ว่าด้วยนิมิตโอภาส

วันที่ 20 กค. พ.ศ.2566

20-7-66-BL.jpg

          ว่าด้วยนิมิตโอภาส
                     ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือผ้านิสีทนะ (ผ้าปูรองนั่ง) เราจะเข้าไปพักกลางวันทีปาวาลเจดีย์”

                   ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถือผ้านิสีทนะ (ผ้าปูรองนั่ง) ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง)

                   ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวาย ท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

                   พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

                  “อานนท์กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารินททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์

                  อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง จึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป

                  อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภที่แล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง จึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัปหรือเกินกว่า ๑ กัป


                  เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทันจึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านพระอานนท์ถูกมารดลใจ

                     แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
               แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารินททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง จึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง จึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป

                 เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทันจึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกับเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” เพราะท่านพระอานนท์ถูกมารดลใจ

                 จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ไปเถิดอานนท์เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล


         มารกราบทูลให้ปรินิพพาน
                 ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า “มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาท ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

                ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จําแนก ทําให้ง่าย ได้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

               พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า “มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้ว แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนดเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า “มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้ว แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนดเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จําแนก ทําให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า “มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้ว แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนดเปิดเผย จําแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า 'มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์ ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดีกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค'

              เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตอบมารผู้มีบาปดังนี้ว่า “มาร ผู้มีบาป ท่านจงอย่ากังวล เลย อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมีจากนี้ไปอีก  ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”

      ทรงปลงพระชนมายุสังขาร
               เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร แล้ว ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร แล้วได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุงแรงน่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้น จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นดังนี้ว่า


“พระมุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และที่ซึ่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิด เป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง
ทําลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทําลายเกราะได้ฉะนั้น”


      เหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๘ ประการ
               ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏแผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้าทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

               “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง ๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้าทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้องอะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง พระพุทธเจ้าข้า”

               พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง


เหตุปัจจัย ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
                ๑. มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศเวลาที่ลมพายุพัดแรงย่อมทำให้น้ำกระเพื่อม น้ำที่กระเพื่อมย่อม ทำให้แผ่นดินไหวตาม นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๑ ที่ทำ ให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางจิต หรือเทพผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ได้เจริญปฐวีสัญญานิดหน่อย แต่เจริญอาโปสัญญาจนหาประมาณมิได้ จึงทำให้แผ่นดินนี้ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๒ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๓. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๓ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๔. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดาแผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๔ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๕. คราวที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๕ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๖. คราวที่ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ 5 ที่ทำให้ เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๗. คราวที่ตถาคตมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๓ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
                ๘. คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๔ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง

                อานนท์ เหตุปัจจัย ๔ ประการนี้แล ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง

 

     บริษัท ๘ จำพวก
               อานนท์ บริษัท ๘ จำพวกนี้ บริษัท ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
                        ๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
                        ๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
                        ๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
                        ๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
                        ๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
                        ๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
                        ๗. มารบริษัท ชุมนุมมาร)
                        ๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)

             อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคยนั่งพูดคุยและสนทนาในขัตติยบริษัทนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้นกษัตริย์เหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า “ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใครเป็นเทพหรือเป็นมนุษย์” ครั้นชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้าปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่าผู้ที่หายไปแล้วนี้เป็นใคร เป็นเทพหรือเป็นมนุษย์

             อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายร้อยครั้ง ฯลฯ คหบดีบริษัท ฯลฯ สมณบริษัท ฯลฯ จาตุมหาราชบริษัท ฯลฯ ดาวดึงสบริษัท ฯลฯ มารบริษัท ฯลฯ

             อานนท์ เราจำได้ว่า เคยเข้าไปหาพรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคยนั่งพูดคุยและสนทนาในพรหมบริษัทนั้น พรหมเหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้นพรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า “ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใครเป็นเทพหรือเป็นมนุษย์” ครั้นชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า “ผู้ที่หายไปแล้วนี้เป็นใคร เป็นเทพหรือเป็นมนุษย์

            อานนท์ บริษัท ๘ จำพวกนี้แล


    อภิภายตนะ ๘ ประการ
            อานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
            ๑. บุคคลหนึ่ง มีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการ ที่ ๑
            ๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒
            ๓. บุคคลหนึ่ง มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดีครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการ ที่ ๓
            ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
            ๕. บุคคลหนึ่งมือรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียวมีสีเขียวเปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียวมีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมือรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม อภิภายตนะหมายถึงเหตุครอบงำเหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ ญาณ หรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู+อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และที่ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุข อันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนและธัมมายตนะ ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
            ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลืองมีสีเหลืองเปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลืองมีสีเหลืองเข้ม ฉันใดบุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลืองมีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖
            ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดงมีสีแดงเปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดงมีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือ เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกันเห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗
            ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาวมีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาว ประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาวมีสีขาวเข้ม ฉันใดหรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาวเปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกันเห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ อานนท์ อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล

 

     วิโมกข์ ๘ ประการ
            อานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการนี้ วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
            ๑. บุคคลผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
            ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกนี้เป็นวิโมกข์ประการ ที่ ๒
            ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า “งาม” นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓
            ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔
            ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕
            ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖
            ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
            ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ อานนท์วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล

 

 

เชิงอรรถ

กัปในทีนี้'หมายถึง อายุกัป คือ ช่วงอายุของคนแต่ละยุค ในยุคของพระพุทธเจ้าของเรา อายุกัปของคนเท่ากับ ๑๐๐

 ปรัปวาท ในที่นี้หมายถึง วาทะหรือลัทธิต่างๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา

 พรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง ศาสนพรหมจรรย์คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา

 คำนี้แปลจากคำว่า “อปฺโปสฺสุกฺโก” ซึ่งตามรูปศัพท์แปลกันว่า ขวนขวายน้อย หมายความว่า อย่า กังวล

ปลงพระชนมายุสังขาร หมายถึง สลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ คือ ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน

 อภิภายตนะ หมายถึง เหตุครูอฺบงำเหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ ญาณ หรือฌานฺที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์๕ และอารมณ์ ทั้งหลาย คำนีมาจุาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิ'ภู เพราะครอบงำอารมณ์ และที่ชื่อว่าอายตนะเพราะเป็นที่เกิดความสุขอัน วิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและชิมมายตนะ

มีรูปสัญญาภายใน หมายถึง จำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน

 มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึง เวันจากสัญญาในบริกรรมในรูปภายใน

มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเชียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้เราเห็น’ นี้เป็นอภิภาย ตนะประการที่ ๕

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040901164213816 Mins