การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง

วันที่ 24 กค. พ.ศ.2566

24-7-66-BL.jpg

การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง
                    ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของตถาคต มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังภัณฑุคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงภัณฑคาม ประทับอยู่ที่ภัณฑ์ตามนั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้”


         ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
                   ๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
                   ๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
                   ๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
                   ๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้  


                    ภิกษุทั้งหลาย เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายถอนภวตัณหาได้แล้ว ภูวเนตติสิ้นไปแล้ว บัด ภพใหม่ไม่มีอีก”

                    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า


“ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม
ธรรมเหล่านี้ พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว ดังนั้น
พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่งพระศาสดา
ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว

 

                     ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่ภัณฑคาม ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”


            มหาปเทส ๔ ประการ
                     (ข้ออ้างที่สําคัญ)
                     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในภัณฑคามแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า


“มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังหัตถีตามกัน” ...
“มาเถิดอานนท์ เราจะเข้าไปยังอัมพคามกัน” ...
“มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังซุ้มพุคามกัน” ...
“มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง โภคนครกัน”


                  ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร ประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ในโภคนคร รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมหาปเทส ๔ ประการนี้เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

                  ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็น วินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์” เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น จึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด “เธอทั้งหลายจึงทิ้งคำนั้นเสียถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ จึงลงสันนิษฐานว่านี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายจึงจำมหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้

                    ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์ อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นสัตถุศาสน์” เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น จึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว จึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาผิด

                     เธอทั้งหลายจึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้เทียบเข้าในวินัยก็ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายจึงจำมหาปเทสประการที่ ๒ นี้ไว้

                      ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นสัตถุศาสน์” เธอทั้งหลาย ยังไม่พึ่งชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้นจึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว จึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้

                     เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมาผิด” เธอทั้งหลายจึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจ่ามหาปเทสประการที่ ๓ นี้ไว้

                     ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์” เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น จึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว จึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัยถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ จึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจึงจำมหาปเทส ๔ ประการนี้แล

                     ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ ในโภคนคร ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐานย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ"

 
           เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร (บุตรช่างทอง)

                     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโภคนครแล้วรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังกรุงปาวากัน”

                     ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงกรุงปาวา ประทับอยู่ที่อัมพวัน ของนายจุนทกัมมารบุตร เขตกรุงปาวา

                     เมื่อนายจุนทกัมมารบุตร ได้ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงปาวา ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของเรา” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้นนายจุนทกัมมารบุตร ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี

                     เมื่อนายจุนทกัมมารบุตร ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป

                     ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตร ได้เตรียมของขบฉันอันประณีตและสูกรมัททวะ จำนวนเพียงพอไว้ในนิเวศน์ของตน ให้คนไปกราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคว่า “ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

                     ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ ท่านจงประเด็นสูกรมัททวะที่เตรียมไว้แก่เรา ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แก่ภิกษุสงฆ์ เขาทูลรับสนองพระดำรัสแล้วประเคนสูกรมัททวะที่เตรียมไว้แด่พระผู้มีพระภาคประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์

                    ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะสูกรมัททวะที่เหลือเธอจงฝังลงในหลุม เรายังไม่เห็นใครในโลก พร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาหรือมนุษย์ ที่บริโภคสูกรมัททวะนั้นแล้วจะย่อยได้ด้วยตี นอกจากตถาคต"

                    นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ฝังสูกรมัททวะที่เหลือลงในหลุมแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่สมควร

                    พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติเร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จจากไป

                 หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตรได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาเหล่านั้นไว้ไม่พรั่นพรึงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิดอานนท์เราจะเข้าไปยังกรุงกุสินารากัน”ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว


ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระปรีชา
เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว
ทรงพระประชวรอย่างแสนสาหัส
จวนเจียนจะปรินิพพาน
เมื่อพระศาสดาเสวยสูกรมัททวะแล้ว
ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง
ลงพระบังคนหนักตรัสว่า “เราจะไปยังกรุงกุสินารากัน


          รับสั่งขอน้ำดื่ม
                 ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแวะลงข้างทาง เสด็จเข้าไปยังควงไม้ต้นหนึ่ง รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้นเราเหน็ดเหนื่อยจะนั่งพัก” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคประทับบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวายไว้ รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ”

                 เมื่อพระผู้มีพระภาครับสั่งอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้น้ำนั้นมีน้อยถูกล้อเกวียนจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำกกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใสจืดสนิท เย็นสะอาด มีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระผู้มีพระภาค เสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกายในแม่น้ำกกุธานี้เถิด”

                 แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มเพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้ น้ำนั้นมีน้อยถูกล้อเกวียนจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำกกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใสจืดสนิท เย็นสะอาดมีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระผู้มีพระภาค เสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกายในแม่น้ำกกุธานี้เถิด”

                แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” ท่านพระอานนท์จึงทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถือบาตรเดินเข้าไปยังลำธารนั้น ขณะนั้น ลำธารนั้น มีน้ำน้อยถูกล้อเกวียนจนขุ่นเป็นตมไหลไปแต่เมื่อท่านพระอานนท์เข้าไปใกล้ก็กลับใสสะอาดไม่ขุ่น ไหลไป ท่านพระอานนท์จึงคิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ลำธารนี้มีน้ำน้อยถูกล้อเกวียนย่ำขุ่นเป็นตมไหลไปเมื่อเราเข้ามาใกล้ ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่นไหลไป จึงใช้บาตรตักน้ำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเดี๋ยวนี้เอง ลำธารนั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนจนขุ่นเป็นตมไหลไป เมื่อข้าพระองค์เดินเข้าไปใกล้ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป ขอพระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำเถิด ขอพระสุคตทรงดื่มน้ำเถิด”ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำแล้ว


        เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร
               ก็สมัยนั้น โอรสเจ้ามัลละพระนามว่าปุกกุสะ
๑๐ เป็นสาวกของอาฬารดาบสกาลามโคตร เดินทางไกลจากกรุงกุสินาราไปกรุงปาวา เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ควงไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรม เป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องมีอยู่ว่าอาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางไกลแวะลงข้างทางที่ควงไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล เวลานั้นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่มได้ผ่านท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ติด ๆ กันไป

              ขณะนั้น บุรุษคนหนึ่งกำลังเดินตามหลังหมู่เกวียนมา เข้าไปหาท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร ถึงที่อยู่แล้ว ได้ถามท่านอาฬารดาบสดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านเห็นเกวียน๕๐๐ เล่ม ผ่านไปบ้างหรือไม่” ท่านอาฬารดาบสตอบว่า 'เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ'
                        ท่านได้ยินเสียงหรือไม่
                        “เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ
                        "ท่านคงหลับกระมัง
                        “เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ
                        "ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ
                        “เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ
                      “ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่ได้เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติด ๆ กันไปทั้งไม่ได้ ยินเสียง ก็ผ้าทาบของท่านเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลีบ้างไหม
                        “เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ
                        บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏบรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านอาฬารดาบสผู้ยังมีสัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติด ๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียงเขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในท่าน อาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วจากไป”

              พระผู้มีพระภาคตรัสถามปุกกุสะว่า “ปุกกุสะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไรอย่างไหนทำได้ยากกว่ากัน เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน (ระหว่าง) ผู้ยังมีสัญญาตื่นอยู่ ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่มที่ผ่านติด ๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง กับผู้ที่ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตกตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ก็ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียง”

              ปุกกุสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียน ๕๐๐ เล่ม ๖๐๐ เล่ม ๗๐๐เล่ม๔๐๐ เล่ม ๙๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ฯลฯ เกวียน ๑๐๐,๐๐๐ เล่มจะเปรียบกันได้อย่างไร แท้จริงผู้ที่ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตกตกอย่างหนักฟ้าแลบฟ้าผ่าอยู่ก็ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงอย่างนี้แหละทำได้ยากกว่าและเกิดขึ้นได้ยากกว่า”

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ คราวหนึ่ง เราพักอยู่ที่โรงกระเดื่อง เขตกรุงอาตมา เวลานั้น ฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัว ถูกฟ้าผ่าใกล้โรงกระเดื่อง ขณะนั้น หมู่มหาชนในกรุงอาตมาออกไปมุงดูชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัวที่ถูกฟ้าผ่า เราออกจากโรงกระเดื่อง จงกรมอยู่ที่กลางแจ้งใกล้ประตูโรงกระเดื่อง บุรุษคนหนึ่งออกมาจากหมู่มหาชนเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ได้ไหว้เรายืน ณ ที่สมควรเราได้ถามบุรุษนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ หมู่มหาชนนั่นชุมนุมกันทำไม

              บุรุษนั้นตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เดี๋ยวนี้เอง ขณะที่ฝนกำลังตกตกอย่างหนักฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัว ถูกฟ้าผ่าหมู่มหาชนชุมนุมกันเพราะเหตุนี้ ท่านไปอยู่เสียที่ไหนเล่า
                        เราตอบว่า 'เราก็อยู่ที่นี้แหละ'
                        บุรุษนั้นถามว่า 'ท่านเห็นหรือไม่'
                        เราตอบว่า 'เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ'
                        บุรุษนั้นถามว่า 'ท่านได้ยินเสียงหรือไม่'
                        เราตอบว่า 'เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ'
                        บุรุษนั้นถามว่า 'ท่านคงหลับกระมัง'
                        เราตอบว่า 'เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ'
                        บุรุษนั้นถามว่า 'ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ'
                        เราตอบว่า 'เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ'
                        บุรุษนั้นถามว่า 'ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ ขณะฝนกำลังตก ตกอย่างหนักฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเลยหรือ'
                        เราตอบว่า 'เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ'

              บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏบรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านสมณะผู้ยังมีสัญญาตื่นอยูเมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ก็ไม่เห็นและไม่ได้ยินเสียงเลย เขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในเรา กระทำประทักษิณแล้วจากไป

              เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปุกกุสะ มัลลบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโปรยความเลื่อมใสที่มีในอาฬารดาบสกาลามโคตรไปตามกระแสลมที่พัดแรง หรือลอยในแม่น้ำกระแสเชี่ยว พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า “คนมีตาดีจักเห็นรูปได้” ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมกับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

              ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า “พนาย เธอช่วยนำผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่หนึ่ง (๒ ผืน) ของเรามา” บุรุษนั้นรับคำแล้ว นำคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นมาให้

              จากนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคพร้อมกับกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

               พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้เราครองผืนหนึ่งอีกผืนหนึ่งให้อานนท์ครอง”

               ปุกกุสะ มัลลบุตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงครองผืนหนึ่ง ถวายให้ท่านพระอานนท์ครองอีกผืนหนึ่ง

               พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ปุกกุสะ มัลลบุตร เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

               ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป

               เมื่อปุกกุสะ มัลลบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค พอท่านพระอานนท์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ผ้านั้นปรากฏสีเปล่งปลั่งเหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว

               ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก๑๑ คู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ พอข้าพระองค์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาคปรากฏสีเปล่งปลั่งเหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว

                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้นกายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว อะไรบ้าง คือ
                         ๑. ในราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
                         ๒. ในราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

         อานนท์ กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราวนี้แลในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ตถาคตจะปรินิพพานในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวันของมัลละอันเป็นทางเข้า (ด้านทิศใต้) กรุงกุสินารา มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังแม่น้ำกกุธากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว


ปุกกุสะน้อมถวายผ้าสีทองเนื้อละเอียดคู่หนึ่ง
พอพระศาสดาทรงครองผ้าคู่นั้น
มีพระฉวีวรรณดั่งทอง งดงามนัก


                 ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำกกุธาเสด็จลงสรงในแม่น้ำกกุธา ทรงดื่มแล้วเสด็จขึ้นไปยังอัมพวัน รับสั่งเรียกท่านพระจุนทกะมาตรัสว่า “จุนทกะ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก”

                 ท่านพระจุนทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคทรงสําเร็จสีหไสยา๑๒ โดยพระปรัศว์ (สีข้าง) เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท (เท้า) เหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เบื้อง พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคในที่นั้น


พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา
ผู้ทรงเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง
หาผู้ใดในโลกเสมอเหมือนมิได้
เสด็จถึงแม่น้ำกกุธา ที่มีน้ำใส จืดสนิท สะอาด
ลงสรงแล้วจึงทรงคลายเหน็ดเหนื่อย
พระบรมศาสดาผู้ทรงพร่ำสอนแจกแจงธรรม
ในพระศาสนานี้ เป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่
ครั้นสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว
ก็เสด็จนำหน้าหมู่ภิกษุไปยังอัมพวัน
รับสั่งภิกษุชื่อจุนทกะมาตรัสว่า
'เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้นให้เป็นที่นอนพักแก่เรา'
ท่านพระจุนทกะรูปนั้น ผู้ได้รับการฝึกมาดีแล้ว
พอได้รับคำสั่งก็รีบปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น
พระศาสดาบรรทมแล้ว ทรงหายเหน็ดเหนื่อย
ฝ่ายท่านพระจุนทกะ ก็นั่งเฝ้าเฉพาะพระพักตร์อยู่ในที่นั้น


                  ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ อาจมีใครทำให้นายจุนทกัมมารบุตรร้อนใจว่า “จุนทะ การที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ท่านจะไม่ได้อานิสงส์ ความดีงามก็จะได้โดยยาก

                  อานนท์ เธอจึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของนายจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้ว่า 'ผู้มีอายุจุนทะ การที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพานท่านจะได้รับอานิสงส์ ความดีงามก็จะได้โดยง่าย เรื่องนี้เราได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค และจําได้ว่า “บิณฑบาต ๒ คราวมีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ '

                  บิณฑบาต ๒ คราว อะไรบ้าง คือ
                  ๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
                  ๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

                  บิณฑบาต ๒ คราวนี้มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ กรรมที่จุนทกัมมารบุตรสั่งสมไว้เป็นไปเพื่ออายุ เป็นไปเพื่อวรรณะ เป็นไปเพื่อสุขะเป็นไปเพื่อยศ เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่

                  อานนท์ เธอจึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้” เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า


“ผู้ให้ย่อมเพิ่มพูนบุญ
ผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร
ส่วนผู้ฉลาดย่อมละกรรมชั่วได้
ผู้นั้นดับได้แล้วเพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ”


----- ภาณวารที่ ๔ จบ -----

 

 

เชิงอรรถ

 อย่างข้างมอง หมายถึง ทรงหันพระองค์กลับหลังอย่างที่พญาข้างมอง คือ พญาช้างไม่อาจจะเอี้ยวคอมอง ข้างหลัง ต้องทันกลับทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ฉันนั้น เพราะพระอัฏฐิก้านพระศอ (กระดูกก้านคอ) เป็นชิ้นเดียวกัน ไม่มีข้อต่อ จึงไม่อาจจะเอี้ยวพระศอมองข้างหลังได้แต่จะไม่เหมือนกับช้างมอง เพราะมีพุทธานุภาพ จึงทำ ให้แผ่นดินนี้ หมุนไปเหมือนกับแป้น (กุลาลจกฺกิ) โดยทำพระผู้มีพระภาคให้มีหน้าตรงต่อกรุงเวสาลี

 ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึง ดับกิเลสได้สิ้นเชิง

๓ พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีหมายถึง การเรียนที่สามารถรู้ว่า ตรงนี้แสดงบาลีไว้ตรงนี้แสดง อรรถาธิบายไว้ ตรงนี้แสดงอนุสนธิไว้ตรงนี้แสดงเบื้องต้นและเบื้องปลายไว้

คัมภีร์หมายถึง นิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชณิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย 

ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎก 

วินัย หมายถึง พระวินัยปิฎก 

มาติกา หมายถึง มาติกา ๒ คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์

สูกรมัททวะ ความหมายตามมติของเกจิอาจารย์๓ พวก คือ ๑. หมายถึง ปวัตตมังสะ เนื้อสุกรหนุ่ม ๒. หมายถึง ขาวสุกอ่อน ที่ปรุงด้วยนมสด นมส้ม เนยใส เปรียง เนยแข็ง และถั่ว ๓. หมายถึง วิธีปรุงอาหารชนิดหนึ่ง

แปลจากคำว่า โลหิตปกฺขนฺทิกา ในอรรถกถาอธิบายว่า เป็นอาการของโรคที่ถ่ายเป็นเลือดตลอดเวลา

๑๐ ขณะนั่นเจ้าปุกกุสะ ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าเพชรพลอย ซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของพวกเจ้ามัลละ ที่ มีการผลัดเปลี่ยนกันครองราชย์ตามวาระ ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงวาระจะประกอบอาชีพทางการค้า

๑๑ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ้ผุดผ่องยิ่งนัก หมายถึง พระฉวีวรรณผุดผ่องใน ๒ คราวนั้นเกิดจากเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) อาหารพิเศษ (๒) โสมนัสอย่างแรงกล้า

๑๒ สืหไสยา หมายถึง นอนอย่างราชสืหํ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมฟ้า มีสดิสัมปชัญญะ กำหนดใจถึง การลุกขึ้น

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014691988627116 Mins