๒. การเผยแผ่ในยุคบุกเบิก๑
ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์
ฝ่ายฤาษีปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงได้ตกลงกันว่า พระสมณโคดมนี้มีความมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก แล้วกำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตรจีวรของเธอเลย เพียงแต่จัดอาสนะไว้ หากเธอปรารถนาก็จะนั่งเอง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว ต่างก็พูดกับพระองค์โดยอาการไม่เคารพ คือพูดออกพระนามและใช้คำว่าอาวุโส พระพุทธองค์ตรัสห้ามเสียแล้วตรัสบอกว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้งหลายคอยฟังเถิด เราจักสั่งสอนเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่ช้าก็จักบรรลุอมฤตธรรมนั้น
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเตือนฤๅษีปัญจวัคคีย์ให้คอยฟังเทศนาอย่างนี้ พวกเธอก็กล่าวค้าน ลำเลิกถึงเหตุเมื่อครั้งยังบำเพ็ญความเพียรอยู่ว่า อาวุโสโคดม๒ แม้แต่ด้วยความประพฤติด้วย ทุกรกิริยาอย่างนั้นแล้ว ท่านยังไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ บัดนี้ท่านมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว เหตุไฉนท่านจักบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า พระพุทธองค์ตรัสเตือนให้ระลึกถึงความทรงจำในหนหลังว่า วาจาเช่นนี้ของเราท่านทั้งหลายเคยได้ฟังหรือไม่ ในที่สุดฤๅษีปัญจวัคคีย์ก็นึกขึ้นได้ว่าเป็นเช่นนั้น จึงได้ตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ
พระพุทธองค์ตรัสปฐมเทศนา ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ สอนปัญจวัคคีย์เหล่านั้นถึงทางสุดโด่งทั้ง ๒ อย่าง๓ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกามทั้งหลายและประกอบตนให้เหนื่อยเปล่า ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ล้วนไม่ใช่ทางพ้นไปจากข้าศึก ไม่ทำให้ผู้ประกอบไปจากข้าศึกได้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์ บรรพชิตไม่ควรเสพ ทรงสอนข้อปฏิบัติทางสายกลางที่พระองค์ได้ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเทศนาธรรมอยู่ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลีมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่โกณฑัญญดาบสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ครั้นพระองค์ทรงทราบว่าโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า โกญฑัญญะได้รู้เห็นแล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยพระพุทธอุทานว่า อญฺญาสิ ที่เป็นภาษามคธ แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า “อัญญาโกณชัญญะ" จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา
ทรงประทานการบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
นักบวชในสมัยนั้นนับถือพราหมณ์โกณฑัญญะ เมื่อโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดา พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุในธรรมวินัยนี้ด้วยพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงมาประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด วิธีการบวชเช่นนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ภิกษุผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวาจานี้เรียกว่า "เอหิภิกขุ" ซึ่งเป็นการอนุญาตให้พราหมณ์โกญฑัญญดาบส (ก่อนบวช) เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาครั้งแรกในพุทธกาล
ตั้งแต่นั้นมา ทรงสั่งสอนดาบสรีก 4 คนที่เหลือ ด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดตามสมควรแก่อัธยาศัย วัปปดาบสและภัททิยดาบสได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขออุปสมบทพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ เช่นเดียวกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ภายหลังมหานามดาบสและอัสสชิคาบสได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขออุปสมบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตเช่นกันในที่สุดเมื่อปัญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในฐานะแห่งพระสาวกแล้ว มีอินทรีย์แก่กล้า ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติแล้ว จึงทรงแสดงขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนัตตา โดยสอนให้พิจารณาแยกกายกับใจออกเป็นขันธ์ ๕ ต่อจากนั้นตรัสสอนให้ละความถือมั่นในขันธ์ ๕๔ นั้น ให้พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆ ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ตัวเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่คนของเราจนเกิดความเบื่อหน่ายและคลายความกำหนัด ในที่สุดจิตก็หลุดพ้นจากความถือมั่น เมื่อจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณ๕ ความรู้ว่าพ้นแล้วและรู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว กิจที่ควรทำได้ เสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสธรรมเทศนาอยู่ จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์ ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามพระกระแสเทศนานั้น ก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน๖
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ คือ พระบรมศาสดาและพระสาวก๕ รูป
โปรดยสกุลบุตร
สมัยนั้นมีบุตรแห่งเศรษฐีในเมืองพาราณสีคนหนึ่งชื่อยละมีเรือน ๓ หลัง เป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู ครั้งนั้นเป็นฤดูฝน ยสกุลบุตรอยู่ในปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน มีเหล่าสตรีประโคมดนตรีบ้าเรอล้วนไม่มีบุรุษเจือปน ค่ำวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อนเหล่าบริวาร แสงไฟยังสว่างอยู่ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นเห็นหมู่ชนบริวารนอนหลับ มีอาการพิกลต่าง ๆ ปรากฏเหมือนซากศพที่ตั้งอยู่ในป่าช้า ครั้นได้เห็นแล้วก็เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่ายออกอุทานว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ เกิดความรําคาญใจ จึงลุกสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเรียนไปแล้วออกนอกเมือง ตรงไปทางที่จะไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เวลานั้นจวนใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออก ทานเช่นนั้น เดินมายังที่ใกล้ จึงตรัสเรียกว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ยสกุลบุตรได้ยินอย่างนั้นแล้วจึงถอดรองเท้าเดินเข้าไปใกล้ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง๗ พระบรมศาสดาตรัส อนุปุพพิกถา พรรณนาทาน ศีล สวรรค์ โทษคือความไม่ยั่งยืนและความคับแค้นแห่งกามและอานิสงส์การออกไปจากกาม ฟอกจิตรอยสกุลบุตรให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับธรรมเทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม แล้วจึงประกาศ สามุกกังสิกธรรม คือ เทศนาที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง ได้แก่ ของจริง ๔ อย่าง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้ทุกข์ดับ และข้อปฏิบัติเป็นทางไปให้ถึงความดับทุกข์ ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ณ ที่นั่งนั้นเอง ภายหลังพิจารณาดูภูมิธรรมที่ตนได้เห็นแล้ว จิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เวลาเช้ามารดาบิดาของยสกุลบุตรได้ทราบว่าลูกชายหายไป จึงใช้ให้คนออกตามหาในทิศต่าง ๆ ส่วนเศรษฐีก็ออกเที่ยวหาด้วย บังเอิญเดินมุ่งหน้าไปป่าอิสิปตนมฤคทายวันพบรองเท้าของลูกชายตั้งอยู่ ณ ที่นั้น แล้วตามเข้าไปใกล้ ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระบรมศาสดาตรัสอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรม และแสดงตนเป็นอุบาสก ผู้อ้างพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ เป็นสรณะก่อนใครในโลก
เศรษฐีผู้บิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรสิ้นอาสวะแล้ว จึงกล่าวอ้อนวอนให้ยสกุลบุตรกลับบ้าน ยสกุลบุตรแลดูพระศาสดา พระองค์จึงตรัสแก่เศรษฐีว่า และพิจารณาภูมิธรรมที่ตนได้รู้เห็นแล้ว จิตก็พ้นจากอาสวะมิได้ถือมั่นด้วยอุปาทานแล้ว ไม่สมควรจะกลับไปบริโภคกามคุณอีกต่อไป ครั้นเศรษฐีได้ทราบอย่างนั้นก็เสื่อมใส จึงได้อาราธนาพระบรมศาสดาให้ทรงรับบิณฑบาตในเรียนของตน เมื่อเห็นพระองค์ทรงนิ่งอยู่ก็ทราบว่าทรงรับแล้ว ก็ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาททำประทักษิณแล้วหลีกไป
เมื่อเศรษฐีไปแล้ว ไม่ซ้ายสกุลบุตรทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าว แล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด ในที่นี่ไม่ตรัสว่า เพื่อจะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแล้ว สมัยนั้นมีพระอรหันต์ในโลกรวมเป็น ๗ รูป
ในเวลาเช้าของวันนั้น พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปถึงเรืยนเศรษฐีนั้น แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่แต่งไว้ถวาย มารดาและภริยาเก่าของพระยสะเข้าไปเฝ้าพระองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้ง ๒ ได้เห็นธรรม แล้วทูลสรรเสริญธรรมเทศนา และในที่สุดก็ได้แสดงตนเป็นอุบาสิกา ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกก่อนหญิงอื่น ๆ ในโลกครั้นแล้วพอถึงเวลามารดาและภริยาเก่าของพระยสะก็ช่วยกันยังคาส๘ พระศาสดาและพระยสะ ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยความเคารพ ครั้งเสร็จแล้วพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓ ให้เห็น ให้สมาทานให้อาจหาญ ให้รื่นเริงแล้วเสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
สหายของพระยสะออกบวช
ฝ่ายบุตรแห่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสหายของพระยสะจํานวน ๔ คน คือ วิมละ ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณ ๑ ควัมปติ ๑ ได้ทราบว่า ยสกุลบุตรออกบวชแล้ว จึงคิดว่าธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรออกบวชนั้น จักไม่เลวทรามแน่ คงเป็นธรรมวินัยอันประเสริฐ ครั้นคิดอย่างนี้แล้วทั้ง ๔ คนจึงเข้าไปหาพระยสะ ๆ ก็พาสหาย ๔ คนนั้น ไปเฝ้าพระศาสดาทูลให้พระองค์ทรงสั่งสอน จนพวกเขาได้ดวงตาเห็นธรรม พระองค์ก็ทรงประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตตผล ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๓ องค์ ต่อมา สหายของพระยสะอีก ๕๐ คน เป็นชาวชนบท ได้ทราบข่าวการออกบวชของสกุลบุตร ก็พากันเข้าไปหา ในที่สุดก็ได้เข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระบรมศาสดา จนได้บรรลุพระอรหัตตผลด้วยกันทั้งสิ้น สมัยนั้น จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกทั้งสิ้น ๖๑ องค์
ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนา
ภายหลังออกพรรษาที่ ๑ แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรับสั่งกับภิกษุอรหันต์ ทั้ง ๖๐ รูป ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์๙
พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ ไปทางเดียวกันสองรูป จงไปคนเดียวหลาย ๆ ทาง แต่อย่าไปทางเดียวหลาย ๆ คน จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะให้ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์สัตว์ทั้งหลายจําพวกที่มีธุลี คือ กิเลสในจักษุน้อย๑๐ ก็มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี"
ทรงอนุญาตการบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทา
ก็ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบทมาจากทิศต่าง ๆ จากชนบทต่าง ๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุ ทั้งกุลบุตร ผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบทย่อมลำบาก
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ มีพระทัยปริวิตกถึงเรื่องนี้ จึงมีพระพุทธดำริว่า “ผีฉะนั้นเราจึงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่นแหละ จงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เถิด”
ครั้นเวลาเย็นเสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งถึงพระปริวิตกนั้นแก่หมู่ภิกษุ แล้วรับสั่งถึงวิธีการให้บรรพชาอุปสมบทว่า “ชั้นแรก พวกเธอฟังให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและอุปสมบทปลงผมและหนวด แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ท่าผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้วให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี สั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
โปรดภัททวัคคีย์
ในครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นความบริบูรณ์แห่งอุปนิสัยของชาวมคธเป็นอันมาก ประสงค์จะประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธก่อน จึงจำเป็นต้องอาศัยพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินในแคว้นมคธนั้น พระองค์เสด็จดำเนินไปโดยหนทางที่จะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางได้ทรงแวะที่ไร่ฝ้าย สมัยนั้นสหายทั้ง ๓๐ คน เรียกว่าภัททวัคคีย์ พร้อมด้วยภริยา ในจำนวนนั้นมีสหายหนึ่งไม่มีภรรยา สหายทั้งหลายจึงนำหญิงแพศยามาให้แก่สหายนั้น พอสหายเหล่านั้นประมาทไม่ได้เอาใจใส่ระวังรักษาสิ่งของหญิงแพศยาจึงได้ลักเอาห่อเครื่องประดับแล้วหนีไป สหายเหล่านั้นก็ติดตามหญิงแพศยานั้นไป พอดีไปพบพระศาสดาประทับอยู่ จึงทูลถามเรื่องที่เกี่ยวกับหญิงแพศยา พระองค์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจะแสวงหาหญิงนั้นดีกว่าหรือจะแสวงหาตนเองดีกว่า สหายเหล่านั้นทูลว่าข้าพเจ้าทั้งหลายจะแสวงหาตนเองดีกว่า พระองค์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จงนั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน พระบรมศาสดาตรัสอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้สหาย ๓๐ คนนั้นเกิดดวงตาเห็นธรรม ประทานอุปสมบท ทรงส่งไปในทิศนั้น ๆ เพื่อแสดงธรรมประกาศพระศาสนาต่อไป
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
ส่วนพระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอุรุเวลาประเทศ ซึ่งเป็นที่อาศัยของชฏิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร พระองค์ทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะด้วยเครื่องทรมานต่าง ๆ จนทำให้อุรุเวลกัสสปะเกิดสลดใจ พร้อมทั้งบริวารลอยบริขารของชฏิลในแม่น้ำทูลขออุปสมบท พระองค์ทรงประทานอุปสมบท ฝ่ายนทีกัสสปะและคยากัสสปะ ได้เห็นบริขารของชฏิลลอยไปตามกระแสน้ำ สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชายตน จึงพร้อมด้วยบริวารเดินทางไปหาพี่ชาย เห็นพี่ชายถือเพศเป็นภิกษุ ถามถึงความเป็นไปนั้น ทราบว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐจึงลอยบริขารชฏิลในแม่น้ำ พร้อมด้วยบริวารเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลขออุปสมบท พระองค์ประทานอุปสมบทแก่เธอทั้งหลายเหล่านั้น พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเสด็จไปยังคยาสีสะประเทศใกล้แม่น้ำคยาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาพร้อม แล้วทรงแสดงธรรมอาทิตตปริยายสูตร เมื่อพระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนานี้ จิตของพระภิกษุเหล่านั้นพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
โปรดบัตรสาวก
อุปติสะพบพระ
สมัยนั้นแล สัญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่จํานวน ๒๕๐ คน ครั้งนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชก ท่านทั้งสองได้ทำกติกากันไว้ว่า ถ้าผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง
ในอรรถกถา พระวินัยปิฎก เล่าว่า ท่านพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเดิมมีชื่อว่า อุปติสสะและโกลิตะ ทั้งสองเป็นสหายกัน มีบริวาร ๒๕๐ คนได้ ไปดูมหรสพบนยอดเขาเมืองราชคฤห์ เกิดความคิดว่า มหาชนอย่างนี้ ๆ อยู่ไม่ถึง ๑๐๐ ปีก็ตกไปในปากแห่งความตาย จึงปรึกษากันค้นหาธรรมที่ไม่ตาย โดยออกบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกผู้นุ่งผ้าพร้อมด้วยบริวารทั้ง ๒๕๐ คนนั้น ไม่กี่วันก็มี ความรู้เท่าอาจารย์ แต่ยังมองไม่เห็นอมตธรรมจึงได้ถามอาจารย์สัญชัยว่า แก่นสารแม้อื่นในบรรพชานี้ยังมีอีกหรือไม่ เมื่อได้รับค่าตอบว่าไม่มี จึงได้ทำกติกากันว่า ลัทธินี้เหลวไหลไร้แก่นสาร หากผู้ใดพบอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสก๑๑ แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ มีมารยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว ตู้แขนเหยียดแขนน่าเลื่อมใส๑๒ มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ
สารีบุตรปริพาชก ได้เห็นท่านพระอัสสชิ แล้วมีความดำริว่า ในบรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก กษุผู้นี้คงจะเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปถาม แต่ขณะนี้ยังเป็นการไม่สมควร เพราะท่านพระอัสสชิกำลังเข้าละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต สารีบุตรบริหารจึงเดินตามไปข้างหลัง
ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิ อบิณฑบาตกลับไป สารีบุตรปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวกับท่าน พระอัสสชิว่า อินทรีย์ท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นพระศาสดาของท่าน หรือท่านขอบใจธรรมของโครขอรับ
พระอัสสชิ มีอยู่ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
สารีบุตร พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร
พระอัสสชิ เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นานเพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านอย่างกว้างขวางได้ แต่เราจักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ
สารีบุตร น้อยหรือมากนิมนต์กล่าวเถิด ขอท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว
พระสมชิเถระแสดงธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชกว่า
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงมีปกติตรัสอย่างนี้
สารีบุตรปริพาชกใต้ดวงตาเห็นธรรม
ครั้นได้ฟังธรรมปริยาย ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่สารีบุตรปริพาชก สารีบุตรได้บรรลุโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนัยหนึ่งพันธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น
ท่านทั้งหลาย จงแทงตลอดบทอันหาความโศกมิได้
บทอันหาความโศกมิได้ พวกเรายังไม่เห็น
ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัป
สารีบุตรเปลื้องค่าปฏิญญา
เวลาต่อมาสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชก โมคคัลลานปริพาชก ได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ถามว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณท่านบริสุท ผุดผ่อง ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ
สารีบุตร ถูกละผู้มีอายุเราได้บรรลุยม ธรรมแล้ว
โมคคัลลานะ ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร
สารีบุตร ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ เป็น ผู้สำรวมถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ เราได้เข้าไปถามว่าอินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่องท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะน่าอย่างไร พระอัสสชิ ตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมอย่างกว้างขวางได้ แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ พระอัสสชิได้กล่าว ค่าปริยายนี้แก่เราว่า
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงมีปกติสั่งสอนอย่างนี้
โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
ครั้นได้ฟังธรรมปริยาย ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่โมคคัลลานปริพาชก
สองสหายอำลาอาจารย์
ครั้นแล้ว โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวชักชวนสารีบุตรปริพาชกว่า ผู้มีอายุเราพากันไปสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นศาสดาของเรา
สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปริพาชก ๒๕๐ คนนี้ อาศัยเรา เห็นแก่เราจึงอยู่ในสำนักนี้ เราจะบอกกล่าวพวกเขาก่อน พวกนั้นจักทำตามที่เข้าใจ
ลำดับนั้น ทั้งสองได้เข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าอาศัยท่าน เห็นแก่ท่าน จึงอยู่ในสำนักนี้ ถ้าท่านจักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้าทั้งหมดก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะด้วย
ต่อมา สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันไปหาท่านสัญชัยปริพาชก เรียนว่า "ท่านขอรับพวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของพวกกระผม
สัญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คนจักช่วยกันบริหารคณะนี้ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๒ สองสหายก็ยังยืนยันที่จักไป
ครั้งนั้น สารีบุตร โมคคัลลานะพาปริพาชก ๒๕๐ คน มุ่งหน้าไปทางที่จะไปพระวิหารเวฬุวัน ขณะนั้น โลหิตร้อนก็ได้พุ่งออกจากปากสัญชัยปริพาชกในที่นั้น
ทรงพยากรณ์คู่สาวก
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตร โมคคัลลานะมาแต่ไกลได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนนั้น คือ อุปติสสะและโกลิตะ กำลังมา นั่นจักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา ก็สหายสองคนนั้นพ้นวิเศษแล้วในธรรมอันเป็นที่สิ้นอุปธิ มีญาณวิสัยอันลึกซึ้ง ยังมาไม่ทันถึงพระวิหารเวฬุวันพระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ดังนี้
สหายสองคนนั้น คือ อุปติสสะ และ โกลิตะกำลังมา
จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา
สารีบุตรโมคคัลลานะทูลขอบรรพชาอุปสมบท
ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้ว ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงได้บรรพชา จึงได้อุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านทั้งสองนั้น เพราะเหตุที่พระอุปติสสะเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี และพระโกลิตะเป็นบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณีพระศาสดาจึงทรงประทานนามของท่านทั้งสองตามนามของมารดาว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ
บรรดาสหายทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานเถระบรรลุพระอรหันต์โดย ๗ วัน พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหันต์โดยล่วงไปถึงเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระแม้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งอัครสาวก
เชิงอรรถ
๑เนื้อหา นับจากนื้จนถึงพระอัครสาวกทูลขอบรรพชา ปรากฎในพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ
๒มก.ล.๒๑/๑๒๖
๓ ดูธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มก.ล.๖/๔๔
๔ ขันธ์๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๕ ญาณ คือ ความรู้ความเข้าใจ การเพ่งด้วยจิต การเข้าณาน การบังคับจิตใจ ให้หยุดนิ่ง อยู่กับอารมณ์เดียว เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว จึงค่อยๆ ปล่อยวางอารมณ์นั้น จนกระทั่งจิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด มีแต่จิตล้วนๆ
๖ การยึดมั่นถือมั่นทางใจ
๗ ที่ที่ว่างที่เหมาะสมกับตน
๘ ยังคาส หมายถึง ถวายภัตตาหารพระ เลี้ยงพระ
๙ หมดสิ้นอาสวะกิเลส
๑๐ หมายถึง บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสน้อยในปัญญาจักษุ
๑๑ อันตรวาสก หมายถึง สบง จีวร สังฆาฏิหรือผ้าไตรจีวร นั่นเอง
๑๒ เดินอย่างสงบเสงี่ยม ดูแล้วน่าเลื่อมใส