวกันโดผู้ที่มาจากตระกูลต่าง ๆ บวชในพระพุทธศาสนาย่อมได้ชื่อว่าพุทธบริษัทฉันนั้น


              ดังนั้นพระพุทธศาสนาเมื่อเกิดขึ้นในอินเดียจึงต้องต่อสู้อย่างหนักกับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องวรรณะ และเมื่อพระพุทธศาสนามีผู้หันมานับถือมากขึ้น ๆ ก็ได้กลายเป็นปฏิปักษ์สําคัญของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากค่าสอนที่มีความขัดแย้งกันอย่างมากมายไม่เฉพาะเรื่องวรรณะเท่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงล้มล้างความเชื่อเรื่องการประกอบพิธีบูชายัญเรื่องการล้างบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องพระเจ้าบันดาลให้มนุษย์มีสุขหรือทุกข์ได้ ดังมีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมากมาย


               นอกจากนั้น ยังมีลัทธิความเชื่ออื่น ๆ อีกมาก ดังปรากฏมีนักบวชหลายกลุ่มหลายประเภท ซึ่งต่างก็ตั้งตนเป็นศาสดาสั่งสอนลัทธิความเชื่อของตน เฉพาะที่เด่น ๆ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีถึง 5 ลัทธิ (แยกย่อยได้ถึง ๖๒ ทิฏฐิ) คือ
               ๑. ลัทธิบูรณกัสสป มีความเห็นว่า "บุญบาปที่บุคคลกระทำ ไม่มีผลแก่ผู้ทำถือการเปลือยกายเป็นการบวช
               ๒. ลัทธิมักขลิโคสาล มีความเห็นว่า “ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ไม่ต้องกระทำอะไรก็ย่อมถึงความหมดทุกข์ได้เอง” นักบวชเป็นพวกเปลือยกาย
               ๓. ลัทธิอชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า “ขาดสูญ” เช่น การให้ทานไม่มีผล เป็นต้นนักบวชในลัทธินี้นุ่งผ้าทอด้วยผมคน
               ๔. ลัทธิปกุทธกัจจายนะ มีความเห็นว่า “ชีวิตไม่มีใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ยั่งยืน ตั้งมั่น ดุจเสาระเนียด แม้บุคคลจะเอาอาวุธตัดศีรษะกันก็ไม่ชื่อว่าฆ่าใคร"
               ๕. มัทสัญชัยเวฏฐบุตร มีความเห็นชัดสายไม่ตายตัว ตอบไปตามสถานการณ์ เช่น ถามว่าโลกอื่นมีหรือไม่ ตอบว่า จะว่ามีก็มี จะว่าไม่มีก็ไม่มี จะว่ามีก็มิใช่ จะว่าไม่มีก็มิใช่ เป็นต้น นักบวชในลัทธินี้ เรียกว่า "ปริพาชก"
               ๖. ลัทธินิครนถนาฏบุตร มีความเห็นว่า “สุขทุกข์ที่ประสบอยู่ในปัจจุบันเป็นผลกรรมจากกรรมเก่าทั้งสิ้น ทนรับไปแล้วก็จะหมดไปเอง" ลัทธินี้เรียกอีกอย่างว่า "เชน" เป็นนักบวช เปลือยพวกหนึ่ง


               ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในอินเดียท่ามกลางความขัดแย้งทางด้านความเชื่ออย่างหนัก ผู้มีอำนาจในศาสนาพราหมณ์ต้องพยายามสกัดกั้นการเผยแผ่ของพุทธศาสนาอย่างหนัก เพื่อรักษาจำนวนศาสนิกของตนและรักษาผลประโยชน์อันเกิดจากลาภสักการะที่จะต้องสูญเสียไป ซึ่งเกี่ยวพันถึงอำนาจทางการเมืองด้วย ในกรณีที่ศาสนิกนั้นเป็นผู้มีอำนาจทางการปกครอง เช่น กษัตริย์ มหามาตย์ เป็นต้น แสดงว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทรงอาศัยพระปรีชาสามารถอย่างมากในการปักหลักพระพุทธศาสนาลงในอินเดีย โดยทรงหลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยกำลัง จนสามารถปักหลักพระพุทธศาสนาได้อย่างมั่นคง


               ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว
                     ภายหลังจากพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้ธรรม บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ในวันเพ็ญเดือน ๖ หลังออกผนวชได้ ๖ พรรษา พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ โดยทรงเข้าสมาบัติ ใคร่ครวญในธรรมทั้งหลายที่พระองค์แทงตลอดดีแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ


                    ครั้นล่วงสัปดาห์ที่ ๗ พระองค์เสด็จออกจากร่มไม้ราชายตนะ เสด็จกลับไปประทับภายใต้ร่มไม้อชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นของลึกซึ้งที่ยากที่ใคร ๆ จะตรัสรู้ตามได้ แต่อาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงพิจารณาดูว่าจะมีผู้สามารถรู้ทั่วถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า ชนทั้งหลายย่อมมีอุปนิสัยต่าง ๆ กัน


                     “...บางพวกมีธุลี คือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปรกติเห็นปรโลกและโทษ โดยความเป็นภัยอยู่ อุปมาเหมือนดอกอุบลในกอยุบล ดอกปทุมในกลปทุม หรือ ดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำเจริญแล้วในนา งอกงามแล้วในน้ำ ๑ บางเหล่ายังจมในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้ ๑ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ ๑ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำอันน้ำไม่ติดแล้ว ๑"


                     ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า ผู้ที่ควรรู้ทั่วถึงธรรมได้มีอยู่อย่างนี้แล้ว จึงทรงตั้งพระหฤทัยที่จะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน ซึ่งเรียกว่าทำ "อายุสังขาราธิษฐาน" จึงทรงดำริหาคนที่จะรับเทศนาครั้งแรก ทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งพระองค์เคยไปอาศัยศึกษาความรู้ในกาลก่อนว่าเป็นคนฉลาดมีกิเลสเบาบางสามารถจะรู้ธรรมได้ฉับพลัน แต่ได้ทราบว่าท่านทั้งสองสิ้นชีพเสียแล้ว ต่อมาทรงนึกถึงฤๅษีปัญจวัคคีย์ ซึ่งได้เคยอุปการะอุปัฏฐากแก่พระองค์ เมื่อครั้งบำเพ็ญเพียร ทรงเห็นว่าควรจะแสดงธรรมแก่ท่านเหล่านั้นก่อน ครั้นค่ารอย่างนี้แล้ว ได้สำเร็จดำเนินไป โดยทางที่จะไปยังเมืองพาราณสีถึงระหว่างแม่น้ำยากับแดนพระมหาโพธิ์ต่อกัน ได้พบอุปกาชีวกคนหนึ่งชื่ออุปกะเดินสวนทางมา อุปกาชีวกเห็นพระฉวีของพระองค์ผุดผ่อง นึกประหลาดใจใครจะทราบว่าโทรเป็นศาสดาผู้สอนพระองค์ จึงทูลถามพระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์เป็นสยัมภูผู้เป็นเองไม่มีใครเป็นครูสอน อุปกาชีวกไม่เชื่อ สั่นศีรษะแล้วหลีกไป พระองค์เสด็จไปโดยลำดับจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของฤษีปัญจวัคคีย์

 

 

เชิงอรรถ

 มก.ล.๑๓/๑๔๙

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026343667507172 Mins