ความหมายของการปฏิรูปมนุษย์ สามารถสรุปได้ ๒ นัย คือ ๑. การเปลี่ยนมิจฉาทิฏฐิของผู้ใหญ่ หรือเยาวชนที่เจริญเติบโตให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิลงในจิตใจของเด็ก ๆ ตั้งแต่ยังเป็นทารก
...อ่านต่อ
บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของเราก็คือ ทิศ ๖ เพราะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนิสัย ทั้งที่เป็นมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิจึงมีความสำคัญที่ต้องทำตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อป้องกัน ควบคุมกิเลสที่มีอยู่ในใจไม่ให้เติบโตกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าไปตั้งมั่นในใจของเด็กเสียก่อน จึงแบ่งการปฏิรูปมนุษย์เพื่อปลูกฝังสัมมาทิฏฐิไว้ ๒ วัย คือ
...อ่านต่อ
  บุคคลที่จะมีคุณสมบัติเป็นคนดีที่โลกต้องการได้ ก็เพราะมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงจนกลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องได้รับการปลูกฝังอย่างเป็นแบบแผน เพราะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เอง และหากไม่ปลูกฝังสัมมาทิฏฐิลงไปในใจแล้วย่อมมีโอกาสที่มิจฉาทิฏฐิอันเป็นต้นทางนำไปสู่การคิด การพูด และการกระทำอันเป็นบาปอกุศลเกิดขึ้นได้โดยง่าย
...อ่านต่อ
จากสัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้เองทำให้ทราบว่า คนเราเกิดมาเพื่อสร้างความดีสร้างบุญบารมีไม่ทำความชั่ว จึงจะประสบแต่ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และหากทุ่มเททำความดี สั่งสมบุญบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดไป ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพาน
...อ่านต่อ
ความเข้าใจของคน ๒ ระดับ • ระดับพื้นผิว (ทั่วไป) เป็นความเข้าใจโดยทั่วไปเกี่ยวกับด้านกายภาพ และวัตถุต่าง ๆ มีผลทางด้านจิตใจเพียงเล็กน้อยน้อยถ้าเข้าใจถูกต้องก็ไม่มีผลให้คนเราได้ขึ้นสวรรค์ ถ้าเข้าใจผิดก็ไม่ตกนรก • ระดับลึก (สัมมาทิฏฐิ ๑๐) เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม บุญและบาป มีผลต่อจิตใจมาก ถ้าเข้าใจถูกต้องก็มีโอกาสไปบังเกิดบนสวรรค์ ถ้าเข้าใจผิดก็มีโอกาสตกนรก
...อ่านต่อ
สามารถอธิบายความหมายและสาระสำคัญของการปฏิรูปมนุษย์ได้ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายความสำคัญของสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิทั้ง ๑๐ ประการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปมนุษย์ สามารถอธิบายหลักและวิธีการในการปลูกฝังอบรมคนดีที่โลกต้องการได้ สามารถอธิบายถึงความสำคัญของทิศ 5 ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปมนุษย์ได้
...อ่านต่อ
อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดีบุตร
...อ่านต่อ
สามารถสรุปหลักธรรมสำคัญที่มีในสิงคาลกสูตรได้ สามารถอธิบายเรื่อง กรรมอันลามก ๑๔ ประการ, มิตรแท้ - มิตรเทียม, ทิศ 5 ได้ สามารถอธิบายแนวทางและวิธีการนำสิงคาลกสูตรไปใช้แก้ไขตนเองได้
...อ่านต่อ
 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พราหมณ์กูฏทันตะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทางหรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้
...อ่านต่อ
ต่อมา พราหมณ์กฏทันตะพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่สวนอัมพลัฏฐิกา ได้สนทนากับพระผู้มีพระภาค ครั้นสนทนาพอคุ้นเคยดีแล้วจึงนั่งลง ณ ที่สมควร ฝ่ายพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านขามัต บางพวกกราบพระผู้มีพระภาคบางพวกสนทนา บางพวกไหว้ไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและตระกูลบางพวกนิ่งเฉย แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
...อ่านต่อ
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโปในแคว้นมคธพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชาวมคธชื่อขาณุมัต ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้หมู่บ้านขาณุมัต สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะปกครองหมู่บ้านขาณุมัต ซึงมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุธัญญาหารและนั้าหญ้าอุดมสมบูรณ์เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย (ส่วนพิเศษ)
...อ่านต่อ
เพื่อให้ทราบถึงการบูชายัญหรือการให้ทานที่ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อลบล้างความเชื่อผิด ๆ แก่ผู้นำประเทศ และพัฒนาจิตใจของประชาชนด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
...อ่านต่อ
 ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์บางทีพวกเธออาจจะคิดว่า “ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ข้อนี้พวกเธอ ไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย
...อ่านต่อ
 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าได้ปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่งเช่นนี้ เมืองใหญ่เหล่าอื่นยังมีอยู่ เช่น กรุงจัมปากรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี
...อ่านต่อ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
...อ่านต่อ
ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง” รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของตถาคต มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังภัณฑุคามกัน”
...อ่านต่อ
อานนท์ สมัยหนึ่ง เมื่อแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำาบลอุรุเวลา มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเรา ยืน ณ ที่สมควรได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
...อ่านต่อ
 ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือผ้านิสีทนะ (ผ้าปูรองนั่ง) เราจะเข้าไปพักกลางวันทีปาวาลเจดีย์”
...อ่านต่อ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังโกฏิตามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโกฏิคาม ประทับอยู่ที่โกฏิคามนั้นรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
...อ่านต่อ
สมัยนั้น มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะชาวแคว้นมคธ สร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชรี เทวดาจำนวนมากจับจองที่เป็นพัน ๆ แห่งในปาฏลิคามจิตของพระราชาและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในที่ที่เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จับจอง
...อ่านต่อ
 ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในเมืองนาฟันทา รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังปาฏลิคามกัน”
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล