ความยั่งยืนแห่งคุณสมบัติของคนดี

วันที่ 17 สค. พ.ศ.2566

17-8-66-BL.jpg

๓.ความยั่งยืนแห่งคุณสมบัติของคนดี
              ๓.๑ เป้าหมายการเกิดเป็นมนุษย์
                        จากสัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้เองทำให้ทราบว่า คนเราเกิดมาเพื่อสร้างความดีสร้างบุญบารมีไม่ทำความชั่ว จึงจะประสบแต่ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และหากทุ่มเททำความดี สั่งสมบุญบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดไป ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีก ด้วยเหตุนี้ผู้มีสัมมาทิฏฐิจึงเกิดปัญญาในการวางแผนชีวิต โดยการตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ถึง ๓ ระดับ


                        เป้าหมายชีวิต ๓ ระดับ คือ
                             • เป้าหมายชีวิตระดับต้น คือ ตั้งตนเป็นหลักฐานมั่นคงในชาตินี้
                             • ระดับกลาง คือ สั่งสมความดี มุ่งสู่สุคติโลกสวรรค์
                             • ระดับสูง คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง


             ๓.๒ วิธีทางบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้นและระดับกลาง
                       เป้าหมายระดับต้น ๔ ประการ (อาศัย ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์) ดังนี้
.                           • ขยันทำมาหากิน (อุฏฐานสัมปทา) หาเป็น
                            • รู้จักเก็บทรัพย์ (อารักขสัมปทา) เก็บเป็น
                            • รู้จักเลือกคบคนดี (กัลยาณมิตตตา) ทั้งคบคนดีและสร้างเครือข่ายคนดีเป็น
                            • รู้จักใช้ทรัพย์ที่หามาได้อย่างเหมาะสม (สมชีวิตา) ใช้เป็น = มีรายได้เหลือ


                       วิธีปฏิบัติ ๔ ประการนี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธ ตั้งแต่สมัยโบราณกาลว่า การปฏิบัติตามหลักหัวใจเศรษฐี ซึ่งมีคำย่อว่า อุ-อา-ก-ส (อุ-อา-กะ-สะ) คือ ถอดเอาคำและอักษรตัวหน้าของธรรม ๔ ประการมาเรียงกัน และถือว่าเป็นคาถาย่อของหัวใจเศรษฐี

                       เป้าหมายระดับกลาง ๔ ประการ (อาศัย สัมปรายิกัตถประโยชน์) ดังนี้
                            • ถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา) เชื่อมั่นในพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้ตั้งใจทำความดี
                            • ถึงพร้อมด้วยศีล (ศีลสัมปทา) การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์และความสุข
                            • ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ (จากสัมปทา) ยิ่งสละมากบุญก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
                            • ถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา) มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นต้น


                      วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองระดับ ต้องเป็นแบบบูรณาการ
                      หมายความว่า ในขณะที่ทำมาหากินเพื่อให้ตั้งหลักฐานได้ คนเราก็จำเป็นต้องศึกษาและ ปฏิบัติธรรม ตลอดจนสั่งสมบุญควบคู่กันไปด้วย นั่นคือขณะที่พยายามปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น คนเราก็จำเป็นต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับกลางควบคู่กันไปด้วย

                       เป้าหมายชีวิตระดับต้นนั้น เราจะเห็นผลในชาตินี้ ส่วนเป้าหมายชีวิตระดับกลางจะออกผลต่อเมื่อเราละโลกนี้ไปแล้ว

                       เหตุที่ต้องปฏิบัติทั้ง ๒ ระดับควบคู่กันไป
                            • ความตายเป็นสิ่งไม่แน่นอน
                            • บุญที่ตนทำเองย่อมเป็นมิตรติดตามไปเสมอ
                            • ชนะอุปสรรคได้ด้วยอานุภาพบุญ


             ๓.๓ รายละเอียดวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น
                       ๑. ขยันทำมาหากิน มีสาระสำคัญ ๖ ประเด็น คือ
                       • ต้องไม่ประกอบอาชีพต้องห้าม ๕ ประการ ได้แก่ ค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้าสัตว์เพื่อฆ่า ค้าของมึนเมา และค้ายาพิษ
                       • ต้องประกอบอาชีพสุจริตด้วยความขยันหมั่นเพียร
                       • ต้องหมั่นเพิ่มพูนหาความรู้ให้ทันสมัย
                       • ต้องรู้จักคบคนดีเป็นหุ้นส่วน
                              - บุคคลตาบอด (ขาดปัญญาหาทรัพย์ + ขาดปัญญารู้ธรรมะ)ต้องช่วยเหลือสงเคราะห์เท่าที่เราทำได้
                              - บุคคลตาเดียว (มีปัญญาหาทรัพย์ + ขาดปัญญารู้ธรรมะ) ต้องพยายามหลีกให้ห่างไกล
                              - บุคคลสองตา (มีปัญญาหาทรัพย์ + มีปัญญารู้ธรรมะ) ต้องพยายามคบหามาเป็นหุ้นส่วนทำงานด้วย
                       • ต้องสร้างเครือข่ายคู่ค้าที่เป็นคนดี 
                       • ต้องหาสาเหตุเบื้องลึกแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวของธุรกิจให้ชัดเจน
                              - สาเหตุหยาบ (การบริหารจัดการ, การตลาด ฯลฯ)
                              - สาเหตุละเอียด (วณิชชสูตร)
                              - โกงบุญตนเองทั้งหมด จึงขาดทุน
                              - โกงบุญตนเองบางส่วน ทำให้ได้กำไรน้อย
                              - ทำบุญตามกำลัง จึงได้กำไรตามเป้าหมาย
                              - ทำบุญเต็มกำลัง จึงได้กำไรเกินเป้าหมาย


                       ๒. รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ มีสาระสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
                       • เก็บรวบรวมทรัพย์ให้พ้นจากอันตราย
                       • ต้องรู้จักถนอมโภคทรัพย์ให้จีรังยั่งยืน
                       • ต้องรู้จักฝังขุมทรัพย์
                             - เก็บเป็นทรัพย์หยาบใช้ในชาตินี้
                             - เก็บเป็นทรัพย์ละเอียด

                       บุคคลที่เก็บไม่เป็น มีพฤติกรรม ๔ ประการ (กุลสูตร)
                             • ของหายไม่หา
                             • ของเสียไม่ซ่อม
                             • ไม่ประมาณในการใช้
                             • ตั้งคนทุศีลเป็นใหญ่


                       ๓. สร้างเครือข่ายคนดี มีสาระสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
                       • ตนเองต้องวางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นคนดี
                       • เลือกคบเฉพาะคนดี
                       • หมั่นศึกษา สังเกต ซึมซับคุณความดี ๔ ประการ คือ สัมปรายิกัตถประโยชน์

                       หลักการและวิธีปฏิบัติเพื่อสร้างเครือข่ายคนดี
                             • ตัวเราเองต้องเป็นคนดี
                             • ตัวเราเองต้องมีศีล ๕ เป็นนิจ
                             • ตัวเราต้องปฏิบัติเกื้อกูลตัวเอง ด้วยสัมปรายิกัตถประโยชน์
                             • ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นให้เกิดสัมปรายิกัตถประโยชน์

                        เครือข่ายคนดี มีประโยชน์อย่างไร
                             • มีเครือข่ายคนดีเป็นรั้วบ้าน
                             • เป็นโอกาสดีแห่งการบรรลุเป้าหมายชีวิต
                             • คนดีคือขุมทรัพย์ที่เปี่ยมด้วยความเอื้ออาทร
                             • เป็นการพัฒนาสัมมาทิฏฐิให้แก่รอบยิ่งขึ้น


                       ๔. รู้จักใช้ทรัพย์อย่างเหมาะสม มีสาระสำคัญ ๒ ประเด็น คือ
                       • ต้องรู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
                       • ต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ฝืดเคือง

                       การบริหารรายเหลือให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยการใช้ทรัพย์เพื่อ
                             • บำรุงตนเอง
                             • สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในชุมชน
                             • ป้องกันภัย และเผื่อฉุกเฉิน
                             • ทำพลี ๕ (ญาติ / แขก / อุทิศให้ผู้ตาย / ถวายหลวง / เทวดา)
                             • ทำบุญกับเนื้อนาบุญ


                       ประเด็นสำคัญ คือ การหาเป็นจนถึงการใช้เป็นจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีเครือข่ายกัลยาณมิตรเท่านั้น


            ๓.๔ เครือข่ายกัลยาณมิตร
                      คุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย ต้องประกอบด้วย ๓ ประการ คือ

                          ๑. ตัวเราเองมีสัมมาทิฏฐิ เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง คือ มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร หรือมีความเป็นมิตรแท้อย่างสมบูรณ์พร้อม

                          ๒. เครือข่ายแต่ละคนมีสัมมาทิฏฐิ เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง หรือถ้ายังไม่มั่นคง ก็ต้องรู้จักตัวเอง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนให้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ด้วยการพยายามซึมซับคุณความดีจากกัลยาณมิตรในเครือข่ายคนดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

                          ๓. ต้องร่วมกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและสังคม เพื่อประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อพัฒนาเครือข่ายกัลยาณมิตรให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายเครือข่ายกัลยาณมิตรให้กว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ และเพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิในใจของกัลยาณมิตรแต่ละคนให้แก่รอบยิ่งขึ้น


                        ประเด็นสำคัญ คือ การหาเป็นจนถึงการใช้เป็นจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีเครือข่ายกัลยาณมิตรเท่านั้น

 

            ๓.๕ มิตรเทียมและมิตรแท้
                        ๑. รู้จักมิตรแท้ ๔ กลุ่ม และมิตรเทียม ๔ กลุ่ม ดังตาราง

 

5-3.1.PNG


                        ๒. รู้จักลักษณะของมิตรแท้ - มิตรเทียม อาจเรียกว่า ตะแกรงร่อนมิตรแท้ ๑๖ อย่าง และมิตรเทียม ๑๖ อย่าง (ดูตารางด้านล่างประกอบ)

 

5-3.2.PNG


                 ต้องใช้ตะแกรงอย่างไรจึงได้ประโยชน์สูงสุด
                             • ร่อนสํารวจพฤติกรรมของตนเอง
                             • ร่อนสำรวจพฤติกรรมของบุคคลใกล้ชิด

                        การแก้ไขข้อเสียของคน มีหลักปฏิบัติ ๒ ประการ
                             • เก็บรักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กันและกัน
                             • ป้องกันไม่ให้ความชั่วแพร่กระจายออกไปสู่ผู้อื่น


             ๓.๖ สรุปท้ายบท
                         มิจฉาทิฏฐิ แม้ไม่ปลูกฝังก็เกิดเองได้เหมือนวัชพืช แม้ไม่มีใครปลูกก็ขึ้นงอกงามเองได้ ต้องปราบกันอยู่เสมอ ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ใช่จะเกิดความเข้าใจทุกคน และแม้บางคนจะเข้าใจสัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพใด ๆ เพราะยังเป็นสัมมาทิฏฐิที่อยู่ในระดับ ความเข้าใจ เท่านั้น คือ ยังไม่เข้าไปอยู่ในใจจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวประจำใจ หากตกอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่อำนวยบางอย่างก็อาจมีพฤติกรรมเป็นมิตรเทียมได้เหมือนกัน แต่เมื่อไรสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงแล้ว จะมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดปัญญาเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า แท้ที่จริงแล้วเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือสร้างบุญบารมี เพื่อกำจัดอาสวะกิเลสให้หมดออกไปจากใจ อันเป็นผลให้บรรลุมรรคผลนิพพาน หรือทำพระนิพพานให้แจ้ง หลุดพ้นจากสังสารวัฏโดยเด็ดขาด

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0045719822247823 Mins