ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

วันที่ 06 กค. พ.ศ.2566

6-7-66-LB.jpg

๓. ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
                 จาตุรงคสันนิบาต

                       ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระธรรมเทศนา เวทนาปริคคหสูตรโปรดทีฆนขปริพาชก จนได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนพระสารีบุตรผู้นั่งถวายงานพัดอยู่ได้บรรลุพระอรหันต์แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ เสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏไปยังพระวิหารเวฬุวัน ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้คือ
                       ๑. วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑
                       ๒. ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ โดยไม่ได้นัดหมายกัน ๑
                       ๓. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาทั้งหมด ไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก
                       ๔. เป็นเอหิภิกขุ คือ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ๑


                 ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์
                       พระโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงในที่ประชุมสงฆ์ในวันมาฆปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๓ ก็การประชุมกันแห่งสาวกที่เป็นจาตุรงคสันนิบาต ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายพระองค์นี้ได้มีครั้งเดียว คือ ในปีแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานในวันมาฆปุรณมี เวลาบ่ายได้ทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ แล้วทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ในที่ชุมนุมสงฆ์ ซึ่งมีจำนวนภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป อันได้แก่ปราณชฏิล
 ๑,๐๐๐ รูป บริวารของพระอัครสาวก คือบริวารของท่านพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ๒๕๐ รูป

Capture.PNG

                โอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นแก่นแท้เป็นหลักเป็นประธาน เปรียบได้กับหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นมรดกทางธรรมอันล้ำค่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานให้กับพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ ผู้นับว่าเป็นกัลยาณมิตรชุดแรกของโลก เพื่อเป็นแม่บทสำหรับฝึกคนให้เข้าถึงธรรม ทั้งฝึกเป็นหมู่คณะและฝึกเดี่ยว รวมทั้งใช้เป็นนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยใครก็ตามที่จะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลก ต้องใช้หลักธรรมบทนี้ต้องเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ไม่อาจทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้สมบูรณ์ได้


               โอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยเนื้อความ ๓ ท่อนด้วยกัน คือ
                      ท่อนที่ ๑ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
                      ท่อนที่ ๒ หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา
                      ท่อนที่ ๓ วิธีการหรือคุณสมบัติของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา

Capture2.JPG

               ๑. อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
                        ๑.๑) ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกขา แปลว่า ความอดทน คือ ความทนทาน เป็นตบะหรือเป็นอุปกรณ์สําคัญอย่างยิ่งในการที่จะเผาผลาญกิเลส จึงเท่ากับว่า พระพุทธองค์ทรงสั่งพระอรหันต์ให้สอนแก่ชาวโลกว่า โลกและชีวิตมีแต่ทุกข์ ทุกข์ด้วยความเกิด ความแก่ ความเจ็บและความตาย การจะดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ให้ได้ก็ต้องอดและต้องทน ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงต้องฝึกให้ตนเป็นผู้มีความอดทนเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ
                      ๑.๒) นิพฺพานํ ปรม วทนฺติ พุทฺธา แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมกล่าวสรรเสริญพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม คือ เป็นสุขอย่างยิ่ง ซึ่งการจะบรรลุพระนิพพานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานของความอดทนในการปฏิบัติธรรม ด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ให้ถูกส่วนจนกระทั่งใจหยุดนิ่ง เข้าถึงดวงปฐมมรรค ถึงธรรมกาย และอาศัยธรรมกายนั้น เพื่อการตรัสรู้ธรรมจนกระทั่งบรรลุนิพพาน
                        ๑.๓) น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปร์ วิเหฐยนฺโต แปลว่า บรรพชิตผู้ฆ่าสัตว์อื่น เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลยในขณะที่ยังบรรลุพระนิพพานไม่ได้ ต้องไม่เบียดเบียน ไม่ก่อเวรกัน ไม่ว่าจะมีสิงโตมา บีบคั้น กระทบกระทั่งอย่างไร ก็ให้มีความอดทน


               ๒. หลักการสาคัญของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ
                       ถือเป็นหลักในการตัดสินใจว่าจะทําอะไรหรือไม่ทํา โดยหลักการนี้
                       ๒.๑) สพฺพปาปสฺส อกรณี แปลว่า การไม่บาปทั้งปวง ผู้ที่ท่าบาปก็เพราะมีจิตดอกุศลหรือมีเจตนาที่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ผู้ที่มีเจตนาเป็นอกุศล ย่อมจะประพฤติผิดศีล คนที่สามารถเว้นจากบาปได้เด็ดขาด จําเป็นต้องมีความอดทนเป็นพื้นฐานสําคัญ
                       ๒.๒) กุสลสฺสูปสมฺปทา แปลว่า การทํากุศลให้ถึงพร้อม หรือที่ชาวพุทธนิยมใช้ ค่าว่าทําความดีหรือทําบุญนั้น ก็จำเป็นต้องใช้ความอดทนเป็นพื้นฐานสำคัญเช่นกัน
                       ๒.๓) สจิตฺตปริโยทปน แปลว่า การทำจิตให้ผ่องใส จิตจะผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อสามารถวางใจให้หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ได้ตลอดไป


                       แท้ที่จริงความหมายของหลักการข้อที่ ๓ นี้ ก็คือมุ่งให้ชาวพุทธเจริญภาวนาและผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการเจริญภาวนาจําเป็นต้องมีความอดทนเป็นพื้นฐานสำคัญอีกเช่นกัน
                       ดังนั้น หัวใจสำคัญของการปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาก็จะอยู่ที่ขันตินั่นเอง


                ๓. วิธีการหรือคุณสมบัติของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ 5 คือ
                       ๓.๑) อนูปวาโท ไม่ว่าร้ายใครหรือไม่กล่าวร้ายใคร ซึ่งก็คือต้องไม่กล่าว วจีทุจริต อันได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดค้าหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มุ่งแต่จะกล่าวถ้อยคำที่เป็นวจีสุจริต คือ พูดค่าสัตย์จริง พูดค่าสมานสามัคคี พูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดเรื่องที่มีประโยชน์ ซึ่งผู้ที่จะมีวจีสุจริตได้เสมอต้นเสมอปลาย จำเป็นจะต้องมีความอดทนอย่างสูง มิฉะนั้นจะไม่สามารถข่มใจให้เป็นปกติได้เลย ดังนั้น อนูปวาโท จึงมุ่งให้บุคคลรักษาศีลข้อที่ ๔ ให้บริสุทธิ์นั่นเอง
                      ๓.๒) อนูปฆาโต ไม่ทำลายล้างผลาญใคร
จะเห็นว่าเจตนาของการกำหนดคุณสมบัติข้อนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้บุคคลรักษาศิลชัย ๑, ๒, ๓ ให้บริสุทธิ์นั่นเอง ซึ่งคนที่มีความอดทนสูงเท่านั้น จึงจะสามารถรักษาได้บริสุทธิ์ตลอดไป
                      ๓.๓) ปาฏิโมกฺเข จ สวโร สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
จุดมุ่งหมายสำคัญของธรรมข้อนี้ก็คือ มุ่งเน้นให้รักษาศีล ซึ่งหมายถึงปาริสุทธิศีล ๕ อันประกอบด้วยพระองค์ทรงอนุญาต
                             • ปาฏิโมกขสังวร หมายถึง เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่
                             • อินทรีย์สังวร ได้แก่ การสำรวมระวังกายใจของตน ไม่ให้ตกเป็นทาสของ รูป รส กลม เสียง สัมผัส
                             • อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง การเลี้ยงชีพอย่างบริสุทธิ์ ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ไม่หวังความร่ำรวยด้วยอาชีพที่ผิดศีล
                             • ปัจจัยสันนิสิตศีล คือ พิจารณาปัจจัย ๔ ก่อนการบริโภคใช้สอย ไม่ตกเป็นทาสของปัจจัย ๔ แต่ให้บริโภคปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้นจะเห็นว่าผู้ที่ขาดความอดทน จะไม่สามารถรักษาปาริสุทธิศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้เลย
                     ๓.๔) มตฺตญฺญุตา จตฺตสุ
รู้จักประมาณในการบริโภค โดย “ให้กินเพื่ออยู่ มิใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด"
                     ๓.๕) ปนฺตญฺจ สยนาสน์
การอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด จุดมุ่งหมายสำคัญของข้อนี้ก็เพื่อให้บุคคลหลีกเลี่ยงจากการคลุกคลี เพื่อจะได้มีเวลาบำเพ็ญเพียรทางจิต เพื่อชำระจิตของตนให้ผ่องใส การเจริญภาวนา
                     ๓.๖) อธิจิตเต จ อาโยโค การประกอบความเพียรทางอธิจิต
ได้แก่ จะเห็นได้ว่า ทั้งหัวข้อหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาและหัวข้อวิธีการ ล้วนมุ่งเน้นการเจริญภาวนา ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนาที่ชักจูงและส่งเสริมให้บุคคลบรรลุพระนิพพานนั่นเองวิธีการอันเป็นคุณสมบัติของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้ง 5 ประการนี้ ผู้ที่มีความอดทนเท่านั้นจึงจะประสบผลสำเร็จในการทำหน้าที่ของตน

 

 

เชิงอรรถ

 ปุรณมีคือ พระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 คํ่า

 ปุราณชฎิล คือ ชฎิล 3 พี่น้อง ได้แก่ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.052175601323446 Mins